2006-12-11
ขณะที่ผมกำลังยืนถ่ายรูปร้าน Pai Away อยู่ที่ฝั่งตรงข้ามพี่เจ้าของร้านก็ตะโกนข้ามฝั่งถนนมา
"น้องๆ ที่ถ่ายรูปอยู่พี่ขอคุยด้วยหน่อยสิ"
"ฉิบหายแล้ว!" ผมคิดในใจเขาห้ามถ่ายรูปหรอว่ะ
ถ้ามองผิวเผินคุณอาจจะคิดว่า นี่คงเป็นร้านในสวนจตุจักร หรือร้านแถวถนนนิมมานเหมินท์ ที่เชียงใหม่--แต่ร้านนี้อยู่ที่เมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
"ไม่มีอะไรหรอกครับ เห็นน้องใช้กล้องโบราณอยู่ก็เลยอยากคุยด้วย" พี่เจ้าของร้านพูดถึงกล้อง Olympus Pen-EES 2 ที่ผมถืออยู่
"อ๋อพอดี มาเที่ยวแล้วกล้องดิจิตอลเสียน่ะครับ กะเอาไว้ว่าจะเอาตัวนี้มา สแนป อะไรเล่นๆ ก็เลยต้องเปลี่ยนใจ"
"อืม พี่ก็มีอยู่ตัวนึง พี่ว่าประหยัดดี ฟิลม์ม้วนนึงถ่ายภาพได้เยอะดีนะ" พี่ร้านถ่ายรูปพูดถึงคุณสมบัติแบบ Half Frame ของมันคือ ฟิลม์ปรกติถึงภาพสามารถถ่ายภาพด้วยกล้องนี้ 2 ภาพ
"รูปสวยดีนะครับ แล้วภาพไหนที่พี่ใช้ Pen-EES ถ่ายครับ" ผมชวนพี่เขาคุยถึงภาพถ่ายของพี่ที่วางโชว์อยู่ในร้าน
"อยู่ตรงโน้นแน่ะ รูปทุ่งนาในปาย พี่ถ่ายเอาไว้นานแล้ว"
"สวยดีพี่ แล้วปรกติพี่ใช้กล้องตัวไหนถ่ายภาพ"
"อ๋อภาพส่วนใหญ่ พี่ใช้กล้อง Leica ถ่ายน่ะ" พี่เขาชี้ที่กล้องตัวนึงที่วางโชว์อยู่ในตู้หน้าร้าน โอ้วไฮโซๆ ผมคิดในใจ
"พี่ผมขอถ่ายรูป บรรยากาศภายในร้านเก็บเอาไว้สักสองสามรูปได้ไหมครับ"
"ตามสบายเลยน้อง พี่ดีใจนะที่ยังมีคนใช้กล้องโบราณอยู่ ยังไม่ยอมปล่อยให้มันพ้นสมัยไป"
ด้านล่างเป็นภาพที่ผมถ่าย
ภาพบรรยากาศภายในร้าน
ผมนึกถึงหนังเรื่อง Coffee and Cigarettes ของ Jim Jarmusch ที่ด้านหลังกล่องดีวีดีเรื่องนี้เขียนเอาไว้ว่า "นี่อาจจะเป็นหนังขาวดำเรื่องสุดท้ายในโลกที่ถ่ายด้วยฟิลม์ เพราะบริษัทโกดัก กำลังจะเลิกผลิตฟิล์มเนกาทีฟขาวดำ (ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นยังไงผมยังไม่ทราบ)
"พี่ชอบถ่ายรูปน่ะน้อง โดยเฉพาะภาพขาวดำพี่รักมันมาก" ประโยคนี้ของพี่--ทำให้ผมตัดสินใจ ไม่ปริปากพูดในสิ่งที่ผมคิดอยู่ในใจ
ทำยังไงได้
เรื่องน่าใจหายแบบนี้
มีหรือที่ผมจะกล้าบอกพี่เขา
ก็คงต้องปล่อยให้
Anyting มัน goes ไปตามทาง--ของมัน
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-
Monday, December 11, 2006
ร้านหนังสือในปาย (1)
2006-12-11
ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่ตอนเช้าแล้ว ว่าบ่ายนี้จะลองปั่นจักรยานเล่นรอบเมืองปาย หลังเสร็จสิ้นจากการกินขาหมูยูนาน--เจ้าดังของเมืองปายเป็นมื้อเที่ยง(อร่อยดี ^_^) ผมกับเพื่อนก็แยกย้ายกันเที่ยวตามอัธยาศัย
ราคาค่าเช่าจักรยานที่ปายไม่แพง
ป้าร้านขายส้มที่อยู่ตรงข้ามร้านเช่ามอเตอร์ไซด์ aya คิดผมวันละ 30 บาท ไม่ต้องวางมัดจำ ไม่ต้องดูบัตรประชาชน แค่เขียนชื่อ นามสกุล แล้วก็ชื่อที่พัก เดินเข้าไปเลือกจักรยานที่จอดอยู่ข้างร้าน แล้วออกมากรอกในสมุดบันทึกนิดหน่อยว่าเอาจักรยานหมายเลขอะไรไป เท่านั้นเป็นอันเสร็จขั้นตอน
ผมปั่นจักรยานหมายเลข A-5 มุ่งหน้าไป ร้าน Siam Used Books ร้านขายหนังสือที่ผมบังเอิญเห็นในแผนที่เมืองปายที่ผมหยิบติดมือมาจากที่พัก อยากลองเยี่ยมเยียนร้านหนังสือที่ปายดู--ตามภาษาคนที่นิยมชมชอบหนังสือ ^_^
ปั่นไปปั่นมาอยู่ที่ถนนรังสิยานนท์หลายรอบจน ลุงที่ขายขนมอยู่หน้าร้านถ่ายรูปร้านหนึ่งทนดูความเก้ๆกังๆไม่ได้ ตะโกนถาม "หาอะไรอยู่หรอพ่อหนุ่ม เห็นปั่นไปปั่นมาหลายรอบแล้ว"
"ร้านหนังสือชื่อ Siam Used Books ครับ" ผมตอบลุงไปพร้อมชี้แผนที่ให้ลุงดู
"อ๋อ เมื่อเช้าลุงฟังวิทยุเห็นเขาโฆษณาว่าย้ายไปแถวถนนชัยสงคราม แถวท่ารถน่ะ ลองไปดูแถวนั้นสิ"
ผมพับแผนที่เก็บที่ตระกร้าหน้ารถ ขอบคุณลุงก่อนที่จะปั่นจักรยานต่อไปยังที่หมาย
Siam Used Books เป็นบ้านตึกครึ่งไม้ อยู่ไม่ไกลจากท่ารถ(อย่างที่ลุงบอกจริงๆ) มีหนังสือเยอะพอสมควรโดยมากเป็นหนังสือต่างประเทศ มีหนังสือภาษาไทยอยู่นิดหน่อย--ตามรสนิยมการอ่านของเจ้าของร้าน (พี่เปิ้ลที่เป็นเจ้าของร้านบอกว่าเป็นหนังสือที่เขาอ่านแล้วทั้งหมด)
ผมเดินกวาดสายตาไปตามชั้นหนังสือต่างๆ จนคิดว่าชั้นหนังสือเหล่านั้นน่าจะสะอาดสะอ้านพอสมควรแล้ว (ถ้าเช็ดตามด้วยผ้าขยี้น้ำหมาดๆ คิดว่าน่าจะสะอาดกว่านี้ ) ^_^-เกือบสองชั่วโมงที่อยู่ที่นี่ ผมเลือกหนังสือทีีคิดว่าจะเอาไปกวาดสายตาเล่นต่อที่บ้านได้จำนวนหนึ่ง มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. JPod ฉบับปกแข็ง นิยายเล่มใหม่ของ Douglas Coupland--พี่เปิ้ล-เจ้าของร้านคุยว่าใหม่มากขนาดที่ตอนนี้ยังไม่มีฉบับ paperback จำหน่ายเลยด้วยซ้ำ (ท่าจะจริงอย่างที่แกพูดเพราะที่ร้านคิโนคุนิยะที่กรุงเทพฯ ก็ยังไม่มีขายเหมือนกัน)
2. The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin เขียนโดย Robert Nicholson--พอเห็นเล่มนี้เจ้าของร้านเตือนด้วยความหวังดีว่า "เล่มนี้ไม่ใช่ Ulysses นะ" พร้อมกับโอดครวญให้ฟังถึงความยากเย็นในการอ่านนิยายเรื่อง Ulysses ผมยิ้มแล้วบอกพี่เปิ้ลว่า Ulysses น่ะผมเองก็ไม่เคยแตะเหมือนกัน สำหรับผมความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการพาเที่ยวเมืองดับลินผ่านนิยายของ Joyce (เอ๊ะหรือว่าคู่มือการอ่านนิยายของ Joyce ผ่านเมืองดับลิน--แค่คิดก็สนุกแล้ว)
3. How to Build a Time Machine เขียนโดย Paul Davies--ที่ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ก็เพราะว่า มีความคิดว่าจะสร้าง Time Machine เอาไว้ใช้ส่วนตัวอยู่เหมือนกัน อยากกลับไปแก้ไขอดิีตที่เคยทำอะไรไม่ดีเอาไว้ ^_^
และเล่มสุดท้าย
The Book against God เขียนโดย James Wood--สำหรับผมแค่ชื่อหนังสือก็น่าสนใจแล้ว
ด้านล่างเป็นภาพบรรยากาศร้าน
หน้าร้าน Siam Used Books ด้านขวามือคือจักรยานหมายเลข A-5
บรรยากาศภายในร้าน
ตอนคิดเงินพี่เปิ้ลลดราคาค่าหนังสือให้ผมเยอะมาก(ทั้งที่ผมไม่ได้เป็นสมาชิกแล้วก็ไม่ได้มีบัตรลดอะไรพิเศษ) ^_^
ก่อนออกจากร้านผมถามพี่เปิ้ลว่านอกจากร้านพี่แล้วในปายมีร้านหนังสือร้านอื่นอีกหรือเปล่า?
พี่เปิ้ลตอบว่ามีอีกสองร้าน พร้อมกับชี้ตำแหน่งร้านในแผนที่ให้ผมดู
มีหรือที่ผมจะพลาด
หลังจากนั้น
ผมรีบปั่นจักรยานไปตามตำแหน่งที่พี่เปิ้ลบอก
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-How to Build a Time Machine--Paul Davies
-JPod--Douglas Coupland
-The Book Against God--James Wood
-The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin--Robert Nicholson
Book read:
-
ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่ตอนเช้าแล้ว ว่าบ่ายนี้จะลองปั่นจักรยานเล่นรอบเมืองปาย หลังเสร็จสิ้นจากการกินขาหมูยูนาน--เจ้าดังของเมืองปายเป็นมื้อเที่ยง(อร่อยดี ^_^) ผมกับเพื่อนก็แยกย้ายกันเที่ยวตามอัธยาศัย
ราคาค่าเช่าจักรยานที่ปายไม่แพง
ป้าร้านขายส้มที่อยู่ตรงข้ามร้านเช่ามอเตอร์ไซด์ aya คิดผมวันละ 30 บาท ไม่ต้องวางมัดจำ ไม่ต้องดูบัตรประชาชน แค่เขียนชื่อ นามสกุล แล้วก็ชื่อที่พัก เดินเข้าไปเลือกจักรยานที่จอดอยู่ข้างร้าน แล้วออกมากรอกในสมุดบันทึกนิดหน่อยว่าเอาจักรยานหมายเลขอะไรไป เท่านั้นเป็นอันเสร็จขั้นตอน
ผมปั่นจักรยานหมายเลข A-5 มุ่งหน้าไป ร้าน Siam Used Books ร้านขายหนังสือที่ผมบังเอิญเห็นในแผนที่เมืองปายที่ผมหยิบติดมือมาจากที่พัก อยากลองเยี่ยมเยียนร้านหนังสือที่ปายดู--ตามภาษาคนที่นิยมชมชอบหนังสือ ^_^
ปั่นไปปั่นมาอยู่ที่ถนนรังสิยานนท์หลายรอบจน ลุงที่ขายขนมอยู่หน้าร้านถ่ายรูปร้านหนึ่งทนดูความเก้ๆกังๆไม่ได้ ตะโกนถาม "หาอะไรอยู่หรอพ่อหนุ่ม เห็นปั่นไปปั่นมาหลายรอบแล้ว"
"ร้านหนังสือชื่อ Siam Used Books ครับ" ผมตอบลุงไปพร้อมชี้แผนที่ให้ลุงดู
"อ๋อ เมื่อเช้าลุงฟังวิทยุเห็นเขาโฆษณาว่าย้ายไปแถวถนนชัยสงคราม แถวท่ารถน่ะ ลองไปดูแถวนั้นสิ"
ผมพับแผนที่เก็บที่ตระกร้าหน้ารถ ขอบคุณลุงก่อนที่จะปั่นจักรยานต่อไปยังที่หมาย
Siam Used Books เป็นบ้านตึกครึ่งไม้ อยู่ไม่ไกลจากท่ารถ(อย่างที่ลุงบอกจริงๆ) มีหนังสือเยอะพอสมควรโดยมากเป็นหนังสือต่างประเทศ มีหนังสือภาษาไทยอยู่นิดหน่อย--ตามรสนิยมการอ่านของเจ้าของร้าน (พี่เปิ้ลที่เป็นเจ้าของร้านบอกว่าเป็นหนังสือที่เขาอ่านแล้วทั้งหมด)
ผมเดินกวาดสายตาไปตามชั้นหนังสือต่างๆ จนคิดว่าชั้นหนังสือเหล่านั้นน่าจะสะอาดสะอ้านพอสมควรแล้ว (ถ้าเช็ดตามด้วยผ้าขยี้น้ำหมาดๆ คิดว่าน่าจะสะอาดกว่านี้ ) ^_^-เกือบสองชั่วโมงที่อยู่ที่นี่ ผมเลือกหนังสือทีีคิดว่าจะเอาไปกวาดสายตาเล่นต่อที่บ้านได้จำนวนหนึ่ง มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. JPod ฉบับปกแข็ง นิยายเล่มใหม่ของ Douglas Coupland--พี่เปิ้ล-เจ้าของร้านคุยว่าใหม่มากขนาดที่ตอนนี้ยังไม่มีฉบับ paperback จำหน่ายเลยด้วยซ้ำ (ท่าจะจริงอย่างที่แกพูดเพราะที่ร้านคิโนคุนิยะที่กรุงเทพฯ ก็ยังไม่มีขายเหมือนกัน)
2. The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin เขียนโดย Robert Nicholson--พอเห็นเล่มนี้เจ้าของร้านเตือนด้วยความหวังดีว่า "เล่มนี้ไม่ใช่ Ulysses นะ" พร้อมกับโอดครวญให้ฟังถึงความยากเย็นในการอ่านนิยายเรื่อง Ulysses ผมยิ้มแล้วบอกพี่เปิ้ลว่า Ulysses น่ะผมเองก็ไม่เคยแตะเหมือนกัน สำหรับผมความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการพาเที่ยวเมืองดับลินผ่านนิยายของ Joyce (เอ๊ะหรือว่าคู่มือการอ่านนิยายของ Joyce ผ่านเมืองดับลิน--แค่คิดก็สนุกแล้ว)
3. How to Build a Time Machine เขียนโดย Paul Davies--ที่ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ก็เพราะว่า มีความคิดว่าจะสร้าง Time Machine เอาไว้ใช้ส่วนตัวอยู่เหมือนกัน อยากกลับไปแก้ไขอดิีตที่เคยทำอะไรไม่ดีเอาไว้ ^_^
และเล่มสุดท้าย
The Book against God เขียนโดย James Wood--สำหรับผมแค่ชื่อหนังสือก็น่าสนใจแล้ว
ด้านล่างเป็นภาพบรรยากาศร้าน
หน้าร้าน Siam Used Books ด้านขวามือคือจักรยานหมายเลข A-5
บรรยากาศภายในร้าน
ตอนคิดเงินพี่เปิ้ลลดราคาค่าหนังสือให้ผมเยอะมาก(ทั้งที่ผมไม่ได้เป็นสมาชิกแล้วก็ไม่ได้มีบัตรลดอะไรพิเศษ) ^_^
ก่อนออกจากร้านผมถามพี่เปิ้ลว่านอกจากร้านพี่แล้วในปายมีร้านหนังสือร้านอื่นอีกหรือเปล่า?
พี่เปิ้ลตอบว่ามีอีกสองร้าน พร้อมกับชี้ตำแหน่งร้านในแผนที่ให้ผมดู
มีหรือที่ผมจะพลาด
หลังจากนั้น
ผมรีบปั่นจักรยานไปตามตำแหน่งที่พี่เปิ้ลบอก
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-How to Build a Time Machine--Paul Davies
-JPod--Douglas Coupland
-The Book Against God--James Wood
-The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin--Robert Nicholson
Book read:
-
Thursday, December 07, 2006
Vacation
Wednesday, December 06, 2006
สิ่งที่อยากกิน; กระผมก็ควรได้กิน
Frim Fram Sauce
2006-12-06
Now a persons really got to eat
And a person should eat right.
Five will get you ten
I'm gonna feed myself right tonight.
Frim Fram Sauce เป็นเพลงในปี พ.ศ. 2488--ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปีที่เศรษฐกิจตกต่ำ และประเทศต่างๆทั่วโลกล้วน อยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง(อเมริกาถึงแม้จะชนะสงครามก็ตาม ก็ไม่แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ)
Frim Fram Sauce เป็นชื่อของอาหารที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เพลงนี้พูดถึงชายคนหนึ่งที่เดินเข้าไปในร้านอาหารแล้ว บอกเด็กเสริฟว่า "กระผมไม่ต้องการรับประทานรายชื่ออาหารต่างๆ ดังนี้--French fried potatoes, Red ripe tomatoes, Pork chops, Bacon,Fish cakes and Rye Bread เพราะมันพื้นๆ และไม่ถูกปากกระผมเลยสักนิด(แต่สามารถสั่งกินได้เพราะมันมีอยู่จริงในโลก) สิ่งที่กระผมอยากกินก็คือ-- the frim fram sauce with the Ausen fay With chafafa on the side( ซึ่งเป็นชื่ออาหารประหลาดๆ ที่ไม่มีอยู่จริง) คุณน่าจะเข้าใจ? สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน ผมจะจ่ายคุณอย่างงาม ก็แค่คืนนี้ผมอยากตามใจปากตัวเอง"
Frim Fram Sauce เป็นเพลงแจ๊สที่ถูกนิยามว่าเป็น "Silly Jazz Song" ด้วยเนื้อหาที่ตลกชวนหัวของมัน ร้องโดย Nat King Cole (หลังจากนั้นมีคนนำมาร้องใหม่อีกหลายเวอร์ชั่น) และแต่งโดย Redd Evans(นักแต่งเพลงของ Nat King Cole)
ฟังเพลงนี้แล้ว ทำให้เรานึกถึงวงเฉลียงของไทย ในภาพยนต์ประกอบเพลงนี้ถ้าเปลี่ยน Nat King Cole เป็นดี้-นิติพงษ์ ห่อนาค (กำลังร้องเพลงนายไข่เจียว) หรือเจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม(กำลังร้องเพลงรู้สึกสบายดี) แล้วละก็นี่มันวงเฉลียงยังไงอย่างงั้นเลย ^_^
แม้ท่วงทำนองของเพลงนี้จะดูน่ารัก และตลกขบขัน แต่สำหรับเรามันเป็นเพลงที่เศร้าอย่างร้ายกาจ
"สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน" อาจจะฟังดูน่าหมั่นไส้ ถ้ามันออกมาจากปากของมหาเศรษฐีที่มีเงินสักคนหนึ่ง
แต่มันจะเศร้าขนาดไหนถ้าประโยคนี้เปล่งออกมาจากปากของคนที่ไม่มีเงินสักแดง ที่จะสั่งอาหารประทังความหิว แล้วแสร้งทำเป็นสั่งอาหารประหลาดที่ไม่มีอยู่จริงบนโลก
ในท่อนสุดท้ายของเพลงนี้
Nat King Cole ร้องว่า
"If you don't have it, just bring me a check for the water!"
สุดท้ายแล้ว--เขาก็ทำได้แค่สั่งน้ำเปล่าลูบท้อง
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Frim Fram Sauce(1945)--Nat King Cole
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
2006-12-06
Now a persons really got to eat
And a person should eat right.
Five will get you ten
I'm gonna feed myself right tonight.
Frim Fram Sauce เป็นเพลงในปี พ.ศ. 2488--ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปีที่เศรษฐกิจตกต่ำ และประเทศต่างๆทั่วโลกล้วน อยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง(อเมริกาถึงแม้จะชนะสงครามก็ตาม ก็ไม่แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ)
Frim Fram Sauce เป็นชื่อของอาหารที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เพลงนี้พูดถึงชายคนหนึ่งที่เดินเข้าไปในร้านอาหารแล้ว บอกเด็กเสริฟว่า "กระผมไม่ต้องการรับประทานรายชื่ออาหารต่างๆ ดังนี้--French fried potatoes, Red ripe tomatoes, Pork chops, Bacon,Fish cakes and Rye Bread เพราะมันพื้นๆ และไม่ถูกปากกระผมเลยสักนิด(แต่สามารถสั่งกินได้เพราะมันมีอยู่จริงในโลก) สิ่งที่กระผมอยากกินก็คือ-- the frim fram sauce with the Ausen fay With chafafa on the side( ซึ่งเป็นชื่ออาหารประหลาดๆ ที่ไม่มีอยู่จริง) คุณน่าจะเข้าใจ? สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน ผมจะจ่ายคุณอย่างงาม ก็แค่คืนนี้ผมอยากตามใจปากตัวเอง"
Frim Fram Sauce เป็นเพลงแจ๊สที่ถูกนิยามว่าเป็น "Silly Jazz Song" ด้วยเนื้อหาที่ตลกชวนหัวของมัน ร้องโดย Nat King Cole (หลังจากนั้นมีคนนำมาร้องใหม่อีกหลายเวอร์ชั่น) และแต่งโดย Redd Evans(นักแต่งเพลงของ Nat King Cole)
ฟังเพลงนี้แล้ว ทำให้เรานึกถึงวงเฉลียงของไทย ในภาพยนต์ประกอบเพลงนี้ถ้าเปลี่ยน Nat King Cole เป็นดี้-นิติพงษ์ ห่อนาค (กำลังร้องเพลงนายไข่เจียว) หรือเจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม(กำลังร้องเพลงรู้สึกสบายดี) แล้วละก็นี่มันวงเฉลียงยังไงอย่างงั้นเลย ^_^
แม้ท่วงทำนองของเพลงนี้จะดูน่ารัก และตลกขบขัน แต่สำหรับเรามันเป็นเพลงที่เศร้าอย่างร้ายกาจ
"สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน" อาจจะฟังดูน่าหมั่นไส้ ถ้ามันออกมาจากปากของมหาเศรษฐีที่มีเงินสักคนหนึ่ง
แต่มันจะเศร้าขนาดไหนถ้าประโยคนี้เปล่งออกมาจากปากของคนที่ไม่มีเงินสักแดง ที่จะสั่งอาหารประทังความหิว แล้วแสร้งทำเป็นสั่งอาหารประหลาดที่ไม่มีอยู่จริงบนโลก
ในท่อนสุดท้ายของเพลงนี้
Nat King Cole ร้องว่า
"If you don't have it, just bring me a check for the water!"
สุดท้ายแล้ว--เขาก็ทำได้แค่สั่งน้ำเปล่าลูบท้อง
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Frim Fram Sauce(1945)--Nat King Cole
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Tuesday, December 05, 2006
2006-12-05
Two Regimes of Madness: Texts and Interviews 1975-1995
Gilles Deleuze
ISBN: 1584350326
Covering the last twenty years of Gilles Deleuze's life (1975-1995), the texts and interviews gathered in this volume complete those collected in Desert Islands and Other Texts (1953-1974) . This period saw the publication of his major works: A Thousand Plateaus (1980), Cinema I: Image-Movement (1983), Cinema II: Image-Time (1985), all leading through language, concept and art to What is Philosophy? (1991). Two Regimes of Madness also documents Deleuze's increasing involvement with politics (with Toni Negri, for example, the Italian philosopher and professor accused of associating with the Red Brigades). Both volumes were conceived by the author himself and will be his last. Michel Foucault famously wrote: "One day, perhaps, this century will be Deleuzian." This book provides a prodigious entry into the work of the most important philosopher of our time. Unlike Foucault, Deleuze never stopped digging further into the same furrow. Concepts for him came from life. He was a vitalist and remained one to the last.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Two Regimes of Madness: Texts and Interviews 1975-1995--Gilles Deleuze
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Monday, December 04, 2006
男はつらいよ
โทร่าซัง
2006-12-04
"โทร่าซังฉันกำลังจะมีทุกข์ ฉันกังวลถึงมันมากฉันอยากมีคนช่วยปรึกษา"
โทร่าซังหันมามองแล้วยิ้มให้ "ข้าเองก็เรียนหนังสือมาน้อยจะเอาปัญญาที่ไหนมาตอบเรื่องยากๆ ของเองว่ะ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ข้าอยากจะบอกกับเอ็งว่า ไม่มีใครที่ไหนเขาเช็ดตูดก่อนขี้หรอกโว้ย มีแต่ขี้แล้วถึงจะเช็ดตูดกันทั้งนั้นแหละ"
ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2539 ในขณะนั้นผมเป็นนักศึกษา และอาจะกำลังนั่งเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน ผู้ชายชื่อ โคโยชิ อะสุมิ (車寅次郎) ได้ลาจากโลกนี้ไป การจากไปของเขาไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลยกับชีวิตของผม โคโยชิก็ส่วนโคโยชิ วิชิตก็ส่วนวิชิต เราไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกัน
แต่สำหรับคนในกองถ่ายหนังเรื่อง 男はつらいよ (อ่านว่า โอโตโกะวะสุไรโยะ) "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" การจากไปของโคโยชิ ทำให้หนังที่มีภาคต่อมากที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก (48 ภาคตั้งแต่ปี1969-1996 รวมทั้งสิ้น 27 ปี) ต้องจบเรื่องราวที่แสนยาวนานของมันลง
สำหรับคนญี่ปุ่นการจากไปของ โคโยชิ อาจจะทำให้ใครหลายคนเศร้า เพื่อนญี่ปุ่นของผมเคยบอกกับผมว่า "ใครๆ ก็รักโทร่าซัง" เพราะโทร่าซัง อาจจะเป็นเหมือนความทรงจำที่ดีที่มีต่อชีวิตในช่วงวัยเยาว์ เพราะคนญี่ปุ่นจะได้ดูโทร่าซังกันปีละสองครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่ฉายก็จะอยู่ในช่วงที่เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของญุี่ปุ่น ที่พ่อแม่จะพาสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดไปนั่งดูหนังเรื่องนี้ร่วมกัน แล้วก็มานั่งลุ้นว่าปีนี้ โทร่าซังจะพาเราไปเที่ยวจังหวัดไหนหนอ--การดูหนังเรื่องนี้ก็เหมือนการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่นด้วยไปในตัว
ถ้าเรามองโทร่าซังในแง่ของการสร้างสรรค์ในเชิงภาพยนต์ ดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะไม่มีอะไรหวือหวา(ช่างเหมือนชีวิตจริงๆ ของมนุษย์บนโลก ^_^ เสียนี่กระไร) ทุกๆภาค ก็จะเริ่มที่โทร่าซังเดินทางไปเร่ขายของในจังหวัดหนึ่ง(โทร่าซังหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นคนขายของเร่) แล้วก็เกิดตกหลุมรักผู้หญิงสวยคนหนึ่ง (ที่มักจะเป็นดาราสาวที่กำลังฮอทอยู่ในช่วงเวลานั้น) จากนั้นโทร่าซังก็แห้วในเรื่องความรัก กลับบ้านทะเลากับคนในครอบครัว(ฉากทะเลาะกันในหนังน่ารักมาก ดูแล้วก็จะรู้ว่าเวลาที่คนกำลังทะเลาะกันด้วยความรักและความห่วงใยมันเป็นยังไง) แล้วก็ออกเดินทางต่อ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป
ถ้าเรามองในแง่ที่มันเป็นงานศิลปะที่สะท้อนภาพชีวิตเล็กๆ ของคนในครอบครัวหนึ่ง(โยจิ ยามาดะ เป็นเพื่อนสนิทของ โอสุ ซึ่งมีความเชื่อคล้ายๆ กันคือชอบหนังพล๊อทเล็กๆ เกี่ยวกับชีวิตคนในครอบครัว) ผมว่าโยจิ ยามาดะ--ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ ทำมันได้อย่างละเอียดอ่อน แสนที่จะเรียบง่ายและช่างมีชีวิตชีวา จนเราเชื่อจริงๆ ว่าดาราในเรื่องเขาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ในระยะเวลา 27 ปีพวกเขา ทั้งเติบโตแล้วแก่ชราไปพร้อมๆ กัน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นปีที่ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง 男はつらいよ ที่แปลเป็นไทยว่า "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ในเทศกาลหนังโทร่าซังที่จัดโดยมูลนิธิญี่ปุ่น ที่ตึกเสริมมิตรเป็นครั้งแรก(และอีกหลายครั้งนับจากนั้น ถ้าเย็นวันศุกร์ไหนที่เขานำหนังเรื่องโทร่าซังออกมาฉาย โดยมากผมมักไม่พลาด) นับแต่นั้นมาสำหรับผม ชีวิตของโคโยชิก็ไม่ส่วนของโคโยชิ และวิชิตก็ไม่ส่วนของวิชิตอีกต่อไป
สำหรับผม โคโยชิ อะสุมิ ก็คือ โทร่าซัง การจากไปของเขาทำให้ผู้รู้สึกเสียใจย้อนหลัง(ผมเสียใจช้าไปถึง 5 ปี) เพราะโทร่าซัง เป็นผู้ชายที่ผมรู้สึกดีด้วย(ประโยคนี้เขียนได้ล่อแหลมจริงๆ ^_^) เพราะรู้สึกชื่นชมน้ำจิตน้ำใจที่เขามีต่อคนรอบข้าง และชื่นชมวิธีที่เขามองโลกมองชีวิต
เสียดายเหมือนกันที่ตอนนี้เลยวัยที่จะมี Idol ไปแล้ว-ถ้ารู้จักโทร่าซัง เร็วกว่านี้หน่อยผมก็อาจจะบอกว่า โทร่าซังเป็น Idol ของผม
"มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ยิ่งผู้ชายแบบโทร่าซังด้วยแล้วเนี่ย
ความยากนั้นยิ่งเป็นเท่าทวีคูณ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ในตอนต้นเรื่องของทุกตอน หนังจะเริ่มต้นด้วยเพลงนี้-แทรกด้วยมุขตลกนิดหน่อย
เพลงนี้มีเนื้อร้องที่แปลเป็นไทยว่า
(ท่อนพูด)
ข้าเกิดและเติบโต ใน คัตสุชิกะ
ข้านามสุกลว่า "คุรุม่า"
ส่วนชื่อจริงนั้นคือ "โทราจิโร่"
แต่ ใครๆ ก็เรียกข้าว่า "โทร่าคนพเนจร"
(ท่อนร้อง)
พี่รู้ดีว่าไม่สามารถร่วมชีวิตกับเจ้าได้
พี่เป็นได้ก็เพียงพี่ชายที่แสนดี
แต่พี่จะพยายามทำให้ดีที่สุดแม้ว่าจะต้องร้องไห้
ตะวันกำลังลาลับและวาสนากำลังลาจากพี่ไป
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
2006-12-04
"โทร่าซังฉันกำลังจะมีทุกข์ ฉันกังวลถึงมันมากฉันอยากมีคนช่วยปรึกษา"
โทร่าซังหันมามองแล้วยิ้มให้ "ข้าเองก็เรียนหนังสือมาน้อยจะเอาปัญญาที่ไหนมาตอบเรื่องยากๆ ของเองว่ะ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ข้าอยากจะบอกกับเอ็งว่า ไม่มีใครที่ไหนเขาเช็ดตูดก่อนขี้หรอกโว้ย มีแต่ขี้แล้วถึงจะเช็ดตูดกันทั้งนั้นแหละ"
ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2539 ในขณะนั้นผมเป็นนักศึกษา และอาจะกำลังนั่งเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน ผู้ชายชื่อ โคโยชิ อะสุมิ (車寅次郎) ได้ลาจากโลกนี้ไป การจากไปของเขาไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลยกับชีวิตของผม โคโยชิก็ส่วนโคโยชิ วิชิตก็ส่วนวิชิต เราไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกัน
แต่สำหรับคนในกองถ่ายหนังเรื่อง 男はつらいよ (อ่านว่า โอโตโกะวะสุไรโยะ) "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" การจากไปของโคโยชิ ทำให้หนังที่มีภาคต่อมากที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก (48 ภาคตั้งแต่ปี1969-1996 รวมทั้งสิ้น 27 ปี) ต้องจบเรื่องราวที่แสนยาวนานของมันลง
สำหรับคนญี่ปุ่นการจากไปของ โคโยชิ อาจจะทำให้ใครหลายคนเศร้า เพื่อนญี่ปุ่นของผมเคยบอกกับผมว่า "ใครๆ ก็รักโทร่าซัง" เพราะโทร่าซัง อาจจะเป็นเหมือนความทรงจำที่ดีที่มีต่อชีวิตในช่วงวัยเยาว์ เพราะคนญี่ปุ่นจะได้ดูโทร่าซังกันปีละสองครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่ฉายก็จะอยู่ในช่วงที่เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของญุี่ปุ่น ที่พ่อแม่จะพาสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดไปนั่งดูหนังเรื่องนี้ร่วมกัน แล้วก็มานั่งลุ้นว่าปีนี้ โทร่าซังจะพาเราไปเที่ยวจังหวัดไหนหนอ--การดูหนังเรื่องนี้ก็เหมือนการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่นด้วยไปในตัว
ถ้าเรามองโทร่าซังในแง่ของการสร้างสรรค์ในเชิงภาพยนต์ ดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะไม่มีอะไรหวือหวา(ช่างเหมือนชีวิตจริงๆ ของมนุษย์บนโลก ^_^ เสียนี่กระไร) ทุกๆภาค ก็จะเริ่มที่โทร่าซังเดินทางไปเร่ขายของในจังหวัดหนึ่ง(โทร่าซังหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นคนขายของเร่) แล้วก็เกิดตกหลุมรักผู้หญิงสวยคนหนึ่ง (ที่มักจะเป็นดาราสาวที่กำลังฮอทอยู่ในช่วงเวลานั้น) จากนั้นโทร่าซังก็แห้วในเรื่องความรัก กลับบ้านทะเลากับคนในครอบครัว(ฉากทะเลาะกันในหนังน่ารักมาก ดูแล้วก็จะรู้ว่าเวลาที่คนกำลังทะเลาะกันด้วยความรักและความห่วงใยมันเป็นยังไง) แล้วก็ออกเดินทางต่อ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป
ถ้าเรามองในแง่ที่มันเป็นงานศิลปะที่สะท้อนภาพชีวิตเล็กๆ ของคนในครอบครัวหนึ่ง(โยจิ ยามาดะ เป็นเพื่อนสนิทของ โอสุ ซึ่งมีความเชื่อคล้ายๆ กันคือชอบหนังพล๊อทเล็กๆ เกี่ยวกับชีวิตคนในครอบครัว) ผมว่าโยจิ ยามาดะ--ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ ทำมันได้อย่างละเอียดอ่อน แสนที่จะเรียบง่ายและช่างมีชีวิตชีวา จนเราเชื่อจริงๆ ว่าดาราในเรื่องเขาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ในระยะเวลา 27 ปีพวกเขา ทั้งเติบโตแล้วแก่ชราไปพร้อมๆ กัน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นปีที่ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง 男はつらいよ ที่แปลเป็นไทยว่า "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ในเทศกาลหนังโทร่าซังที่จัดโดยมูลนิธิญี่ปุ่น ที่ตึกเสริมมิตรเป็นครั้งแรก(และอีกหลายครั้งนับจากนั้น ถ้าเย็นวันศุกร์ไหนที่เขานำหนังเรื่องโทร่าซังออกมาฉาย โดยมากผมมักไม่พลาด) นับแต่นั้นมาสำหรับผม ชีวิตของโคโยชิก็ไม่ส่วนของโคโยชิ และวิชิตก็ไม่ส่วนของวิชิตอีกต่อไป
สำหรับผม โคโยชิ อะสุมิ ก็คือ โทร่าซัง การจากไปของเขาทำให้ผู้รู้สึกเสียใจย้อนหลัง(ผมเสียใจช้าไปถึง 5 ปี) เพราะโทร่าซัง เป็นผู้ชายที่ผมรู้สึกดีด้วย(ประโยคนี้เขียนได้ล่อแหลมจริงๆ ^_^) เพราะรู้สึกชื่นชมน้ำจิตน้ำใจที่เขามีต่อคนรอบข้าง และชื่นชมวิธีที่เขามองโลกมองชีวิต
เสียดายเหมือนกันที่ตอนนี้เลยวัยที่จะมี Idol ไปแล้ว-ถ้ารู้จักโทร่าซัง เร็วกว่านี้หน่อยผมก็อาจจะบอกว่า โทร่าซังเป็น Idol ของผม
"มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ยิ่งผู้ชายแบบโทร่าซังด้วยแล้วเนี่ย
ความยากนั้นยิ่งเป็นเท่าทวีคูณ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ในตอนต้นเรื่องของทุกตอน หนังจะเริ่มต้นด้วยเพลงนี้-แทรกด้วยมุขตลกนิดหน่อย
เพลงนี้มีเนื้อร้องที่แปลเป็นไทยว่า
(ท่อนพูด)
ข้าเกิดและเติบโต ใน คัตสุชิกะ
ข้านามสุกลว่า "คุรุม่า"
ส่วนชื่อจริงนั้นคือ "โทราจิโร่"
แต่ ใครๆ ก็เรียกข้าว่า "โทร่าคนพเนจร"
(ท่อนร้อง)
พี่รู้ดีว่าไม่สามารถร่วมชีวิตกับเจ้าได้
พี่เป็นได้ก็เพียงพี่ชายที่แสนดี
แต่พี่จะพยายามทำให้ดีที่สุดแม้ว่าจะต้องร้องไห้
ตะวันกำลังลาลับและวาสนากำลังลาจากพี่ไป
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Sunday, December 03, 2006
The State of Architectural Education
2006-12-03
Architecture is still being taught: in technical schools, academies, faculties of architecture, and in postgraduate institutes for advanced talent. These courses take place in buildings with a name and an address. There are student bodies and teaching staff and they communicate with one another on the basis of curricula and course requirements, attainment targets and exams. There would seem to be nothing amiss. Architecture is a profession and to master it you go to school.
Time was when such schools could confidently assume that the knowledge they were passing on was absolute. There was a canon, there were rules and there was a sense of vocation so that you knew what you were doing it for: for God, your country or another, better world. As an architect you were an initiate of a profession, a school or an ideology – all categories of exclusion, in that anyone who was not an initiate could not, in effect, be a real architect. This exclusion was reinforced by a strong professionalization, culminating in the protection of the title of architect.
And behold, no sooner was the title protected than people started wondering what in fact distinguished an architect from anyone else involved in the creation of space or the processes of construction. Alongside the familiar 'design' architects, there were now architects who specialized in the management and production aspects of building; there were architects who provided concepts, aesthetic monitoring or fantastical constructions and architects who concentrated on draughting, detailing and site supervision. Or perhaps these were not true architects?
Nobody knew for sure. What was certain, was that architecture was losing its grip on its core competencies: the conception, design and elaboration of buildings and the supervision of their realization. The boundaries of the profession were blurring. Everybody was getting in on the architectural act, while for their part architects were dabbling in a host of other disciplines. In such a free-for-all, exclusion – at least on the grounds of pure learning and expertise – is not easy. Architecture had ceased to be a rigorously defined academic discipline.
And something else happened to deprive architectural education of a clear sense of what it was all about. In the past, architecture had always possessed a clear cultural significance. There were styles, which said something about an ideology, a region or the personal views of the client. There were building types, with a corresponding form by which that type could be identified. There were different levels of scale, appropriate to the size of a particular programme. These were all things that could be learned and remembered for a lifetime. But now such remembering seems to be more of a handicap than a benefit. There is much more demand for the ability to think up strategies, to play with form, to design thematically harmonious worlds. Style, form, type, programme – you are better off inventing them from scratch. Preferably in an all-encompassing hybrid.
So this is the dilemma facing architectural education. On the one hand it must retain enough basic knowledge to justify a curriculum and thus schools; on the other hand it must foster a climate in which creativeness flourishes and the evocative power can develop. There will be no lack of talent, for these are precisely the conditions that talent covets. The question is, can the schools do justice to this talent?
author: Ole Bouman
From: http://www.volumeproject.org/plain/object.php?object=974&year=&num=
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Architecture is still being taught: in technical schools, academies, faculties of architecture, and in postgraduate institutes for advanced talent. These courses take place in buildings with a name and an address. There are student bodies and teaching staff and they communicate with one another on the basis of curricula and course requirements, attainment targets and exams. There would seem to be nothing amiss. Architecture is a profession and to master it you go to school.
Time was when such schools could confidently assume that the knowledge they were passing on was absolute. There was a canon, there were rules and there was a sense of vocation so that you knew what you were doing it for: for God, your country or another, better world. As an architect you were an initiate of a profession, a school or an ideology – all categories of exclusion, in that anyone who was not an initiate could not, in effect, be a real architect. This exclusion was reinforced by a strong professionalization, culminating in the protection of the title of architect.
And behold, no sooner was the title protected than people started wondering what in fact distinguished an architect from anyone else involved in the creation of space or the processes of construction. Alongside the familiar 'design' architects, there were now architects who specialized in the management and production aspects of building; there were architects who provided concepts, aesthetic monitoring or fantastical constructions and architects who concentrated on draughting, detailing and site supervision. Or perhaps these were not true architects?
Nobody knew for sure. What was certain, was that architecture was losing its grip on its core competencies: the conception, design and elaboration of buildings and the supervision of their realization. The boundaries of the profession were blurring. Everybody was getting in on the architectural act, while for their part architects were dabbling in a host of other disciplines. In such a free-for-all, exclusion – at least on the grounds of pure learning and expertise – is not easy. Architecture had ceased to be a rigorously defined academic discipline.
And something else happened to deprive architectural education of a clear sense of what it was all about. In the past, architecture had always possessed a clear cultural significance. There were styles, which said something about an ideology, a region or the personal views of the client. There were building types, with a corresponding form by which that type could be identified. There were different levels of scale, appropriate to the size of a particular programme. These were all things that could be learned and remembered for a lifetime. But now such remembering seems to be more of a handicap than a benefit. There is much more demand for the ability to think up strategies, to play with form, to design thematically harmonious worlds. Style, form, type, programme – you are better off inventing them from scratch. Preferably in an all-encompassing hybrid.
So this is the dilemma facing architectural education. On the one hand it must retain enough basic knowledge to justify a curriculum and thus schools; on the other hand it must foster a climate in which creativeness flourishes and the evocative power can develop. There will be no lack of talent, for these are precisely the conditions that talent covets. The question is, can the schools do justice to this talent?
author: Ole Bouman
From: http://www.volumeproject.org/plain/object.php?object=974&year=&num=
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Saturday, December 02, 2006
จดหมายถึงคุณ
2006-12-02
ในฤดูหนาวช่วงปี พ.ศ. 2536 เพลง My Girl เคยกระจายเสียงผ่านลำโพงนี้-ทุกเช้า
ถึงคุณ ที่คิดถึง
ตอนสายวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เวลา 10 นาฬิกา 25 นาที ที่นอกหน้าต่าง ต้นไม้ที่อยู่ข้างบ้านไม่ไหวติง แสงอาทิตย์กำลังฉาบแสงอยู่ที่พื้นห้องข้างๆ หน้าต่าง--ทิศทางของแสงแบบนี้แสดงว่า วงโคจรของมันอยู่ในตำแหน่งที่(อาจจะ)พูดได้ว่าย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว แต่สายนี้ไม่มีลมเหนือพัดผ่านมาเลย--ไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว
ล่วงเลยมาจนป่านนี้ คุณน่าจะเดินทางมาถึงแล้ว ตอนนี้คุณอยู่ที่ไหนหนอ?
เสียงเพลง My Girl ในห้องผมกำลังดังคลอรอคุณอยู่ รู้ไหมสำหรับผมแล้วเพลงนี้เป็นของคุณ มันเป็นเพลงของฤดูหนาว-แม้ว่าคนอื่นอาจจะไม่คิดเช่นนั้น ไม่เป็นไรสิ่งนั้นไม่สำคัญอะไร
เหมือนความอุ่นของตะวันในวันที่มีเมฆหมอก
เหมือนด้านนอกทีี่หนาวเหน็บ
แต่ฉันกลับรู้สึกถึงความอบอุ่นในเดือนพฤษภา
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อสมัยที่ผมยังเด็ก การมาเยือนของคุณทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นเสมอ คุณทำให้การอาบน้ำตอนเช้าตรู่เป็นเรื่องยากลำบาก แต่มันก็ท้าทายความสามารถของเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คุณทำให้ผมใส่แจ็คเก๊ต และผ้าพันคอ เหมือนไอ้มดแดงหรือยอดมนุษย์ไฟฟ้า ไปโรงเรียนเล่นกับเพื่อนได้--โดยมีเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ คุณทำให้หมอกปกคลุมกรุงเทพฯในยามเช้าของวันใหม่--หมอกที่ทำให้ทุกอย่างรอบๆ ตัวดูขมุกขมัวเหมือนอยู่ในความฝัน
กรุงเทพฯ เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงหน้าหนาวอยู่ที่ประมาณ 14 องศาเซลเซียส ผมยังจำได้ดีตอนนั้นผมเรียนหนังสืออยู่ชั้น ป.3 ความหนาวเป็นเรื่องของความสนุก เพราะเราสามารถวิ่งเล่นในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย-วัยเด็กของผมนั้นรู้สึกดีๆ และประทับใจในตัวคุณอยู่ไม่น้อย
ผมว่าเด็กผู้ชายทุกคนต้องเคยเป็นแบบผมคือ จะมีช่วงนึงที่คิดอยากลองดีกับคุณ คุณเป็นเงื่อนไขในการทดสอบความเข้มแข็งของชายชาตรี การใส่เสื้อกันหนาวไปโรงเรียนเป็นจึงเรื่องน่าอาย--อย่างมากที่สุดพวกผมกับเพื่อนก็แค่ใส่เสื้อยืดคอกลมไว้ข้างในเสื้อนักเรียน แล้วก็แสร้งทำเป็นพูดว่าไม่หนาวเลยซักนิด ^_^ พอมาถึงวันนี้นั่งคิดถึงมันแล้ว ผมก็ยังรู้สึกขำอยู่เลย
เหมือนได้รับความหอมหวานที่แม้แต่ผึ้งเองก็ยังอิจฉา
เหมือนบทเพลงที่แสนไพเราะกว่าเสียงของนกที่อยู่บนต้นไม้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
ผมมานั่งนึกดูว่าอะไรที่ทำให้ เพลง My Girl นั้นสัมพันธ์แนบแน่นกับคุณ อาจจะเป็นได้ว่าตอนสมัยที่ผมเรียนอยู่ชั้นมอปลาย ในหน้าหนาวของปีหนึ่ง(ไม่มอห้าก็มอหก) ผมต้องไปจัดรายการวิทยุเสียงตามสายของโรงเรียนแทนเพื่อนสนิท เพลง My Girl คือเพลงที่ผมใช้เปิดทุกเช้าในช่วงนั้น(โดยหวังว่าผู้หญิงที่ผมชอบจะได้ยินมัน) มันเป็นเพลงแรกของวันใหม่ เพราะฉะนั้นในความทรงจำของผม My Girl จึงเป็นเพลงของฤดูหนาว ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นเพลงของคุณด้วย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อเช้าวานนี้กรุงเทพฯ มีฝนตกลงมา รุ่นพี่ที่ออฟฟิศมองออกข้างนอกหน้าต่าง แล้วหันมาโวยวายว่า "เป็นไปได้ยังไงว่ะ December rain เนี่ยนะ เคยได้ยินแต่ November rain ตอนนี้มันควรจะหนาวแล้วโว้ยไม่ใช่ฝนตก" แล้วก็หัวเราะร่วน จากนั้นพวกเพื่อนๆ ผมก็จับกลุ่มคุยกัน เพื่อนผมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อเช้าฟังข่าวเขาบอกว่า นับแต่นี้ไปกรุงเทพฯจะไม่มีฤดูหนาว--นั่นหมายความว่าคุณจะไม่กลับมาเยี่ยมเยียนกรุงเทพฯอีกแล้ว ไม่อีกตลอดไปนับจากนี้ ผมไม่แน่ใจว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร ข่าวนี้ทำให้ผมรู้สึกใจหายอยู่ไม่น้อย
ด้วยเหตุนี้ เช้านี้ผมจึงตัดสินใจเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงคุณ ผมรู้ว่าพวกเราทำผิดกับคุณไว้ไม่ใช่น้อย ไม่แปลกใจเลยที่คุณจะไม่มาเยี่ยมเยียนพวกเราอีก นับแต่วันนี้ผมก็หวังแต่ว่าพวกเราจะทำให้มันดีขึ้น และเมื่อทุกอย่างดีขึ้น ถ้าวันนั้นมีจริง ผมคงได้พบกับคุณอีก และเมื่อวันนั้นมาถึงผมจะเปิดเพลง My Girl ให้คุณฟังเหมือนเช่นเคย--เพราะสำหรับผมมันเป็นเพลงของคุณ ถึงแม้ว่าคนอื่นจะไม่คิดเช่นนั้นเลย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
คุณนั่นไง--ฤดูหนาว
หวังว่าคงจะได้พบคุณอีกในไม่ช้า
จาก
ผม--คนที่กำลังรอคอยคุณอยู่ที่นี่
ที่กรุงเทพฯ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
My Girl (1965)--The Temptations
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
ในฤดูหนาวช่วงปี พ.ศ. 2536 เพลง My Girl เคยกระจายเสียงผ่านลำโพงนี้-ทุกเช้า
ถึงคุณ ที่คิดถึง
ตอนสายวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เวลา 10 นาฬิกา 25 นาที ที่นอกหน้าต่าง ต้นไม้ที่อยู่ข้างบ้านไม่ไหวติง แสงอาทิตย์กำลังฉาบแสงอยู่ที่พื้นห้องข้างๆ หน้าต่าง--ทิศทางของแสงแบบนี้แสดงว่า วงโคจรของมันอยู่ในตำแหน่งที่(อาจจะ)พูดได้ว่าย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว แต่สายนี้ไม่มีลมเหนือพัดผ่านมาเลย--ไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว
ล่วงเลยมาจนป่านนี้ คุณน่าจะเดินทางมาถึงแล้ว ตอนนี้คุณอยู่ที่ไหนหนอ?
เสียงเพลง My Girl ในห้องผมกำลังดังคลอรอคุณอยู่ รู้ไหมสำหรับผมแล้วเพลงนี้เป็นของคุณ มันเป็นเพลงของฤดูหนาว-แม้ว่าคนอื่นอาจจะไม่คิดเช่นนั้น ไม่เป็นไรสิ่งนั้นไม่สำคัญอะไร
เหมือนความอุ่นของตะวันในวันที่มีเมฆหมอก
เหมือนด้านนอกทีี่หนาวเหน็บ
แต่ฉันกลับรู้สึกถึงความอบอุ่นในเดือนพฤษภา
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อสมัยที่ผมยังเด็ก การมาเยือนของคุณทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นเสมอ คุณทำให้การอาบน้ำตอนเช้าตรู่เป็นเรื่องยากลำบาก แต่มันก็ท้าทายความสามารถของเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คุณทำให้ผมใส่แจ็คเก๊ต และผ้าพันคอ เหมือนไอ้มดแดงหรือยอดมนุษย์ไฟฟ้า ไปโรงเรียนเล่นกับเพื่อนได้--โดยมีเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ คุณทำให้หมอกปกคลุมกรุงเทพฯในยามเช้าของวันใหม่--หมอกที่ทำให้ทุกอย่างรอบๆ ตัวดูขมุกขมัวเหมือนอยู่ในความฝัน
กรุงเทพฯ เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงหน้าหนาวอยู่ที่ประมาณ 14 องศาเซลเซียส ผมยังจำได้ดีตอนนั้นผมเรียนหนังสืออยู่ชั้น ป.3 ความหนาวเป็นเรื่องของความสนุก เพราะเราสามารถวิ่งเล่นในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย-วัยเด็กของผมนั้นรู้สึกดีๆ และประทับใจในตัวคุณอยู่ไม่น้อย
ผมว่าเด็กผู้ชายทุกคนต้องเคยเป็นแบบผมคือ จะมีช่วงนึงที่คิดอยากลองดีกับคุณ คุณเป็นเงื่อนไขในการทดสอบความเข้มแข็งของชายชาตรี การใส่เสื้อกันหนาวไปโรงเรียนเป็นจึงเรื่องน่าอาย--อย่างมากที่สุดพวกผมกับเพื่อนก็แค่ใส่เสื้อยืดคอกลมไว้ข้างในเสื้อนักเรียน แล้วก็แสร้งทำเป็นพูดว่าไม่หนาวเลยซักนิด ^_^ พอมาถึงวันนี้นั่งคิดถึงมันแล้ว ผมก็ยังรู้สึกขำอยู่เลย
เหมือนได้รับความหอมหวานที่แม้แต่ผึ้งเองก็ยังอิจฉา
เหมือนบทเพลงที่แสนไพเราะกว่าเสียงของนกที่อยู่บนต้นไม้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
ผมมานั่งนึกดูว่าอะไรที่ทำให้ เพลง My Girl นั้นสัมพันธ์แนบแน่นกับคุณ อาจจะเป็นได้ว่าตอนสมัยที่ผมเรียนอยู่ชั้นมอปลาย ในหน้าหนาวของปีหนึ่ง(ไม่มอห้าก็มอหก) ผมต้องไปจัดรายการวิทยุเสียงตามสายของโรงเรียนแทนเพื่อนสนิท เพลง My Girl คือเพลงที่ผมใช้เปิดทุกเช้าในช่วงนั้น(โดยหวังว่าผู้หญิงที่ผมชอบจะได้ยินมัน) มันเป็นเพลงแรกของวันใหม่ เพราะฉะนั้นในความทรงจำของผม My Girl จึงเป็นเพลงของฤดูหนาว ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นเพลงของคุณด้วย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อเช้าวานนี้กรุงเทพฯ มีฝนตกลงมา รุ่นพี่ที่ออฟฟิศมองออกข้างนอกหน้าต่าง แล้วหันมาโวยวายว่า "เป็นไปได้ยังไงว่ะ December rain เนี่ยนะ เคยได้ยินแต่ November rain ตอนนี้มันควรจะหนาวแล้วโว้ยไม่ใช่ฝนตก" แล้วก็หัวเราะร่วน จากนั้นพวกเพื่อนๆ ผมก็จับกลุ่มคุยกัน เพื่อนผมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อเช้าฟังข่าวเขาบอกว่า นับแต่นี้ไปกรุงเทพฯจะไม่มีฤดูหนาว--นั่นหมายความว่าคุณจะไม่กลับมาเยี่ยมเยียนกรุงเทพฯอีกแล้ว ไม่อีกตลอดไปนับจากนี้ ผมไม่แน่ใจว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร ข่าวนี้ทำให้ผมรู้สึกใจหายอยู่ไม่น้อย
ด้วยเหตุนี้ เช้านี้ผมจึงตัดสินใจเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงคุณ ผมรู้ว่าพวกเราทำผิดกับคุณไว้ไม่ใช่น้อย ไม่แปลกใจเลยที่คุณจะไม่มาเยี่ยมเยียนพวกเราอีก นับแต่วันนี้ผมก็หวังแต่ว่าพวกเราจะทำให้มันดีขึ้น และเมื่อทุกอย่างดีขึ้น ถ้าวันนั้นมีจริง ผมคงได้พบกับคุณอีก และเมื่อวันนั้นมาถึงผมจะเปิดเพลง My Girl ให้คุณฟังเหมือนเช่นเคย--เพราะสำหรับผมมันเป็นเพลงของคุณ ถึงแม้ว่าคนอื่นจะไม่คิดเช่นนั้นเลย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
คุณนั่นไง--ฤดูหนาว
หวังว่าคงจะได้พบคุณอีกในไม่ช้า
จาก
ผม--คนที่กำลังรอคอยคุณอยู่ที่นี่
ที่กรุงเทพฯ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
My Girl (1965)--The Temptations
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Friday, December 01, 2006
2006-12-01
Creative Evolution
Henri Bergson
ISBN : 0486400360
The fullest expression of the distinguished French philosopher’s ideas about the meaning of life appear in this extended essay, his most famous and influential work. In propounding his distinctive theory of evolution, Bergson considers nature and intelligence, examines mechanisms of thought and illusion, and presents a criticism of philosophical systems from those of the ancients to those of his 19th-century contemporaries.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Creative Evolution--Henri Bergson
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Thursday, November 30, 2006
2006-11-30
Book bought:
-
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-GM Magazine vol.340--พศจิกายน 2549
-ธรรมมะสบายใจ--ว.วชิรเมธี
-
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-GM Magazine vol.340--พศจิกายน 2549
-ธรรมมะสบายใจ--ว.วชิรเมธี
Wednesday, November 29, 2006
Tuesday, November 28, 2006
Monday, November 27, 2006
Sunday, November 26, 2006
Saturday, November 25, 2006
2006-11-25
KM3 Excursions on Capacities
MVRDV
ISBN : 84-95951-85-1
Three-dimensionality can be seen as architecture's fundamental existence, the profession's acclaimed domain. In times of globalism and scale enlargement, an update of this definition seems needed: metres turn into kilometres, “M3” becomes “KM3”. KM3 is a story about a world that is getting dense. Very dense. It constructs its logical response: a city that is denser. A city that is continuously under construction, with space for limitless capacities, populations and possibilities. Beyond scarcity. Beyond separation. Beyond pessimism and protectionism. The 3D City. A free-fall in endless space. From right to left, from front to back, from above to below. Pure depth. Without escape. Yet. KM3 is more a construct than an analysis. KM3 is a hypothesis. A theoretical city. And a possible urban theory. KM3 can also be seen as a science-fiction novel, a twin pair that describes this upcoming city as an emerging presence, an already existing 'other' world within known reality. Included with the book is a DVD of animations and two urban planning software programs designed by MVRDV.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-KM3 Excursions on Capacities--MVRDV
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-Art4d Magazine--October 2006
Friday, November 24, 2006
2006-11-24
Book bought:
-
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-Art4d Magazine--October 2006
-
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-Art4d Magazine--October 2006
Thursday, November 23, 2006
2006-11-23
Book bought:
-
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-Art4d Magazine--October 2006
-
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-Art4d Magazine--October 2006
Wednesday, November 22, 2006
Tuesday, November 21, 2006
Monday, November 20, 2006
เรื่องของเชนกับนวลจัน
2006-11-20
Shane: I gotta be goin' on.
Joey: Why, Shane?
Shane: A man has to be what he is, Joey. You can't break the mold. I tried it and it didn't work for me.
เชนขี่ม้าลงมาจากหุบเขาในเขตรัฐไวโอมิ่งในบรรยากาศที่ดูสดใส กวางน้อยที่กำลังดื่มน้ำหันไปมองเชนอย่างไม่มีอาการตื่นกลัว ทุกอย่างช่างดูปรกติ สะท้อนภาพลักษณ์ที่ดูสงบและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติของเชน บุรุษผู้มาจากแดนไกลซึ่งกำลังเดินทางเข้ามาในเขตชนบทของชาวไร่ชาวนา
นวลจันเดินอยู่บนทางที่แสนกันดารและร้อนระอุในชนบท สองข้างทางเป็นหญ้าขึ้นรก บรรยากาศวังเวง เธอเดินด้วยความมุ่งมั่น เหมือนคนกำลังวิ่งหนีความทุกข์(ความสุขของเธอกำลังรอเธออยู่ข้างหน้า) อย่างร้อนรน และเร่งรีบ เธอกำลังเดินเข้าไปในเมือง
ระหว่างทางเชนพบกับเด็กผู้ชายที่มีชื่อว่าโจอี้ ซึ่งแอบมองเชนตั้งแต่ตอนขี่ม้าลงมาจากหุบเขา แน่นอนมีอะไรบางอย่างบอกว่าเชนไม่ใช่ผู้ชายธรรมดา เขาคือผู้ชายที่จะมาช่วยเหลือชาวไร่ชาวนาที่รักสงบ ที่อยู่กินอย่างพอเพียง จากน้ำมือของไรเกอร์และพรรคพวก ที่ต้องการขับไล่ชาวบ้านออกไปจากพื้นที่เพื่อใช้ที่ดินเหล่านี้เลี้ยงฝูงวัวจำนวนมหาศาล ดังนั้นการเข้ามาของเชนก็คือการเข้ามาต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และปกป้องผืนดิน(earth--พระแม่ธรณี--ตัวแทนเพศหญิง) จากผู้ที่จะมาแผ้วถางทำร้าย ทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทันทีที่เชนขี่ม้าเข้ามา--ทุกอย่างจะไม่มีวันเหมือนเดิม เรื่องดีๆ กำลังจะเกิดขึ้น
ขณะที่นวลจันเดินเข้าไปในบ้านหลังนั้น เธอได้พบกับนางช้อย(ต่างฝ่ายก็ต่างตกใจเมื่อได้เห็นหน้ากันและกัน) จากนั้นนางช้อยก็พานวลจันเข้าไปหาแม่บ้าน ซึ่งบรรยากาศภายในบ้านหลังนั้นก็ดูทะมึนขึ้นเรื่อยๆ นวลจันเล่าให้แม่บ้านฟังว่า เธอกำลังท้อง เดินทางมาจากบ้านนอกก็เพื่อจะมาหาผัว(นายชอบ)ซึ่งหายไป(เธอมาด้วยเรื่องส่วนตัวล้วนๆ และก็ไม่ได้ต่อสู้เพื่ออะไรที่ดูยิ่งใหญ่) เธอขอรบกวนพักที่บ้านนี้ซักคืน แม่บ้านหันมาตวาดนางช้อยว่า กำลังนำความซวยเข้ามาในบ้าน แต่แม่บ้านก็ยังให้นวลจันนอนที่นี่ได้พร้อมกับกำชับว่าห้ามเข้าไปยุ่งในเรือนหลังใหญ่(ของคุณนายรัญจวน)--ทันทีที่นวลจันได้เข้ามาพักในบ้านหลังนั้น--ทุกอย่างในบ้านจะไม่มีวันเหมือนเดิม เรื่องร้ายๆ กำลังจะเกิดขึ้น
ในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและการปกป้องผืนดิน(ของชาวไร่) เชนต้องพบเจอกับอุปสรรคต่างๆ นานา(ซึ่งเชนก็ไม่ได้ผ่านมันไปได้แบบหมูๆ) ไม่ว่าจะเป็นการทำดี(ตัดตอไม้ที่เกะกะขวางทาง)จนชนะใจโจ สตาร์เล็ต(พ่อของโจอี้) หรือการทำตัวคูลๆ นิ่งเฉยไม่ตอบโต้คริสลูกน้องของไรเกอร์จนชาวบ้านหมดศรัทธา จนถึงตอนการประทะกันตอนท้ายเรื่องกับไรเกอร์
บนเส้นทางในการเดินทาง--ตามหาผัว(นายชอบ) ของนวลจัน ก็ไม่ได้หมู ไหนจะยายเอิบ ไหนจะผีลูกยายเอิบ ไหนจะผีคุณนายรัญจวน ไหนจะนางช้อย ไหนจะผีแม่บ้าน ไหนจะต้องคลอดลูก ไหนจะต้องมารู้ความจริงว่าผัวของตัวเอง(ที่รักเป็นนักหนา) นั้นมีเมียอยู่ก่อนแล้ว มิหนำซ้ำเมียแกไม่ใช่ใครที่ไหน ที่แท้ก็...คนนั้นนั่นเอง และสุดท้ายนวลจันก็ต้องมาพบกับความจริงที่ทำให้เธอต้องทุกข์อย่างสาหัสก็คือ...นั่นเอง
สำหรับสังคมชาวไร่ เชนก็เปรียบเสมือนคนนอก (Outsider) เป็นคนที่เข้ามาเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เป็นเพียงแค่คนที่เดินผ่านมา ซึ่งเชนไม่สามารถกลมกลืนกับสถานที่แห่งนี้--แม้ว่าชาวไร่จะรักเขาเป็นนักหนา เมื่อถึงเวลา เขาก็จำเป็นต้องบอกลาและเดินทางต่อไป
สำหรับสังคมภายในบ้านของคุณนายรัญจวน นวลจันซึ่งแม้จะดูเหมือนว่าเป็นคนที่เข้ามาขอพักอาศัย แต่เธอเป็นเสมือนกุญแจ สำคัญ ให้ระบบการหลอกหลอนชั่วนิรันดรในบ้านหลังนี้ทำงาน ถ้าบ้านหลังนี้ขาดเธอสักคน ความสยองขวัญจนขนหัวลุก ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะจบลง ถ้ามองในแง่นี้เธอผู้รอนแรมมาจากแดนไกล ก็คือ คนใน( Insider)
และเมื่อคุณนายรัญจวนถามแม่บ้านว่า
"แกว่ามันจะกลับมาอีกมั้ย?"
และถ้าเชนตอบคำถามนี้แทนนวลจันได้
เขาก็อาจจะบอกว่า
"เบ้าหลอมของแต่ละคนเป็นยังไงก็จะเป็นอย่างนั้น
มันจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง"
ในตอนท้ายเรื่อง
เชนกำลังเดินออกไป เดินออกไปจนลับสายตา
ในขณะที่นวลจันกำลังเดินเข้ามาเข้ามาใกล้ขึ้นเรื่อยๆ
และทุกอย่างกำลังเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
แบบนี้หรือเปล่านะ?
ที่นิทเช่ เรียกมันว่า
"Eternal Reterns" :P
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Shane(1953)--George Steven
เปนชู้กับผี(2006)--วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-ร่างกายใต้บงการ: ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่--มิแช็ล ฟูโกต์ แปลโดย ทองกร โภคธรรม
Shane: I gotta be goin' on.
Joey: Why, Shane?
Shane: A man has to be what he is, Joey. You can't break the mold. I tried it and it didn't work for me.
เชนขี่ม้าลงมาจากหุบเขาในเขตรัฐไวโอมิ่งในบรรยากาศที่ดูสดใส กวางน้อยที่กำลังดื่มน้ำหันไปมองเชนอย่างไม่มีอาการตื่นกลัว ทุกอย่างช่างดูปรกติ สะท้อนภาพลักษณ์ที่ดูสงบและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติของเชน บุรุษผู้มาจากแดนไกลซึ่งกำลังเดินทางเข้ามาในเขตชนบทของชาวไร่ชาวนา
นวลจันเดินอยู่บนทางที่แสนกันดารและร้อนระอุในชนบท สองข้างทางเป็นหญ้าขึ้นรก บรรยากาศวังเวง เธอเดินด้วยความมุ่งมั่น เหมือนคนกำลังวิ่งหนีความทุกข์(ความสุขของเธอกำลังรอเธออยู่ข้างหน้า) อย่างร้อนรน และเร่งรีบ เธอกำลังเดินเข้าไปในเมือง
ระหว่างทางเชนพบกับเด็กผู้ชายที่มีชื่อว่าโจอี้ ซึ่งแอบมองเชนตั้งแต่ตอนขี่ม้าลงมาจากหุบเขา แน่นอนมีอะไรบางอย่างบอกว่าเชนไม่ใช่ผู้ชายธรรมดา เขาคือผู้ชายที่จะมาช่วยเหลือชาวไร่ชาวนาที่รักสงบ ที่อยู่กินอย่างพอเพียง จากน้ำมือของไรเกอร์และพรรคพวก ที่ต้องการขับไล่ชาวบ้านออกไปจากพื้นที่เพื่อใช้ที่ดินเหล่านี้เลี้ยงฝูงวัวจำนวนมหาศาล ดังนั้นการเข้ามาของเชนก็คือการเข้ามาต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และปกป้องผืนดิน(earth--พระแม่ธรณี--ตัวแทนเพศหญิง) จากผู้ที่จะมาแผ้วถางทำร้าย ทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทันทีที่เชนขี่ม้าเข้ามา--ทุกอย่างจะไม่มีวันเหมือนเดิม เรื่องดีๆ กำลังจะเกิดขึ้น
ขณะที่นวลจันเดินเข้าไปในบ้านหลังนั้น เธอได้พบกับนางช้อย(ต่างฝ่ายก็ต่างตกใจเมื่อได้เห็นหน้ากันและกัน) จากนั้นนางช้อยก็พานวลจันเข้าไปหาแม่บ้าน ซึ่งบรรยากาศภายในบ้านหลังนั้นก็ดูทะมึนขึ้นเรื่อยๆ นวลจันเล่าให้แม่บ้านฟังว่า เธอกำลังท้อง เดินทางมาจากบ้านนอกก็เพื่อจะมาหาผัว(นายชอบ)ซึ่งหายไป(เธอมาด้วยเรื่องส่วนตัวล้วนๆ และก็ไม่ได้ต่อสู้เพื่ออะไรที่ดูยิ่งใหญ่) เธอขอรบกวนพักที่บ้านนี้ซักคืน แม่บ้านหันมาตวาดนางช้อยว่า กำลังนำความซวยเข้ามาในบ้าน แต่แม่บ้านก็ยังให้นวลจันนอนที่นี่ได้พร้อมกับกำชับว่าห้ามเข้าไปยุ่งในเรือนหลังใหญ่(ของคุณนายรัญจวน)--ทันทีที่นวลจันได้เข้ามาพักในบ้านหลังนั้น--ทุกอย่างในบ้านจะไม่มีวันเหมือนเดิม เรื่องร้ายๆ กำลังจะเกิดขึ้น
ในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและการปกป้องผืนดิน(ของชาวไร่) เชนต้องพบเจอกับอุปสรรคต่างๆ นานา(ซึ่งเชนก็ไม่ได้ผ่านมันไปได้แบบหมูๆ) ไม่ว่าจะเป็นการทำดี(ตัดตอไม้ที่เกะกะขวางทาง)จนชนะใจโจ สตาร์เล็ต(พ่อของโจอี้) หรือการทำตัวคูลๆ นิ่งเฉยไม่ตอบโต้คริสลูกน้องของไรเกอร์จนชาวบ้านหมดศรัทธา จนถึงตอนการประทะกันตอนท้ายเรื่องกับไรเกอร์
บนเส้นทางในการเดินทาง--ตามหาผัว(นายชอบ) ของนวลจัน ก็ไม่ได้หมู ไหนจะยายเอิบ ไหนจะผีลูกยายเอิบ ไหนจะผีคุณนายรัญจวน ไหนจะนางช้อย ไหนจะผีแม่บ้าน ไหนจะต้องคลอดลูก ไหนจะต้องมารู้ความจริงว่าผัวของตัวเอง(ที่รักเป็นนักหนา) นั้นมีเมียอยู่ก่อนแล้ว มิหนำซ้ำเมียแกไม่ใช่ใครที่ไหน ที่แท้ก็...คนนั้นนั่นเอง และสุดท้ายนวลจันก็ต้องมาพบกับความจริงที่ทำให้เธอต้องทุกข์อย่างสาหัสก็คือ...นั่นเอง
สำหรับสังคมชาวไร่ เชนก็เปรียบเสมือนคนนอก (Outsider) เป็นคนที่เข้ามาเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เป็นเพียงแค่คนที่เดินผ่านมา ซึ่งเชนไม่สามารถกลมกลืนกับสถานที่แห่งนี้--แม้ว่าชาวไร่จะรักเขาเป็นนักหนา เมื่อถึงเวลา เขาก็จำเป็นต้องบอกลาและเดินทางต่อไป
สำหรับสังคมภายในบ้านของคุณนายรัญจวน นวลจันซึ่งแม้จะดูเหมือนว่าเป็นคนที่เข้ามาขอพักอาศัย แต่เธอเป็นเสมือนกุญแจ สำคัญ ให้ระบบการหลอกหลอนชั่วนิรันดรในบ้านหลังนี้ทำงาน ถ้าบ้านหลังนี้ขาดเธอสักคน ความสยองขวัญจนขนหัวลุก ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะจบลง ถ้ามองในแง่นี้เธอผู้รอนแรมมาจากแดนไกล ก็คือ คนใน( Insider)
และเมื่อคุณนายรัญจวนถามแม่บ้านว่า
"แกว่ามันจะกลับมาอีกมั้ย?"
และถ้าเชนตอบคำถามนี้แทนนวลจันได้
เขาก็อาจจะบอกว่า
"เบ้าหลอมของแต่ละคนเป็นยังไงก็จะเป็นอย่างนั้น
มันจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง"
ในตอนท้ายเรื่อง
เชนกำลังเดินออกไป เดินออกไปจนลับสายตา
ในขณะที่นวลจันกำลังเดินเข้ามาเข้ามาใกล้ขึ้นเรื่อยๆ
และทุกอย่างกำลังเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
แบบนี้หรือเปล่านะ?
ที่นิทเช่ เรียกมันว่า
"Eternal Reterns" :P
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Shane(1953)--George Steven
เปนชู้กับผี(2006)--วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-ร่างกายใต้บงการ: ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่--มิแช็ล ฟูโกต์ แปลโดย ทองกร โภคธรรม
Sunday, November 19, 2006
2006-11-19
Looking for Mies
Ricardo Daza
ISBN : 84-95273-38-1
A short and compelling text, 'Looking for Mies' aims to reveal the man behind the architecture. The now famous photograph of Mies van der Rohe in a steel and glass building smoking a cigar has fascinated and intrigued the author to such an extent, that he has painstakingly researched the events surrounding its taking.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-20th Century Boys เล่ม 19-21--Naoki Urasawa
-Seattle Public Library--OMA/LMN
-Looking for Mies--Ricardo Daza
-ร่างกายใต้บงการ: ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่--มิแช็ล ฟูโกต์ แปลโดย ทองกร โภคธรรม
Saturday, November 18, 2006
2006-11-18
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-20th Century Boys เล่ม 15-19--Naoki Urasawa
Book bought:
-
Book read:
-20th Century Boys เล่ม 15-19--Naoki Urasawa
Friday, November 17, 2006
2006-11-17
Seattle Public Library
OMA/LMN
ISBN : 84-95951-63-0
The third Verb monograph examines the Seattle Public Library, one of OMA’s most heavily anticipated projects in the US. First, we look at the project in terms of the role of new media technologies that have changed the status of the library in the contemporary city. In Seattle, the city’s library begins with a radical rethinking of the very nature of the library, conceived as an “information store” rather than a traditional repository for books. Second, we explore the relation of the project to a well-known history of investigations by OMA into the library/mediatheque typology, which includes the TGB, Jussieu, and ZKM projects. As in previous Verb monographs, this third installment provides a comprehensive account of a project’s design process that tracks its development from the initial concept, through construction, ending with the building’s inauguration.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Seattle Public Library--OMA/LMN
Books read:
-20th Century Boys เล่ม 12-13--Naoki Urasawa
-The Metapolis Dictionary of Advanced Architecture--Manuel Gausa, Vicente Guallart, Willy Müller, Federico Soriano, José Morales, Fernando Porras
Thursday, November 16, 2006
2006-11-16
The Metapolis Dictionary of Advanced Architecture
Manuel Gausa, Vicente Guallart, Willy Müller, Federico Soriano,
José Morales, Fernando Porras
ISBN: 84-95951-22-3
This subsequent English edition of “Metapolis” is a extended version of the original Spanish edition, and continues to seek and identify a new architectural will within the contemporary social and cultural panorama. Metapolis aspires to contribute to the formation of a global, albeit non-absolute, vision of the emerging new architectural action, one that participates in “advanced culture” and is present in various art disciplines, thought and technology. The book speaks of an architecture inscribed in the information society and influenced by the new technologies, the new economy, environment concerns and individual interests. From the onset of the project, the diversity of the authors and works was considered invaluable for the generation of intersections discourse and theory among the many collaborators.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-The Metapolis Dictionary of Advanced Architecture--Manuel Gausa, Vicente Guallart, Willy Müller, Federico Soriano, José Morales, Fernando Porras
Books read:
-20th Century Boys เล่ม 11--Naoki Urasawa
-The Metapolis Dictionary of Advanced Architecture--Manuel Gausa, Vicente Guallart, Willy Müller, Federico Soriano, José Morales, Fernando Porras
Wednesday, November 15, 2006
2006-11-15
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม เล่ม 14--โนนากะ เอย์จิ
Books read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
-20th Century Boys เล่ม 6-10--Naoki Urasawa
Book bought:
-คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม เล่ม 14--โนนากะ เอย์จิ
Books read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
-20th Century Boys เล่ม 6-10--Naoki Urasawa
Tuesday, November 14, 2006
2006-11-14
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
-20th Century Boys เล่ม 1-5--Naoki Urasawa
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
-20th Century Boys เล่ม 1-5--Naoki Urasawa
Monday, November 13, 2006
Tatsuo Yasuda
2006-11-13
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549
เกริ่นนำ
ผมพบกับ ทัสซีโอะ ยาสึดะ ในวันที่สามที่ผมใช้ชีวิตอยู่ในเกียวโต วันนี้ผมนัดกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า ฟูมิเอะ ซาไซ เธอเป็นศิลปิน เธอเป็นคนใจดี นิสัยดี เธอเป็นคนใจเย็น และปราณีต(อันนี้ผมสังเกตเอาเองจากงานศิลปะที่เธอทำ) เธอเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต วันนี้เป็นวันเสาร์ เธอว่างจากงานสอน และเสนอตัวเป็นไกด์พาผมเที่ยว(ซาไซบอกว่าผมมาในช่วงที่กำลังมีการสอบไล่เธอจึงยุ่งมากๆ) ผมนัดกับเธอตั้งแต่เช้าตรู่ที่ร้านสตาร์บัค ที่หน้าสถานนีรถไฟเกียวโต เพราะซาไซต้องนั่งรถไฟมาจากบ้านของเธอที่อยู่ที่โอซาก้า) เธอบอกว่าวันนี้จะพาผมตลุยดูงานศิลปะ(ผมบอกซาไซว่าไม่ต้องตะลุยหรอกผมไม่รีบ--เธอหัวเราะ) เริ่มจากแกลเลอรี่ของเพื่อนเธอที่กีออน(เป็นแกลเลอรี่ที่น่ารักเอามากๆ) ที่นั่นมีงานซาไซแสดงอยู่ จากนั้นเธอก็พาไปวัดเซนของท่านโดเก็น(ที่นี่ทำให้ผมขนลุกด้วยความตื่นเต้น--ก็ที่นี่ถือเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายสำคัญในการท่องเที่ยวทริปนั้น ^_^) จากนั้นเราก็เดินมาเรื่อยๆ แบบชิวๆ ข้ามแม่น้ำกาโม่มั้งถ้าจำไม่ผิด ผมชี้ตึกไทม์ (Time) ที่ออกแบบโดยทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando)ให้ซาไซดู ซาไซรู้จักทาดาโอะ เพราะทุนที่เธอได้มาทำงานวิจัยที่เมืองไทย มีทาดาโอะ ดันโดะสถาปนิกชื่อดังคนนี้ เป็นคณะกรรมการร่วมอยู่ด้วย เดินผ่านตึกไทม์ไปเล็กน้อย ผมเห็นโปสเตอร์อันหนึ่งสะดุดตา จึงบอกซาไซว่าลงไปดูงานข้างล่างกันเถอะ (พอดีแกลเลอรี่นี้อยู่ชั้นใต้ดิน) และแล้วผมก็ได้พบกับ ทัสซึโอะ ยาสึดะ (Tatsuo Yasuda)
โปสเตอร์ทางด้านหน้าแกลเลอรี่ที่ผมบังเอิญเห็นเข้า--ก่อนที่จะชักชวนซาไซเข้าไปดูงาน
ที่ อิเตะซะ(Iteza) แกลเลอรี่
โลกของทัสซีโอะ--ในแกลเลอรี่ขนาดเล็กๆ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
สองนาทีกับ ทัสซึโอะ*
ซาไซ--เพื่อนฉันมาจากกรุงเทพฯ ชอบงานคุณมากค่ะ อยากให้ฉันช่วยเป็นล่าม
เขาอยากคุยกับคุณ
ทัสซึโอะ--ยินดีครับ ขอบคุณที่ชอบงานผม (ซาไซหันมาแปลให้ผมฟัง)
วิชิต--งานคุณน่ารักดี มีอารมณ์ขัน แล้วก็มีกลิ่นไอของธรรมชาติ
ทัสซึโอะ--ผมเป็นคนบ้านนอก ก็เลยได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติเยอะครับ
วิชิต--ไม่ทราบว่าคุณมีอีเมล์ไหมครับ เผื่อโอกาสหน้าเราจะได้ติดต่อกัน (ซาไซหันไปแปลให้ทัสซึโอะฟัง)
ทัสซึโอะ--เสียใจด้วยครับบ้านผมไม่มีคอมพิวเตอร์
ซาไซ--(หันมาคุยกับผม)จี้ ขอเบอร์โทรศัพท์ไม๊ เวลาถ้ามีธุระอยากคุยฉันจะติดต่อให้น่ะ (ซาไซหันไปคุยกับทัสซึโอะ)
ทัสซึโอะ--ต้องขอโทษด้วยจริงๆ โทรศัพท์ที่บ้านผมก็ไม่มีครับ ถ้าอยากจะติดต่อกันจริงๆ ไม่ต้องรีบร้อนครับเขียนจดหมายคุยกันก็ได้ ส่งมาตามที่อยู่นี้ หรือจะส่งมาที่หอศิลป์ที่นี่ก็ได้ ผมมีรถเก่าๆ คันนึงครับ ขับเขามาในเมืองเกียวโตบ่อย
วิชิต--(ผมกำลังอมยิ้มกับข้อความที่ซาไซแปล "ถ้าอยากจะติดต่อกันจริงๆ ไม่ต้องรีบร้อน") พร้อมกับรับโปสการ์ดแผ่นเล็กๆ ที่ทัสซีโอะยื่นให้ผม
วิชิต--ขอบคุณมากครับ หวังว่าโอกาสหน้าเราคงได้คุยกันอีก
ซาไซ--ขอบคุณมากค่ะ
ทัสซึโอะ--ไม่เป็นไรครับยินดีที่ได้รู้จัก
*บทสัมภาษณ์ ทัสซึโอะ ยาสึดะ วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2549 ที่ Gallery Iteza เกียวโต โดย วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ และ ฟูมิเอะ ซาไซ แกะจากร่องรอยความทรงจำ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Dylan:Visions, Portraits, and Back Pages--Edited by Mark Blake(MOJO)
-National Geographic--ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2549
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549
เกริ่นนำ
ผมพบกับ ทัสซีโอะ ยาสึดะ ในวันที่สามที่ผมใช้ชีวิตอยู่ในเกียวโต วันนี้ผมนัดกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า ฟูมิเอะ ซาไซ เธอเป็นศิลปิน เธอเป็นคนใจดี นิสัยดี เธอเป็นคนใจเย็น และปราณีต(อันนี้ผมสังเกตเอาเองจากงานศิลปะที่เธอทำ) เธอเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต วันนี้เป็นวันเสาร์ เธอว่างจากงานสอน และเสนอตัวเป็นไกด์พาผมเที่ยว(ซาไซบอกว่าผมมาในช่วงที่กำลังมีการสอบไล่เธอจึงยุ่งมากๆ) ผมนัดกับเธอตั้งแต่เช้าตรู่ที่ร้านสตาร์บัค ที่หน้าสถานนีรถไฟเกียวโต เพราะซาไซต้องนั่งรถไฟมาจากบ้านของเธอที่อยู่ที่โอซาก้า) เธอบอกว่าวันนี้จะพาผมตลุยดูงานศิลปะ(ผมบอกซาไซว่าไม่ต้องตะลุยหรอกผมไม่รีบ--เธอหัวเราะ) เริ่มจากแกลเลอรี่ของเพื่อนเธอที่กีออน(เป็นแกลเลอรี่ที่น่ารักเอามากๆ) ที่นั่นมีงานซาไซแสดงอยู่ จากนั้นเธอก็พาไปวัดเซนของท่านโดเก็น(ที่นี่ทำให้ผมขนลุกด้วยความตื่นเต้น--ก็ที่นี่ถือเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายสำคัญในการท่องเที่ยวทริปนั้น ^_^) จากนั้นเราก็เดินมาเรื่อยๆ แบบชิวๆ ข้ามแม่น้ำกาโม่มั้งถ้าจำไม่ผิด ผมชี้ตึกไทม์ (Time) ที่ออกแบบโดยทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando)ให้ซาไซดู ซาไซรู้จักทาดาโอะ เพราะทุนที่เธอได้มาทำงานวิจัยที่เมืองไทย มีทาดาโอะ ดันโดะสถาปนิกชื่อดังคนนี้ เป็นคณะกรรมการร่วมอยู่ด้วย เดินผ่านตึกไทม์ไปเล็กน้อย ผมเห็นโปสเตอร์อันหนึ่งสะดุดตา จึงบอกซาไซว่าลงไปดูงานข้างล่างกันเถอะ (พอดีแกลเลอรี่นี้อยู่ชั้นใต้ดิน) และแล้วผมก็ได้พบกับ ทัสซึโอะ ยาสึดะ (Tatsuo Yasuda)
โปสเตอร์ทางด้านหน้าแกลเลอรี่ที่ผมบังเอิญเห็นเข้า--ก่อนที่จะชักชวนซาไซเข้าไปดูงาน
ที่ อิเตะซะ(Iteza) แกลเลอรี่
โลกของทัสซีโอะ--ในแกลเลอรี่ขนาดเล็กๆ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
สองนาทีกับ ทัสซึโอะ*
ซาไซ--เพื่อนฉันมาจากกรุงเทพฯ ชอบงานคุณมากค่ะ อยากให้ฉันช่วยเป็นล่าม
เขาอยากคุยกับคุณ
ทัสซึโอะ--ยินดีครับ ขอบคุณที่ชอบงานผม (ซาไซหันมาแปลให้ผมฟัง)
วิชิต--งานคุณน่ารักดี มีอารมณ์ขัน แล้วก็มีกลิ่นไอของธรรมชาติ
ทัสซึโอะ--ผมเป็นคนบ้านนอก ก็เลยได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติเยอะครับ
วิชิต--ไม่ทราบว่าคุณมีอีเมล์ไหมครับ เผื่อโอกาสหน้าเราจะได้ติดต่อกัน (ซาไซหันไปแปลให้ทัสซึโอะฟัง)
ทัสซึโอะ--เสียใจด้วยครับบ้านผมไม่มีคอมพิวเตอร์
ซาไซ--(หันมาคุยกับผม)จี้ ขอเบอร์โทรศัพท์ไม๊ เวลาถ้ามีธุระอยากคุยฉันจะติดต่อให้น่ะ (ซาไซหันไปคุยกับทัสซึโอะ)
ทัสซึโอะ--ต้องขอโทษด้วยจริงๆ โทรศัพท์ที่บ้านผมก็ไม่มีครับ ถ้าอยากจะติดต่อกันจริงๆ ไม่ต้องรีบร้อนครับเขียนจดหมายคุยกันก็ได้ ส่งมาตามที่อยู่นี้ หรือจะส่งมาที่หอศิลป์ที่นี่ก็ได้ ผมมีรถเก่าๆ คันนึงครับ ขับเขามาในเมืองเกียวโตบ่อย
วิชิต--(ผมกำลังอมยิ้มกับข้อความที่ซาไซแปล "ถ้าอยากจะติดต่อกันจริงๆ ไม่ต้องรีบร้อน") พร้อมกับรับโปสการ์ดแผ่นเล็กๆ ที่ทัสซีโอะยื่นให้ผม
วิชิต--ขอบคุณมากครับ หวังว่าโอกาสหน้าเราคงได้คุยกันอีก
ซาไซ--ขอบคุณมากค่ะ
ทัสซึโอะ--ไม่เป็นไรครับยินดีที่ได้รู้จัก
*บทสัมภาษณ์ ทัสซึโอะ ยาสึดะ วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2549 ที่ Gallery Iteza เกียวโต โดย วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ และ ฟูมิเอะ ซาไซ แกะจากร่องรอยความทรงจำ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Dylan:Visions, Portraits, and Back Pages--Edited by Mark Blake(MOJO)
-National Geographic--ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2549
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Sunday, November 12, 2006
ช่องว่างระหว่างรัก
Don't Think Twice, It's all right
2006-11-12
A: I like your apartment.
B: It's nice, but it's only big enough for one person--or two people who are very close.
A: You know two people who are very close?
The Philosophy of Andy Warhol--Andy Warhol
ภายถ่าย Bob Dylan เมื่อสี่สิบสามปีที่แล้ว--ในปีที่แต่งเพลง
Don't Think Twice, It's all right
ช่วงสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมาเพลง Don't Think Twice, It's all right ของ Bob Dylan คือเพลงที่เราเปิดฟังบ่อยที่สุด และมันกลายเป็นเพลงโปรดของเราต่อจากเพลงอื่นๆ ของบิ๊กบ๊อบ--The Man in me, Like a Rolling Stone, Subterranean Homesick Blues(เพลงนี้มีหนังประกอบเพลงที่เจ๋งและเท่มากๆ บ๊อบ ดีแลนเล่นมันด้วยตัวเอง เราชอบเนื้อร้องท่อนหนึ่งในเพลงนี้-- You don't need a weather man to know which way the wind blows เราว่าเท่ดีคิดได้ยังไงเนี่ย) ,และเพลงรัก(หวานๆ?) อย่าง Love Minus Zero/No Limit ไปโดยปริยาย
ช่วงนี้มีคนพูดถึงบ๊อบดีแลนเยอะ นิตยสาร Rolling Stones รวบรวมบทสัมภาษณ์ของบ๊อบ พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มหนาเตอะ(สำหรับของสำนักพิมพ์อื่นหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Dylan on Dylan) นิตยสาร MOJO ฉบับเดือนสิงหาคมก็พิมพ์เป็นฉบับพิเศษว่าด้วยเรื่องบ๊อบ ดีแลน รวมถึงนิตยสารสีสันของไทย ก็เคยทำสกู๊ปพิเศษว่าด้วยเรื่องบ๊อบ ดีแลน(อาจจะเป็นได้ว่า เพราะ บิ๊กบ๊อบ กำลังจะออกอัลบั้มใหม่ Modern Times)
นิตยสารดนตรีอีกหลายเล่มต่างลงมติว่า บ๊อบ ดีแลน เป็นนักแต่งเพลงที่ทรงอิทธิพลและสำคัญที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20(แน่นอนว่าสำหรับเราต้องไม่ลืมบวก Tom Waits และ Jackson Browne ขวัญใจของเราไปด้วยแน่ๆ ^_^)--สำหรับเรา บ๊อบ ดีแลน คือ กวีในคราบนักร้องเพลงโฟล์ค(บ๊อบเองก็เคยพูดเอาไว้ว่า "I consider myself a poet first and a musician second. I live like a poet and I'll die like a poet.") คือนางฟ้าเทวดาที่มาจุติบนโลกเป็นชาย(ที่มีเสียงร้อง)อัปลักษณ์ เพื่อขับกล่อมเพลงให้มนุษย์โลกอย่างเราๆ ฟัง(ขนาดนั้นเลย) เพื่อนเราหลายคนเคยบอกว่าเพลงของบ๊อบ ดีแลน จะเพราะมากถ้าบ๊อบ ดีแลน ไม่ได้เป็นคนร้องเอง :P--แต่เราไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่นะ เราชอบเสียงของเขา เพราะฟังดูบ้านๆ และก็จริงใจดี สำหรับเราอย่างน้อยบ๊อบก็ร้องเพลง Blue Moon ได้ไพเราะและน่ารัก น่าฟังกว่าเวอร์ชั่นของ เอลวิส เพลสลีย์ เป็นไหนๆ (ถ้าไม่เชื่อต้องลองหามาฟัง บ๊อบร้องเพลงนี้ไว้ในอัลบั้ม Self Portrait ที่ออกในปี 1970)
เราได้ยินเพลง Don't Think Twice, It's all right เป็นครั้งแรก จากการดูสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของบ๊อบ เรื่อง No Direction Home : ฺBob Dylan ของผู้กำกับ Martin Scorsese ซึ่งเขาทำมันออกมาได้ดี ในหนังมีบทสัมภาษณ์อยู่หลายๆ ช่วงที่น่าสนใจ ที่สะท้อนถึงทัศนะคติในการทำงานเพลงของบ๊อบ เช่น "I didn't really know if that song was good or bad or...it felt right. But I didn't really know...that it had any kind of anthemic quality or anything. I wrote song to perform the songs. And I needed to sing, like, in that language. Which is a language that I hadn't heard before.
และมีบางช่วงที่บ๊อบพูดถึงเรื่อง "ถ้อยคำ"--Word have their own meaning, or they have different meaning...and word change their meaning word that meant somthing 10 years ago don't mean that now. They mean somthing else.
กลับมาที่เพลง Don't Think Twice, It's all right อีกครั้ง(เข้าประเด็นซะที ^_^) เราว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเศร้าอย่างร้ายกาจ--แม้บ๊อบ จะร้องมันด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองเพลงที่ดูงุ่ยๆ กลางๆ และก็ดูไม่ฟูมฟายเลยก็ตาม(สิ่งนี้อาจจะเป็นสุนทรียศาสตร์แบบดีแลนๆ--เราเคยเปิดดูเอนไซโคบีเดียเกี่ยวกับเพลงของบ๊อบ ที่ร้านคิโนคุนิยะ เขานิยามเพลงนี้สั้นๆว่า เป็นเพลงที่ Anti-Love Song นิตยสาร MOJO เคยพูดถึงเพลงนี้เอาไว้ว่า Poignant song of leaving)
สำหรับเรานี่เป็นเพลงที่พาเราเข้าไปสำรวจ
"ช่องว่างระหว่างมนุษย์"และพยายามแสดงให้เห็นว่ามันมีอยู่จริง--ซึ่งเราเองก็มีความเชื่อเช่นนั้น
(เราว่าเพลงและภาพยนต์(โดยเฉพาะหนังของ Wim Wenders) ในยุคหกศูนย์เจ็ดศูนย์มักชอบพูดถึงเรื่องพวกนี้นะ)
ไม่เว้นแม้กระทั้ง--ช่องว่างระหว่างคนที่รักกัน(และคิดว่ารักกัน)
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะนั่งประหลาดใจ
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามมันคงไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะนั่งประหลาดใจ
ตอนนี้คุณยังไม่รู้อะไร
เมื่อถึงยามรุ่งทิวาที่ไก่เริ่มขัน
ขอให้คุณมองออกมาที่นอกหน้าต่าง นั่นฉันเองกำลังลาจาก
คุณคือเหตุผลที่ฉันต้องออกเดินทาง
แต่ขอให้คุณเชื่อเถอะ ว่ามันควรเป็นเช่นนั้น
.....
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะเปิดแสงสว่างของคุณ
แสงสว่างที่ฉันเองก็ไม่เคยรู้จักมันมาก่อน
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะเปิดแสงสว่างของคุณ
เพราะฉันยืนอยู่บนอีกด้านที่แสนมืดมิดของถนน
แต่ฉันยังหวังว่าในบางสิ่งที่คุณเคยพูดหรือทำเอาไว้
พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงฉันและยังคงทำมันต่อไป
เพราะเราไม่เคยคิดเปลี่ยนไปพูดคุยกันในเรื่องอื่น
แต่ขอให้คุณเชื่อเถอะ ว่ามันควรเป็นเช่นนั้น
เพลงนี้เป็นเพลงที่แทนความรู้สึกคนที่เปราะบางอ่อนแอ ทั้งพยายามวิ่งหนี(ความรักเพราะกลัวมันทำร้าย) และในขณะเดียวกันก็พยายามทำความเข้าใจ และละเอียดอ่อนที่จะมองเห็นช่องว่างระหว่างกัน และพยายามที่จะเข้าใจในสภาวะที่มีช่องว่างแบบนั้นแบบที่มันเป็น--มันทั้งเศร้า(I give her my heart but she wanted my soul) ทั้งอ้างว้าง(I'm walkin' down that long, lonesome road, babe. Where I'm bound, I can't tell.) ทั้งเข้าใจ (ทั้งดูอบอุ่น--คำนี้ขอใส่วงเล๊บ :P) ทั้งประชดประชัน (You could have done better but I don't mind You just kind a wasted my precious time) และรักษาระยะห่างระหว่างกัน (I can't hear you any more I'm a-thinkin' and a-wond'rin' all the way down the road)
เนื่องด้วยความใกล้ชิดจนเกินไปอาจจะทำให้ชีวิตเจ็บปวด
แม้กระทั้งความรักเองก็ไม่อาจจะถมช่องว่างนั้นได้
เหมือนบ๊อบกำลังจะบอกกับเราว่า
บางทีเราจำเป็นที่จะต้องพยายามทำความเข้าใจ
และอยู่กับช่องว่างแบบนั้นในชีวิตให้ได้
เข้าใจในการมีช่องว่างแบบนั้น แทนที่จะพยายามถมมันให้เต็ม
และสิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวดที่สุดก็คือการถมช่องว่างนั้นด้วยความรัก
หรือ ความรู้สึกว่ารัก
บนหน้าปกของอัลบั้มนี้--The Freewheelin'(1963)
เป็นภาพของบ๊อบ เดินควงแขนไปกับซูซี่ โรโตโร (Suze Rotolo)
(เธอเป็นแรงบันดาลใจของบ๊อบในการแต่งเพลงนี้ และเพลงในยุคแรกๆ
ของบ๊อบอีกหลายเพลง)
เมื่อฟังเพลงนี้จบคุณอาจจะคิดว่าบ๊อบเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย
(ถ้าเทียบเพลงนี้กับเพลงป๊อบหวานๆ ประเภทเราจะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย)
แต่ท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บบนถนนในมหานครนิวยอร์ค
บ๊อบยังมีโรโตโรอยู่เคียงข้าง
ท่ามกลางช่องว่างระหว่างมนุษย์ บางทีเราอาจจะต้องการมนุษย์ซักคนหนึ่ง
ยืนอยู่ที่ริมขอบของช่องว่างเหล่านั้น
ในระยะที่ใกล้ที่สุด
อยู่บนความใกล้ชิดที่บางครั้งก็ดูเหมือนแสนที่จะเหินห่าง
(On the edge of closeness and separation)
ยืนอย่างยอมรับว่ามีช่องว่างระหว่างมนุษย์อยู่จริง
เอาน่ามันไม่ได้เลวร้ายอะไร เชื่อสิ
Don't Think Twice, It's all right
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
The Freewheelin’(1963)--Bob Dylan
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
2006-11-12
A: I like your apartment.
B: It's nice, but it's only big enough for one person--or two people who are very close.
A: You know two people who are very close?
The Philosophy of Andy Warhol--Andy Warhol
ภายถ่าย Bob Dylan เมื่อสี่สิบสามปีที่แล้ว--ในปีที่แต่งเพลง
Don't Think Twice, It's all right
ช่วงสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมาเพลง Don't Think Twice, It's all right ของ Bob Dylan คือเพลงที่เราเปิดฟังบ่อยที่สุด และมันกลายเป็นเพลงโปรดของเราต่อจากเพลงอื่นๆ ของบิ๊กบ๊อบ--The Man in me, Like a Rolling Stone, Subterranean Homesick Blues(เพลงนี้มีหนังประกอบเพลงที่เจ๋งและเท่มากๆ บ๊อบ ดีแลนเล่นมันด้วยตัวเอง เราชอบเนื้อร้องท่อนหนึ่งในเพลงนี้-- You don't need a weather man to know which way the wind blows เราว่าเท่ดีคิดได้ยังไงเนี่ย) ,และเพลงรัก(หวานๆ?) อย่าง Love Minus Zero/No Limit ไปโดยปริยาย
ช่วงนี้มีคนพูดถึงบ๊อบดีแลนเยอะ นิตยสาร Rolling Stones รวบรวมบทสัมภาษณ์ของบ๊อบ พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มหนาเตอะ(สำหรับของสำนักพิมพ์อื่นหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Dylan on Dylan) นิตยสาร MOJO ฉบับเดือนสิงหาคมก็พิมพ์เป็นฉบับพิเศษว่าด้วยเรื่องบ๊อบ ดีแลน รวมถึงนิตยสารสีสันของไทย ก็เคยทำสกู๊ปพิเศษว่าด้วยเรื่องบ๊อบ ดีแลน(อาจจะเป็นได้ว่า เพราะ บิ๊กบ๊อบ กำลังจะออกอัลบั้มใหม่ Modern Times)
นิตยสารดนตรีอีกหลายเล่มต่างลงมติว่า บ๊อบ ดีแลน เป็นนักแต่งเพลงที่ทรงอิทธิพลและสำคัญที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20(แน่นอนว่าสำหรับเราต้องไม่ลืมบวก Tom Waits และ Jackson Browne ขวัญใจของเราไปด้วยแน่ๆ ^_^)--สำหรับเรา บ๊อบ ดีแลน คือ กวีในคราบนักร้องเพลงโฟล์ค(บ๊อบเองก็เคยพูดเอาไว้ว่า "I consider myself a poet first and a musician second. I live like a poet and I'll die like a poet.") คือนางฟ้าเทวดาที่มาจุติบนโลกเป็นชาย(ที่มีเสียงร้อง)อัปลักษณ์ เพื่อขับกล่อมเพลงให้มนุษย์โลกอย่างเราๆ ฟัง(ขนาดนั้นเลย) เพื่อนเราหลายคนเคยบอกว่าเพลงของบ๊อบ ดีแลน จะเพราะมากถ้าบ๊อบ ดีแลน ไม่ได้เป็นคนร้องเอง :P--แต่เราไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่นะ เราชอบเสียงของเขา เพราะฟังดูบ้านๆ และก็จริงใจดี สำหรับเราอย่างน้อยบ๊อบก็ร้องเพลง Blue Moon ได้ไพเราะและน่ารัก น่าฟังกว่าเวอร์ชั่นของ เอลวิส เพลสลีย์ เป็นไหนๆ (ถ้าไม่เชื่อต้องลองหามาฟัง บ๊อบร้องเพลงนี้ไว้ในอัลบั้ม Self Portrait ที่ออกในปี 1970)
เราได้ยินเพลง Don't Think Twice, It's all right เป็นครั้งแรก จากการดูสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของบ๊อบ เรื่อง No Direction Home : ฺBob Dylan ของผู้กำกับ Martin Scorsese ซึ่งเขาทำมันออกมาได้ดี ในหนังมีบทสัมภาษณ์อยู่หลายๆ ช่วงที่น่าสนใจ ที่สะท้อนถึงทัศนะคติในการทำงานเพลงของบ๊อบ เช่น "I didn't really know if that song was good or bad or...it felt right. But I didn't really know...that it had any kind of anthemic quality or anything. I wrote song to perform the songs. And I needed to sing, like, in that language. Which is a language that I hadn't heard before.
และมีบางช่วงที่บ๊อบพูดถึงเรื่อง "ถ้อยคำ"--Word have their own meaning, or they have different meaning...and word change their meaning word that meant somthing 10 years ago don't mean that now. They mean somthing else.
กลับมาที่เพลง Don't Think Twice, It's all right อีกครั้ง(เข้าประเด็นซะที ^_^) เราว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเศร้าอย่างร้ายกาจ--แม้บ๊อบ จะร้องมันด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองเพลงที่ดูงุ่ยๆ กลางๆ และก็ดูไม่ฟูมฟายเลยก็ตาม(สิ่งนี้อาจจะเป็นสุนทรียศาสตร์แบบดีแลนๆ--เราเคยเปิดดูเอนไซโคบีเดียเกี่ยวกับเพลงของบ๊อบ ที่ร้านคิโนคุนิยะ เขานิยามเพลงนี้สั้นๆว่า เป็นเพลงที่ Anti-Love Song นิตยสาร MOJO เคยพูดถึงเพลงนี้เอาไว้ว่า Poignant song of leaving)
สำหรับเรานี่เป็นเพลงที่พาเราเข้าไปสำรวจ
"ช่องว่างระหว่างมนุษย์"และพยายามแสดงให้เห็นว่ามันมีอยู่จริง--ซึ่งเราเองก็มีความเชื่อเช่นนั้น
(เราว่าเพลงและภาพยนต์(โดยเฉพาะหนังของ Wim Wenders) ในยุคหกศูนย์เจ็ดศูนย์มักชอบพูดถึงเรื่องพวกนี้นะ)
ไม่เว้นแม้กระทั้ง--ช่องว่างระหว่างคนที่รักกัน(และคิดว่ารักกัน)
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะนั่งประหลาดใจ
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามมันคงไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะนั่งประหลาดใจ
ตอนนี้คุณยังไม่รู้อะไร
เมื่อถึงยามรุ่งทิวาที่ไก่เริ่มขัน
ขอให้คุณมองออกมาที่นอกหน้าต่าง นั่นฉันเองกำลังลาจาก
คุณคือเหตุผลที่ฉันต้องออกเดินทาง
แต่ขอให้คุณเชื่อเถอะ ว่ามันควรเป็นเช่นนั้น
.....
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะเปิดแสงสว่างของคุณ
แสงสว่างที่ฉันเองก็ไม่เคยรู้จักมันมาก่อน
ที่รัก, เปล่าประโยชน์ที่จะเปิดแสงสว่างของคุณ
เพราะฉันยืนอยู่บนอีกด้านที่แสนมืดมิดของถนน
แต่ฉันยังหวังว่าในบางสิ่งที่คุณเคยพูดหรือทำเอาไว้
พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงฉันและยังคงทำมันต่อไป
เพราะเราไม่เคยคิดเปลี่ยนไปพูดคุยกันในเรื่องอื่น
แต่ขอให้คุณเชื่อเถอะ ว่ามันควรเป็นเช่นนั้น
เพลงนี้เป็นเพลงที่แทนความรู้สึกคนที่เปราะบางอ่อนแอ ทั้งพยายามวิ่งหนี(ความรักเพราะกลัวมันทำร้าย) และในขณะเดียวกันก็พยายามทำความเข้าใจ และละเอียดอ่อนที่จะมองเห็นช่องว่างระหว่างกัน และพยายามที่จะเข้าใจในสภาวะที่มีช่องว่างแบบนั้นแบบที่มันเป็น--มันทั้งเศร้า(I give her my heart but she wanted my soul) ทั้งอ้างว้าง(I'm walkin' down that long, lonesome road, babe. Where I'm bound, I can't tell.) ทั้งเข้าใจ (ทั้งดูอบอุ่น--คำนี้ขอใส่วงเล๊บ :P) ทั้งประชดประชัน (You could have done better but I don't mind You just kind a wasted my precious time) และรักษาระยะห่างระหว่างกัน (I can't hear you any more I'm a-thinkin' and a-wond'rin' all the way down the road)
เนื่องด้วยความใกล้ชิดจนเกินไปอาจจะทำให้ชีวิตเจ็บปวด
แม้กระทั้งความรักเองก็ไม่อาจจะถมช่องว่างนั้นได้
เหมือนบ๊อบกำลังจะบอกกับเราว่า
บางทีเราจำเป็นที่จะต้องพยายามทำความเข้าใจ
และอยู่กับช่องว่างแบบนั้นในชีวิตให้ได้
เข้าใจในการมีช่องว่างแบบนั้น แทนที่จะพยายามถมมันให้เต็ม
และสิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวดที่สุดก็คือการถมช่องว่างนั้นด้วยความรัก
หรือ ความรู้สึกว่ารัก
บนหน้าปกของอัลบั้มนี้--The Freewheelin'(1963)
เป็นภาพของบ๊อบ เดินควงแขนไปกับซูซี่ โรโตโร (Suze Rotolo)
(เธอเป็นแรงบันดาลใจของบ๊อบในการแต่งเพลงนี้ และเพลงในยุคแรกๆ
ของบ๊อบอีกหลายเพลง)
เมื่อฟังเพลงนี้จบคุณอาจจะคิดว่าบ๊อบเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย
(ถ้าเทียบเพลงนี้กับเพลงป๊อบหวานๆ ประเภทเราจะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย)
แต่ท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บบนถนนในมหานครนิวยอร์ค
บ๊อบยังมีโรโตโรอยู่เคียงข้าง
ท่ามกลางช่องว่างระหว่างมนุษย์ บางทีเราอาจจะต้องการมนุษย์ซักคนหนึ่ง
ยืนอยู่ที่ริมขอบของช่องว่างเหล่านั้น
ในระยะที่ใกล้ที่สุด
อยู่บนความใกล้ชิดที่บางครั้งก็ดูเหมือนแสนที่จะเหินห่าง
(On the edge of closeness and separation)
ยืนอย่างยอมรับว่ามีช่องว่างระหว่างมนุษย์อยู่จริง
เอาน่ามันไม่ได้เลวร้ายอะไร เชื่อสิ
Don't Think Twice, It's all right
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
The Freewheelin’(1963)--Bob Dylan
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Saturday, November 11, 2006
2006-11-11
Zen Mind, Beginner's Mind
Shunryu Suzuki
ISBN 0-8348-0079-9
Zen mind is one of those enigmatic phrases used by Zen teachers to throw you back upon yourself, to make you go behind the words themselves and begin wondering. "I know what my own mind is," you tell yourself, "but what is Zen mind?" And then: "But do I really know what my own mind is?" Is it what I am doing now? Is it what I am thinking now?" And if you should then try to sit physically still for a while to see if you can locate it—then you have begun the practice of Zen, then you have begun to realize the unrestricted mind.
The innocence of this first inquiry—just asking what you are—is beginner's mind. The mind of the beginner is needed throughout Zen practice. It is the open mind, the attitude that includes both doubt and possibility, the ability to see things always as fresh and new. It is needed in all aspects of life. Beginner's mind is the practice of Zen mind.
This book originated from a series of talks given by Zen Master Shunryu Suzuki to a small group is Los Altos, California. He joined their meditation periods once a week and afterwards answered their questions and tried to encourage them in their practice of Zen and help them solve the problems of life. His approach is informal, and he draws his examples from ordinary events and common sense. Zen is now and here, he is saying; it can be as meaningful for the West as for the East. But his fundamental teaching and practice and drawn from all the centuries of Zen Buddhism and especially from Dogen, one of the most important and creative of all Zen Masters.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Zen Mind, Beginner's Mind--Shunryu Suzuki
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Friday, November 10, 2006
2006-11-10
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Thursday, November 09, 2006
2006-11-09
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Wednesday, November 08, 2006
2006-11-08
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Tuesday, November 07, 2006
Fractal trees
Initiators and Generators
2006-11-07
One way to guarantee self-similarity is to build a shape by applying the same process over smaller and smaller scales. This idea can be realized with a process called initiators and generators.
The initiator is the starting shape.
The generator is a collection of scaled copies of the initiator.
The rule is this: in the generator, replace each copy of the initiator with a scaled copy of the generator (specifying orientations where necessary).
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Here is the initiator of a binary fractal tree. The generator is a copy of the initiator with two smaller branches growing symmetrically from the top.
Changing the branching angle (and the branch scaling so the branches overlap only on their tips), gives a sequence of fractal trees, including a few familiar shapes.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-ดลใจภุมริน--รงค์ วงษ์สวรรค์
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
2006-11-07
One way to guarantee self-similarity is to build a shape by applying the same process over smaller and smaller scales. This idea can be realized with a process called initiators and generators.
The initiator is the starting shape.
The generator is a collection of scaled copies of the initiator.
The rule is this: in the generator, replace each copy of the initiator with a scaled copy of the generator (specifying orientations where necessary).
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Here is the initiator of a binary fractal tree. The generator is a copy of the initiator with two smaller branches growing symmetrically from the top.
Changing the branching angle (and the branch scaling so the branches overlap only on their tips), gives a sequence of fractal trees, including a few familiar shapes.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-ดลใจภุมริน--รงค์ วงษ์สวรรค์
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Monday, November 06, 2006
Mathematical Definition of Chaos
2006-11-06
Sensitivity to initial conditions: starting from x = 0.400 and y = 0.399, T10(x) and T10(y) are on opposite sides of the interval.
Put differently, even the tiniest change can alter the future in ways you can't imagine.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Sensitivity to initial conditions: starting from x = 0.400 and y = 0.399, T10(x) and T10(y) are on opposite sides of the interval.
Put differently, even the tiniest change can alter the future in ways you can't imagine.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Sunday, November 05, 2006
Blur/ ぼけ
2006-11-05
Blur คือ โบเกะ(ぼけ) ในภาษาญี่ปุ่น
Blur คือ เบลอ ในภาษาไทย
เบลอ คือ ความพร่าเลือน; คือ ความเบาหวิว
เบลอ คือ สภาวะที่มโนภาพ(Image) อยู่ในภาวะไร้น้ำหนัก
เบลอ คือ ก้อนเมฆที่ล่องลอยไร้จุดหมาย(Drifting) รอวันกลั่นตัวเองเป็นสายฝนแห่งมโนภาพ(Image)
ในโลกยุคใหม่ เบลอ กลายเป็นภาวะไร้ประสิทธิภาพ--เป็น error ของข้อมูลข่าวสาร
ในยุคสมัยที่ผู้คนส่วนใหญ่นั้นบูชาความชัดเจน--ทีวีโฆษณาว่าให้ภาพคมชัดสมจริง
กล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลให้ภาพคมชัด 10 ล้านพิกเซล โฟกัสได้ พร้อมกัน 11 จุด
ถึงแม้จะมือสั่น/เคลื่อนไหว/กระทบกระเทือน ขนาดไหน
ขอรับรองว่า--ภาพที่ได้ไม่มีวัน เบลอ
ในโลกภาพยนต์ เบลอ ถูก coding ความหมายกับช่วงเวลาของความฝัน วันเวลาของวันวาน
อดีตที่ไม่มีวันหวนคืน และความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง
เบลอ คือ Heterotopia คือที่ที่มีอยู่จริงและไม่มีอยู่จริงในเวลาเดียวกัน
เบลอ คือ สภาวะอนาธิปไตย (anarchy) ไม่ใช่ประชาธิปไตย (democracy)
เบลอ คือ สภาวะที่เสียงข้างมากไม่เป็นใหญ่ เพราะไม่มีการ domination
เหมือนรูปถ่ายด้านบน--ที่ปาก จมูก คิ้ว ตา และองค์ประกอบทั้งใบหน้านั้น
เลือนหายกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถมีอวัยวะไหนบนใบหน้าสามารถ dominate อวัยวะส่วนอื่นได้
ในจอโทรทัศน์ เบลอ คือ ตัวแทนอำนาจในการ censorship ของรัฐ
อำนาจที่จะให้เห็นหรือไม่เห็นอะไร
อำนาจที่พยายามคอยบอกว่าสิ่งใดควรรู้สิ่งใดไม่ควรรู้
(เป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆ--ที่บนโลกนี้ยังมีคนคิดอยากควบคุมความรู้ของคนอื่น
และโดยมากคนที่มีความคิดเช่นนี้ ก็มักจะไม่ค่อยรู้อะไรมาก)
เบลอคือ สิ่งที่ไม่สามารถพูด สิ่งที่ไม่สามารถเห็น
ในประเทศไทย
ถึงแม้ว่าทีวีที่ซื้อมานั้น ภาพจะคมชัดสมจริง--เหมือนที่ได้โฆษณาไว้ขนาดไหน
บางช่วง-บางเวลา-บางขณะ
มันก็ยังมีภาพอะไรบางอย่างในจอทีวีที่ดูแล้ว Blurๆ :P
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Blur คือ โบเกะ(ぼけ) ในภาษาญี่ปุ่น
Blur คือ เบลอ ในภาษาไทย
เบลอ คือ ความพร่าเลือน; คือ ความเบาหวิว
เบลอ คือ สภาวะที่มโนภาพ(Image) อยู่ในภาวะไร้น้ำหนัก
เบลอ คือ ก้อนเมฆที่ล่องลอยไร้จุดหมาย(Drifting) รอวันกลั่นตัวเองเป็นสายฝนแห่งมโนภาพ(Image)
ในโลกยุคใหม่ เบลอ กลายเป็นภาวะไร้ประสิทธิภาพ--เป็น error ของข้อมูลข่าวสาร
ในยุคสมัยที่ผู้คนส่วนใหญ่นั้นบูชาความชัดเจน--ทีวีโฆษณาว่าให้ภาพคมชัดสมจริง
กล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลให้ภาพคมชัด 10 ล้านพิกเซล โฟกัสได้ พร้อมกัน 11 จุด
ถึงแม้จะมือสั่น/เคลื่อนไหว/กระทบกระเทือน ขนาดไหน
ขอรับรองว่า--ภาพที่ได้ไม่มีวัน เบลอ
ในโลกภาพยนต์ เบลอ ถูก coding ความหมายกับช่วงเวลาของความฝัน วันเวลาของวันวาน
อดีตที่ไม่มีวันหวนคืน และความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง
เบลอ คือ Heterotopia คือที่ที่มีอยู่จริงและไม่มีอยู่จริงในเวลาเดียวกัน
เบลอ คือ สภาวะอนาธิปไตย (anarchy) ไม่ใช่ประชาธิปไตย (democracy)
เบลอ คือ สภาวะที่เสียงข้างมากไม่เป็นใหญ่ เพราะไม่มีการ domination
เหมือนรูปถ่ายด้านบน--ที่ปาก จมูก คิ้ว ตา และองค์ประกอบทั้งใบหน้านั้น
เลือนหายกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถมีอวัยวะไหนบนใบหน้าสามารถ dominate อวัยวะส่วนอื่นได้
ในจอโทรทัศน์ เบลอ คือ ตัวแทนอำนาจในการ censorship ของรัฐ
อำนาจที่จะให้เห็นหรือไม่เห็นอะไร
อำนาจที่พยายามคอยบอกว่าสิ่งใดควรรู้สิ่งใดไม่ควรรู้
(เป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆ--ที่บนโลกนี้ยังมีคนคิดอยากควบคุมความรู้ของคนอื่น
และโดยมากคนที่มีความคิดเช่นนี้ ก็มักจะไม่ค่อยรู้อะไรมาก)
เบลอคือ สิ่งที่ไม่สามารถพูด สิ่งที่ไม่สามารถเห็น
ในประเทศไทย
ถึงแม้ว่าทีวีที่ซื้อมานั้น ภาพจะคมชัดสมจริง--เหมือนที่ได้โฆษณาไว้ขนาดไหน
บางช่วง-บางเวลา-บางขณะ
มันก็ยังมีภาพอะไรบางอย่างในจอทีวีที่ดูแล้ว Blurๆ :P
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Saturday, November 04, 2006
2006-11-04
Anything
Edited by Cynthia C. Davidson
ISBN-10: 0-262-54130-0
ISBN-13: 978-0-262-54130-5
At a time when the fragmented ideas and styles in architecture make it seem as if "anything goes," Anything asks whether there are constraints to thought and action that change "anything" to "the thing." In thirty-two original essays, many of them illustrated, leading architects, theorists, historians and others discuss their works. The wide-ranging topics include a "refugee republic," "blur buildings," virtual environments, shopping, and stress. "Anything," it would seem, is many things, opening the way for architecture to embrace history, science, research, and technology.
The authors include, among others, Caroline Bos, Ignasi de Solà-Morales, Elizabeth Diller, Peter Eisenman, Zaha Hadid, Jacques Herzog, Steven Holl, Osamu Ishiyama, Arata Isozaki, Romi Khosla, Rem Koolhaas, Greg Lynn, Rafael Moneo, Jean Nouvel, Wolf Prix, Hani Rashid, Bernard Tschumi, and Ben van Berkel.
Anything is the tenth and final book in the ongoing series that began in 1991 with Anyone and was followed by Anywhere, Anyway, Anyplace, Anywise, Anybody, Anyhow, Anytime, and Anymore. Each volume is based on a conference at which architects and leaders in other fields came together to present papers and discuss a particular idea in architecture from a cross-cultural and multidisciplinary perspective. The conference upon which Anything is based took place in New York City in June 2000.
Cynthia Davidson is the editor of ANY Magazine, the director of Anyone Corporation, and a member of the editorial board of the Writing Architecture serie
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Anything--Edited by Cynthia C. Davidson
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
-The Architectural Review Magazine--October 2006
Friday, November 03, 2006
2006-11-03
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-หูหาเรื่อง--เผ่าจ้าว กำลังใจดี
Book read:
-The Architectural Review Magazine--October 2006
Book bought:
-หูหาเรื่อง--เผ่าจ้าว กำลังใจดี
Book read:
-The Architectural Review Magazine--October 2006
Thursday, November 02, 2006
Football Club
2006-11-02
Design 103 International Football Club's Manifesto
ดีไซน์103 อินเตอร์เนชั่นแนล ฟุตบอลคลับ ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อรวบรวมกลุ่มคนที่รักกีฬา ทั้งที่มีพรสวรรค์และไม่มีพรสวรค์(แต่ใจรัก)ในเชิงลูกหนัง(บางคนสังขารก็ไม่เอื้อ) เข้าไว้ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อต่อลองผลประโยชน์กับกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นๆ(หรือทีมอื่นๆ)ในสนามหญ้าที่มีพื้นที่โล่งๆ แน่นอนว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจ(แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพและพลานามัย)วัตถุประสงค์ก็ เพื่อฝึกหัดให้เป็นมนุษย์ที่รู้จักคำว่าชนะอย่างถูกวิธี (โดยมากมักมีสีขาวและสะอาด) และแน่นอนที่สุด ต้องไม่ลืมสิ่งที่เป็นโยชน์มากที่สุดที่กีฬาชนิดหนึ่งจะให้กับมนุษย์ได้ ซึ่งก็คือคำว่า"แพ้"
เพราะคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการเป็นมนุษย์ที่ดีนั้นก็คือการ "แพ้เป็น"
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
-The Architectural Review Magazine--October 2006
Design 103 International Football Club's Manifesto
ดีไซน์103 อินเตอร์เนชั่นแนล ฟุตบอลคลับ ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อรวบรวมกลุ่มคนที่รักกีฬา ทั้งที่มีพรสวรรค์และไม่มีพรสวรค์(แต่ใจรัก)ในเชิงลูกหนัง(บางคนสังขารก็ไม่เอื้อ) เข้าไว้ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อต่อลองผลประโยชน์กับกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นๆ(หรือทีมอื่นๆ)ในสนามหญ้าที่มีพื้นที่โล่งๆ แน่นอนว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจ(แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพและพลานามัย)วัตถุประสงค์ก็ เพื่อฝึกหัดให้เป็นมนุษย์ที่รู้จักคำว่าชนะอย่างถูกวิธี (โดยมากมักมีสีขาวและสะอาด) และแน่นอนที่สุด ต้องไม่ลืมสิ่งที่เป็นโยชน์มากที่สุดที่กีฬาชนิดหนึ่งจะให้กับมนุษย์ได้ ซึ่งก็คือคำว่า"แพ้"
เพราะคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการเป็นมนุษย์ที่ดีนั้นก็คือการ "แพ้เป็น"
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
-The Architectural Review Magazine--October 2006
Wednesday, November 01, 2006
Greeting Card
2006-11-01
แบบส.ค.ส. ปีใหม่ของเรา
ที่ส่งร่วมประกวด ส.ค.ส. กันสนุกๆ
กับเพื่อนๆ ในออฟฟิศ ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
*อันนี้เป็นของเมื่อปีที่แล้ว
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
แบบส.ค.ส. ปีใหม่ของเรา
ที่ส่งร่วมประกวด ส.ค.ส. กันสนุกๆ
กับเพื่อนๆ ในออฟฟิศ ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
*อันนี้เป็นของเมื่อปีที่แล้ว
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
Tuesday, October 31, 2006
Space/ knowledge
พื้นที่/ ความรู้
2006-10-31
บทนำในหนังสือ The Order of Things ของมิเชล ฟูโก(Michel Foucault) ได้พูดถึงภาพ "Las Meninas(1656)" ของดีเอโก้ เวราซเควซ (Diego Velazquez)--จิตกรชาวสเปนในศตวรรษที่ 17 ไว้อย่างน่าสนใจ
“ในภาพนี้จะเห็นตำแหน่งเด่นกลางภาพคือเจ้าหญิงองค์น้อย ด้านข้างซ้ายมือของภาพคือ จิตรกรยืนอยู่หน้ากรอบผ้าใบสูงใหญ่และหันหน้ามาทางเดียวกันกับเจ้าหญิง เรามองไม่เห็นภาพที่เขากำลังวาดบนผ้าใบ อันที่จริงเขากำลังวาดภาพของของพระราชาและพระราชินีของ สเปนทีประทับเป็นแบบอยู่ โดยหันหน้าประจันกับเจ้าหญิงและจิตรกร เรามองไม่เห็นพระราชาและพระราชินีก็เพราะตำแหน่งแห่งที่ของเราซ้อนทับกับคนทั้งคู่อยู่ แต่ภาพของทั้งสองฉายสะท้อนอยู่ในกระจกเงาที่อยู่ด้านหลังกลางภาพ ใครกันแน่ที่กำลังจ้องมองใคร ทุกคนในภาพสามารถครองตำแหน่งผู้จ้องมองได้ทั้งนั้น เจ้าหญิง จิตรกร ข้าราชบริพาร คนนอกภาพ มีอีก 2 ตำแหน่ง คือพระราชาพระราชินีและเรา เจ้าหญิงและจิตรกรกำลังจ้องพระราชาพระราชินี และอันที่จริงก็จ้องมองเราอยู่ เราในฐานะของผู้ดูภาพ ที่จริงแล้วกลับเป็นวัตถุของการจ้องมอง เช่นกัน สถานภาพของเราจึงมีสองส่วน ส่วนแรกคือเราในฐานะคนดูภาพและส่วนที่สองเราในฐานะเดียกับพระราชาและพระราชินี ความเป็นผู้ดูและผู้ถูกดูในภาพนี้จึงไม่ได้ตายตัวและหยุดนิ่ง ฐานะของผู้ดูและผู้เฝ้าดูสลับกันไปมาได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับบทสนทนาระหว่างคนในภาพและคนนอกภาพ คนอ่านภาพจะอ่านภาพออกมาเป็นอย่างไรขึ้นกับว่าเขาเลือกว่าตำแหน่งของตรงเองตรงไหน มุมมองที่เขาเลือกเป็น ก็คือกรอบของวาทกรรม(Discourse) นี่คือสิ่งที่ฟูโกพยายามอธิบายว่าวาทกรรมเป็นตัวกำหนดจัดวางตำแหน่งของตัวประธาน”
นอกจากนี้เราซึ่งเป็นผู้ดูมีความสามารถในการเห็นที่จำกัดมาก เราไม่อาจเห็นภาพที่จิตรกรกำลังวาด ไม่อาจเห็นท่วงท่าการวาด เพราะเมื่อเขาวาดก็จะหลบเข้าไปอยู่หน้ากรอบผ้าใบ เราไม่อาจเห็นคนเป็นแบบที่กำลังถูกวาดด้วย เพราะตำแหน่งของเขาอยู่นอกภาพนี้ เราเห็นพวกเขาได้เพียงลางๆในฐานะภาพสะท้อนในกระจกเงาบานเล็กๆที่อยู่ตรงกลางด้านหลังภาพ ทั้งหมดนี้ก็คือเราไม่อาจมองเห็นตัวการสร้างภาพความจริงได้จากมุมมองทั้งหมดทุกซอกทุกมุม หรืออีกนัยหนึ่งเราไม่สามารถอ้างตำแหน่งพิเศษของความเป็นนักเขียน/นักวิจัยว่าสามารถกระโดดออกมานอกกรอบของบริบทการศึกษาแล้วมองเห็นภาพในเชิงองค์รวมทั้งหมด(totality) ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ภาพนี้จึงตั้งคำถามกับการถืออภิสิทธิ์ดังกล่าวของนักวิจัยและเตือนเราว่าเราไม่อาจหลุดออกนอกกรอบของวาทกรรมได้ ในฐานะคนดูภาพเราจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นจากตัวอย่างที่ฟูโกได้นำเสนอผ่านภาพ Las Meninas(1656) นั้น ถ้าเราไม่อาจรับรู้ความจริงที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์หรือพ้นเหนือจากวาทกรรมไปได้ ดังนั้นในทฤษฎีที่เราใช้ศึกษาหรือเป็นกรอบความคิดในการมองเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆจึงไม่ควรอ้างอิงถึงความเป็นจริงที่เป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐาน ถ้าจะมีจุดเริ่มต้นก็เป็นแต่เพียงประโยคที่เป็นภาพแทนความจริงเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ตำแหน่งของผู้ศึกษาจะอยู่เหนือความเป็นจริง และมองลงมาเห็นความเป็นไปทั้งหมด เมื่อไม่อาจอยู่ภายนอกวาทกรรมได้ ดังนั้นการวิพากษ์หรือโค่นวาทกรรมจึงต้องมาจาก พื้นที่ภายในตัววาทกรรมนั้นเอง และนี่คือที่มาของวิธีการของพวกหลังโครงสร้างนิยม(post structuralist) ที่รื้อถอนวาทกรรมจากการมองหาความลักลั่นของตรรกภายในวาทกรรมนั้นๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ วิธีการศึกษาวิจัย/วิธีการเขียนงาน(ในทุกๆ รูปแบบ?)/วิธีการเสนอภาพควร ’จัดพื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ศึกษากับผู้ถูกศึกษาเสียใหม่ ตัวตนของผู้ศึกษาซึ่งถูกทำให้มองไม่เห็นแม้ผู้อ่านจะได้ยินเสียงของเขาอยู่ตลอดเวลา จะต้องปรากฏขึ้น ส่วนผู้ถูกศึกษาซึ่งเป็นวัตถุแห่งการจับจ้องมาตลอดมาตลอดแต่ไม่ค่อยมีโอกาสพูดจะต้องปรากฎเสียงขึ้น
งานเขียนควรเป็นเวทีที่แบไพ่กระบวนการจัดตำแหน่งแห่งที่ระหว่างผู้ศึกษาและสิ่งที่ถูกศึกษา
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
2006-10-31
บทนำในหนังสือ The Order of Things ของมิเชล ฟูโก(Michel Foucault) ได้พูดถึงภาพ "Las Meninas(1656)" ของดีเอโก้ เวราซเควซ (Diego Velazquez)--จิตกรชาวสเปนในศตวรรษที่ 17 ไว้อย่างน่าสนใจ
“ในภาพนี้จะเห็นตำแหน่งเด่นกลางภาพคือเจ้าหญิงองค์น้อย ด้านข้างซ้ายมือของภาพคือ จิตรกรยืนอยู่หน้ากรอบผ้าใบสูงใหญ่และหันหน้ามาทางเดียวกันกับเจ้าหญิง เรามองไม่เห็นภาพที่เขากำลังวาดบนผ้าใบ อันที่จริงเขากำลังวาดภาพของของพระราชาและพระราชินีของ สเปนทีประทับเป็นแบบอยู่ โดยหันหน้าประจันกับเจ้าหญิงและจิตรกร เรามองไม่เห็นพระราชาและพระราชินีก็เพราะตำแหน่งแห่งที่ของเราซ้อนทับกับคนทั้งคู่อยู่ แต่ภาพของทั้งสองฉายสะท้อนอยู่ในกระจกเงาที่อยู่ด้านหลังกลางภาพ ใครกันแน่ที่กำลังจ้องมองใคร ทุกคนในภาพสามารถครองตำแหน่งผู้จ้องมองได้ทั้งนั้น เจ้าหญิง จิตรกร ข้าราชบริพาร คนนอกภาพ มีอีก 2 ตำแหน่ง คือพระราชาพระราชินีและเรา เจ้าหญิงและจิตรกรกำลังจ้องพระราชาพระราชินี และอันที่จริงก็จ้องมองเราอยู่ เราในฐานะของผู้ดูภาพ ที่จริงแล้วกลับเป็นวัตถุของการจ้องมอง เช่นกัน สถานภาพของเราจึงมีสองส่วน ส่วนแรกคือเราในฐานะคนดูภาพและส่วนที่สองเราในฐานะเดียกับพระราชาและพระราชินี ความเป็นผู้ดูและผู้ถูกดูในภาพนี้จึงไม่ได้ตายตัวและหยุดนิ่ง ฐานะของผู้ดูและผู้เฝ้าดูสลับกันไปมาได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับบทสนทนาระหว่างคนในภาพและคนนอกภาพ คนอ่านภาพจะอ่านภาพออกมาเป็นอย่างไรขึ้นกับว่าเขาเลือกว่าตำแหน่งของตรงเองตรงไหน มุมมองที่เขาเลือกเป็น ก็คือกรอบของวาทกรรม(Discourse) นี่คือสิ่งที่ฟูโกพยายามอธิบายว่าวาทกรรมเป็นตัวกำหนดจัดวางตำแหน่งของตัวประธาน”
นอกจากนี้เราซึ่งเป็นผู้ดูมีความสามารถในการเห็นที่จำกัดมาก เราไม่อาจเห็นภาพที่จิตรกรกำลังวาด ไม่อาจเห็นท่วงท่าการวาด เพราะเมื่อเขาวาดก็จะหลบเข้าไปอยู่หน้ากรอบผ้าใบ เราไม่อาจเห็นคนเป็นแบบที่กำลังถูกวาดด้วย เพราะตำแหน่งของเขาอยู่นอกภาพนี้ เราเห็นพวกเขาได้เพียงลางๆในฐานะภาพสะท้อนในกระจกเงาบานเล็กๆที่อยู่ตรงกลางด้านหลังภาพ ทั้งหมดนี้ก็คือเราไม่อาจมองเห็นตัวการสร้างภาพความจริงได้จากมุมมองทั้งหมดทุกซอกทุกมุม หรืออีกนัยหนึ่งเราไม่สามารถอ้างตำแหน่งพิเศษของความเป็นนักเขียน/นักวิจัยว่าสามารถกระโดดออกมานอกกรอบของบริบทการศึกษาแล้วมองเห็นภาพในเชิงองค์รวมทั้งหมด(totality) ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ภาพนี้จึงตั้งคำถามกับการถืออภิสิทธิ์ดังกล่าวของนักวิจัยและเตือนเราว่าเราไม่อาจหลุดออกนอกกรอบของวาทกรรมได้ ในฐานะคนดูภาพเราจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นจากตัวอย่างที่ฟูโกได้นำเสนอผ่านภาพ Las Meninas(1656) นั้น ถ้าเราไม่อาจรับรู้ความจริงที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์หรือพ้นเหนือจากวาทกรรมไปได้ ดังนั้นในทฤษฎีที่เราใช้ศึกษาหรือเป็นกรอบความคิดในการมองเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆจึงไม่ควรอ้างอิงถึงความเป็นจริงที่เป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐาน ถ้าจะมีจุดเริ่มต้นก็เป็นแต่เพียงประโยคที่เป็นภาพแทนความจริงเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ตำแหน่งของผู้ศึกษาจะอยู่เหนือความเป็นจริง และมองลงมาเห็นความเป็นไปทั้งหมด เมื่อไม่อาจอยู่ภายนอกวาทกรรมได้ ดังนั้นการวิพากษ์หรือโค่นวาทกรรมจึงต้องมาจาก พื้นที่ภายในตัววาทกรรมนั้นเอง และนี่คือที่มาของวิธีการของพวกหลังโครงสร้างนิยม(post structuralist) ที่รื้อถอนวาทกรรมจากการมองหาความลักลั่นของตรรกภายในวาทกรรมนั้นๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ วิธีการศึกษาวิจัย/วิธีการเขียนงาน(ในทุกๆ รูปแบบ?)/วิธีการเสนอภาพควร ’จัดพื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ศึกษากับผู้ถูกศึกษาเสียใหม่ ตัวตนของผู้ศึกษาซึ่งถูกทำให้มองไม่เห็นแม้ผู้อ่านจะได้ยินเสียงของเขาอยู่ตลอดเวลา จะต้องปรากฏขึ้น ส่วนผู้ถูกศึกษาซึ่งเป็นวัตถุแห่งการจับจ้องมาตลอดมาตลอดแต่ไม่ค่อยมีโอกาสพูดจะต้องปรากฎเสียงขึ้น
งานเขียนควรเป็นเวทีที่แบไพ่กระบวนการจัดตำแหน่งแห่งที่ระหว่างผู้ศึกษาและสิ่งที่ถูกศึกษา
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
Monday, October 30, 2006
Birth of the Seanema
ภาพของความทรงจำที่เล็ดลอดออกมาจากรอยร้าวระหว่างคลื่นในทะเล
2006-10-30
Why has the pleasure of slowness disappeared? Ah, where have they gone, the amblers of yesteryear? Where have they gone, those loafing heroes of folk song, those vagabonds who roam from one mill to another and bed down under the stars? Have they vanished along with footpaths, with grasslands and clearings, with nature?
Slowness, Milan Kundera
ในหนังสือนิยายเล่มบางๆ เรื่อง “Slowness” ของมิลาน คุนเดอร่า ได้พูดถึงคุณค่าของ “ความอ้อยอิ่ง” “ความเนิบนาบ” หรือ “ความเชื่องช้า” พร้อมกับตั้งคำถามกับสิ่งที่เรียกว่า “ความเร็ว” ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุของมนุษย์
สำหรับสาระสำคัญในนิยายเล่มนี้นั้น คุนเดอร่าเชื่อว่า “ความเร็ว” ทำให้มนุษย์หลงลืมตัวตน ทำให้ความมีตัวตนของมนุษย์นั้นดูพร่ามัว ซึ่งความเร็วนั้นมีสัดส่วนแปรผันกับความเข้มข้นในการลืม โลกของความเร็วจึงเป็นโลกแห่งการลืมเลือน- -มันเป็นโลกที่ปราศจากความทรงจำในโลกที่ทุกอย่างเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว (อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, รถยนต์ที่เร่งความเร็วได้ถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายใน 6 วินาที, การศึกษาในหลักสูตรเร่งรัด ฯลฯ) เราไม่สามารถจดจำอะไรได้ (ในโลกยุคใหม่ เพลงฮิตที่ติดชาร์ตอันดับหนึ่งในปีนี้ ปีถัดไปก็อาจจะไม่มีใครพูดถึงมันอีก ด้วยข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าท่วมตัวเรามากมายในแต่ละวัน เรายังมีข้อมูลใหม่ๆ มากมายให้ต้องคอยอัฟเดทในแต่ละวันมิใช่หรือ-– ถ้าพูดกันตามภาษาของสื่อมวลชนที่นิยมใช้กันอย่างดาษดื่นก็จะบอกว่าเดี๋ยวไม่อินเทรนด์นะ!)
ในหนังสือเล่มนี้ คุนเดอร่าสังเกตพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปของมนุษย์ แล้วเขียนยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ในขณะที่เรากำลังเดินอยู่ แล้วต้องการนึกอะไรบางอย่างในขณะนั้นให้ออก เราก็จะพยายามเคลื่อนตัวให้ช้าลง ทำไมต้องเคลื่อนตัวช้าลง ความช้ามีผลต่อการปรากฏชัดเจนของความทรงจำอย่างไร ขณะเดียวกันในโมงยามที่เรากำลังมีความทุกข์ มีสิ่งที่ทำให้ผิดหวังสุมอยู่ข้างในอก หากลองสังเกตดู เราจะพยายามเคลื่อนตัวให้เร็วขึ้นๆ ในขณะที่เรากำลังเดินอยู่ มันเหมือนกับว่าความเร็วที่เพิ่มขึ้นนั้นสามารถสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราและสิ่งที่เราอยากจะลืมได้
ความเร็วสามารถทำให้เราลืมความทุกข์ที่เราไม่อยากจดจำเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น?
สำหรับคุนเดอร่า ความเชื่องช้าเนิบนาบมีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างอยู่ มันทำให้ความทรงจำที่ถูกฝังทับถมอยู่ในห้วงเวลาแห่งอดีตของเรานั้นค่อยๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นในห้วงแห่งการคิดคำนึงของเรา- -ในเวลาปัจจุบัน ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
จะว่าไป ความคิดในเรื่องนี้ของคุนเดอร่านั้นก็มีบางแง่มุมคล้ายกับความคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ฌอง โบดริยาร์ เพราะ โบดริยาร์เองก็เคยเปรียบเทียบมนุษย์ในโลกยุคใหม่- -ที่ทุกอย่างรอบตัวล้วนแล้วแต่เคลื่อนไหวด้วยความเร็ว ว่าเปรียบได้กับ “ฟองน้ำ” หรือ “กลุ่มก๊าซทึบแสง” ที่เงียบกริบ ว่างเปล่า เฉื่อยชา ที่พร้อมที่จะดูดซับทุกอย่างเข้าไปในตัว หลีกหนีสังคมเพียงเพื่อที่จะสลายตัวไปเองเมื่อถึงจุดอิ่มตัวจนไม่อาจดูดกลืนสิ่งใดๆ ได้อีก มนุษย์ในโลกยุคใหม่จึงเป็นเหมือนหลุมดำที่คอยดูดกลืนความหมายและข่าวสารทั้งหมดเข้าไปในตัว และคงเหลืออยู่แต่เพียงสิ่งซึ่งไร้ความหมาย ปฏิเสธหรือหมดปัญญาที่จะสร้างความหมายใดๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ของมนุษย์ล้วนเป็นผลมาจากข่าวสารที่ไหลบ่าเข้าใส่อย่างดุดันของสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างดาษดื่นและมากมายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลยในยุคสมัยใดๆ ในอดีตที่ผ่านมา
หรือในโลกยุคใหม่นั้น มนุษย์จะไม่มีทางเลือกใดๆ อีกนอกจากต้องยอมสยบให้กับปีศาจแห่งความเร็วที่คอยพรากภาพของความทรงจำไปจากชีวิต...
วินาทีนี้ (ในขณะที่ผมกำลังเรียบเรียงประโยคต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้คุณๆ ทั้งหลายได้อ่านกัน) ภายในห้องแคบเล็กๆ ที่ไร้ความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งใดๆ ห้องเงียบๆ ซึ่งตัดขาดจากความรวดเร็ว ความวุ่นวายและโกลาหลของเมืองใหญ่ที่อยู่ภายนอกหน้าต่าง ซึ่งจะว่าไป ประสบการณ์ของผมในตอนนี้ย่อมสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในห้องที่เงียบงัน (แห่งนี้) มากกว่าโลกของความโกลาหลที่อยู่ภายนอก โลกของผมในตอนนี้จึงเป็นโลกที่กำลังเคลื่อนไหวตัวอย่างเชื่องช้าๆ และเนิบนาบ
“ใช่ ต้องมีบางช่วงเวลาที่เราสามารถถอนตัวออกจากโลกที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่อยู่ภายนอกได้” ผมบอกกับตัวเอง
และวินาทีที่ผมกำลังนึกถึงช่วงเวลาเหล่านั้น ความทรงจำก็ได้นำห้วงประสบการณ์ในอดีตของผมหวนคืนมายังพื้นที่ของปัจจุบันอีกครั้ง
ผมจำได้ มันเป็นความทรงจำที่มีต่อหนังเรื่องหนึ่ง--Birth of the Seanema ที่ผมเคยดูเมื่อหลายเดือนก่อน
ผมไม่แน่ใจว่าภาพของห้วงบรรยากาศ ณ เวลานั้น (ของผม) มันพร่าเลือนหรือว่าชัดเจน แต่ผมแน่ใจว่าประสบการณ์ที่ได้สัมผัสในครั้งนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่าง- -ที่พิเศษ
แล้วความทรงจำก็พาผมไปยังสถานที่แห่งนั้น
สถานที่แห่งหนึ่ง
ในโลกที่แสนเงียบงันของ ศะศิธร อริยะวิชา
ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงัดภายในโรงภาพยนตร์
ภาพที่อยู่ทางด้านหน้าผมนั้นเป็นภาพของเกลียวคลื่นกำลังค่อยๆ ม้วนตัวอย่างช้าๆ มันช้ายิ่งกว่าความช้าของภาพสโลว์โมชั่นที่เราพบเห็นได้ในหนังทั่วๆ ไป มันช้าในแบบที่ถ้าเรากดปุ่ม forward เพื่อเร่งความเร็วของภาพ- -มันก็ยังดูช้าอยู่ดี มันช้าในแบบที่เราอาจจะพูดได้ว่า ถ้าช้ากว่านี้อีกเพียงนิดเดียว ภาพที่อยู่ตรงหน้าก็ไม่ต่างอะไรกับภาพนิ่ง
นอกจากจะภาพที่ปรากฏจะเคลื่อนไหวได้อย่างเชื่องช้าแล้ว ภาพเหล่านั้นยังโถมเข้าใส่ผมอย่างเป็นจังหวะ คล้ายคลื่นทะเลที่กำลังซัดเข้าหาฝั่งที่ละระลอก ทีละระลอก
ภาพที่อยู่ตรงหน้าเป็นระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์
ภาพของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่มีต่อเนื่อง
เสมือนภาพจิ๊กซอว์ที่ต่อตามจังหวะของระลอกคลื่นในท้องทะเล
ภาพของยอดเกลียวคลื่นถูกโถมทับกลบด้วยภาพของเมืองในมุมสูง แล้วต่อมา ภาพของเมืองในมุมสูงก็ค่อยๆ ถูกโถมทับกลบด้วยภาพของก้อนเมฆบนท้องฟ้า แล้วภาพของก้อนเมฆบนฟ้าก็ถูกโถมทับกลบด้วยภาพเม็ดฝนที่เกาะอยู่บนกระจกหน้าต่าง แล้วภาพของเม็ดฝนที่อยู่บนหน้าต่างก็ถูกกลบทับด้วยภาพของการจราจรที่จอแจของรถยนต์ที่อยู่บนทางด่วนภายในเมืองใหญ่ (โปรดอย่างเข้าใจผิดคิดว่าภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ใช้ระยะเวลาเท่ากับเวลาที่คุณอ่านย่อหน้านี้จบ เพราะในความจริงมันเนิ่นนานกว่านั้นมาก)
เมื่อภาพของเหตุการณ์ใหม่ซัดเข้ามา ภาพของเหตุการณ์เก่าก็จางหายไป
เป็นจังหวะแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่เป็นจังหวะที่ช้า เนิบนาบ และหนืดเนือย
จากภาพที่ปรากฏบนจอ เมื่อผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง ผู้ชมที่นั่งชมอยู่บางท่านในขณะนั้นบางทีก็ไม่อาจทำใจเรียกภาพคลื่นไหวที่กำลังปรากฏอยู่ทางด้านหน้าจอขนาดใหญ่ที่อยู่ทางด้านหน้าว่า “ภาพยนตร์” ได้ (ข้อมูลนี้ผม- – ผู้เขียน ได้ตั้งข้อสังเกตเอาเองจากจำนวนคนที่เดินออกไปข้างนอกก่อนที่หนังเรื่องนี้จะฉายจบ)
แต่มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไร (มิใช่เหรอ?) หากเรา (ซึ่งอาจจะหมายถึงผมและผู้ชมคนอื่นๆ ในขณะนั้น) จะใช้มาตรฐานของภาพยนตร์ที่เราเคยพบเคยดูอยู่บ่อยๆ มาวัดมาตรฐานความเป็น “ภาพยนตร์” ของหนังเงียบเรื่องนี้ของ ศะศิธร อริยะวิชา
ก็ไหนล่ะ พระเอก ไหนล่ะ นางเอก แล้วผู้ร้ายล่ะ อยู่ตรงไหน ตรงไหนของเรื่องล่ะที่เป็นปมขัดแย้ง ตรงไหนของเรื่องล่ะที่เป็นจุดคลี่คลายปมต่างๆ เหล่านั้น หรือว่าอยู่ที่ฉากสุดท้ายเอ่ย (แต่คงไม่ล่ะมั้ง เพราะดูจนจบเรื่องแล้วก็ยังไม่เห็น) ไหนล่ะ ฉากบู๊ล้างผลาญ และไหนล่ะ ฉากที่แสนน่ากลัวและสยดสยองจนขนลุกซู่ แล้วตรงไหนล่ะ ฉากที่ซึ้งตรึงใจในแบบที่เรากลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ และที่สำคัญที่สุด ฉากเลิฟซีนระหว่างพระเอกสุดหล่อและนางเอกแสนสวยของเราล่ะ- -อยู่ไหน
ถ้าใช้มาตรฐานในย่อหน้าที่แล้วมาตัดสินความเป็น “ภาพยนตร์” ของ Birth of the Seanema
ศะศิธร อริยะวิชา ก็คงไม่ต่างอะไรกับโนบิตะ ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน
เพราะถ้าเราตัดสินเธอด้วยชุดความคิดแบบนั้น คะแนะที่เธอได้ก็คือ “ศูนย์”
แต่โลกกลมๆ ใบนี้ก็ใช่ว่าจะถูกขับเคลื่อนด้วยชุดความคิดใดชุดความคิดหนึ่งซะเมื่อไหร่กัน ในความเป็นจริงมันถูกขับเคลื่อนให้หมุนได้ด้วยชุดความคิดความอ่านที่หลากหลายและแตกต่างกัน- -อาจจะพูดได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่โลกจะมีความหลากหลายของ “ชีวภาพทางความคิด” (อันนี้เป็นการควงคำขึ้นมาใหม่แบบฉับพลัน ซึ่งผู้เขียนคิดเอาเองว่าเก๋ดีแล้ว แต่ถ้าผู้อ่านคิดว่าไม่ กรุณาใช้น้ำยาลบคำผิดจัดการมันซะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกลับมาอ่านเจออีกในภายหน้า คิดอะไรมากมาย มันก็เป็นเพียงแค่ “คำ” )
ก็อย่างว่า ในโลกของภาพยนตร์ มันก็ไม่น่าจะหลุดพ้นไปจากกฎเกณฑ์ที่ว่านี้ ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว ใครๆ เขาก็รู้กันว่าพี่เบิ้มอย่างฮอลลีวู้ดนั้น กำลังครอบครองพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ต่างๆ ของแทบทุกประเทศทั่วโลกอยู่ในตอนนี้
แน่นอนว่าหนังฮอลลีวู้ดทั้งหมดนั้นเป็นหนังแบบ “เล่าเรื่อง” (ที่จริงหนังในโลกส่วนใหญ่ก็เป็นหนังเล่าเรื่องทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังอินดี้หรือหนังอินเดียก็ตาม) ด้วยคุณสมบัติของการเป็นหนังเล่าเรื่อง แน่นอน มันย่อมมีเนื้อเรื่องที่จะเล่า มีจุดเริ่มต้นแล้วก็ต้องมีจุดจบ (ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเรียงกันตามลำดับเวลาก่อนหลัง)
แต่ใช่ว่าถ้าขึ้นชื่อว่าหนังแล้ว จำเป็นต้องเล่าเรื่องอยู่เป็นสรณะเสียเมื่อไหร่ ในบางครั้งบางหนหนังอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องมีเรื่องใดๆ ที่ต้องเล่าก็ได้ บางทีมันอาจจะมีคุณสมบัติบางอย่างที่ผู้คนได้หลงลืมไป
จะว่าไปแล้ว Birth of the Seanema ของศะศิธร อริยะวิชา น่าจะเป็นตัวอย่างของหนังประเภทหลังที่ว่าได้เป็นอย่างดี
หากเราลองมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมาศิลปะแขนงที่เจ็ดที่เราเรียกกันว่า “ภาพยนตร์” ในทุกวันนี้ได้ผ่านการเดินทางบนถนนสายอารยธรรมของมนุษย์มากว่า 100 ปีแล้ว
จากจุดเริ่มต้นง่ายๆ ที่เกิดจากการถ่ายด้วยกล้องที่เป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่ใช้งานโดยใช้มือหมุนฟิล์มด้วนแกนไม้ที่อยู่ภายนอกกล่องโดยใช้ถ่ายภาพขบวนรถไฟที่กำลังวิ่งเข้าเทียบชานชลาอันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่ถ่ายโดยสองพี่น้องตระกูลลูมิแยร์
ทุกวันนี้ภาพยนตร์มาไกลจุดเริ่มต้นของมันในแบบที่ถ้าพี่น้องตระลูมิแยร์มาเห็นเข้าก็คงตกใจ ยิ่งในโลกยุคปัจจุบันแล้วอาจจะพูดได้เลยว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ในโลกภาพยนตร์ ไดโนเสาร์วิ่งกันยั้วเยี้ยเต็มจอก็ทำกันมาแล้ว อุกาบาตพุ่งชนโลกก็ทำกันมาแล้ว ฉากน้ำท่วมโลกซึ่งเป็นสุดยอดของความหายะนะของมวลมนุษยชาติก็ทำมาแล้ว วินาทีนี้หากเราต้องการจะสร้างภาพความฉิบหายของมวลมนุษยชาติใดๆ ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในโลกของภาพยนตร์นั้น- -ก็คงจะไม่มีอะไรที่เกินความสามารถของผู้สร้างภาพยนตร์ในยุคสมัยนี้อย่างแน่นอน
ในภาพยนตร์ยุคโบราณ อสูรกายหรือปีศาจร้ายเวลาปรากฏตัวในภาพยนตร์นั้นอาจจะแฝงตัวอยู่ในเงามืด ความน่ากลัวจึงเกิดจากภาพที่ผู้ดูจินตนาการขึ้นมาเองตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน ทุกวันนี้ปีศาจร้ายเหล่านั้นอาจจะปรากฏตัวออกมาแสยะยิ้มจนแทบจะเห็นเขี้ยวเล็บของมันทั้งหมด มันช่างดูแล้วสมจริงเสียนี่กระไร (บางทียุคนี้ความสมจริงสมจังอาจจะเป็นสดมภ์หลักทางความคิด- -หรือบางทีนี่อาจจะเป็นอีโก้ (แบบใหม่ ๆ) ของคนทำหนังสมัยใหม่ที่แสดงออกผ่านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่ล้วนแต่วัดความเจ๋งกันที่ความสมจริงของภาพดิจิตอลเหล่านั้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ “พื้นที่ว่าง” ที่เว้นให้ผู้ชมใช้จินตนาการของตนเข้าไปเติมหรือมีส่วนร่วมจึงเหลือน้อยเต็มที)
แต่ถึงกระนั้น
ในวาระที่ศาสตร์แห่งภาพยนตร์นั้นมีอายุอานามครบรอบ 100 ปี ผู้กำกับภาพยนตร์แนว Avant-garde อย่าง ฌอง-ลุค โกดาร์ ก็ยังออกมาบอกว่ามนุษย์ยังใช้ศักยภาพของหนังได้อย่างกระมิดกระเมี้ยน และยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย (หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือใช้ศักยภาพของภาพยนตร์ได้อย่างด้อยประสิทธิภาพจนน่าใจหาย!)
เราลืมกันไปหรือเปล่าเอ่ย? ว่าก่อนที่ศาสตร์อย่างภาพยนตร์จะใช้ศิลปะของการ “เล่าเรื่อง” เป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างและผลิตเป็นส่วนใหญ่เหมือนดังเช่นที่เป็นกันอยู่ทุกวันนี้ ภาพยนตร์นั้นยังเคยเป็นศาสตร์ที่ใสซื่อและแสนที่จะบริสุทธิ์ด้วยการเป็นงานศิลปะในแบบที่เราเรียกกันว่า “Moving Image”
จะว่าไปแล้วก็มีความเป็นไปได้อยู่ที่ภาพยนตร์ได้หยิบยืมศาสตร์ของ “การเล่าเรื่อง” มาจากงาน “วรรณกรรม” แต่จนแล้วจนรอดศิลปะทั้งสองแขนงถึงแม้จะใช้ศาสตร์ของการเล่าเรื่องเหมือนกัน (มีปทัสถานสถานบางอย่างในศาสตร์ของเรื่องเล่าที่ทำให้คนดูพยายามที่จะผูกโยงภาพในงานภาพยนตร์ที่เห็นให้กลายเป็นเรื่องเล่า ทำให้เรามองข้ามคุณสมบัติที่แท้จริงบางอย่างในงานภาพยนตร์ไป) ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้ว ทั้งสองศาสตร์นี้ต่างก็มีคุณสมบัติพิเศษที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มี
หากเราลองนึกย้อนไปลองสังเกตประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น ภาพที่เราได้จากการกวาดสายตาผ่านตัวอักษรในงานวรรณกรรมบนแผ่นกระดาษที่ปรากฏในหนังสือนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นจินตภาพ ที่จะว่าไปแล้วก็แสนที่จะพร่าเลือนแต่ก็ดูแจ่มชัดในแง่ของการที่มันเป็นภาพที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ (กระบวนการที่เปลี่ยนจากการเห็นตัวอักษร จากคำเป็นประโยค จากประโยคเป็นย่อหน้า ให้กลายเป็นภาพในงานวรรณกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่น่ามหัศจรรย์มาก) ฉากและสถานที่ที่เกิดขึ้นจากจินตนาการของเรานั้นถึงแม้ว่าจะดูสมจริงแต่มันก็ไม่เคยชัดเจน เวลาที่เราอ่านงานวรรณกรรม เราอาจจะจินตนาการถึงตัวละครเหล่านั้นได้ แต่ยังไงก็ตามภาพใบหน้าของคนเหล่านั้นก็ไม่เคยเป็นภาพที่ปรากฏออกมาอย่างชัดแจ้ง มันยังคงเป็นใบหน้าที่เหมือนมีเมฆหมอกมาบัง ทั้งดูพร่างพรายและคลุมเคลือ
โลกในงานวรรณกรรมจะเป็นโลกที่ถูกสมมุติขึ้นมาใหม่ ซึ่งผู้อ่านแต่ละคนก็สามารถสมมุติโลกที่ว่านี้ขึ้นมาด้วยเงื่อนไขอันเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคน พื้นที่ในงานวรรณกรรมจึงเป็นพื้นที่ส่วนตัวของผู้อ่านแต่ละคน
จะว่าไปก็จะมีแต่เงื่อนไขของเวลาในงานวรรณกรรมแต่ละชิ้นเท่านั้นที่ทำให้โลกสมมุติของผู้อ่านแต่ละคนนั้นเชื่อมโยงกันอยู่ เพราะเวลาโลกวรรณกรรมนั้นเชื่อมโยงอยู่กับเงื่อนไขบางอย่างในโลกของความเป็นจริง
สิ่งที่เชื่อมโยงกันอยู่ในทีนี้นั้นไม่ได้หมายถึงคุณสมบัติของทิศทางการเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรง แต่เป็นเรื่องของความสามารถในการเคลือบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลา (ไม่เกี่ยวกับเรื่องทิศทาง และลำดับก่อนหลัง แต่เกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะของเวลาเอง) เวลาในโลกของวรรณกรรมไม่ว่าเนื้อเรื่องที่เล่าถูกเล่าแบบต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่อง (ซึ่งไม่เรียงกันตามลำดับของเวลา) ก็ตาม มันยังคงต้องอาศัยประสบการณ์ในเรื่องเวลาของมนุษย์ในโลกทางกายภาพที่อยู่ภายนอกเป็นตัวสร้างมันขึ้นมา วรรณกรรมจึงไม่สามารถพาเราหลุดพ้นออกไปจากโลกของเวลาที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงได้ มันยังคงมีเส้นสายบาง ๆ อันเกิดจากประสบการณ์ของเราผูกโยงมันเอาไว้อยู่
ในขณะที่โลกของภาพยนตร์ด้วยเงื่อนไขของการเป็นภาพซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ใช้การบันทึกภาพเหล่านั้นจากโลกภายนอก (ไม่ได้เกิดจากจินตนาการของเรา--ซึ่งเป็นโลกในมโนคติ) ภาพที่เรารับรู้จากงานภาพยนตร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับโลกแห่งความเป็นจริงอยู่
แต่ตัวภาพยนตร์เองก็มีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างอยู่ ทำให้ถึงแม้ว่ามันจะเกี่ยวโยงกับความเป็นจริง แต่มันก็เป็นโลกที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว และมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปจากโลกสมมุติที่เกิดขึ้นในงานวรรณกรรม
คุณสมบัติที่ทำให้โลกในภาพยนตร์นั้นแตกต่างไปจากโลกวรรณกรรมและโลกของความเป็นจริงทางกายภาพก็คือ คุณสมบัติในการหน่วงเหนี่ยว ยืด ย่อและขยาย การคลืบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลา ด้วยเหตุนี้เองโลกภาพยนตร์นั้นจึงสามารถสร้างเงื่อนไขการมีอยู่ของเวลาในรูปแบบใหม่ๆ ในแบบที่โลกอื่นๆ นั้นสร้างไม่ได้
โลกในภาพยนตร์จึงเป็นโลกที่มีลักษณะเฉพาะที่พื้นที่ (ในที่นี้ก็คือภาพ) และเวลานั้นเกี่ยวโยงและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น และสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยปัจจัยในเรื่องของพื้นที่และเวลาซึ่งมีซึ่งเป็นอิสระจากโลกที่อยู่ภายนอก
ซึ่งคุณสมบัติพิเศษในเรื่องเวลาของภาพยนตร์นั้นดูเหมือนว่าจะปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้--Birth of the Seanema ของ ศะศิธร อริยะวิชา ด้วยเช่นเดียวกัน และดูเหมือนว่าศะศิธรจะพาเรากลับไปยังจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ในกรอบความคิดที่มองงานภาพยนตร์เป็น “Moving Image” เหมือนในอดีตที่มันเคยเป็นอีกครั้งหนึ่ง
งานชิ้นนี้ของเธอจึงไม่ใช่งานที่ยัดความหมายลงไปในเรื่องหรือพยายามยัดเรื่องเล่าลงไปในภาพ (โดยเพิกเฉยต่อคุณสมบัติพิเศษของภาพยนตร์) แต่งานของเธอคือการพยายามสร้างโลกในแบบของเธอ โลกที่เกี่ยวข้องกับท้องทะเลที่เธอรักและผูกพัน (เธอเคยให้สัมภาษณ์ว่าชอบความโล่งกว้างของทะเล) กับโลกในเมืองที่แสนวุ่นวายที่เธออยู่อาศัย โดยการใช้คุณสมบัติพิเศษของภาพยนตร์เป็นวัตถุดิบ
ซึ่งโลกที่เธอได้สร้างขึ้นมานั้นก็มีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ถึงมันจะเต็มไปด้วยความเนิบนาบ แต่มันก็มีลักษณะบางอย่างที่เป็นลักษณะพิเศษในงานภาพยนตร์ชิ้นนี้
มันเป็นโลกที่เคลื่อนตัวอย่างเชื่องช้าซึ่งมีส่วนผสมของความเศร้า ภาพยนตร์ในเรื่องนี้มีคุณสมบัติบางอย่างซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับที่บทกวีทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนั้นมี (ซึ่งข้อความที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับภาพที่แทรกขึ้นมาในระหว่างเรื่องนั้นก็มีคุณสมบัติของการเป็นบทกวีอยู่เช่นเดียวกัน)
เป็นไปได้ที่ความเนิบนาบ หนืดเนือยในโลกใบนั้นของเธอทำให้เราสามารถเข้าไปสังเกตสังการณ์ รายละเอียดของสิ่งของต่างๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน (สถานที่ต่างๆ ภายในเมือง) ด้วยมุมมองใหม่ๆ ซึ่งตัวเรานั้นเพิกเฉยหากเราพิจารณามันด้วยการคลืบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลาด้วยประสบการณ์ปรกติของโลกจริงที่เราสามารถรับรู้มันได้ในทางกายภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความหมายใหม่ๆ ความหมายใหม่ที่เรามีต่อโลกใบเดิมซึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่เป็นผลผลิตของภาพที่เล็ดลอดออกมาจากรอยรั่วของเวลาผสมผสานกับความทรงจำและประสบการณ์ของเราที่เคยผ่านมาในอดีต ทำให้คนดูสามารถเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้กับประสบการณ์ของตนเองด้วยเงื่อนไขที่เฉพาะตัวและแตกต่างกัน
จะว่าไปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ของศะศิธรนั้น มีคุณสมบัติบางอย่างที่เราสามารถพบในสุนทรียศาสตร์ในแบบญี่ปุ่น ซึ่งชาวอาทิตย์อุทัยเรียกคุณสมบัติของความงามชนิดนี้ว่า “โมโนโนะ อาวาเระ” หรือแปลเป็นภาษาไทยก็คือ “ ความเศร้าสร้อยของสรรพสิ่ง ” ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็คืออารมณ์ของความรู้สึกที่เกี่ยวกับความงดงามของสิ่งที่ได้ผ่านไปหรือกำลังจะผ่านไป ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ลึกซึ้งและเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยเราสามารถรับรู้คุณสมบัติเหล่านี้ผ่านประสาทสัมผัสและการมองเห็นของเรา ผ่านความงามของการดำรงอยู่และสูญสลาย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีนัยยะ ความหมายของปรัชญาในศาสนาพุทธแฝงอยู่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับกำเนิดของธรรมชาติและการกลับไปสู่จุดเริ่มต้นอันดั้งเดิมเมื่อถึงเวลา
ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงัดภายในโรงภาพยนตร์
ทันทีที่แสงไฟในโรงภาพยนตร์สว่างจ้า
มันได้นำผมกลับมายังที่นี่
วินาทีนี้ (ในขณะที่ผมกำลังเรียบเรียงประโยคต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้คุณๆ ทั้งหลายได้อ่าน ซึ่งถึงตอนนี้ผมเองก็คิดว่ามันใกล้ที่จะเสร็จเต็มทีแล้ว) ภายในห้องแคบเล็กๆ ที่ไร้ความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งใดๆ ห้องเงียบๆ ซึ่งตัดขาดจากความรวดเร็ว ความวุ่นวายและโกลาหลของเมืองใหญ่ที่อยู่ภายนอกหน้าต่าง ซึ่งจะว่าไปประสบการณ์ของผมในตอนนี้ ย่อมสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในห้องที่เงียบงัน (แห่งนี้) มากกว่าโลกของความโกลาหลที่อยู่ภายนอก โลกของผมในตอนนี้จึงเป็นโลกที่กำลังเคลื่อนไหวตัวอย่างเชื่องช้าๆ และเนิบนาบ
“ทะเลคือที่เก็บงำความทรงจำทั้งหมดของสรรพสิ่งทั้งมวลในโลก มันถักใยบาง ๆ ระหว่างความทรงจำ ความฝัน ความรู้สึกของผู้คนและเมืองแห่งหนึ่งผ่านภาพจากเสี้ยวเล็กๆ ของความทรงจำที่รั่วผ่านรอยร้าวของมัน”
ผมนึกถึงถ้อยคำในสูจิบัตรที่แสดงข้อมูลของภาพยนตร์เรื่องนี้
มาถึงวินาทีนี้ตัวผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าความเชื่องช้าสามารถหน่วงเหนี่ยวความทรงจำไว้กับเราได้จริงๆ ความเชื่องช้ามีประสิทธิภาพอย่างที่คุนเดอร่าพูดไว้จริงๆ?
ระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์ที่มาก่อนจะไม่ถูกระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์ที่มาทีหลังทำให้มันจางหายไปในโลกที่เชื่องช้า ภาพของความทรงจำในครั้งเก่าก่อนจะไม่ถูกภาพความทรงจำใหม่ซัดทำให้มันจางหายไปเหมือนคลื่นในทะเล
หรือแท้จริงแล้วความทรงจำก็เป็นเสมือนหยดน้ำที่อยู่ในห้วงมหาสมุทรขนาดใหญ่ที่อาศัยคืนวันที่โลกภายในตัวของเราเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าเล็ดลอดออกมาทางรูรั่วของรอยร้าวและหยิบฉวยจินตภาพที่เกิดขึ้นมาในห้วงเวลาปัจจุบัน เพื่อนำวันเวลาในอดีตของเรากลับมาอีกครั้ง
ในหนังเรื่อง Birth of the Seanema มีข้อความหนึ่งเขียนเอาไว้ว่า
“I am your forgotten memories, I am your invented memories”
หรือแท้จริงแล้ว
ความทรงจำทั้งหลาย แท้ที่จริงก็เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์ประกอบสร้างมันขึ้นมา
เอาไว้ให้อยู่เป็นเพื่อนคลายเหงา
ในโลกที่แสนเดียวดาย
*เผยแพร่ครั้งแรกที่ โอเพ่นออนไลน์: http://www.onopen.com
Link: http://www.onopen.com/2006/02/746
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
2006-10-30
Why has the pleasure of slowness disappeared? Ah, where have they gone, the amblers of yesteryear? Where have they gone, those loafing heroes of folk song, those vagabonds who roam from one mill to another and bed down under the stars? Have they vanished along with footpaths, with grasslands and clearings, with nature?
Slowness, Milan Kundera
ในหนังสือนิยายเล่มบางๆ เรื่อง “Slowness” ของมิลาน คุนเดอร่า ได้พูดถึงคุณค่าของ “ความอ้อยอิ่ง” “ความเนิบนาบ” หรือ “ความเชื่องช้า” พร้อมกับตั้งคำถามกับสิ่งที่เรียกว่า “ความเร็ว” ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุของมนุษย์
สำหรับสาระสำคัญในนิยายเล่มนี้นั้น คุนเดอร่าเชื่อว่า “ความเร็ว” ทำให้มนุษย์หลงลืมตัวตน ทำให้ความมีตัวตนของมนุษย์นั้นดูพร่ามัว ซึ่งความเร็วนั้นมีสัดส่วนแปรผันกับความเข้มข้นในการลืม โลกของความเร็วจึงเป็นโลกแห่งการลืมเลือน- -มันเป็นโลกที่ปราศจากความทรงจำในโลกที่ทุกอย่างเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว (อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, รถยนต์ที่เร่งความเร็วได้ถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายใน 6 วินาที, การศึกษาในหลักสูตรเร่งรัด ฯลฯ) เราไม่สามารถจดจำอะไรได้ (ในโลกยุคใหม่ เพลงฮิตที่ติดชาร์ตอันดับหนึ่งในปีนี้ ปีถัดไปก็อาจจะไม่มีใครพูดถึงมันอีก ด้วยข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าท่วมตัวเรามากมายในแต่ละวัน เรายังมีข้อมูลใหม่ๆ มากมายให้ต้องคอยอัฟเดทในแต่ละวันมิใช่หรือ-– ถ้าพูดกันตามภาษาของสื่อมวลชนที่นิยมใช้กันอย่างดาษดื่นก็จะบอกว่าเดี๋ยวไม่อินเทรนด์นะ!)
ในหนังสือเล่มนี้ คุนเดอร่าสังเกตพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปของมนุษย์ แล้วเขียนยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ในขณะที่เรากำลังเดินอยู่ แล้วต้องการนึกอะไรบางอย่างในขณะนั้นให้ออก เราก็จะพยายามเคลื่อนตัวให้ช้าลง ทำไมต้องเคลื่อนตัวช้าลง ความช้ามีผลต่อการปรากฏชัดเจนของความทรงจำอย่างไร ขณะเดียวกันในโมงยามที่เรากำลังมีความทุกข์ มีสิ่งที่ทำให้ผิดหวังสุมอยู่ข้างในอก หากลองสังเกตดู เราจะพยายามเคลื่อนตัวให้เร็วขึ้นๆ ในขณะที่เรากำลังเดินอยู่ มันเหมือนกับว่าความเร็วที่เพิ่มขึ้นนั้นสามารถสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราและสิ่งที่เราอยากจะลืมได้
ความเร็วสามารถทำให้เราลืมความทุกข์ที่เราไม่อยากจดจำเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น?
สำหรับคุนเดอร่า ความเชื่องช้าเนิบนาบมีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างอยู่ มันทำให้ความทรงจำที่ถูกฝังทับถมอยู่ในห้วงเวลาแห่งอดีตของเรานั้นค่อยๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นในห้วงแห่งการคิดคำนึงของเรา- -ในเวลาปัจจุบัน ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
จะว่าไป ความคิดในเรื่องนี้ของคุนเดอร่านั้นก็มีบางแง่มุมคล้ายกับความคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ฌอง โบดริยาร์ เพราะ โบดริยาร์เองก็เคยเปรียบเทียบมนุษย์ในโลกยุคใหม่- -ที่ทุกอย่างรอบตัวล้วนแล้วแต่เคลื่อนไหวด้วยความเร็ว ว่าเปรียบได้กับ “ฟองน้ำ” หรือ “กลุ่มก๊าซทึบแสง” ที่เงียบกริบ ว่างเปล่า เฉื่อยชา ที่พร้อมที่จะดูดซับทุกอย่างเข้าไปในตัว หลีกหนีสังคมเพียงเพื่อที่จะสลายตัวไปเองเมื่อถึงจุดอิ่มตัวจนไม่อาจดูดกลืนสิ่งใดๆ ได้อีก มนุษย์ในโลกยุคใหม่จึงเป็นเหมือนหลุมดำที่คอยดูดกลืนความหมายและข่าวสารทั้งหมดเข้าไปในตัว และคงเหลืออยู่แต่เพียงสิ่งซึ่งไร้ความหมาย ปฏิเสธหรือหมดปัญญาที่จะสร้างความหมายใดๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ของมนุษย์ล้วนเป็นผลมาจากข่าวสารที่ไหลบ่าเข้าใส่อย่างดุดันของสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างดาษดื่นและมากมายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลยในยุคสมัยใดๆ ในอดีตที่ผ่านมา
หรือในโลกยุคใหม่นั้น มนุษย์จะไม่มีทางเลือกใดๆ อีกนอกจากต้องยอมสยบให้กับปีศาจแห่งความเร็วที่คอยพรากภาพของความทรงจำไปจากชีวิต...
วินาทีนี้ (ในขณะที่ผมกำลังเรียบเรียงประโยคต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้คุณๆ ทั้งหลายได้อ่านกัน) ภายในห้องแคบเล็กๆ ที่ไร้ความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งใดๆ ห้องเงียบๆ ซึ่งตัดขาดจากความรวดเร็ว ความวุ่นวายและโกลาหลของเมืองใหญ่ที่อยู่ภายนอกหน้าต่าง ซึ่งจะว่าไป ประสบการณ์ของผมในตอนนี้ย่อมสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในห้องที่เงียบงัน (แห่งนี้) มากกว่าโลกของความโกลาหลที่อยู่ภายนอก โลกของผมในตอนนี้จึงเป็นโลกที่กำลังเคลื่อนไหวตัวอย่างเชื่องช้าๆ และเนิบนาบ
“ใช่ ต้องมีบางช่วงเวลาที่เราสามารถถอนตัวออกจากโลกที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่อยู่ภายนอกได้” ผมบอกกับตัวเอง
และวินาทีที่ผมกำลังนึกถึงช่วงเวลาเหล่านั้น ความทรงจำก็ได้นำห้วงประสบการณ์ในอดีตของผมหวนคืนมายังพื้นที่ของปัจจุบันอีกครั้ง
ผมจำได้ มันเป็นความทรงจำที่มีต่อหนังเรื่องหนึ่ง--Birth of the Seanema ที่ผมเคยดูเมื่อหลายเดือนก่อน
ผมไม่แน่ใจว่าภาพของห้วงบรรยากาศ ณ เวลานั้น (ของผม) มันพร่าเลือนหรือว่าชัดเจน แต่ผมแน่ใจว่าประสบการณ์ที่ได้สัมผัสในครั้งนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่าง- -ที่พิเศษ
แล้วความทรงจำก็พาผมไปยังสถานที่แห่งนั้น
สถานที่แห่งหนึ่ง
ในโลกที่แสนเงียบงันของ ศะศิธร อริยะวิชา
ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงัดภายในโรงภาพยนตร์
ภาพที่อยู่ทางด้านหน้าผมนั้นเป็นภาพของเกลียวคลื่นกำลังค่อยๆ ม้วนตัวอย่างช้าๆ มันช้ายิ่งกว่าความช้าของภาพสโลว์โมชั่นที่เราพบเห็นได้ในหนังทั่วๆ ไป มันช้าในแบบที่ถ้าเรากดปุ่ม forward เพื่อเร่งความเร็วของภาพ- -มันก็ยังดูช้าอยู่ดี มันช้าในแบบที่เราอาจจะพูดได้ว่า ถ้าช้ากว่านี้อีกเพียงนิดเดียว ภาพที่อยู่ตรงหน้าก็ไม่ต่างอะไรกับภาพนิ่ง
นอกจากจะภาพที่ปรากฏจะเคลื่อนไหวได้อย่างเชื่องช้าแล้ว ภาพเหล่านั้นยังโถมเข้าใส่ผมอย่างเป็นจังหวะ คล้ายคลื่นทะเลที่กำลังซัดเข้าหาฝั่งที่ละระลอก ทีละระลอก
ภาพที่อยู่ตรงหน้าเป็นระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์
ภาพของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่มีต่อเนื่อง
เสมือนภาพจิ๊กซอว์ที่ต่อตามจังหวะของระลอกคลื่นในท้องทะเล
ภาพของยอดเกลียวคลื่นถูกโถมทับกลบด้วยภาพของเมืองในมุมสูง แล้วต่อมา ภาพของเมืองในมุมสูงก็ค่อยๆ ถูกโถมทับกลบด้วยภาพของก้อนเมฆบนท้องฟ้า แล้วภาพของก้อนเมฆบนฟ้าก็ถูกโถมทับกลบด้วยภาพเม็ดฝนที่เกาะอยู่บนกระจกหน้าต่าง แล้วภาพของเม็ดฝนที่อยู่บนหน้าต่างก็ถูกกลบทับด้วยภาพของการจราจรที่จอแจของรถยนต์ที่อยู่บนทางด่วนภายในเมืองใหญ่ (โปรดอย่างเข้าใจผิดคิดว่าภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ใช้ระยะเวลาเท่ากับเวลาที่คุณอ่านย่อหน้านี้จบ เพราะในความจริงมันเนิ่นนานกว่านั้นมาก)
เมื่อภาพของเหตุการณ์ใหม่ซัดเข้ามา ภาพของเหตุการณ์เก่าก็จางหายไป
เป็นจังหวะแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่เป็นจังหวะที่ช้า เนิบนาบ และหนืดเนือย
จากภาพที่ปรากฏบนจอ เมื่อผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง ผู้ชมที่นั่งชมอยู่บางท่านในขณะนั้นบางทีก็ไม่อาจทำใจเรียกภาพคลื่นไหวที่กำลังปรากฏอยู่ทางด้านหน้าจอขนาดใหญ่ที่อยู่ทางด้านหน้าว่า “ภาพยนตร์” ได้ (ข้อมูลนี้ผม- – ผู้เขียน ได้ตั้งข้อสังเกตเอาเองจากจำนวนคนที่เดินออกไปข้างนอกก่อนที่หนังเรื่องนี้จะฉายจบ)
แต่มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไร (มิใช่เหรอ?) หากเรา (ซึ่งอาจจะหมายถึงผมและผู้ชมคนอื่นๆ ในขณะนั้น) จะใช้มาตรฐานของภาพยนตร์ที่เราเคยพบเคยดูอยู่บ่อยๆ มาวัดมาตรฐานความเป็น “ภาพยนตร์” ของหนังเงียบเรื่องนี้ของ ศะศิธร อริยะวิชา
ก็ไหนล่ะ พระเอก ไหนล่ะ นางเอก แล้วผู้ร้ายล่ะ อยู่ตรงไหน ตรงไหนของเรื่องล่ะที่เป็นปมขัดแย้ง ตรงไหนของเรื่องล่ะที่เป็นจุดคลี่คลายปมต่างๆ เหล่านั้น หรือว่าอยู่ที่ฉากสุดท้ายเอ่ย (แต่คงไม่ล่ะมั้ง เพราะดูจนจบเรื่องแล้วก็ยังไม่เห็น) ไหนล่ะ ฉากบู๊ล้างผลาญ และไหนล่ะ ฉากที่แสนน่ากลัวและสยดสยองจนขนลุกซู่ แล้วตรงไหนล่ะ ฉากที่ซึ้งตรึงใจในแบบที่เรากลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ และที่สำคัญที่สุด ฉากเลิฟซีนระหว่างพระเอกสุดหล่อและนางเอกแสนสวยของเราล่ะ- -อยู่ไหน
ถ้าใช้มาตรฐานในย่อหน้าที่แล้วมาตัดสินความเป็น “ภาพยนตร์” ของ Birth of the Seanema
ศะศิธร อริยะวิชา ก็คงไม่ต่างอะไรกับโนบิตะ ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน
เพราะถ้าเราตัดสินเธอด้วยชุดความคิดแบบนั้น คะแนะที่เธอได้ก็คือ “ศูนย์”
แต่โลกกลมๆ ใบนี้ก็ใช่ว่าจะถูกขับเคลื่อนด้วยชุดความคิดใดชุดความคิดหนึ่งซะเมื่อไหร่กัน ในความเป็นจริงมันถูกขับเคลื่อนให้หมุนได้ด้วยชุดความคิดความอ่านที่หลากหลายและแตกต่างกัน- -อาจจะพูดได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่โลกจะมีความหลากหลายของ “ชีวภาพทางความคิด” (อันนี้เป็นการควงคำขึ้นมาใหม่แบบฉับพลัน ซึ่งผู้เขียนคิดเอาเองว่าเก๋ดีแล้ว แต่ถ้าผู้อ่านคิดว่าไม่ กรุณาใช้น้ำยาลบคำผิดจัดการมันซะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกลับมาอ่านเจออีกในภายหน้า คิดอะไรมากมาย มันก็เป็นเพียงแค่ “คำ” )
ก็อย่างว่า ในโลกของภาพยนตร์ มันก็ไม่น่าจะหลุดพ้นไปจากกฎเกณฑ์ที่ว่านี้ ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว ใครๆ เขาก็รู้กันว่าพี่เบิ้มอย่างฮอลลีวู้ดนั้น กำลังครอบครองพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ต่างๆ ของแทบทุกประเทศทั่วโลกอยู่ในตอนนี้
แน่นอนว่าหนังฮอลลีวู้ดทั้งหมดนั้นเป็นหนังแบบ “เล่าเรื่อง” (ที่จริงหนังในโลกส่วนใหญ่ก็เป็นหนังเล่าเรื่องทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังอินดี้หรือหนังอินเดียก็ตาม) ด้วยคุณสมบัติของการเป็นหนังเล่าเรื่อง แน่นอน มันย่อมมีเนื้อเรื่องที่จะเล่า มีจุดเริ่มต้นแล้วก็ต้องมีจุดจบ (ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเรียงกันตามลำดับเวลาก่อนหลัง)
แต่ใช่ว่าถ้าขึ้นชื่อว่าหนังแล้ว จำเป็นต้องเล่าเรื่องอยู่เป็นสรณะเสียเมื่อไหร่ ในบางครั้งบางหนหนังอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องมีเรื่องใดๆ ที่ต้องเล่าก็ได้ บางทีมันอาจจะมีคุณสมบัติบางอย่างที่ผู้คนได้หลงลืมไป
จะว่าไปแล้ว Birth of the Seanema ของศะศิธร อริยะวิชา น่าจะเป็นตัวอย่างของหนังประเภทหลังที่ว่าได้เป็นอย่างดี
หากเราลองมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมาศิลปะแขนงที่เจ็ดที่เราเรียกกันว่า “ภาพยนตร์” ในทุกวันนี้ได้ผ่านการเดินทางบนถนนสายอารยธรรมของมนุษย์มากว่า 100 ปีแล้ว
จากจุดเริ่มต้นง่ายๆ ที่เกิดจากการถ่ายด้วยกล้องที่เป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่ใช้งานโดยใช้มือหมุนฟิล์มด้วนแกนไม้ที่อยู่ภายนอกกล่องโดยใช้ถ่ายภาพขบวนรถไฟที่กำลังวิ่งเข้าเทียบชานชลาอันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่ถ่ายโดยสองพี่น้องตระกูลลูมิแยร์
ทุกวันนี้ภาพยนตร์มาไกลจุดเริ่มต้นของมันในแบบที่ถ้าพี่น้องตระลูมิแยร์มาเห็นเข้าก็คงตกใจ ยิ่งในโลกยุคปัจจุบันแล้วอาจจะพูดได้เลยว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ในโลกภาพยนตร์ ไดโนเสาร์วิ่งกันยั้วเยี้ยเต็มจอก็ทำกันมาแล้ว อุกาบาตพุ่งชนโลกก็ทำกันมาแล้ว ฉากน้ำท่วมโลกซึ่งเป็นสุดยอดของความหายะนะของมวลมนุษยชาติก็ทำมาแล้ว วินาทีนี้หากเราต้องการจะสร้างภาพความฉิบหายของมวลมนุษยชาติใดๆ ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในโลกของภาพยนตร์นั้น- -ก็คงจะไม่มีอะไรที่เกินความสามารถของผู้สร้างภาพยนตร์ในยุคสมัยนี้อย่างแน่นอน
ในภาพยนตร์ยุคโบราณ อสูรกายหรือปีศาจร้ายเวลาปรากฏตัวในภาพยนตร์นั้นอาจจะแฝงตัวอยู่ในเงามืด ความน่ากลัวจึงเกิดจากภาพที่ผู้ดูจินตนาการขึ้นมาเองตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน ทุกวันนี้ปีศาจร้ายเหล่านั้นอาจจะปรากฏตัวออกมาแสยะยิ้มจนแทบจะเห็นเขี้ยวเล็บของมันทั้งหมด มันช่างดูแล้วสมจริงเสียนี่กระไร (บางทียุคนี้ความสมจริงสมจังอาจจะเป็นสดมภ์หลักทางความคิด- -หรือบางทีนี่อาจจะเป็นอีโก้ (แบบใหม่ ๆ) ของคนทำหนังสมัยใหม่ที่แสดงออกผ่านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่ล้วนแต่วัดความเจ๋งกันที่ความสมจริงของภาพดิจิตอลเหล่านั้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ “พื้นที่ว่าง” ที่เว้นให้ผู้ชมใช้จินตนาการของตนเข้าไปเติมหรือมีส่วนร่วมจึงเหลือน้อยเต็มที)
แต่ถึงกระนั้น
ในวาระที่ศาสตร์แห่งภาพยนตร์นั้นมีอายุอานามครบรอบ 100 ปี ผู้กำกับภาพยนตร์แนว Avant-garde อย่าง ฌอง-ลุค โกดาร์ ก็ยังออกมาบอกว่ามนุษย์ยังใช้ศักยภาพของหนังได้อย่างกระมิดกระเมี้ยน และยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย (หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือใช้ศักยภาพของภาพยนตร์ได้อย่างด้อยประสิทธิภาพจนน่าใจหาย!)
เราลืมกันไปหรือเปล่าเอ่ย? ว่าก่อนที่ศาสตร์อย่างภาพยนตร์จะใช้ศิลปะของการ “เล่าเรื่อง” เป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างและผลิตเป็นส่วนใหญ่เหมือนดังเช่นที่เป็นกันอยู่ทุกวันนี้ ภาพยนตร์นั้นยังเคยเป็นศาสตร์ที่ใสซื่อและแสนที่จะบริสุทธิ์ด้วยการเป็นงานศิลปะในแบบที่เราเรียกกันว่า “Moving Image”
จะว่าไปแล้วก็มีความเป็นไปได้อยู่ที่ภาพยนตร์ได้หยิบยืมศาสตร์ของ “การเล่าเรื่อง” มาจากงาน “วรรณกรรม” แต่จนแล้วจนรอดศิลปะทั้งสองแขนงถึงแม้จะใช้ศาสตร์ของการเล่าเรื่องเหมือนกัน (มีปทัสถานสถานบางอย่างในศาสตร์ของเรื่องเล่าที่ทำให้คนดูพยายามที่จะผูกโยงภาพในงานภาพยนตร์ที่เห็นให้กลายเป็นเรื่องเล่า ทำให้เรามองข้ามคุณสมบัติที่แท้จริงบางอย่างในงานภาพยนตร์ไป) ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้ว ทั้งสองศาสตร์นี้ต่างก็มีคุณสมบัติพิเศษที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มี
หากเราลองนึกย้อนไปลองสังเกตประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น ภาพที่เราได้จากการกวาดสายตาผ่านตัวอักษรในงานวรรณกรรมบนแผ่นกระดาษที่ปรากฏในหนังสือนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นจินตภาพ ที่จะว่าไปแล้วก็แสนที่จะพร่าเลือนแต่ก็ดูแจ่มชัดในแง่ของการที่มันเป็นภาพที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ (กระบวนการที่เปลี่ยนจากการเห็นตัวอักษร จากคำเป็นประโยค จากประโยคเป็นย่อหน้า ให้กลายเป็นภาพในงานวรรณกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่น่ามหัศจรรย์มาก) ฉากและสถานที่ที่เกิดขึ้นจากจินตนาการของเรานั้นถึงแม้ว่าจะดูสมจริงแต่มันก็ไม่เคยชัดเจน เวลาที่เราอ่านงานวรรณกรรม เราอาจจะจินตนาการถึงตัวละครเหล่านั้นได้ แต่ยังไงก็ตามภาพใบหน้าของคนเหล่านั้นก็ไม่เคยเป็นภาพที่ปรากฏออกมาอย่างชัดแจ้ง มันยังคงเป็นใบหน้าที่เหมือนมีเมฆหมอกมาบัง ทั้งดูพร่างพรายและคลุมเคลือ
โลกในงานวรรณกรรมจะเป็นโลกที่ถูกสมมุติขึ้นมาใหม่ ซึ่งผู้อ่านแต่ละคนก็สามารถสมมุติโลกที่ว่านี้ขึ้นมาด้วยเงื่อนไขอันเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคน พื้นที่ในงานวรรณกรรมจึงเป็นพื้นที่ส่วนตัวของผู้อ่านแต่ละคน
จะว่าไปก็จะมีแต่เงื่อนไขของเวลาในงานวรรณกรรมแต่ละชิ้นเท่านั้นที่ทำให้โลกสมมุติของผู้อ่านแต่ละคนนั้นเชื่อมโยงกันอยู่ เพราะเวลาโลกวรรณกรรมนั้นเชื่อมโยงอยู่กับเงื่อนไขบางอย่างในโลกของความเป็นจริง
สิ่งที่เชื่อมโยงกันอยู่ในทีนี้นั้นไม่ได้หมายถึงคุณสมบัติของทิศทางการเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรง แต่เป็นเรื่องของความสามารถในการเคลือบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลา (ไม่เกี่ยวกับเรื่องทิศทาง และลำดับก่อนหลัง แต่เกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะของเวลาเอง) เวลาในโลกของวรรณกรรมไม่ว่าเนื้อเรื่องที่เล่าถูกเล่าแบบต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่อง (ซึ่งไม่เรียงกันตามลำดับของเวลา) ก็ตาม มันยังคงต้องอาศัยประสบการณ์ในเรื่องเวลาของมนุษย์ในโลกทางกายภาพที่อยู่ภายนอกเป็นตัวสร้างมันขึ้นมา วรรณกรรมจึงไม่สามารถพาเราหลุดพ้นออกไปจากโลกของเวลาที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงได้ มันยังคงมีเส้นสายบาง ๆ อันเกิดจากประสบการณ์ของเราผูกโยงมันเอาไว้อยู่
ในขณะที่โลกของภาพยนตร์ด้วยเงื่อนไขของการเป็นภาพซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ใช้การบันทึกภาพเหล่านั้นจากโลกภายนอก (ไม่ได้เกิดจากจินตนาการของเรา--ซึ่งเป็นโลกในมโนคติ) ภาพที่เรารับรู้จากงานภาพยนตร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับโลกแห่งความเป็นจริงอยู่
แต่ตัวภาพยนตร์เองก็มีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างอยู่ ทำให้ถึงแม้ว่ามันจะเกี่ยวโยงกับความเป็นจริง แต่มันก็เป็นโลกที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว และมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปจากโลกสมมุติที่เกิดขึ้นในงานวรรณกรรม
คุณสมบัติที่ทำให้โลกในภาพยนตร์นั้นแตกต่างไปจากโลกวรรณกรรมและโลกของความเป็นจริงทางกายภาพก็คือ คุณสมบัติในการหน่วงเหนี่ยว ยืด ย่อและขยาย การคลืบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลา ด้วยเหตุนี้เองโลกภาพยนตร์นั้นจึงสามารถสร้างเงื่อนไขการมีอยู่ของเวลาในรูปแบบใหม่ๆ ในแบบที่โลกอื่นๆ นั้นสร้างไม่ได้
โลกในภาพยนตร์จึงเป็นโลกที่มีลักษณะเฉพาะที่พื้นที่ (ในที่นี้ก็คือภาพ) และเวลานั้นเกี่ยวโยงและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น และสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยปัจจัยในเรื่องของพื้นที่และเวลาซึ่งมีซึ่งเป็นอิสระจากโลกที่อยู่ภายนอก
ซึ่งคุณสมบัติพิเศษในเรื่องเวลาของภาพยนตร์นั้นดูเหมือนว่าจะปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้--Birth of the Seanema ของ ศะศิธร อริยะวิชา ด้วยเช่นเดียวกัน และดูเหมือนว่าศะศิธรจะพาเรากลับไปยังจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ในกรอบความคิดที่มองงานภาพยนตร์เป็น “Moving Image” เหมือนในอดีตที่มันเคยเป็นอีกครั้งหนึ่ง
งานชิ้นนี้ของเธอจึงไม่ใช่งานที่ยัดความหมายลงไปในเรื่องหรือพยายามยัดเรื่องเล่าลงไปในภาพ (โดยเพิกเฉยต่อคุณสมบัติพิเศษของภาพยนตร์) แต่งานของเธอคือการพยายามสร้างโลกในแบบของเธอ โลกที่เกี่ยวข้องกับท้องทะเลที่เธอรักและผูกพัน (เธอเคยให้สัมภาษณ์ว่าชอบความโล่งกว้างของทะเล) กับโลกในเมืองที่แสนวุ่นวายที่เธออยู่อาศัย โดยการใช้คุณสมบัติพิเศษของภาพยนตร์เป็นวัตถุดิบ
ซึ่งโลกที่เธอได้สร้างขึ้นมานั้นก็มีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ถึงมันจะเต็มไปด้วยความเนิบนาบ แต่มันก็มีลักษณะบางอย่างที่เป็นลักษณะพิเศษในงานภาพยนตร์ชิ้นนี้
มันเป็นโลกที่เคลื่อนตัวอย่างเชื่องช้าซึ่งมีส่วนผสมของความเศร้า ภาพยนตร์ในเรื่องนี้มีคุณสมบัติบางอย่างซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับที่บทกวีทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนั้นมี (ซึ่งข้อความที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับภาพที่แทรกขึ้นมาในระหว่างเรื่องนั้นก็มีคุณสมบัติของการเป็นบทกวีอยู่เช่นเดียวกัน)
เป็นไปได้ที่ความเนิบนาบ หนืดเนือยในโลกใบนั้นของเธอทำให้เราสามารถเข้าไปสังเกตสังการณ์ รายละเอียดของสิ่งของต่างๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน (สถานที่ต่างๆ ภายในเมือง) ด้วยมุมมองใหม่ๆ ซึ่งตัวเรานั้นเพิกเฉยหากเราพิจารณามันด้วยการคลืบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลาด้วยประสบการณ์ปรกติของโลกจริงที่เราสามารถรับรู้มันได้ในทางกายภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความหมายใหม่ๆ ความหมายใหม่ที่เรามีต่อโลกใบเดิมซึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่เป็นผลผลิตของภาพที่เล็ดลอดออกมาจากรอยรั่วของเวลาผสมผสานกับความทรงจำและประสบการณ์ของเราที่เคยผ่านมาในอดีต ทำให้คนดูสามารถเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้กับประสบการณ์ของตนเองด้วยเงื่อนไขที่เฉพาะตัวและแตกต่างกัน
จะว่าไปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ของศะศิธรนั้น มีคุณสมบัติบางอย่างที่เราสามารถพบในสุนทรียศาสตร์ในแบบญี่ปุ่น ซึ่งชาวอาทิตย์อุทัยเรียกคุณสมบัติของความงามชนิดนี้ว่า “โมโนโนะ อาวาเระ” หรือแปลเป็นภาษาไทยก็คือ “ ความเศร้าสร้อยของสรรพสิ่ง ” ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็คืออารมณ์ของความรู้สึกที่เกี่ยวกับความงดงามของสิ่งที่ได้ผ่านไปหรือกำลังจะผ่านไป ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ลึกซึ้งและเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยเราสามารถรับรู้คุณสมบัติเหล่านี้ผ่านประสาทสัมผัสและการมองเห็นของเรา ผ่านความงามของการดำรงอยู่และสูญสลาย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีนัยยะ ความหมายของปรัชญาในศาสนาพุทธแฝงอยู่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับกำเนิดของธรรมชาติและการกลับไปสู่จุดเริ่มต้นอันดั้งเดิมเมื่อถึงเวลา
ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงัดภายในโรงภาพยนตร์
ทันทีที่แสงไฟในโรงภาพยนตร์สว่างจ้า
มันได้นำผมกลับมายังที่นี่
วินาทีนี้ (ในขณะที่ผมกำลังเรียบเรียงประโยคต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้คุณๆ ทั้งหลายได้อ่าน ซึ่งถึงตอนนี้ผมเองก็คิดว่ามันใกล้ที่จะเสร็จเต็มทีแล้ว) ภายในห้องแคบเล็กๆ ที่ไร้ความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งใดๆ ห้องเงียบๆ ซึ่งตัดขาดจากความรวดเร็ว ความวุ่นวายและโกลาหลของเมืองใหญ่ที่อยู่ภายนอกหน้าต่าง ซึ่งจะว่าไปประสบการณ์ของผมในตอนนี้ ย่อมสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในห้องที่เงียบงัน (แห่งนี้) มากกว่าโลกของความโกลาหลที่อยู่ภายนอก โลกของผมในตอนนี้จึงเป็นโลกที่กำลังเคลื่อนไหวตัวอย่างเชื่องช้าๆ และเนิบนาบ
“ทะเลคือที่เก็บงำความทรงจำทั้งหมดของสรรพสิ่งทั้งมวลในโลก มันถักใยบาง ๆ ระหว่างความทรงจำ ความฝัน ความรู้สึกของผู้คนและเมืองแห่งหนึ่งผ่านภาพจากเสี้ยวเล็กๆ ของความทรงจำที่รั่วผ่านรอยร้าวของมัน”
ผมนึกถึงถ้อยคำในสูจิบัตรที่แสดงข้อมูลของภาพยนตร์เรื่องนี้
มาถึงวินาทีนี้ตัวผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าความเชื่องช้าสามารถหน่วงเหนี่ยวความทรงจำไว้กับเราได้จริงๆ ความเชื่องช้ามีประสิทธิภาพอย่างที่คุนเดอร่าพูดไว้จริงๆ?
ระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์ที่มาก่อนจะไม่ถูกระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์ที่มาทีหลังทำให้มันจางหายไปในโลกที่เชื่องช้า ภาพของความทรงจำในครั้งเก่าก่อนจะไม่ถูกภาพความทรงจำใหม่ซัดทำให้มันจางหายไปเหมือนคลื่นในทะเล
หรือแท้จริงแล้วความทรงจำก็เป็นเสมือนหยดน้ำที่อยู่ในห้วงมหาสมุทรขนาดใหญ่ที่อาศัยคืนวันที่โลกภายในตัวของเราเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าเล็ดลอดออกมาทางรูรั่วของรอยร้าวและหยิบฉวยจินตภาพที่เกิดขึ้นมาในห้วงเวลาปัจจุบัน เพื่อนำวันเวลาในอดีตของเรากลับมาอีกครั้ง
ในหนังเรื่อง Birth of the Seanema มีข้อความหนึ่งเขียนเอาไว้ว่า
“I am your forgotten memories, I am your invented memories”
หรือแท้จริงแล้ว
ความทรงจำทั้งหลาย แท้ที่จริงก็เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์ประกอบสร้างมันขึ้นมา
เอาไว้ให้อยู่เป็นเพื่อนคลายเหงา
ในโลกที่แสนเดียวดาย
*เผยแพร่ครั้งแรกที่ โอเพ่นออนไลน์: http://www.onopen.com
Link: http://www.onopen.com/2006/02/746
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
Sunday, October 29, 2006
2006-10-28+2006-10-29
NOX : Machining Architecture
Lars Spuybroek
ISBN: 0500285195
A dynamic presentation of one of the world’s most experimental and influential young architects, this book is a must-have for every student, professional and critic in search of architecture’s future. Part manual, part manifesto, part monograph, it is the first publication that looks comprehensively at the methods and techniques of Lars Spuybroek’s hugely inventive and influential architecture.
In the young generation of ‘digerati’ architects, Rotterdam-based Lars Spuybroek and his studio, NOX, are among the few who have completed built projects. Before the advent of large-scale processing power, digital modelling and computer-aided manufacturing, NOX’s outlandish structures would have been inconceivable. Today, and internationally, the work is being taken more and more seriously as the possibilities for construction and spatial innovation have become more feasible.
Written and compiled largely by the architect, the book gives the inspirations, insights and methods that allow him to conceive – and build – such original work.
• a complete documentation of NOX’s œuvre, including built and
unbuilt work
• essays by leading lights in design and cultural criticism –
Manuel DeLanda, Detlef Mertins, Brian Massumi, Andrew
Benjamin and Arjen Mulder
• explanatory texts by Spuybroek that link the projects together
Many illustrations specially created for the book make Spuybroek’s complex strategies and techniques accessible for the first time – an invaluable resource for students and designers looking for tricks of the trade.
Lars Spuybroek is principal of the architectural office NOX in Rotterdam, from where he heads research into the relationship between architecture and the computer. His work has won many awards and is exhibited the world over. Spuybroek lectures internationally and holds a professorship at the University of Kassel in Germany where he also chairs the CAD/Digital Design
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-NOX : Machining Architecture--Lars Spuybroek
Books read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
Friday, October 27, 2006
2006-10-27
Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab
Edited by Brett Steele
ISBN : 1902902416
This book brings together 26 architectural projects from the Architectural Associations’ Design Research Lab (AA DRL). The projects are based on field research conducted in London’s corporate environments; they have developed from a close analysis of the ways in which leading companies challenge both traditional corporate practice and conventional office planning assumptions. There are over 200 diagrams, models, renderings and other images.
http://www.resarch.net/archives/aa_school/
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
Books read:
-The Philosophy of Andy Warhol--Andy Warhol
Thursday, October 26, 2006
2006-10-26
Wednesday, October 25, 2006
Mechanical Reproduction
2006-10-25
**โดยหลักการสิ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สามารถผลิตซ้ำ(Reproduction) ได้โดยมนุษย์
การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) มีวิวัฒนาการโดยเริ่มจากสมัยกรีก เช่นการหล่อและการประทับ(founding and stamping) โดยใช้ในการผลิต รูปปั้นบรอนซ์ ดินเผา และเหรียญ แต่การผลิตซ้ำนี้ยังไม่ครอบคลุมไปถึงศิลปะแขนงอื่นๆซึ่งล้วนแต่มีหนึ่งเดียวและไม่สามารถผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักรได้
การแกะไม้(woodcut)เป็นงานศิลปะชนิดแรกที่เป็นการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) จากนั้นมาก็มีการพัฒนาการทางด้านการพิมพ์ จากเทคนิค engraving etching มาถึง lithography จากนั้นการพิมพ์ก็ถูกแทนที่ด้วย ภาพถ่าย(photography)
**ภาพถ่าย(photography)ทำให้มือของมนุษย์ถูกปลดออกจากหน้าที่ในการสร้างศิลปะ-ศิลปินมองผ่านเลนส์เพราะตามองได้เร็วกว่าวาดด้วยมือ-กระบวนการผลิตซ้ำจึงมีความรวดเร็วขึ้นอย่างมหาศาล จากภาพถ่ายพัฒนาการกลายเป็นภาพยนต์(film)ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลกระทบกระเทือนกับศิลปะในรูปแบบเดิม
วิวัฒนาการของการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) มีผลต่อความคิดในเรื่อง The original ซึ่งเป็นต้นรากของความคิดในเรื่อง authenticity
การผลิตซ้ำด้วยมือ ผลงานที่ได้มักถูกเรียกว่าเป็นของปลอมแปลง ซึ่งไม่สามารถเทียบกับ The original ได้
แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)นั้นสามารถ
-นำบางด้านของ The original ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าให้ปรากฎแก่สายตา
-อัดสำเนา(copy) เปลี่ยนบริบทของมันให้ห่างไกลจาก The original
แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)นั้นก็ทำให้เราสูญเสีย Aura หรือความขลังของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ
การผลิตซ้ำนำเอาวัตถุที่ถูกผลิตซ้ำออกมาจากอาณาเขตของจารีตประเพณี การผลิตซ้ำนำเอาความมากมายด้านปริมาณของสำเนามาทดแทนความเป็น unique existence ของงานศิลปะ แต่ในขณะเดียวกันการผลิตซ้ำนั้นก็ส่งผลให้ ผู้ดูและผู้ฟังเข้าถึงผลงานเหล่านั้นในสถานการณ์ของตนเอง
ความเป็นหนึ่งเดียวของงานศิลปะไม่อาจแยกออกจากการดำรงอยู่ของมันในโครงสร้างของจารีตประเพณี
แต่แรกนั้นงานศิลปะในแง่ที่เกี่ยวพันกับสิ่งที่เรียกว่า Aura นั้นแยกไม่ออกจากหน้าที่ของมันในพิธีกรรม
แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)ได้ไถ่ถอน ดึงเอางานศิลปะออกจากบทบาทแบบกาฝากซึ่งขึ้นต่อพิธีกรรม และผลแห่งการผลิตซ้ำงานศิลปะได้กลายมาเป็นงานศิลปะที่ถูกออกแบบมาเพื่อการผลิตซ้ำโดยเฉพาะ ทำให้ authenticity หมดความหมาย
คุณค่าของงานศิลปะถูกแบ่งออกเป็นสองคือ ทางcult และ exhibition valueการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) จึงเปิดให้ศิลปะแสดงออกทางด้าน exhibition value
สรุปและจับใจความจาก
The Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction (1935)--Walter Benjamin
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-ExperimentAAtion : AA Projects Review 05/06
-S, M, L, XL--OMA and Rem Koolhaas
-เมด อิน U.S.A.--สุจิตต์ วงษ์เทศ
**โดยหลักการสิ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สามารถผลิตซ้ำ(Reproduction) ได้โดยมนุษย์
การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) มีวิวัฒนาการโดยเริ่มจากสมัยกรีก เช่นการหล่อและการประทับ(founding and stamping) โดยใช้ในการผลิต รูปปั้นบรอนซ์ ดินเผา และเหรียญ แต่การผลิตซ้ำนี้ยังไม่ครอบคลุมไปถึงศิลปะแขนงอื่นๆซึ่งล้วนแต่มีหนึ่งเดียวและไม่สามารถผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักรได้
การแกะไม้(woodcut)เป็นงานศิลปะชนิดแรกที่เป็นการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) จากนั้นมาก็มีการพัฒนาการทางด้านการพิมพ์ จากเทคนิค engraving etching มาถึง lithography จากนั้นการพิมพ์ก็ถูกแทนที่ด้วย ภาพถ่าย(photography)
**ภาพถ่าย(photography)ทำให้มือของมนุษย์ถูกปลดออกจากหน้าที่ในการสร้างศิลปะ-ศิลปินมองผ่านเลนส์เพราะตามองได้เร็วกว่าวาดด้วยมือ-กระบวนการผลิตซ้ำจึงมีความรวดเร็วขึ้นอย่างมหาศาล จากภาพถ่ายพัฒนาการกลายเป็นภาพยนต์(film)ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลกระทบกระเทือนกับศิลปะในรูปแบบเดิม
วิวัฒนาการของการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) มีผลต่อความคิดในเรื่อง The original ซึ่งเป็นต้นรากของความคิดในเรื่อง authenticity
การผลิตซ้ำด้วยมือ ผลงานที่ได้มักถูกเรียกว่าเป็นของปลอมแปลง ซึ่งไม่สามารถเทียบกับ The original ได้
แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)นั้นสามารถ
-นำบางด้านของ The original ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าให้ปรากฎแก่สายตา
-อัดสำเนา(copy) เปลี่ยนบริบทของมันให้ห่างไกลจาก The original
แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)นั้นก็ทำให้เราสูญเสีย Aura หรือความขลังของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ
การผลิตซ้ำนำเอาวัตถุที่ถูกผลิตซ้ำออกมาจากอาณาเขตของจารีตประเพณี การผลิตซ้ำนำเอาความมากมายด้านปริมาณของสำเนามาทดแทนความเป็น unique existence ของงานศิลปะ แต่ในขณะเดียวกันการผลิตซ้ำนั้นก็ส่งผลให้ ผู้ดูและผู้ฟังเข้าถึงผลงานเหล่านั้นในสถานการณ์ของตนเอง
ความเป็นหนึ่งเดียวของงานศิลปะไม่อาจแยกออกจากการดำรงอยู่ของมันในโครงสร้างของจารีตประเพณี
แต่แรกนั้นงานศิลปะในแง่ที่เกี่ยวพันกับสิ่งที่เรียกว่า Aura นั้นแยกไม่ออกจากหน้าที่ของมันในพิธีกรรม
แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)ได้ไถ่ถอน ดึงเอางานศิลปะออกจากบทบาทแบบกาฝากซึ่งขึ้นต่อพิธีกรรม และผลแห่งการผลิตซ้ำงานศิลปะได้กลายมาเป็นงานศิลปะที่ถูกออกแบบมาเพื่อการผลิตซ้ำโดยเฉพาะ ทำให้ authenticity หมดความหมาย
คุณค่าของงานศิลปะถูกแบ่งออกเป็นสองคือ ทางcult และ exhibition valueการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) จึงเปิดให้ศิลปะแสดงออกทางด้าน exhibition value
สรุปและจับใจความจาก
The Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction (1935)--Walter Benjamin
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-ExperimentAAtion : AA Projects Review 05/06
-S, M, L, XL--OMA and Rem Koolhaas
-เมด อิน U.S.A.--สุจิตต์ วงษ์เทศ
Subscribe to:
Posts (Atom)