2008-01-25
“Information is alienated experience”
Jaron Lanier
The New Earth Reader คือหนังสือรวมเล่มบทความเด่นๆ ที่เคยลงในนิตยสารหัวเล็กๆ ที่มีชื่อว่า Terra Nova ของเดวิด โรเทนเบิร์ก (David Rotenberg) นักนิเวศวิทยาเชิงลึก (Deep Ecology)ชาวอเมริกัน สำหรับคนที่เคยอ่านหนังสือ “Is It Painful to Think?” (แปลเป็นภาษาไทยโดย อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธในชื่อว่า “เจ็บหรือที่จะคิด”) บทสัมภาษณ์ขนาดยาวของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของ Deep Ecology อย่างคุณปู่อาร์เนอ เนสส์ (Arne Naess)—ผู้ที่ชอบใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังท่ามกลางหุบเขาอย่างเดียวดาย คงจะต้อง “อ๋อ” กับชื่อของ โรเทนเบิร์กผู้นี้(นี่เอง ^_^)
ในบทนำของหนังสือ The New Earth Reader โรเทนเบิร์กเขียนเล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำนิตยสาร Terra Nova เอาไว้ได้อย่างน่ารัก ^_^ (ด้วยท่าทีของคนที่รักโลกที่เรากำลังอยู่อาศัยใบนี้อย่างจริงใจ)ในตอนท้ายเขาเขียนทิ้งท้ายบทนำนั้นเอาไว้แบบนี้ “I am not in favor of popularizing stories, nor of sensationalizing stories to make them more appealing. The World is interesting enough as it is, if we know how to pay attention”
ในหนังสือเล่มนี้มีบทความที่น่าสนใจมากมาย แต่ที่จะเขียนถึงแบบสั้นๆ ในตอนนี้คือบทสัมภาษณ์ของผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นคุณพ่อที่เป็นผู้ให้กำเนิดโลกเสมือน “Virtual Reality" อย่างจารอน ลาเนียร์ (Jaron Lanier)
จารอน ลาเนียร์ (Jaron Lanier)
ลาเนียร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ที่ออกตัวว่าเกลียดวิธีที่มนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์แบบที่เป็นอยู่ เขาเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัย VRL และยังเขียนบทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ในนิตยาสาร Discover
อีกด้านหนึ่งลาเนียร์ เป็นผู้ที่สนใจทางด้านดนตรี และมีความเชี่ยวชาญในการเล่นเครื่องดนตรียุคดึกดำบรรพ์หลายชิ้น(แถมยังเคยออกอัลบั้มมาแล้วด้วย ^_^) เขาเชื่อว่า ดนตรีเปิดเผยความจริงบางอย่างของโลกได้ แต่ดนตรีที่เขาพูดถึงคือดนตรีที่เกิดจากเครื่องดนตรีอะคูสติก ไม่ใช่ดนตรีที่เกิดจากเสียงสังเคราะห์ เขาหลงใหลวินาทีที่ร่างกายสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีจนเกิดการสั่นสะเทือนกลายเป็นคลื่นเสียงในอากาศ
บทสัมภาษณ์นี้เป็นบทสัมภาษณ์ที่อ่านสนุกมาก อาจจะเป็นเพราะคำถามที่กวนๆ(แต่ดี)ของโรเทนเบิร์ก ด้านล่างเป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ
Terra Nova: ลองนึกภาพเด็กที่กำลังเติบโต และกำลังพูดถึงปลาหมึก ปลา และสิ่งของอะไรก็แล้วแต่ ลองจินตนาการตามว่า ถ้ามีเด็กคนหนึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ริมชายฝั่ง เติบโตและเล่นอยู่ใกล้น้ำ และน้ำเป็นสิ่งที่สร้างความสะดวกสบายและความรื่นรมย์ให้กับชีวิต เขาว่ายน้ำ ดำน้ำ เล่นเรือใบ ทำความรู้จักน้ำ เรียนรู้วิธีในการที่จะจับปลา และมีสัมผัสบางอย่างที่เชื่อมต่อกับสิ่งเหล่านี้ และรู้จักสภาพแวดล้อมต่างๆ ของทะเลจากประสบการณ์ตรง และลองจินตนาการถึงเด็กอีกคนหนึ่ง ที่โตขึ้นมาด้วยการดูทีวี ชอบดูรายการต่างๆที่เกี่ยวของกับธรรมชาติ ดูทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่อยู่ใต้ทะเล เขารู้จักชื่อปลานับร้อยที่อยู่ใต้ทะเลลึกลงไป มีข้อมูลมากมายที่เขาสามารถเรียนรู้มันได้จากทีวี เขาสามารถเห็นปลาหมึกตัวใหญ่ในระยะที่ใกล้มากๆ ในทีวี มิหน่ำซ้ำเขายังสามารถอ่านราะละเอียดของสิ่งลึกลับต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่ใต้ผิวโลก แหวกว่ายอยู่ในกระแสข้อมูลที่มีอยู่มากมายในอินเตอร์เน็ท และเรียนรู้โลกที่น่าลุ่มหลงใบนี้ผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ(Symbol) และเด็กคนนั้นก็กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในขณะที่มีอายุแค่สิบสองปี แต่คุณรู้ที่ไหมเด็กคนนี้อาศัยอยู่ใน Nebraska และเขาไม่เคยได้เห็นทะเลจริงๆ
สำหรับคุณ คุณว่าเด็กคนไหนรู้จักทะเลมากกว่ากัน? และในอนาคตเทคโนโลยีที่คุณคิดขึ้นมา(ในที่นี้อาจจะหมายถึง VR) ส่งผลกระทบกับเด็กคู่นี้ยังไง ในการที่ทั้งสองคนนี้จะสัมพันธ์กับโลกใบนี้
ลาเนียร์ : ประสบการณ์เป็นสิ่งพื้นฐานของเรา ในชั่วขณะที่เราสูญเสียมันไป ก็เสมือนกันว่าเรากำลังสูญเสียการสัมพันธ์กับบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ผมมีประโยคเก่าๆ อยู่ประโยคหนึ่ง คิดว่าน่าจะเกริ่นนำในที่นี้ได้ “Information is alienated experience” ถ้าคุณเรียนรู้โลกผ่าน สิ่งต่างๆที่มนุษย์ผลิต คุณก็จะไม่รู้จักโลก นั่นเป็นคุณสมบัติทีแฝงตัวอยู่ในสิ่งเหล่านั้น--Human Artifice เพราะมันจะทำให้คุณจะเชื่อสิ่งที่คุณรู้มากกว่าสิ่งที่คุณทำ คุณสร้างและเติมเต็มสิ่งต่างๆที่คุณไม่รู้ด้วยตัวคุณเอง(ด้วยความเชื่อว่าการรู้จักข้อมูลคือการรู้จักสิ่งเหล่านั้นแล้ว-ผู้แปล) นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการที่แทรกซึมเข้าไปวิธีคิดในศตวรรษที่ยี่สิบอย่างแนบเนียน และทำให้ทุกๆสิ่งนั้นผิดแผกไปจากสิ่งที่มันเป็นอยู่แทรกซึมเข้าไปในทุกๆ Human Artifice ทำให้มันไม่สามารถดำรงความหมายอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง
นี่คือการวิพากษ์ที่สำคัญว่าเราจำเป็นต้องรู้จักธรรมชาติ (nature) และชี้ให้เห็นว่ามันสำคัญ(ต่อความรู้)เราจึงไม่ควรทำลายมัน ในขณะเดียวกันสิ่งที่มนุษย์ผลิตมันก็ไม่ได้มีข้อผิดพลาดโดยสิ้นเชิง นี่คือจุดที่สำคัญที่ช่วยชี้ให้เราได้เห็นว่าอะไรคืออะไร
มีสิ่งหนึ่งที่ผมชอบที่เกี่ยวของกับ Virtual Reality ก็คือเมื่อคุณออกมาจากโลกใบนั้นคุณก็จะได้ประสบการณ์ที่แสนมหัศจรรย์ติดกลับมาสู่โลกที่เป็นธรรมชาติจริงๆ ด้วย เพราะระบบประสาทสัมผัสของคุณจะถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโลกของ VR เมื่อคุณกลับมาที่โลกที่เป็นธรรมชาติจริงๆ คุณจะสัมผัสความเป็นธรรมชาติของโลกที่เป็นธรรมชาติจริงๆ ได้มากขึ้น นี่คือความเป็นไปได้ในการเพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งหมดของเรา
:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:
Virtual Reality Fireside chat at the 2007 AlwaysON Stanford Summit
Moderator: Jaron Lanier, Scholar-In-Residence, CET, UC Berkeley and panelists, Irving Wladawsky-Berger, VP, IBM, Philip Rosedale, CEO, Linden Lab, Craig Sherman, CEO, Gaia Online and Chris Melissinos, Chief Gaming Officer, Sun Microsystems discuss virtual reality worlds on the web today and in the next generation of web 3.0.
Friday, January 25, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
เขียนอีก พี่
Post a Comment