Sunday, February 24, 2008

Thai PBS Logo

o2008-02-24



ภาพรวมของทั้งสองเพลต



ส่งประกวด Thai PBS Logo กับเขาด้วยเหมือนกัน เพราะเห็นว่าน่าสนุกดี ^_^

สถานีโทรทัศนี้มีปรัชญาน่าสนใจดีนะ โอมเพี้ยง! ของให้ทำได้จริงๆ อย่างที่พูดที่คิดด้วย เถ๊อะ
และนี่คือหนึ่งในผลงาน 800 กว่าชิ้น(ข้อมูลนี้ดูจากทีวีเอานะ)ที่เข้าร่วมประกวดกันในครั้งนี้
แน่นอนงานด้านล่างเป็นงานของเราเอง เฮอๆ ^_^



เพลตแผ่นที่ 1



เพลตแผ่นที่ 2


โจทย์ที่ผู้จัดประกวดกำหนดให้ก็ คือ

-การออกแบบต้องการอัตลักษณ์ที่สะท้อนถึงหลักการและแนวคิดพื้นฐานของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ในฐานะที่เป็นพื้นที่กลาง ซึ่งมีความเป็นอิสระ ความหลากหลาย ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นธรรม มีรูปแบบที่ร่วมสมัย

-มีเอกลักษณ์โดดเด่นและไม่ล้าสมัยมาก ใช้ได้หลายโอกาส สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสื่อได้หลายประเภท อาทิเช่น สิ่งพิมพ์ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ

-ต้องการให้มีคำว่า "ไทย" เป็นองค์ประกอบหลักของสัญลักษณ์ และมีอักษรภาษาอังกฤษว่า "Thai PBS" กำกับ โดยมุ่งหวังให้สาธาณชนรับรู้ จดจำ ติดตา และเรียกชื่อช่องติดปากว่า ช่อง "ไทย pbs" หรือ ช่อง "ไทย"


ส่วนไอเดียของเราก็คือ

-อยากให้ตัวโลโก้มันมันดูไม่จริงจัง formal จนเกินไป และมีกลิ่นลูกทุ่งนิดๆ (ได้อารมณ์ท้องถิ่นๆ หน่อยๆ)
-อยากให้โลโก้มันมีความเป็นภาพและมีความเป็นตัวอักษรในเวลาเดียวกัน

ภาพที่เราเลือกนำมาใช้สื่อสารคือ "ภาพมือ" ถึงตรงนี้อาจจะสงสัยกันว่าทำไมต้องเป็น "มือ"?

ในภาษาไทยคำว่า "มือ" มีนัยยะที่หมายถึง "การปฏิบัติ" เช่น "ลงมือ" "มีฝีมือ" "ทำมือ"--สิ่งของที่ทำจากมือมักมีมิติของความเป็นมนุษย์สะท้อนอัตลักษณ์ของผู้ทำ และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ

ในบางแง่มุม "มือ" ในภาษาไทยอาจจะหมายถึง การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนในชุมชน เช่น "ความร่วมมือ" "ร่วมมือร่วมใจ" (Collective, Co-operative)

เราก็เลยใช้มือที่กำลังสื่อสารเป็นภาษา(ภาษามือก็คือการสื่อสารผ่านมือ) ซึ่งในที่นี้ก็คือ ตัวอักษร "I" ซึ่งก็คือตัวย่อของ คำว่า "Independent" ซึ่งหมายถึง มือที่สามารถสื่อสารและแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ นั่นเอง แค่นี้แหละ ^_^

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปล--วันที่เขียนอยู่เขาประกาศผู้เข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายแล้ว (ซึ่งวันนี้ห้าทีมสุดท้ายจะต้องอธิบายผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ แล้วก็จะตัดสินว่าใครได้รางวัลชนะเลิศอีกที)

นี่คือรายชื่อของ 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อตัดสินในรอบสุดท้าย (ลองดูนะว่ามีชื่อของคนที่คุณรู้จักหรือเปล่า? ^_^ )

1. ชื่อกลุ่ม KITWIN
: นายอาวิน อินทรังษี
: นายกิตติพงษ์ มณีเลิศ

2. ชื่อกลุ่ม GRAFIQ KICKAZZ
: นายกมล บุญญารัชต์
: นายสุริยา รัตนวงศ์กุล

3. ชื่อกลุ่ม สัตตบงกช
: นายณศรัณย์ หวังศรีโรจน์
: นางสาวนันทิยา หวังศรีโรจน์
: นายชุมพล มียิ่ง
: นางสาวพฤกษา มียิ่ง

4. ชื่อกลุ่ม YOU LOOK SAD ON THE DANCE FLOOR
: นายธีร์ โตชยานนท์
: นายศุภรัตน์ เทพรัตน์

5. ชื่อกลุ่ม COOKIESDYNAMO LTD.

ติดตามผลงานการประกวดได้ทางหน้าจอไทยพีบีเอส และ www.thaipbs.or.th

Friday, January 25, 2008

The New Earth Reader

2008-01-25


“Information is alienated experience”
Jaron Lanier




The New Earth Reader คือหนังสือรวมเล่มบทความเด่นๆ ที่เคยลงในนิตยสารหัวเล็กๆ ที่มีชื่อว่า Terra Nova ของเดวิด โรเทนเบิร์ก (David Rotenberg) นักนิเวศวิทยาเชิงลึก (Deep Ecology)ชาวอเมริกัน สำหรับคนที่เคยอ่านหนังสือ “Is It Painful to Think?” (แปลเป็นภาษาไทยโดย อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธในชื่อว่า “เจ็บหรือที่จะคิด”) บทสัมภาษณ์ขนาดยาวของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของ Deep Ecology อย่างคุณปู่อาร์เนอ เนสส์ (Arne Naess)—ผู้ที่ชอบใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังท่ามกลางหุบเขาอย่างเดียวดาย คงจะต้อง “อ๋อ” กับชื่อของ โรเทนเบิร์กผู้นี้(นี่เอง ^_^)

ในบทนำของหนังสือ The New Earth Reader โรเทนเบิร์กเขียนเล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำนิตยสาร Terra Nova เอาไว้ได้อย่างน่ารัก ^_^ (ด้วยท่าทีของคนที่รักโลกที่เรากำลังอยู่อาศัยใบนี้อย่างจริงใจ)ในตอนท้ายเขาเขียนทิ้งท้ายบทนำนั้นเอาไว้แบบนี้ “I am not in favor of popularizing stories, nor of sensationalizing stories to make them more appealing. The World is interesting enough as it is, if we know how to pay attention”

ในหนังสือเล่มนี้มีบทความที่น่าสนใจมากมาย แต่ที่จะเขียนถึงแบบสั้นๆ ในตอนนี้คือบทสัมภาษณ์ของผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นคุณพ่อที่เป็นผู้ให้กำเนิดโลกเสมือน “Virtual Reality" อย่างจารอน ลาเนียร์ (Jaron Lanier)


จารอน ลาเนียร์ (Jaron Lanier)


ลาเนียร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ที่ออกตัวว่าเกลียดวิธีที่มนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์แบบที่เป็นอยู่ เขาเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัย VRL และยังเขียนบทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ในนิตยาสาร Discover

อีกด้านหนึ่งลาเนียร์ เป็นผู้ที่สนใจทางด้านดนตรี และมีความเชี่ยวชาญในการเล่นเครื่องดนตรียุคดึกดำบรรพ์หลายชิ้น(แถมยังเคยออกอัลบั้มมาแล้วด้วย ^_^) เขาเชื่อว่า ดนตรีเปิดเผยความจริงบางอย่างของโลกได้ แต่ดนตรีที่เขาพูดถึงคือดนตรีที่เกิดจากเครื่องดนตรีอะคูสติก ไม่ใช่ดนตรีที่เกิดจากเสียงสังเคราะห์ เขาหลงใหลวินาทีที่ร่างกายสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีจนเกิดการสั่นสะเทือนกลายเป็นคลื่นเสียงในอากาศ

บทสัมภาษณ์นี้เป็นบทสัมภาษณ์ที่อ่านสนุกมาก อาจจะเป็นเพราะคำถามที่กวนๆ(แต่ดี)ของโรเทนเบิร์ก ด้านล่างเป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ

Terra Nova: ลองนึกภาพเด็กที่กำลังเติบโต และกำลังพูดถึงปลาหมึก ปลา และสิ่งของอะไรก็แล้วแต่ ลองจินตนาการตามว่า ถ้ามีเด็กคนหนึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ริมชายฝั่ง เติบโตและเล่นอยู่ใกล้น้ำ และน้ำเป็นสิ่งที่สร้างความสะดวกสบายและความรื่นรมย์ให้กับชีวิต เขาว่ายน้ำ ดำน้ำ เล่นเรือใบ ทำความรู้จักน้ำ เรียนรู้วิธีในการที่จะจับปลา และมีสัมผัสบางอย่างที่เชื่อมต่อกับสิ่งเหล่านี้ และรู้จักสภาพแวดล้อมต่างๆ ของทะเลจากประสบการณ์ตรง และลองจินตนาการถึงเด็กอีกคนหนึ่ง ที่โตขึ้นมาด้วยการดูทีวี ชอบดูรายการต่างๆที่เกี่ยวของกับธรรมชาติ ดูทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่อยู่ใต้ทะเล เขารู้จักชื่อปลานับร้อยที่อยู่ใต้ทะเลลึกลงไป มีข้อมูลมากมายที่เขาสามารถเรียนรู้มันได้จากทีวี เขาสามารถเห็นปลาหมึกตัวใหญ่ในระยะที่ใกล้มากๆ ในทีวี มิหน่ำซ้ำเขายังสามารถอ่านราะละเอียดของสิ่งลึกลับต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่ใต้ผิวโลก แหวกว่ายอยู่ในกระแสข้อมูลที่มีอยู่มากมายในอินเตอร์เน็ท และเรียนรู้โลกที่น่าลุ่มหลงใบนี้ผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ(Symbol) และเด็กคนนั้นก็กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในขณะที่มีอายุแค่สิบสองปี แต่คุณรู้ที่ไหมเด็กคนนี้อาศัยอยู่ใน Nebraska และเขาไม่เคยได้เห็นทะเลจริงๆ

สำหรับคุณ คุณว่าเด็กคนไหนรู้จักทะเลมากกว่ากัน? และในอนาคตเทคโนโลยีที่คุณคิดขึ้นมา(ในที่นี้อาจจะหมายถึง VR) ส่งผลกระทบกับเด็กคู่นี้ยังไง ในการที่ทั้งสองคนนี้จะสัมพันธ์กับโลกใบนี้

ลาเนียร์ : ประสบการณ์เป็นสิ่งพื้นฐานของเรา ในชั่วขณะที่เราสูญเสียมันไป ก็เสมือนกันว่าเรากำลังสูญเสียการสัมพันธ์กับบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ผมมีประโยคเก่าๆ อยู่ประโยคหนึ่ง คิดว่าน่าจะเกริ่นนำในที่นี้ได้ “Information is alienated experience” ถ้าคุณเรียนรู้โลกผ่าน สิ่งต่างๆที่มนุษย์ผลิต คุณก็จะไม่รู้จักโลก นั่นเป็นคุณสมบัติทีแฝงตัวอยู่ในสิ่งเหล่านั้น--Human Artifice เพราะมันจะทำให้คุณจะเชื่อสิ่งที่คุณรู้มากกว่าสิ่งที่คุณทำ คุณสร้างและเติมเต็มสิ่งต่างๆที่คุณไม่รู้ด้วยตัวคุณเอง(ด้วยความเชื่อว่าการรู้จักข้อมูลคือการรู้จักสิ่งเหล่านั้นแล้ว-ผู้แปล) นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการที่แทรกซึมเข้าไปวิธีคิดในศตวรรษที่ยี่สิบอย่างแนบเนียน และทำให้ทุกๆสิ่งนั้นผิดแผกไปจากสิ่งที่มันเป็นอยู่แทรกซึมเข้าไปในทุกๆ Human Artifice ทำให้มันไม่สามารถดำรงความหมายอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง

นี่คือการวิพากษ์ที่สำคัญว่าเราจำเป็นต้องรู้จักธรรมชาติ (nature) และชี้ให้เห็นว่ามันสำคัญ(ต่อความรู้)เราจึงไม่ควรทำลายมัน ในขณะเดียวกันสิ่งที่มนุษย์ผลิตมันก็ไม่ได้มีข้อผิดพลาดโดยสิ้นเชิง นี่คือจุดที่สำคัญที่ช่วยชี้ให้เราได้เห็นว่าอะไรคืออะไร
มีสิ่งหนึ่งที่ผมชอบที่เกี่ยวของกับ Virtual Reality ก็คือเมื่อคุณออกมาจากโลกใบนั้นคุณก็จะได้ประสบการณ์ที่แสนมหัศจรรย์ติดกลับมาสู่โลกที่เป็นธรรมชาติจริงๆ ด้วย เพราะระบบประสาทสัมผัสของคุณจะถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโลกของ VR เมื่อคุณกลับมาที่โลกที่เป็นธรรมชาติจริงๆ คุณจะสัมผัสความเป็นธรรมชาติของโลกที่เป็นธรรมชาติจริงๆ ได้มากขึ้น นี่คือความเป็นไปได้ในการเพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งหมดของเรา

:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:

Virtual Reality Fireside chat at the 2007 AlwaysON Stanford Summit



Moderator: Jaron Lanier, Scholar-In-Residence, CET, UC Berkeley and panelists, Irving Wladawsky-Berger, VP, IBM, Philip Rosedale, CEO, Linden Lab, Craig Sherman, CEO, Gaia Online and Chris Melissinos, Chief Gaming Officer, Sun Microsystems discuss virtual reality worlds on the web today and in the next generation of web 3.0.

Tuesday, January 01, 2008

โอตโจะ/ オッチョ

2008/01/01


"โอตโจะ"เป็นตัวละครในการ์ตูนเรื่อง 20th Century Boys ที่เราชอบมากๆ(เพราะพูดอะไรเจ๋งๆไว้เยอะ) ^_^
เขาเป็นเพื่อนซี้ "เคนจิ" ตัวละครเอกของเรื่อง (เป็นผู้ชักนำให้เคนจิฟังเพลงของวง CCR และเพลงอื่นๆของพวกบุปผาชน)
โอตโจะเป็นเด็กหัวดี มีความคิดทันสมัย ใช้ชีวิตโดยปล่อยให้สถานการณ์ต่างๆพัดพาชีวิตตัวเองไปเรื่อยๆ ได้เรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ เป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานในบริษัทชั้นนำ มีครอบครัว (ปล่อยให้ชีวิตถูกพัดพาไปตามเงื่อนไขที่สังคมบอกว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด) จนกระทั้ง วันหนึ่งเขาสูญเสียลูกชายที่รัก แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป กลายไปคนเสียศูนย์ เขาวิ่งหนีทุกความทรงจำที่มีเขามีอยู่ในญี่ปุ่น มาประเทศไทย ใช้ชีวิตแบบไร้แก่นสาร อ่อนแอไร้ที่ยึดเหนี่ยว จนกระทั้งเขาได้พบพระภิกษุชาวไทยรูปหนึ่งในป่า และนี่คือจุดเปลี่ยนในชีวิตของโอตโจะ

โอตโจะ : ทำยังไงถึงจะแข็งแกร่งขี้นได้ครับ ?


(ดูรายละเอียดได้ใน 20th Century Boys เล่ม 4)

(โอ้วเจ๋งๆ ^_^)

ตอนที่ไปทลายโรงงานผลิดยาเสพติดในไทย ชายคนหนึ่งถามโอตโจะว่า
"ทำไมคุณพี่ถึงสามารถแข็งแกร่งขนาดนั้นได้"
โอตโจะตอบชายคนนั้นว่า

"ฉันไม่ได้แข็งแกร่งอะไรหรอก"
"ตอนนั้นฉันถูกผลักตกน้ำตกเพื่อเอาชนะความกลัว ...กำลังจมดิ่งสู่โลกแห่งความมืดมิดที่ไม่มีอากาศ ถ้าไม่ทำอะไรมีหวังคงต้องจมลงนรกแน่ๆ แต่พอเงยหน้ามองข้างบน ก็เห็นแสงสว่าง"
"ฉันเพียงแต่ตะกายหาแสงสว่างสุดชีวิต"
"ที่นั่นไม่ใช่ทั้งสวรรค์และนรก"
"มันคือ "ที่นี่" ที่ซึ่งมีอากาศ"

(ดูรายละเอียดได้ใน 20th Century Boys เล่ม 4)

(โอ้วอีกแล้ว ^_^)

เมื่อไวรัสแพร่ระบาดผู้คนต่างแก่งแย่ง เข่นฆ่ากันเพื่อช่วงชิงวัคซีน เพื่อที่จะให้ชีวิตตัวเองอยู่รอด
ผู้ใหญ่ฆ่าเด็ก เพื่อนฆ่าเพื่อน
ชายคนหนึ่งบอกกับโอตโจะว่า

"โลกนี้มันมีแต่ความสิ้นหวังนะ"

โอตโจะตอบกลับไปว่า

"ไม่มีวิธีเอาชนะความสิ้นหวังได้หรอก"
"หากสิ้นหวังจนถึงที่สุดแล้วละก็"
"ก็แค่ เดินออกไปจากมันเฉยๆ"





ด้านล่างนี้คือหน้าตาของโอตโจะนะ

วัยเด็ก/วัยหนุ่ม(ที่สิ้นหวังกับชีวิต)/วัยกลางคน(ที่แข็งแกร่งและชอบพูดอะไรลึ้กซื้งอยู่เรื่อยๆ ^_^)


ปล.--การ์ตูนเรื่องนี้--20th Century Boys เป็นการ์ตูนที่เจ๋งมากสำหรับเรา อ่านสนุก มีครบทุกรส(แอ็กชั่นสนุกๆ สืบสวน มิตรภาพระหว่างเพื่อน แอนตี้ฮีโร่ เรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี) ใครที่ไม่เคยอ่านอยากให้ลองหามาอ่านกันดู ตอนนี้ก็ใกล้จะจบเต็มที เล่มจบที่ญี่ปุ่นออกแล้ว สำหรัเมืองไทยอีกเดือนสองเดือนคิดว่าก็น่าจะได้อ่านกัน ^_^