Saturday, May 27, 2006

ปิดเทอมตลอดกาล



มีหนังสือมาแนะนำให้ลองอ่าน--หนึ่งเล่ม

หนังสือที่เราอยากแนะนำให้อ่านมีชื่อเรื่องว่า "URBAN DIARY :
ระหว่างบรรทัดกรุงเทพฯ"
เขียนโดย สาลินี หาญวารีวงศ์ศิลป์
เรื่องราวของเนื้อหาภายในเล่มส่วนใหญ่ก็เต็มไปด้วย
เรื่องของเมือง และชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในเมือง
ที่ต้องมีชีวิตอยุ่ในกระแสธารของสิ่ง
ที่เราเรียกมันว่า "การตลาด" แล้วก็เรื่องของ "ภาพลักษณ์" "กระแส"
และเรื่องของ "Trend"

เราว่าความคิดของผู้หญิงคนนี้คมคายมากๆ เลย

นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ จากคำนำของเธอ:-

"กรุงเทพฯ เหมือนโลกสองโลก เหมือนคนสองหน้า
เหมือนโฆษณาที่บอกว่าเป็นบทความ
เหมือนรายการที่คนมานั่งอำกันแต่ย้ำว่าเป็นข่าว เหมือนมีสาวแต่เรียกกิ๊ก
เหมือนกดเอสเอ็มเอส
ไปโหวดแล้วบอกว่ากำลังติดต่อสื่อสาร เหมือนเล่นหุ้นแต่เรียกว่าทำงาน
เหมือนวีซีดีโป๊ที่บอกว่า
เป็นศิลปะ เหมือนแผงขายสินค้าที่บอกว่าเป็นโรงหนัง เหมือนโลงผุๆ พังๆ
ที่บอกว่าเป็นสวรรค์

เมื่อแทรกตัวอยู่ระหว่างบรรทัดแคบๆ ของกรุงเทพฯ
อย่างหนึ่งคือต้องฝึกประคองตัว
เพราะนับวัน
โลกสองโลกของกรุงเทพฯ ช่างมีเส้นแบ่งที่รางเลือนเหลื่อมซ้อน

ระหว่างบรรทัดกรุงเทพฯ เล่มนี้เป็นบันทึกร่องรอยของการประคองตัว
ประคองความคิดของคน
กรุงเทพฯ คนหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ที่อยากจะจับกรุงเทพฯให้อยู่
หากบางครั้งก็ไหลเรื่อยไปกับมัน
และพบว่ามีผู้คนไหลร่วมไปด้วยมากมาย"

สำหรับเนื้อหายภายในเล่มของหนังสือเล่มนี้นั้นมีหลายตอนที่น่าสนใจ--ลองหามาอ่านดูกันนะ
แต่ตอนที่เราอยากจะเล่าให้ฟังในตอนนี้มากที่สุดคือ ตอนที่มีชื่อว่า
"ปิดเทอมตลอดกาล"

สาลินีเริ่มต้นเรื่องนี้ด้วยการบรรยายบรรยากาศตอนที่นัดเพื่อนๆ
ไปเยี่ยมโรงเรียนเก่าที่เคยร่ำเรียนมา
เป็นครั้งสุดท้าย--โรงเรียนที่ว่านี้ก็คือ 'โรงเรียนปานะพันธ์'

เพื่อนๆ เคยได้ยินการทายปัญหาเชาว์อะไรประมาณนี้ไม๊ "เด็กๆ
ชอบโรงเรียนตอนไหนที่สุด?"
คำเฉลยก็คือ "ตอนโรงเรียนปิดไง"
นี่เป็นมุขตลกในตอนนั้นที่ไม่มีใครตลกกันออก

"ก็สมใจมึงไหมล่ะ โรงเรียนของเราน่ะปิดแล้วโว้ย ปิดเลย
ลบออกจากแผนที่ไปเลย
สมใจมึงแล้วสิ"

"...ไม่มีถ้วยกีฬาสี ไม่มีโล่ห์ประกวดภาพวาดเยาวชน
ไม่มีใบประกาศชนะการแข่งขันตอบปัญหา
ภาษาอังกฤษเชลล์ หรือการบินไทยไขจักรวาล ไม่มีภาพถ่ายหมู่ประจำชั้น
ไม่มีลูกวอลเลย์บอล
ไม่มีลูกบาสฯ ในล๊อกเกอร์โรงยิม ไม่มีชุดละครรำในห้องนาฏศิลป์
ไม่มีกลองโยธวาทิตในห้อง
ดนตรี ไม่มีความทรงจำ ไม่มีความฝัน...ไม่มีความทรงจำในเรื่องความฝัน"

อ่านถึงตรงนี้ ไม่รู้สิ--ทำให้เรานึกถึงเรื่อสั้นเรื่องหนึ่งของมิลาน
คุนเดอร่า
เป็นเรื่องของหญิงชรา
คนหนึ่งเดินทางไปเยี่ยมหลุมศพของสามีแต่พอไปถึงแล้วพบว่า
หลุมศพของสามีเธอหายไป
จากสุสาน เพราะสัญญาเช่าสุสานหมดอายุลง เจ้าหน้าที่คนนั้นตอบเธอว่า
"คนตายเก่าควรหลีก
ทางให้คนตายใหม่" แล้วหญิงชราก็เข้าใจว่า
เธอไม่อาจขัดขวางการตายของสามีเธอได้ฉันใด
เธอก็ไม่อาจยั้บยั้งการตายครั้งที่สองของเขาได้ฉันนั้น
นี่คือความตายของคนตายเก่า ที่โลกไม่ยอม
แม้กระทั่งให้เขาดำรงอยู่ในฐานะของคนตายอีกต่อไป

ทุกวันนี้ถ้าเพื่อนๆ ได้มีโอกาสผ่านไปแถวต้นถนนสายลาดพร้าว
แล้วเห็นซุปเปอร์สโตร์ขนาด
มหึมาตั้งอยู่นั่นแหละคือ ตำแหน่งของโรงเรียนแห่งนี้--โรงเรียนปานะพันธ์

มีข้อความหนึ่งในบทความนี้ของเธอที่เราชอบ มากๆ
นอกจากมันจะบรรยายความรู้สึกของเธอ
กับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโรงเรียนแห่งนี้แล้ว
มันยังสะท้อนสภาวะบางอย่างของสังคมในปัจจุบัน
ได้เป็นอย่างดี :-

"สำหรับเรา
โรงเรียนของเราเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของมาตรฐานและคุณค่าที่แปรเปลี่ยน
มันไม่ใช่
แค่เรื่องการต่อสู้ของเงินที่ใหญ่กว่ากับเงินที่เล็กกว่ามันคล้ายๆ
แบบนี้นะ
ในความคิดแบบเรา
เหมือนกับเราเก็บหนังสือที่เราอ่านบ้างไม่อ่านบ้างไว้จนล้นตู้แล้วมีใครสักคนมาบอกว่าเอาไปขาย
ดีกว่ายังได้กิโลฯละตั้ง 2 บาท เราจะเก็บมันไว้ทำไม
เราก็ไม่ได้อ่านมันทุกวันเสียหน่อย เอาเงิน
2 บาทไว้ยังจะดีกว่า

คิดในมุมนี้ก็เป็นอีกมาตรฐานหนึ่ง ถ้าเรายังเลือกที่จะเก็บมันไว้
ไม่เอาหนังสือไปชั่งกิโลฯขาย
เราอาจจะดูโง่มากในมุมนี้ แต่เราเลือกที่จะเก็บ ก็เพราะเรา 'เลือก'
ที่จะยึดมาตรฐานของเรา

วันนี้มาตรฐานเราถูกคุกคาม บางทีถูกเหยียดหยาม
ด้วยว่าเป็นทางเลือกที่ไม่เป็นตามมาตรฐานใหม่
เป็นทางเลือกที่หดแคบ ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่ฉลาดนัก ไม่รู้สิ
ถ้าเราขายหนังสือเพราะว่ามันชั่งกิโลฯ
ได้ตั้ง'โลละ 2 บาท เราก็ขายอัลบั้มพ่อแม่ของเราได้หนักตาชั่งได้หลายกิโลฯ
มากกว่าอีก

แต่เราจะ 'เป็น' และ 'ดำรงอยู่' ได้ก็เพราะเรา 'เลือกได้' มั้ง
เลือกที่จะใส่เสื้อยืดสีขาวๆ ที่ไม่มีโลโก้
ขายของได้
เลือกที่ดาดฟ้าห้องแถวของเราจะไม่มีป้ายโฆษณายักษ์ไปตั้งตระหง่านได้

โอ้...เงินที่มากองอยู่ตรงหน้า กิโลฯละ 2 บาท ค่าเช่าเดือนละ 3 หมื่น
มันทำให้การเลือกที่จะ 'เป็น'
ของใครก็ตามในวันนี้หวั่นไหวน่าดู"

เราเคยเล่าเรื่องราวของโรงเรียนปานะพันธ์เรื่องนี้
ให้อาจารย์ท่านหนึ่งที่เราเคารพฟังในขณะที่กำลัง
นั่งกินข้าวเที่ยงกัน อาจารย์เราบอกว่า "จี้
ไม่ต้องเสียดงเสียดายมันมากหรอก
สถาปนิกที่ออก
แบบที่เป็นลูกชายเจ้าของเขายังไม่เสียดายเลย เอ็งจะมานั่งเสียดายทำไม"
เมื่ออาจารย์ตอบอย่างนี้
เราก็ถึงกับอึ้ง และพูดอะไรไม่ออก :P

แต่เราก็ไม่เชื่อนะ--ว่าองอาจ สาตรพันธ์ุ
สถาปนิกที่ออกแบบโรงเรียนนี้จะไม่เสียดายมัน
อย่างน้อยที่สุดนี่อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ทำให้ใครก็ตามนั้นต้องหวั่นไหว
เหมือนดังอุปมา
ที่สาลินีว่าไว้

โรงเรียนแห่งนี้มีอายุกว่า 50 ปี อาคารหลังแรกนั้นออกแบบตั้งแต่องอาจ
ยังเรียนอยู่ชั้นปีที่สาม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่่องของความปราณีตในการออกแบบ
หรือแม้กระทั้งความปราณีตในการก่อสร้าง
เราไม่เชื่อว่าทั้งคนออกแบบและคนก่อสร้างจะไม่ได้ทำมันด้วยความรักและความตั้งใจ
(เพื่อนๆ ที่ไม่ได้เรียนสถาปัตย์
อาจจะไม่ทราบว่าอาคารเหล่านี้นั้นเป็นอาคารที่สำคัญของ
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย
และสมควรได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง)

เราเคยไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้ ในวันที่ทุกห้องเต็มไปด้วยความว่างเปล่า
และร้างผู้คน เรายังพบ
องอาจและพนักงานในออฟฟิศของเขา
ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงเรียนนี้เป็นสำนักงานออกแบบ

"เหมือนกับว่าจะอยู่ดูใจคนรักคนนี้ จนถึงวาระสุดท้าย
ก่อนที่เธอ--โรงเรียนแห่งนี้ จะจากไป
อย่างไม่หวนคืน"

เออลืมเล่าไป วันนั้นในขณะที่เรากำลังเดินเล่นอยู่ในสนามบอลโรงเรียน
ที่หญ้าเริ่มยาวเฟื้อย
พอเจ้าหมากลุ่มหนึ่งเห็นเราปุ็บมันก็วิ่งฮ่อมาแต่ไกล
โชคดีที่เราฉวยไม้อันนึงมาจากพื้นได้ก่อน
มันจึงได้แต่เห่า
และยังปรานีไม่ได้ลงไม้ลงมือ(ใช้คำว่าลงไม้ลงมือกับหมานี่อ่านดูแล้วก็แปลกดีนะ)
ฝังเขี้ยวที่ขา ชายแปลกหน้าอย่างเรา 555

เราว่ามันคงหวง 'ที่' ของมัน

มาถึงวันนี้เราก็เห็นแล้วว่าไอ้ซุปเปอร์สโตร์ที่มากินพื้นที่บนผิวโลกใบนี้แทนโรงเรียนปานะพันธ์
นั้นหน้าตามันเป็นยังไง และเราว่าสาลินี คนเขียนหนังสือ Urban Diary
ก็คงเห็นมันแล้วเช่นกัน

ไม่รู้สิสำหรับเราในกรณีนี้ เราว่ามันน่าจะมีทางออกอื่นๆ ที่ดีกว่านี้?
มากกว่าการที่ตัดต้นไม้ใหญ่
มากมายหลายร้อยต้น ทุบอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สวยงาม
และมีความปราณีตในการ
ก่อสร้าง แล้วสร้างกล่องสี่เหลี่ยมที่ดูโง่ๆ
ขึ้นมากล่องหนึ่งตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางพื้นคอนกรีต ที่
แม้แต่หมาจรจัดก็ยังไม่อยากที่จะมานอนเล่น

เป็นไปได้ไหมที่เราจะอนุรักษ์อาคารเก่าไว้ แล้วสอดแทรกการใช้งานใหม่ๆ
เข้าไปในพื้นที่เดิม
เข้าไปจัดการพื้นที่แบบประนีประนอมและมีความอะเอียดอ่อนสักนิด
ไม่แน่บางทีเราอาจจะได้
ซุปเปอร์สโตร์ที่น่ารัก ร่มรื่น
และน่าเดินที่สุดในกรุงเทพฯก็ได้ใครจะไปรู้

.............

ในวันที่รถแทรกเตอร์
รวมถึงพนักงานที่รื้อถอนอาคารเข้าไปในโรงเรียนปานะพันธ์
เราว่าหมากลุ่มนั้น
ก็คงทำเหมือนปรกติ คือ วิ่งฮ่อมาแต่ไกล แล้วก็เห่า เพราะว่ามันหวง 'ที่'
เหมือนอย่างที่เคยเป็น

แต่ว่าป่วยการ

เพราะว่าในตอนนั้น คนขับรถแทรกเตอร์คันใหญ่คันนั้น คงไม่ยั้งมือ


สุภาพสตรีต้องการรู้

มีเรื่องอะไร จะเล่าให้ฟัง

เมื่ออาทิตย์ก่อนขณะนั่งทำงานไปฟังวิทยุที่เปิดไว้ไปพลาง อารมณ์ในตอนนั้นกำลัง Chill Chill ได้ที่เลยล่ะ แล้วอยู่ๆ ดีเจ คนนั้น--ไม่รู้ชื่ออะไร ก็เปิดเพลงๆ หนึ่งขึ้นมา ทันใดนั้นความทรงจำ เจ้ากรรม(ทีมักเล่นตลกและชอบหาลู่ทางทรยศผู้เป็นเจ้าของอย่างเราอยู่เสมอๆ :P)ก็ดันเกิดทำงาน ขึ้นมาซะงั้น--เมื่อตัวโน้ตเหล่านั้นมาสะกิดหู ความทรงจำของเราก็เริ่มเดินเครื่อง

เราจำมันได้แม่น มันเป็นเพลงที่เราชอบมากๆ สมัยเรียนอยู่มอต้น ^_^

คืนนี้ก็เลยอยากเขียนอะไรถึงเพลงนี้ซะหน่อย

เพลงที่ว่านี้ก็คือเพลง The Lady Wants To Know ของ Michael Franks ตอนนั้นที่ชอบก็เพราะ รู้สึกว่าเพลงมันเพราะและทำนองมันน่ารักดี

ยังจำได้แม่นเลยว่าเคยคะยั้นคะยอให้เพื่อนสนิทลองฟังแถมยังบอกกับมันว่าเพลงนี้เจ๋งมากๆ แต่พอ เพื่อนฟังเสร็จก็หันมาทำหน้าเหยียดหยาม(หน้าตามันตอนนั้นหน้าน่าเตะมากๆ--ขอบอก) แล้วพูดว่า "มึงฟังเพลงอะไรของมึงวะจี้โคตรแก่เลย" แล้วก็หัวเราะร่วน

สมัยนั้นเราขึ้นชื่อเรื่องนี้เลยนะ(เรื่องฟังเพลงเก่าๆ--ที่จริงตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่ :P) เพื่อนๆ ชอบแซวว่า เป็นนักฟังเพลงถอยหลัง คือยิ่งฟังเพลงก็ยิ่งพัฒนาไปในทิศทางที่เก่าลงไปเรื่อยๆ ^_^ ในวินาทีที่ได้ยินเพลงนี้อีกครั้ง--The Lady Wants To Know ถึงรู้ว่า เนื้อเพลงๆ นี้เจ๋งดีนี่หว่า (เพิ่งจะมาเก็ทว่าเพลงนี้มันเศร้าดีจัง) เนื้อเพลงมันทิ้งช่องว่างไว้เยอะเหลือเกิน--แน่นอนว่าช่องว่างเหล่านี้อาจทำให้เรารู้สึกเศร้า

ไมเคิล แฟรงค์ ร้องเพลงนี้ด้วยน้ำเสียงที่เรียบเนิบนาบและแสนที่เย็นชาเหมือนเช่นเดิม

มีท่อนหนึ่งของเพลงเขาร้องว่า;

The Lady wants to Know
She wants to know the reason
Got to know the reason why.
This man has got to go

This man is always leavin'
How he hates to say goodbye.
But what she doesn't know
Is there really is no reason why

Daddy he hates airplanes.
Baby Loves to fly.
And the lady wants to know. the Reason why.
Daddy's just like Coltrane.
Baby's just like Miles.

ไมเคิล แฟรงค์ร้องเพลงนี้เหมือนกับอยากจะบอกเราว่า โลกใบนี้ล้วนเต็มไปด้วยลึกลับ

มีช่องว่างมากมายระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย

มีช่องว่างมากมายระหว่างพ่อกับลูก (เปรียบเหมือนชีวิตของอัฉริยะทางดนตรีแจ๊สสองคน อย่าง ไมล์ และโครเทรน ที่แตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง)

แน่นอนว่า--มันย่อมมีช่องว่างมากมายระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน

มนุษย์สองคนไม่มีวันที่จะ รวมกันเป็นหนึ่ง

ไม่เหมือนกับเพลงรักซึ้งๆ ที่นักร้องทั่วๆไปชอบร้อง พร่ำเพ้อให้เราได้ยินกันบ่อยๆ

สิ่งที่ผู้หญิงต้องการรู้นั้น ผู้หญิงอาจจะไม่มีวันได้รู้ แน่นอน

สิ่งที่ผู้ชายต้องการรู้ ผู้ชายอาจจะไม่มีวันรู้ ด้วยเช่นเดียวกัน

บนโลกใบนี้ของเราล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยเรื่องแบบนี้--ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ล้วนแล้ว แต่เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน

เต็มไปด้วยช่องว่าง ที่ในบางวินาทีก็อาจจะทำให้เราฉงน

เราว่าท่อนที่ไมเคิล แฟรงค์ร้องว่า "พ่อเกลียดเครื่องบินแต่ลูกนั้นรักที่จะบิน" นั้นเป็นท่อนที่เศร้าที่สุด

ไมเคิล แฟรงค์ร้องเพลงนี้ด้วย น้ำเสียงราบเรียบเหมือนกับอยากบอกเราว่าทำใจให้ได้นะ

ยังไงก็ตามเรื่องที่ลึกลับก็ยังเป็นเรื่องลึกลับอยู่วันยังค่ำแหละน่า

แน่นนอนมันเป็นการทำใจที่เจือไปด้วย "ความรู้สึกเศร้า"--แม้ท่วงทำนองของเพลงนี้มันจะไม่ได้ เป็นเพลงที่ให้ความรู้สึกเศร้าอะไรมากมาย

เราว่าความรู้สึกแบบ "พ่อเกลียดเครื่องบินแต่ลูกนั้นรักที่จะบิน" เป็นอุบัติเหตุที่เราอาจจะพบเจอ ได้อยู่เสมอ

หากเรายังไม่ยอมทำใจยอมรับว่าช่องว่างระหว่างมนุษย์เหล่านั้นว่ามันมีอยู่จริง

สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ บางทีการหาเหตุผลและการใช้เหตุผล บางครั้งก็ไม่อาจที่จะทำให้เราเข้าใจเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลกกับเราได้มากขึ้น

เรื่องที่เราต้องการรู้ด้วยเหตุผล เราอาจะไม่มีวันได้รู้

เพราะในระหว่างสิ่งนั้นมีช่องว่างบางอย่างขวางเราอยู่

แต่ใช่ว่าเรื่องที่ลึกลับแบบที่ว่านี้จะไม่มีทางออก

มีประโยชน์อะไรล่ะถ้าเรารู้เหตุผลว่าทำไม? บางทีในสถานการณ์ที่ว่านี้

สิ่งที่เป็นคู่ปรับที่สูสีที่สุดในกรณีอาจไม่ใช่เหตุผล

มันอาจจะเป็นสิ่งที่ลึกลับพอๆกัน

รอยยิ้ม การตบไหล่ หรือการกอด น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเหตุผลในกรณีนี้

มันใช้การได้ดีเสมอทั้งในวินาทีแรกพบหรือแม้กระทั้งชั่วโมงสุดท้ายก่อนการจากลา

เรื่องแบบนี้อาจจะเป็นเสมือนรูหนอนที่ช่วยเชื่อมโยงสองจักวาลที่อยู่ห่างไกลเข้าด้วยกัน

แม้เพียงชั่วขณะ

ในเนื้อร้องท่อนสุดท้ายของเพลงนี้ ไมเคิล แฟรงค์ ร้องว่า;


The lady's just like heaven When she smiles


อย่างน้อยที่สุด--มันก็น่าจะมีสิ่งลึกลับพอๆกัน

อยู่ในรอยยิ้มเหล่านั้น

ในรอยยิ้มระหว่างมนุษย์

ในรอยยิ้มระหว่างคนสองคน


:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+



ปล.--สำหรับคนที่สนใจอยากลองฟังเพลง The Lady Wants To Know
เพลงนี้อยู่ในอัลบั้ม Sleeping Gypsy ของ Michael Franks ที่ออกในปี 1977