Tuesday, October 31, 2006

Space/ knowledge

พื้นที่/ ความรู้
2006-10-31





บทนำในหนังสือ The Order of Things ของมิเชล ฟูโก(Michel Foucault) ได้พูดถึงภาพ "Las Meninas(1656)" ของดีเอโก้ เวราซเควซ (Diego Velazquez)--จิตกรชาวสเปนในศตวรรษที่ 17 ไว้อย่างน่าสนใจ

“ในภาพนี้จะเห็นตำแหน่งเด่นกลางภาพคือเจ้าหญิงองค์น้อย ด้านข้างซ้ายมือของภาพคือ จิตรกรยืนอยู่หน้ากรอบผ้าใบสูงใหญ่และหันหน้ามาทางเดียวกันกับเจ้าหญิง เรามองไม่เห็นภาพที่เขากำลังวาดบนผ้าใบ อันที่จริงเขากำลังวาดภาพของของพระราชาและพระราชินีของ สเปนทีประทับเป็นแบบอยู่ โดยหันหน้าประจันกับเจ้าหญิงและจิตรกร เรามองไม่เห็นพระราชาและพระราชินีก็เพราะตำแหน่งแห่งที่ของเราซ้อนทับกับคนทั้งคู่อยู่ แต่ภาพของทั้งสองฉายสะท้อนอยู่ในกระจกเงาที่อยู่ด้านหลังกลางภาพ ใครกันแน่ที่กำลังจ้องมองใคร ทุกคนในภาพสามารถครองตำแหน่งผู้จ้องมองได้ทั้งนั้น เจ้าหญิง จิตรกร ข้าราชบริพาร คนนอกภาพ มีอีก 2 ตำแหน่ง คือพระราชาพระราชินีและเรา เจ้าหญิงและจิตรกรกำลังจ้องพระราชาพระราชินี และอันที่จริงก็จ้องมองเราอยู่ เราในฐานะของผู้ดูภาพ ที่จริงแล้วกลับเป็นวัตถุของการจ้องมอง เช่นกัน สถานภาพของเราจึงมีสองส่วน ส่วนแรกคือเราในฐานะคนดูภาพและส่วนที่สองเราในฐานะเดียกับพระราชาและพระราชินี ความเป็นผู้ดูและผู้ถูกดูในภาพนี้จึงไม่ได้ตายตัวและหยุดนิ่ง ฐานะของผู้ดูและผู้เฝ้าดูสลับกันไปมาได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับบทสนทนาระหว่างคนในภาพและคนนอกภาพ คนอ่านภาพจะอ่านภาพออกมาเป็นอย่างไรขึ้นกับว่าเขาเลือกว่าตำแหน่งของตรงเองตรงไหน มุมมองที่เขาเลือกเป็น ก็คือกรอบของวาทกรรม(Discourse) นี่คือสิ่งที่ฟูโกพยายามอธิบายว่าวาทกรรมเป็นตัวกำหนดจัดวางตำแหน่งของตัวประธาน”

นอกจากนี้เราซึ่งเป็นผู้ดูมีความสามารถในการเห็นที่จำกัดมาก เราไม่อาจเห็นภาพที่จิตรกรกำลังวาด ไม่อาจเห็นท่วงท่าการวาด เพราะเมื่อเขาวาดก็จะหลบเข้าไปอยู่หน้ากรอบผ้าใบ เราไม่อาจเห็นคนเป็นแบบที่กำลังถูกวาดด้วย เพราะตำแหน่งของเขาอยู่นอกภาพนี้ เราเห็นพวกเขาได้เพียงลางๆในฐานะภาพสะท้อนในกระจกเงาบานเล็กๆที่อยู่ตรงกลางด้านหลังภาพ ทั้งหมดนี้ก็คือเราไม่อาจมองเห็นตัวการสร้างภาพความจริงได้จากมุมมองทั้งหมดทุกซอกทุกมุม หรืออีกนัยหนึ่งเราไม่สามารถอ้างตำแหน่งพิเศษของความเป็นนักเขียน/นักวิจัยว่าสามารถกระโดดออกมานอกกรอบของบริบทการศึกษาแล้วมองเห็นภาพในเชิงองค์รวมทั้งหมด(totality) ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ภาพนี้จึงตั้งคำถามกับการถืออภิสิทธิ์ดังกล่าวของนักวิจัยและเตือนเราว่าเราไม่อาจหลุดออกนอกกรอบของวาทกรรมได้ ในฐานะคนดูภาพเราจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นจากตัวอย่างที่ฟูโกได้นำเสนอผ่านภาพ Las Meninas(1656) นั้น ถ้าเราไม่อาจรับรู้ความจริงที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์หรือพ้นเหนือจากวาทกรรมไปได้ ดังนั้นในทฤษฎีที่เราใช้ศึกษาหรือเป็นกรอบความคิดในการมองเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆจึงไม่ควรอ้างอิงถึงความเป็นจริงที่เป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐาน ถ้าจะมีจุดเริ่มต้นก็เป็นแต่เพียงประโยคที่เป็นภาพแทนความจริงเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ตำแหน่งของผู้ศึกษาจะอยู่เหนือความเป็นจริง และมองลงมาเห็นความเป็นไปทั้งหมด เมื่อไม่อาจอยู่ภายนอกวาทกรรมได้ ดังนั้นการวิพากษ์หรือโค่นวาทกรรมจึงต้องมาจาก พื้นที่ภายในตัววาทกรรมนั้นเอง และนี่คือที่มาของวิธีการของพวกหลังโครงสร้างนิยม(post structuralist) ที่รื้อถอนวาทกรรมจากการมองหาความลักลั่นของตรรกภายในวาทกรรมนั้นๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ วิธีการศึกษาวิจัย/วิธีการเขียนงาน(ในทุกๆ รูปแบบ?)/วิธีการเสนอภาพควร ’จัดพื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ศึกษากับผู้ถูกศึกษาเสียใหม่ ตัวตนของผู้ศึกษาซึ่งถูกทำให้มองไม่เห็นแม้ผู้อ่านจะได้ยินเสียงของเขาอยู่ตลอดเวลา จะต้องปรากฏขึ้น ส่วนผู้ถูกศึกษาซึ่งเป็นวัตถุแห่งการจับจ้องมาตลอดมาตลอดแต่ไม่ค่อยมีโอกาสพูดจะต้องปรากฎเสียงขึ้น

งานเขียนควรเป็นเวทีที่แบไพ่กระบวนการจัดตำแหน่งแห่งที่ระหว่างผู้ศึกษาและสิ่งที่ถูกศึกษา



+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele

Monday, October 30, 2006

Birth of the Seanema

ภาพของความทรงจำที่เล็ดลอดออกมาจากรอยร้าวระหว่างคลื่นในทะเล
2006-10-30


Why has the pleasure of slowness disappeared? Ah, where have they gone, the amblers of yesteryear? Where have they gone, those loafing heroes of folk song, those vagabonds who roam from one mill to another and bed down under the stars? Have they vanished along with footpaths, with grasslands and clearings, with nature?

Slowness, Milan Kundera



ในหนังสือนิยายเล่มบางๆ เรื่อง “Slowness” ของมิลาน คุนเดอร่า ได้พูดถึงคุณค่าของ “ความอ้อยอิ่ง” “ความเนิบนาบ” หรือ “ความเชื่องช้า” พร้อมกับตั้งคำถามกับสิ่งที่เรียกว่า “ความเร็ว” ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุของมนุษย์

สำหรับสาระสำคัญในนิยายเล่มนี้นั้น คุนเดอร่าเชื่อว่า “ความเร็ว” ทำให้มนุษย์หลงลืมตัวตน ทำให้ความมีตัวตนของมนุษย์นั้นดูพร่ามัว ซึ่งความเร็วนั้นมีสัดส่วนแปรผันกับความเข้มข้นในการลืม โลกของความเร็วจึงเป็นโลกแห่งการลืมเลือน- -มันเป็นโลกที่ปราศจากความทรงจำในโลกที่ทุกอย่างเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว (อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, รถยนต์ที่เร่งความเร็วได้ถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายใน 6 วินาที, การศึกษาในหลักสูตรเร่งรัด ฯลฯ) เราไม่สามารถจดจำอะไรได้ (ในโลกยุคใหม่ เพลงฮิตที่ติดชาร์ตอันดับหนึ่งในปีนี้ ปีถัดไปก็อาจจะไม่มีใครพูดถึงมันอีก ด้วยข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าท่วมตัวเรามากมายในแต่ละวัน เรายังมีข้อมูลใหม่ๆ มากมายให้ต้องคอยอัฟเดทในแต่ละวันมิใช่หรือ-– ถ้าพูดกันตามภาษาของสื่อมวลชนที่นิยมใช้กันอย่างดาษดื่นก็จะบอกว่าเดี๋ยวไม่อินเทรนด์นะ!)

ในหนังสือเล่มนี้ คุนเดอร่าสังเกตพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปของมนุษย์ แล้วเขียนยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ในขณะที่เรากำลังเดินอยู่ แล้วต้องการนึกอะไรบางอย่างในขณะนั้นให้ออก เราก็จะพยายามเคลื่อนตัวให้ช้าลง ทำไมต้องเคลื่อนตัวช้าลง ความช้ามีผลต่อการปรากฏชัดเจนของความทรงจำอย่างไร ขณะเดียวกันในโมงยามที่เรากำลังมีความทุกข์ มีสิ่งที่ทำให้ผิดหวังสุมอยู่ข้างในอก หากลองสังเกตดู เราจะพยายามเคลื่อนตัวให้เร็วขึ้นๆ ในขณะที่เรากำลังเดินอยู่ มันเหมือนกับว่าความเร็วที่เพิ่มขึ้นนั้นสามารถสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราและสิ่งที่เราอยากจะลืมได้

ความเร็วสามารถทำให้เราลืมความทุกข์ที่เราไม่อยากจดจำเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น?

สำหรับคุนเดอร่า ความเชื่องช้าเนิบนาบมีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างอยู่ มันทำให้ความทรงจำที่ถูกฝังทับถมอยู่ในห้วงเวลาแห่งอดีตของเรานั้นค่อยๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นในห้วงแห่งการคิดคำนึงของเรา- -ในเวลาปัจจุบัน ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

จะว่าไป ความคิดในเรื่องนี้ของคุนเดอร่านั้นก็มีบางแง่มุมคล้ายกับความคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ฌอง โบดริยาร์ เพราะ โบดริยาร์เองก็เคยเปรียบเทียบมนุษย์ในโลกยุคใหม่- -ที่ทุกอย่างรอบตัวล้วนแล้วแต่เคลื่อนไหวด้วยความเร็ว ว่าเปรียบได้กับ “ฟองน้ำ” หรือ “กลุ่มก๊าซทึบแสง” ที่เงียบกริบ ว่างเปล่า เฉื่อยชา ที่พร้อมที่จะดูดซับทุกอย่างเข้าไปในตัว หลีกหนีสังคมเพียงเพื่อที่จะสลายตัวไปเองเมื่อถึงจุดอิ่มตัวจนไม่อาจดูดกลืนสิ่งใดๆ ได้อีก มนุษย์ในโลกยุคใหม่จึงเป็นเหมือนหลุมดำที่คอยดูดกลืนความหมายและข่าวสารทั้งหมดเข้าไปในตัว และคงเหลืออยู่แต่เพียงสิ่งซึ่งไร้ความหมาย ปฏิเสธหรือหมดปัญญาที่จะสร้างความหมายใดๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ของมนุษย์ล้วนเป็นผลมาจากข่าวสารที่ไหลบ่าเข้าใส่อย่างดุดันของสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างดาษดื่นและมากมายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลยในยุคสมัยใดๆ ในอดีตที่ผ่านมา

หรือในโลกยุคใหม่นั้น มนุษย์จะไม่มีทางเลือกใดๆ อีกนอกจากต้องยอมสยบให้กับปีศาจแห่งความเร็วที่คอยพรากภาพของความทรงจำไปจากชีวิต...

วินาทีนี้ (ในขณะที่ผมกำลังเรียบเรียงประโยคต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้คุณๆ ทั้งหลายได้อ่านกัน) ภายในห้องแคบเล็กๆ ที่ไร้ความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งใดๆ ห้องเงียบๆ ซึ่งตัดขาดจากความรวดเร็ว ความวุ่นวายและโกลาหลของเมืองใหญ่ที่อยู่ภายนอกหน้าต่าง ซึ่งจะว่าไป ประสบการณ์ของผมในตอนนี้ย่อมสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในห้องที่เงียบงัน (แห่งนี้) มากกว่าโลกของความโกลาหลที่อยู่ภายนอก โลกของผมในตอนนี้จึงเป็นโลกที่กำลังเคลื่อนไหวตัวอย่างเชื่องช้าๆ และเนิบนาบ

“ใช่ ต้องมีบางช่วงเวลาที่เราสามารถถอนตัวออกจากโลกที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่อยู่ภายนอกได้” ผมบอกกับตัวเอง

และวินาทีที่ผมกำลังนึกถึงช่วงเวลาเหล่านั้น ความทรงจำก็ได้นำห้วงประสบการณ์ในอดีตของผมหวนคืนมายังพื้นที่ของปัจจุบันอีกครั้ง

ผมจำได้ มันเป็นความทรงจำที่มีต่อหนังเรื่องหนึ่ง--Birth of the Seanema ที่ผมเคยดูเมื่อหลายเดือนก่อน

ผมไม่แน่ใจว่าภาพของห้วงบรรยากาศ ณ เวลานั้น (ของผม) มันพร่าเลือนหรือว่าชัดเจน แต่ผมแน่ใจว่าประสบการณ์ที่ได้สัมผัสในครั้งนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่าง- -ที่พิเศษ

แล้วความทรงจำก็พาผมไปยังสถานที่แห่งนั้น

สถานที่แห่งหนึ่ง

ในโลกที่แสนเงียบงันของ ศะศิธร อริยะวิชา

ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงัดภายในโรงภาพยนตร์

ภาพที่อยู่ทางด้านหน้าผมนั้นเป็นภาพของเกลียวคลื่นกำลังค่อยๆ ม้วนตัวอย่างช้าๆ มันช้ายิ่งกว่าความช้าของภาพสโลว์โมชั่นที่เราพบเห็นได้ในหนังทั่วๆ ไป มันช้าในแบบที่ถ้าเรากดปุ่ม forward เพื่อเร่งความเร็วของภาพ- -มันก็ยังดูช้าอยู่ดี มันช้าในแบบที่เราอาจจะพูดได้ว่า ถ้าช้ากว่านี้อีกเพียงนิดเดียว ภาพที่อยู่ตรงหน้าก็ไม่ต่างอะไรกับภาพนิ่ง

นอกจากจะภาพที่ปรากฏจะเคลื่อนไหวได้อย่างเชื่องช้าแล้ว ภาพเหล่านั้นยังโถมเข้าใส่ผมอย่างเป็นจังหวะ คล้ายคลื่นทะเลที่กำลังซัดเข้าหาฝั่งที่ละระลอก ทีละระลอก

ภาพที่อยู่ตรงหน้าเป็นระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์

ภาพของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่มีต่อเนื่อง

เสมือนภาพจิ๊กซอว์ที่ต่อตามจังหวะของระลอกคลื่นในท้องทะเล

ภาพของยอดเกลียวคลื่นถูกโถมทับกลบด้วยภาพของเมืองในมุมสูง แล้วต่อมา ภาพของเมืองในมุมสูงก็ค่อยๆ ถูกโถมทับกลบด้วยภาพของก้อนเมฆบนท้องฟ้า แล้วภาพของก้อนเมฆบนฟ้าก็ถูกโถมทับกลบด้วยภาพเม็ดฝนที่เกาะอยู่บนกระจกหน้าต่าง แล้วภาพของเม็ดฝนที่อยู่บนหน้าต่างก็ถูกกลบทับด้วยภาพของการจราจรที่จอแจของรถยนต์ที่อยู่บนทางด่วนภายในเมืองใหญ่ (โปรดอย่างเข้าใจผิดคิดว่าภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ใช้ระยะเวลาเท่ากับเวลาที่คุณอ่านย่อหน้านี้จบ เพราะในความจริงมันเนิ่นนานกว่านั้นมาก)

เมื่อภาพของเหตุการณ์ใหม่ซัดเข้ามา ภาพของเหตุการณ์เก่าก็จางหายไป

เป็นจังหวะแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แต่เป็นจังหวะที่ช้า เนิบนาบ และหนืดเนือย

จากภาพที่ปรากฏบนจอ เมื่อผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง ผู้ชมที่นั่งชมอยู่บางท่านในขณะนั้นบางทีก็ไม่อาจทำใจเรียกภาพคลื่นไหวที่กำลังปรากฏอยู่ทางด้านหน้าจอขนาดใหญ่ที่อยู่ทางด้านหน้าว่า “ภาพยนตร์” ได้ (ข้อมูลนี้ผม- – ผู้เขียน ได้ตั้งข้อสังเกตเอาเองจากจำนวนคนที่เดินออกไปข้างนอกก่อนที่หนังเรื่องนี้จะฉายจบ)

แต่มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไร (มิใช่เหรอ?) หากเรา (ซึ่งอาจจะหมายถึงผมและผู้ชมคนอื่นๆ ในขณะนั้น) จะใช้มาตรฐานของภาพยนตร์ที่เราเคยพบเคยดูอยู่บ่อยๆ มาวัดมาตรฐานความเป็น “ภาพยนตร์” ของหนังเงียบเรื่องนี้ของ ศะศิธร อริยะวิชา

ก็ไหนล่ะ พระเอก ไหนล่ะ นางเอก แล้วผู้ร้ายล่ะ อยู่ตรงไหน ตรงไหนของเรื่องล่ะที่เป็นปมขัดแย้ง ตรงไหนของเรื่องล่ะที่เป็นจุดคลี่คลายปมต่างๆ เหล่านั้น หรือว่าอยู่ที่ฉากสุดท้ายเอ่ย (แต่คงไม่ล่ะมั้ง เพราะดูจนจบเรื่องแล้วก็ยังไม่เห็น) ไหนล่ะ ฉากบู๊ล้างผลาญ และไหนล่ะ ฉากที่แสนน่ากลัวและสยดสยองจนขนลุกซู่ แล้วตรงไหนล่ะ ฉากที่ซึ้งตรึงใจในแบบที่เรากลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ และที่สำคัญที่สุด ฉากเลิฟซีนระหว่างพระเอกสุดหล่อและนางเอกแสนสวยของเราล่ะ- -อยู่ไหน

ถ้าใช้มาตรฐานในย่อหน้าที่แล้วมาตัดสินความเป็น “ภาพยนตร์” ของ Birth of the Seanema

ศะศิธร อริยะวิชา ก็คงไม่ต่างอะไรกับโนบิตะ ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน

เพราะถ้าเราตัดสินเธอด้วยชุดความคิดแบบนั้น คะแนะที่เธอได้ก็คือ “ศูนย์”

แต่โลกกลมๆ ใบนี้ก็ใช่ว่าจะถูกขับเคลื่อนด้วยชุดความคิดใดชุดความคิดหนึ่งซะเมื่อไหร่กัน ในความเป็นจริงมันถูกขับเคลื่อนให้หมุนได้ด้วยชุดความคิดความอ่านที่หลากหลายและแตกต่างกัน- -อาจจะพูดได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่โลกจะมีความหลากหลายของ “ชีวภาพทางความคิด” (อันนี้เป็นการควงคำขึ้นมาใหม่แบบฉับพลัน ซึ่งผู้เขียนคิดเอาเองว่าเก๋ดีแล้ว แต่ถ้าผู้อ่านคิดว่าไม่ กรุณาใช้น้ำยาลบคำผิดจัดการมันซะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกลับมาอ่านเจออีกในภายหน้า คิดอะไรมากมาย มันก็เป็นเพียงแค่ “คำ” )

ก็อย่างว่า ในโลกของภาพยนตร์ มันก็ไม่น่าจะหลุดพ้นไปจากกฎเกณฑ์ที่ว่านี้ ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว ใครๆ เขาก็รู้กันว่าพี่เบิ้มอย่างฮอลลีวู้ดนั้น กำลังครอบครองพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ต่างๆ ของแทบทุกประเทศทั่วโลกอยู่ในตอนนี้

แน่นอนว่าหนังฮอลลีวู้ดทั้งหมดนั้นเป็นหนังแบบ “เล่าเรื่อง” (ที่จริงหนังในโลกส่วนใหญ่ก็เป็นหนังเล่าเรื่องทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังอินดี้หรือหนังอินเดียก็ตาม) ด้วยคุณสมบัติของการเป็นหนังเล่าเรื่อง แน่นอน มันย่อมมีเนื้อเรื่องที่จะเล่า มีจุดเริ่มต้นแล้วก็ต้องมีจุดจบ (ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเรียงกันตามลำดับเวลาก่อนหลัง)

แต่ใช่ว่าถ้าขึ้นชื่อว่าหนังแล้ว จำเป็นต้องเล่าเรื่องอยู่เป็นสรณะเสียเมื่อไหร่ ในบางครั้งบางหนหนังอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องมีเรื่องใดๆ ที่ต้องเล่าก็ได้ บางทีมันอาจจะมีคุณสมบัติบางอย่างที่ผู้คนได้หลงลืมไป

จะว่าไปแล้ว Birth of the Seanema ของศะศิธร อริยะวิชา น่าจะเป็นตัวอย่างของหนังประเภทหลังที่ว่าได้เป็นอย่างดี

หากเราลองมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมาศิลปะแขนงที่เจ็ดที่เราเรียกกันว่า “ภาพยนตร์” ในทุกวันนี้ได้ผ่านการเดินทางบนถนนสายอารยธรรมของมนุษย์มากว่า 100 ปีแล้ว

จากจุดเริ่มต้นง่ายๆ ที่เกิดจากการถ่ายด้วยกล้องที่เป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่ใช้งานโดยใช้มือหมุนฟิล์มด้วนแกนไม้ที่อยู่ภายนอกกล่องโดยใช้ถ่ายภาพขบวนรถไฟที่กำลังวิ่งเข้าเทียบชานชลาอันเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่ถ่ายโดยสองพี่น้องตระกูลลูมิแยร์

ทุกวันนี้ภาพยนตร์มาไกลจุดเริ่มต้นของมันในแบบที่ถ้าพี่น้องตระลูมิแยร์มาเห็นเข้าก็คงตกใจ ยิ่งในโลกยุคปัจจุบันแล้วอาจจะพูดได้เลยว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ในโลกภาพยนตร์ ไดโนเสาร์วิ่งกันยั้วเยี้ยเต็มจอก็ทำกันมาแล้ว อุกาบาตพุ่งชนโลกก็ทำกันมาแล้ว ฉากน้ำท่วมโลกซึ่งเป็นสุดยอดของความหายะนะของมวลมนุษยชาติก็ทำมาแล้ว วินาทีนี้หากเราต้องการจะสร้างภาพความฉิบหายของมวลมนุษยชาติใดๆ ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในโลกของภาพยนตร์นั้น- -ก็คงจะไม่มีอะไรที่เกินความสามารถของผู้สร้างภาพยนตร์ในยุคสมัยนี้อย่างแน่นอน

ในภาพยนตร์ยุคโบราณ อสูรกายหรือปีศาจร้ายเวลาปรากฏตัวในภาพยนตร์นั้นอาจจะแฝงตัวอยู่ในเงามืด ความน่ากลัวจึงเกิดจากภาพที่ผู้ดูจินตนาการขึ้นมาเองตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน ทุกวันนี้ปีศาจร้ายเหล่านั้นอาจจะปรากฏตัวออกมาแสยะยิ้มจนแทบจะเห็นเขี้ยวเล็บของมันทั้งหมด มันช่างดูแล้วสมจริงเสียนี่กระไร (บางทียุคนี้ความสมจริงสมจังอาจจะเป็นสดมภ์หลักทางความคิด- -หรือบางทีนี่อาจจะเป็นอีโก้ (แบบใหม่ ๆ) ของคนทำหนังสมัยใหม่ที่แสดงออกผ่านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่ล้วนแต่วัดความเจ๋งกันที่ความสมจริงของภาพดิจิตอลเหล่านั้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ “พื้นที่ว่าง” ที่เว้นให้ผู้ชมใช้จินตนาการของตนเข้าไปเติมหรือมีส่วนร่วมจึงเหลือน้อยเต็มที)

แต่ถึงกระนั้น

ในวาระที่ศาสตร์แห่งภาพยนตร์นั้นมีอายุอานามครบรอบ 100 ปี ผู้กำกับภาพยนตร์แนว Avant-garde อย่าง ฌอง-ลุค โกดาร์ ก็ยังออกมาบอกว่ามนุษย์ยังใช้ศักยภาพของหนังได้อย่างกระมิดกระเมี้ยน และยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย (หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือใช้ศักยภาพของภาพยนตร์ได้อย่างด้อยประสิทธิภาพจนน่าใจหาย!)

เราลืมกันไปหรือเปล่าเอ่ย? ว่าก่อนที่ศาสตร์อย่างภาพยนตร์จะใช้ศิลปะของการ “เล่าเรื่อง” เป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างและผลิตเป็นส่วนใหญ่เหมือนดังเช่นที่เป็นกันอยู่ทุกวันนี้ ภาพยนตร์นั้นยังเคยเป็นศาสตร์ที่ใสซื่อและแสนที่จะบริสุทธิ์ด้วยการเป็นงานศิลปะในแบบที่เราเรียกกันว่า “Moving Image”

จะว่าไปแล้วก็มีความเป็นไปได้อยู่ที่ภาพยนตร์ได้หยิบยืมศาสตร์ของ “การเล่าเรื่อง” มาจากงาน “วรรณกรรม” แต่จนแล้วจนรอดศิลปะทั้งสองแขนงถึงแม้จะใช้ศาสตร์ของการเล่าเรื่องเหมือนกัน (มีปทัสถานสถานบางอย่างในศาสตร์ของเรื่องเล่าที่ทำให้คนดูพยายามที่จะผูกโยงภาพในงานภาพยนตร์ที่เห็นให้กลายเป็นเรื่องเล่า ทำให้เรามองข้ามคุณสมบัติที่แท้จริงบางอย่างในงานภาพยนตร์ไป) ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้ว ทั้งสองศาสตร์นี้ต่างก็มีคุณสมบัติพิเศษที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มี

หากเราลองนึกย้อนไปลองสังเกตประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น ภาพที่เราได้จากการกวาดสายตาผ่านตัวอักษรในงานวรรณกรรมบนแผ่นกระดาษที่ปรากฏในหนังสือนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นจินตภาพ ที่จะว่าไปแล้วก็แสนที่จะพร่าเลือนแต่ก็ดูแจ่มชัดในแง่ของการที่มันเป็นภาพที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ (กระบวนการที่เปลี่ยนจากการเห็นตัวอักษร จากคำเป็นประโยค จากประโยคเป็นย่อหน้า ให้กลายเป็นภาพในงานวรรณกรรมนั้นเป็นกระบวนการที่น่ามหัศจรรย์มาก) ฉากและสถานที่ที่เกิดขึ้นจากจินตนาการของเรานั้นถึงแม้ว่าจะดูสมจริงแต่มันก็ไม่เคยชัดเจน เวลาที่เราอ่านงานวรรณกรรม เราอาจจะจินตนาการถึงตัวละครเหล่านั้นได้ แต่ยังไงก็ตามภาพใบหน้าของคนเหล่านั้นก็ไม่เคยเป็นภาพที่ปรากฏออกมาอย่างชัดแจ้ง มันยังคงเป็นใบหน้าที่เหมือนมีเมฆหมอกมาบัง ทั้งดูพร่างพรายและคลุมเคลือ

โลกในงานวรรณกรรมจะเป็นโลกที่ถูกสมมุติขึ้นมาใหม่ ซึ่งผู้อ่านแต่ละคนก็สามารถสมมุติโลกที่ว่านี้ขึ้นมาด้วยเงื่อนไขอันเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคน พื้นที่ในงานวรรณกรรมจึงเป็นพื้นที่ส่วนตัวของผู้อ่านแต่ละคน

จะว่าไปก็จะมีแต่เงื่อนไขของเวลาในงานวรรณกรรมแต่ละชิ้นเท่านั้นที่ทำให้โลกสมมุติของผู้อ่านแต่ละคนนั้นเชื่อมโยงกันอยู่ เพราะเวลาโลกวรรณกรรมนั้นเชื่อมโยงอยู่กับเงื่อนไขบางอย่างในโลกของความเป็นจริง

สิ่งที่เชื่อมโยงกันอยู่ในทีนี้นั้นไม่ได้หมายถึงคุณสมบัติของทิศทางการเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรง แต่เป็นเรื่องของความสามารถในการเคลือบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลา (ไม่เกี่ยวกับเรื่องทิศทาง และลำดับก่อนหลัง แต่เกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะของเวลาเอง) เวลาในโลกของวรรณกรรมไม่ว่าเนื้อเรื่องที่เล่าถูกเล่าแบบต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่อง (ซึ่งไม่เรียงกันตามลำดับของเวลา) ก็ตาม มันยังคงต้องอาศัยประสบการณ์ในเรื่องเวลาของมนุษย์ในโลกทางกายภาพที่อยู่ภายนอกเป็นตัวสร้างมันขึ้นมา วรรณกรรมจึงไม่สามารถพาเราหลุดพ้นออกไปจากโลกของเวลาที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงได้ มันยังคงมีเส้นสายบาง ๆ อันเกิดจากประสบการณ์ของเราผูกโยงมันเอาไว้อยู่

ในขณะที่โลกของภาพยนตร์ด้วยเงื่อนไขของการเป็นภาพซึ่งมีกระบวนการผลิตที่ใช้การบันทึกภาพเหล่านั้นจากโลกภายนอก (ไม่ได้เกิดจากจินตนาการของเรา--ซึ่งเป็นโลกในมโนคติ) ภาพที่เรารับรู้จากงานภาพยนตร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับโลกแห่งความเป็นจริงอยู่

แต่ตัวภาพยนตร์เองก็มีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างอยู่ ทำให้ถึงแม้ว่ามันจะเกี่ยวโยงกับความเป็นจริง แต่มันก็เป็นโลกที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว และมีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปจากโลกสมมุติที่เกิดขึ้นในงานวรรณกรรม

คุณสมบัติที่ทำให้โลกในภาพยนตร์นั้นแตกต่างไปจากโลกวรรณกรรมและโลกของความเป็นจริงทางกายภาพก็คือ คุณสมบัติในการหน่วงเหนี่ยว ยืด ย่อและขยาย การคลืบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลา ด้วยเหตุนี้เองโลกภาพยนตร์นั้นจึงสามารถสร้างเงื่อนไขการมีอยู่ของเวลาในรูปแบบใหม่ๆ ในแบบที่โลกอื่นๆ นั้นสร้างไม่ได้

โลกในภาพยนตร์จึงเป็นโลกที่มีลักษณะเฉพาะที่พื้นที่ (ในที่นี้ก็คือภาพ) และเวลานั้นเกี่ยวโยงและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น และสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยปัจจัยในเรื่องของพื้นที่และเวลาซึ่งมีซึ่งเป็นอิสระจากโลกที่อยู่ภายนอก

ซึ่งคุณสมบัติพิเศษในเรื่องเวลาของภาพยนตร์นั้นดูเหมือนว่าจะปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้--Birth of the Seanema ของ ศะศิธร อริยะวิชา ด้วยเช่นเดียวกัน และดูเหมือนว่าศะศิธรจะพาเรากลับไปยังจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ในกรอบความคิดที่มองงานภาพยนตร์เป็น “Moving Image” เหมือนในอดีตที่มันเคยเป็นอีกครั้งหนึ่ง

งานชิ้นนี้ของเธอจึงไม่ใช่งานที่ยัดความหมายลงไปในเรื่องหรือพยายามยัดเรื่องเล่าลงไปในภาพ (โดยเพิกเฉยต่อคุณสมบัติพิเศษของภาพยนตร์) แต่งานของเธอคือการพยายามสร้างโลกในแบบของเธอ โลกที่เกี่ยวข้องกับท้องทะเลที่เธอรักและผูกพัน (เธอเคยให้สัมภาษณ์ว่าชอบความโล่งกว้างของทะเล) กับโลกในเมืองที่แสนวุ่นวายที่เธออยู่อาศัย โดยการใช้คุณสมบัติพิเศษของภาพยนตร์เป็นวัตถุดิบ

ซึ่งโลกที่เธอได้สร้างขึ้นมานั้นก็มีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ถึงมันจะเต็มไปด้วยความเนิบนาบ แต่มันก็มีลักษณะบางอย่างที่เป็นลักษณะพิเศษในงานภาพยนตร์ชิ้นนี้

มันเป็นโลกที่เคลื่อนตัวอย่างเชื่องช้าซึ่งมีส่วนผสมของความเศร้า ภาพยนตร์ในเรื่องนี้มีคุณสมบัติบางอย่างซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับที่บทกวีทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนั้นมี (ซึ่งข้อความที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับภาพที่แทรกขึ้นมาในระหว่างเรื่องนั้นก็มีคุณสมบัติของการเป็นบทกวีอยู่เช่นเดียวกัน)

เป็นไปได้ที่ความเนิบนาบ หนืดเนือยในโลกใบนั้นของเธอทำให้เราสามารถเข้าไปสังเกตสังการณ์ รายละเอียดของสิ่งของต่างๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน (สถานที่ต่างๆ ภายในเมือง) ด้วยมุมมองใหม่ๆ ซึ่งตัวเรานั้นเพิกเฉยหากเราพิจารณามันด้วยการคลืบคลานเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของเวลาด้วยประสบการณ์ปรกติของโลกจริงที่เราสามารถรับรู้มันได้ในทางกายภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความหมายใหม่ๆ ความหมายใหม่ที่เรามีต่อโลกใบเดิมซึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่เป็นผลผลิตของภาพที่เล็ดลอดออกมาจากรอยรั่วของเวลาผสมผสานกับความทรงจำและประสบการณ์ของเราที่เคยผ่านมาในอดีต ทำให้คนดูสามารถเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้กับประสบการณ์ของตนเองด้วยเงื่อนไขที่เฉพาะตัวและแตกต่างกัน

จะว่าไปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ของศะศิธรนั้น มีคุณสมบัติบางอย่างที่เราสามารถพบในสุนทรียศาสตร์ในแบบญี่ปุ่น ซึ่งชาวอาทิตย์อุทัยเรียกคุณสมบัติของความงามชนิดนี้ว่า “โมโนโนะ อาวาเระ” หรือแปลเป็นภาษาไทยก็คือ “ ความเศร้าสร้อยของสรรพสิ่ง ” ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็คืออารมณ์ของความรู้สึกที่เกี่ยวกับความงดงามของสิ่งที่ได้ผ่านไปหรือกำลังจะผ่านไป ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ลึกซึ้งและเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยเราสามารถรับรู้คุณสมบัติเหล่านี้ผ่านประสาทสัมผัสและการมองเห็นของเรา ผ่านความงามของการดำรงอยู่และสูญสลาย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีนัยยะ ความหมายของปรัชญาในศาสนาพุทธแฝงอยู่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับกำเนิดของธรรมชาติและการกลับไปสู่จุดเริ่มต้นอันดั้งเดิมเมื่อถึงเวลา

ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงัดภายในโรงภาพยนตร์

ทันทีที่แสงไฟในโรงภาพยนตร์สว่างจ้า

มันได้นำผมกลับมายังที่นี่

วินาทีนี้ (ในขณะที่ผมกำลังเรียบเรียงประโยคต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้คุณๆ ทั้งหลายได้อ่าน ซึ่งถึงตอนนี้ผมเองก็คิดว่ามันใกล้ที่จะเสร็จเต็มทีแล้ว) ภายในห้องแคบเล็กๆ ที่ไร้ความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งใดๆ ห้องเงียบๆ ซึ่งตัดขาดจากความรวดเร็ว ความวุ่นวายและโกลาหลของเมืองใหญ่ที่อยู่ภายนอกหน้าต่าง ซึ่งจะว่าไปประสบการณ์ของผมในตอนนี้ ย่อมสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในห้องที่เงียบงัน (แห่งนี้) มากกว่าโลกของความโกลาหลที่อยู่ภายนอก โลกของผมในตอนนี้จึงเป็นโลกที่กำลังเคลื่อนไหวตัวอย่างเชื่องช้าๆ และเนิบนาบ

“ทะเลคือที่เก็บงำความทรงจำทั้งหมดของสรรพสิ่งทั้งมวลในโลก มันถักใยบาง ๆ ระหว่างความทรงจำ ความฝัน ความรู้สึกของผู้คนและเมืองแห่งหนึ่งผ่านภาพจากเสี้ยวเล็กๆ ของความทรงจำที่รั่วผ่านรอยร้าวของมัน”

ผมนึกถึงถ้อยคำในสูจิบัตรที่แสดงข้อมูลของภาพยนตร์เรื่องนี้

มาถึงวินาทีนี้ตัวผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าความเชื่องช้าสามารถหน่วงเหนี่ยวความทรงจำไว้กับเราได้จริงๆ ความเชื่องช้ามีประสิทธิภาพอย่างที่คุนเดอร่าพูดไว้จริงๆ?

ระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์ที่มาก่อนจะไม่ถูกระลอกคลื่นของภาพเหตุการณ์ที่มาทีหลังทำให้มันจางหายไปในโลกที่เชื่องช้า ภาพของความทรงจำในครั้งเก่าก่อนจะไม่ถูกภาพความทรงจำใหม่ซัดทำให้มันจางหายไปเหมือนคลื่นในทะเล

หรือแท้จริงแล้วความทรงจำก็เป็นเสมือนหยดน้ำที่อยู่ในห้วงมหาสมุทรขนาดใหญ่ที่อาศัยคืนวันที่โลกภายในตัวของเราเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าเล็ดลอดออกมาทางรูรั่วของรอยร้าวและหยิบฉวยจินตภาพที่เกิดขึ้นมาในห้วงเวลาปัจจุบัน เพื่อนำวันเวลาในอดีตของเรากลับมาอีกครั้ง

ในหนังเรื่อง Birth of the Seanema มีข้อความหนึ่งเขียนเอาไว้ว่า

“I am your forgotten memories, I am your invented memories”

หรือแท้จริงแล้ว

ความทรงจำทั้งหลาย แท้ที่จริงก็เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์ประกอบสร้างมันขึ้นมา

เอาไว้ให้อยู่เป็นเพื่อนคลายเหงา

ในโลกที่แสนเดียวดาย



*เผยแพร่ครั้งแรกที่ โอเพ่นออนไลน์: http://www.onopen.com
Link: http://www.onopen.com/2006/02/746

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele

Sunday, October 29, 2006

2006-10-28+2006-10-29


NOX : Machining Architecture
Lars Spuybroek
ISBN: 0500285195

A dynamic presentation of one of the world’s most experimental and influential young architects, this book is a must-have for every student, professional and critic in search of architecture’s future. Part manual, part manifesto, part monograph, it is the first publication that looks comprehensively at the methods and techniques of Lars Spuybroek’s hugely inventive and influential architecture.

In the young generation of ‘digerati’ architects, Rotterdam-based Lars Spuybroek and his studio, NOX, are among the few who have completed built projects. Before the advent of large-scale processing power, digital modelling and computer-aided manufacturing, NOX’s outlandish structures would have been inconceivable. Today, and internationally, the work is being taken more and more seriously as the possibilities for construction and spatial innovation have become more feasible.

Written and compiled largely by the architect, the book gives the inspirations, insights and methods that allow him to conceive – and build – such original work.

• a complete documentation of NOX’s œuvre, including built and
unbuilt work
• essays by leading lights in design and cultural criticism –
Manuel DeLanda, Detlef Mertins, Brian Massumi, Andrew
Benjamin and Arjen Mulder
• explanatory texts by Spuybroek that link the projects together

Many illustrations specially created for the book make Spuybroek’s complex strategies and techniques accessible for the first time – an invaluable resource for students and designers looking for tricks of the trade.

Lars Spuybroek is principal of the architectural office NOX in Rotterdam, from where he heads research into the relationship between architecture and the computer. His work has won many awards and is exhibited the world over. Spuybroek lectures internationally and holds a professorship at the University of Kassel in Germany where he also chairs the CAD/Digital Design

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-NOX : Machining Architecture--Lars Spuybroek

Books read:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele

Friday, October 27, 2006

2006-10-27


Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab
Edited by Brett Steele
ISBN : 1902902416

This book brings together 26 architectural projects from the Architectural Associations’ Design Research Lab (AA DRL). The projects are based on field research conducted in London’s corporate environments; they have developed from a close analysis of the ways in which leading companies challenge both traditional corporate practice and conventional office planning assumptions. There are over 200 diagrams, models, renderings and other images.

http://www.resarch.net/archives/aa_school/

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Corporate Fields: Office Project by AA Design Research Lab--Edited by Brett Steele
Books read:
-The Philosophy of Andy Warhol--Andy Warhol

Thursday, October 26, 2006

2006-10-26



+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-The Philosophy of Andy Warhol--Andy Warhol
Books read:
-

Wednesday, October 25, 2006

Mechanical Reproduction

2006-10-25


**โดยหลักการสิ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สามารถผลิตซ้ำ(Reproduction) ได้โดยมนุษย์





การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) มีวิวัฒนาการโดยเริ่มจากสมัยกรีก เช่นการหล่อและการประทับ(founding and stamping) โดยใช้ในการผลิต รูปปั้นบรอนซ์ ดินเผา และเหรียญ แต่การผลิตซ้ำนี้ยังไม่ครอบคลุมไปถึงศิลปะแขนงอื่นๆซึ่งล้วนแต่มีหนึ่งเดียวและไม่สามารถผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักรได้

การแกะไม้(woodcut)เป็นงานศิลปะชนิดแรกที่เป็นการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) จากนั้นมาก็มีการพัฒนาการทางด้านการพิมพ์ จากเทคนิค engraving etching มาถึง lithography จากนั้นการพิมพ์ก็ถูกแทนที่ด้วย ภาพถ่าย(photography)

**ภาพถ่าย(photography)ทำให้มือของมนุษย์ถูกปลดออกจากหน้าที่ในการสร้างศิลปะ-ศิลปินมองผ่านเลนส์เพราะตามองได้เร็วกว่าวาดด้วยมือ-กระบวนการผลิตซ้ำจึงมีความรวดเร็วขึ้นอย่างมหาศาล จากภาพถ่ายพัฒนาการกลายเป็นภาพยนต์(film)ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลกระทบกระเทือนกับศิลปะในรูปแบบเดิม

วิวัฒนาการของการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) มีผลต่อความคิดในเรื่อง The original ซึ่งเป็นต้นรากของความคิดในเรื่อง authenticity

การผลิตซ้ำด้วยมือ ผลงานที่ได้มักถูกเรียกว่าเป็นของปลอมแปลง ซึ่งไม่สามารถเทียบกับ The original ได้

แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)นั้นสามารถ
-นำบางด้านของ The original ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าให้ปรากฎแก่สายตา
-อัดสำเนา(copy) เปลี่ยนบริบทของมันให้ห่างไกลจาก The original

แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)นั้นก็ทำให้เราสูญเสีย Aura หรือความขลังของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ

การผลิตซ้ำนำเอาวัตถุที่ถูกผลิตซ้ำออกมาจากอาณาเขตของจารีตประเพณี การผลิตซ้ำนำเอาความมากมายด้านปริมาณของสำเนามาทดแทนความเป็น unique existence ของงานศิลปะ แต่ในขณะเดียวกันการผลิตซ้ำนั้นก็ส่งผลให้ ผู้ดูและผู้ฟังเข้าถึงผลงานเหล่านั้นในสถานการณ์ของตนเอง

ความเป็นหนึ่งเดียวของงานศิลปะไม่อาจแยกออกจากการดำรงอยู่ของมันในโครงสร้างของจารีตประเพณี
แต่แรกนั้นงานศิลปะในแง่ที่เกี่ยวพันกับสิ่งที่เรียกว่า Aura นั้นแยกไม่ออกจากหน้าที่ของมันในพิธีกรรม

แต่การผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction)ได้ไถ่ถอน ดึงเอางานศิลปะออกจากบทบาทแบบกาฝากซึ่งขึ้นต่อพิธีกรรม และผลแห่งการผลิตซ้ำงานศิลปะได้กลายมาเป็นงานศิลปะที่ถูกออกแบบมาเพื่อการผลิตซ้ำโดยเฉพาะ ทำให้ authenticity หมดความหมาย

คุณค่าของงานศิลปะถูกแบ่งออกเป็นสองคือ ทางcult และ exhibition valueการผลิตซ้ำด้วยเครื่องจักร(mechanical Reproduction) จึงเปิดให้ศิลปะแสดงออกทางด้าน exhibition value

สรุปและจับใจความจาก
The Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction (1935)--Walter Benjamin

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-ExperimentAAtion : AA Projects Review 05/06
-S, M, L, XL--OMA and Rem Koolhaas
-เมด อิน U.S.A.--สุจิตต์ วงษ์เทศ

Tuesday, October 24, 2006

2006-10-24


Pyongyang; A Journey in North Korea
Guy Delisle
ISBN: 1-896597-89-0

"Guy Delisle is a wry 37-year-old French Canadian cartoonist whose work for a French animation studio requires him to oversee production at various Pacific Rim studios on the grim frontiers of free trade. His employer puts him up for months at a time in ‘cold and soulless’ hotel rooms where he suffers the usual maladies of the long-term boarder: cultural and linguistic alienation, boredom, and cravings for Western food and real coffee. Delisle depicts these sojourns into the heart of isolation in [the] brilliant graphic novel, Pyongyang..." –Foreign Affairs


Famously referred to as an "Axis-of-Evil" country, North Korea remains one of the most secretive and mysterious nations in the world today. A series of manmade and natural catastrophes have also left it one of the poorest. When the fortress-like country recently opened the door a crack to foreign investment, cartoonist Guy Delisle found himself in its capital of Pyongyang on a work visa for a French film animation company, becoming one of the few Westerners to witness current conditions in the surreal showcase city.

Armed with a smuggled radio and a copy of 1984, Delisle could only explore Pyongyang and its countryside while chaperoned by his translator and a guide. But among the statues, portraits and propaganda of leaders Kim Il-Sung and his son Kim Jong-Il--the world’s only Communist dynasty--Delisle was able to observe more than was intended of the culture and lives of the few North Koreans he encountered. His astute and wry musings on life in the austere and grim regime form the basis of this remarkable graphic novel. Pyongyang is an informative, personal, and accessible look at an enigmatic country.

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Pyongyang: A Jorrney in North Korea--Guy Delisle

Books read:
-ExperimentAAtion : AA Projects Review 05/06
-เมด อิน U.S.A.--สุจิตต์ วงษ์เทศ

2006-10-23


Scrapbook : Uncollected Works: 1990-2004
Adrian Tomine
ISBN : 1-896597-77-7


The ultimate collection by one of the most recognized talents in graphic novels and includes over a decade of comics and illustrations by the still-under-30 Adrian Tomine, from Pulse to The New Yorker and Esquire, collected together for the first time in one sharply-designed book.

“Tomine is at the forefront of the younger generation of alternative-comics artists.” — Booklist

“Adrian Tomine captures the pathos of young adulthood with vignettes exquisitely rendered in a sharp, comic-noir style.” — Vibe Magazine


Scrapbook is the first comprehensive Adrian Tomine collection. Here you’ll find the complete run of strips which was originally published in Tower Records’ Pulse Magazine which Adrian started when he was only 17, along with comics originally published in Details and a host of other magazines of the past decade. A large section of scrapbook is dedicated to Tomine’s extensive illustration and design work, featuring his best material over the years from virtually every major publication in America including The New Yorker, Details, Esquire, and the late JFK Jr.-edited George. Tomine’s art has also graced popular album covers and posters for bands such as The Eels and Weezer and posters and it’s all included here in this beautifuly packaged book.

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Scrapbook : Uncollected Works: 1990-2004--Adrian Tomine

Book read:
-เมด อิน U.S.A.--สุจิตต์ วงษ์เทศ

Monday, October 23, 2006

2006-10-22


Herzog & De Meuron : Natural History
Edited by Philip Urspung
ISBN : 3-03778-049-5

More than any of their contemporaries, Swiss architects Jacques Herzog and Pierre de Meuron are challenging the boundaries between architecture and art. 'Natural History' explores that challenge, examining how the work of this formidable pair has drawn upon the art of both past and present, and brought architecture into dialogue with the art of our time.

Echoing an encyclopedia, this publication reflects the natural history museum structure of the exhibition which it accompanies, organised by the Canadian Centre for Architecture. Models and projects by Herzog & de Meuron, as well as by other artists, are structured around six thematic portfolios that suggest an evolutionary history of the architects' work: Appropriation & Reconstruction, Transformation & Alienation, Stacking & Compression, Imprints & Moulds, Interlocking Spaces, and Beauty & Atmosphere.

Each section is introduced with a statement from Herzog, and more than 20 artists, scholars, and architects have contributed essays, including Carrie Asman, Georges Didi-Huberman, Kurt W. Forster, Boris Groys, Ulrike Meyer Stump, Peggy Phelan, Thomas Ruff, Rebecca Schneider, Adolf Max Vogt, and Jeff Wall.
This is a new paperback edition.



Jimmy Corrigan : The Smartest Kid on Earth
Chris Ware
ISBN : 0375404538

Ware's graphically inventive, wonderfully realized novel-in-comics follows the sad fortunes of four generations of phlegmatic, defeated men while touching on themes of abandonment, social isolation and despair within the sweeping depiction of Chicago's urban transformation over the course of a century. Ware uses Chicago's World's Colombian Exposition of 1893, the great world's fair that signaled America's march into 20th-century modernity, as a symbolic anchor to the city's development and to the narrative arc of a melancholic family as haplessly connected as are Chicago's random sprawl of streets and neighborhoods. In 1893, nine-year-old Jimmy Corrigan is abandoned atop a magnificent fair building by his sullen, brutish father ("I just stood there, watching the sky and the people below, waiting for him to return. Of course he never did"). Nearly a century later, another Jimmy CorriganDthe absurdly ineffectual, friendless grandson of that abandoned childDreceives a letter from his own long-absent, feckless father, blithely and inexplicably requesting him to come and visit. Ware's surprisingly touching story recounts their strange and pathetically funny reunion, invoking the emotional legacy of the great-grandfather's original act of desertion while presenting a succession of Corrigan men far more comfortable fantasizing about life than living it. The book is wonderfully illustrated in full color, and Ware's spare, iconic drawing style can render vivid architectural complexity or movingly capture the stark despondency of an unloved child.

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Herzog & De Meuron : Natural History--Edited by Philip Urspung
-Jimmy Corrigan : The Smartest Kid on Earth--Chris Ware

Books read:
-สู่หลังสมัยใหม่ (Introducing Postmodern)--Ziauddin Sardar and Patrick Curry แปลโดย วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-Jimmy Corrigan : The Smartest Kid on Earth--Chris Ware

Sunday, October 22, 2006

2006-10-21


EXPERIMENTAATION
AA Projects Review 05/06
ISBN 978-1-902902-50-0

Produced annually, Projects Review shows something of the spirit and priorities of the Architectural Association – the debates around ideas, the preoccupations of the teaching units, the investigations of new techniques. Each unit in the School, from Foundation to Graduate level, selects the best work produced during the year. In full colour in 2005/06, Projects Review also includes a free DVD for the first time this year. The DVD features student projects, exhibitions, lectures, symposia and publications with over 4000 images and 80 video presentations. Both book and DVD are a cumulative record of the life of the Architectural Association during the past year.


+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-ExperimentAAtion : AA Projects Review 05/06
-สู่หลังสมัยใหม่ (Introducing Postmodern)--Ziauddin Sardar and Patrick Curry แปลโดย วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หลัง-สตรีนิยม (Introducing Post-Feminism)--Sophia Phoca and Rebecca Wright แปลโดย ไชยันต์ ไชยพร

Books read:
-Pluto: ตามล่านักฆ่าแอนดรอยด์ เล่ม 2--Urasawa Naoki+Tezuka Osamu
-สู่หลังสมัยใหม่ (Introducing Postmodern)--Ziauddin Sardar and Patrick Curry แปลโดย วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-ExperimentAAtion : AA Projects Review 05/06

2006-10-20

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Pluto: ตามล่านักฆ่าแอนดรอยด์ เล่ม 1--Urasawa Naoki+Tezuka Osamu
-Pluto: ตามล่านักฆ่าแอนดรอยด์ เล่ม 2--Urasawa Naoki+Tezuka Osamu

Books read:
-ทฤษฎีไร้ระเบียบ(Introducing Chaos)--Ziauddin Sardar แปลโดย เมธาวี เลิศรัตนา
-Pluto: ตามล่านักฆ่าแอนดรอยด์ เล่ม 1--Urasawa Naoki+Tezuka Osamu

Friday, October 20, 2006

คำระหว่างอากาศ

2006-10-19




ทะเลที่อยู่ทางด้านหน้า กำลังกระเพื่อมตามแรงลมอย่างเป็นจังหวะ ฝนกระหน่ำลงเป็นสาย--ระยะห่างระหว่างเม็ด ดูกระชั้นแทบจะเรียงติดเป็นเส้นเป็นสายเดียวกัน บรรยากาศโดยรอบในตอนนี้ล้วนแล้วแต่มีสีเทาเป็นส่วนประกอบ--ทะเล ท้องฟ้า รวมถึงทัศนียภาพที่อยู่ไกลออกไป ถูกสายฝนทำให้การรับรู้ภาพของเราพร่ามัว

แน่นอน--องค์ประกอบทั้งหมดย่อมทำให้ภาพที่อยู่เบื้องหน้าในตอนนี้นั้น--ดูหม่นเศร้า

ผมกับเธอ กำลังยืนมองท้องทะเล ชายหาดในวินาทีนี้ปราศจากผู้คน สายฝนร่วงหล่นลงทะเลอย่างเงียบงัน เม็ดต่อเม็ด ครอบคลุมพื้นที่รอบๆ ตัวของเรา

ยังไงก็ตาม

เม็ดฝนที่หล่นลงเป็นสาย ก็ไม่สามารถห่มคลุมความเวิ้งว้าง ว่างเปล่าที่ปกคลุมทั่วท้องทะเลในตอนนี้

ความเวิ้งว้าง ว่างเปล่า ที่ทำให้มนุษย์อย่างเรา--ดูกระจ้อยร่อย

ความเวิ้งว้างแบบนี้แหละ ที่มีประสิทธิภาพทำให้ความทุกข์ที่สุมอยู่ในอก เป็นแค่เพียงผงฝุ่นผงธุลี เพียงเทียบมันกับความเวิ้งว้างว่างเปล่าของทะเลบนโลกใบนี้--ที่มีความเศร้าเคล้ากัน

ความเศร้าที่แอบซ่อนตัวอยู่ในช่องว่างของอากาศระหว่างสายฝน

ความเศร้าและความทุกข์ที่กำลังไหลเวียนอยู่รอบๆ กาย

แน่นอน

มันเป็นมวลสารที่มองไม่เห็น ซึ่งกำลังไหลเวียนอยู่รอบๆ โลกของเรา

ไม่ว่าโลกภายนอกนั้นจะหนาวเหน็บ เปียกแฉะ ไปด้วยสายฝนที่พร่างพรมอยู่ในอากาศ--สักเพียงไหน

หรือแม้แต่ความเศร้า ความทุกข์ นั้นจะเหนอะหนะดวงใจของเรา--สักเท่าใด

ที่มือขวาของผมในตอนนี้กำลังอุ่น อุ่นด้วยอุณหภูมิจากร่างกายและจิตใจของมนุษย์

เธอ--มนุษย์คนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญใดๆ กับคนส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกใบนี้ ที่มือซ้ายของเธอกำลังกำด้ามร่มคันหนึ่ง

และในตอนนี้

มันกำลังอุ่น อุ่นด้วยอุณหภูมิจากมือและหัวใจของผู้ชายคนหนึ่ง

ผู้ชายซึ่งตอนนี้กำลังยืนอยู่เคียงข้างเธอ

ในวินาทีนี้ ใบหน้าของผมและเธอเปียกปอนไปด้วยน้ำฝน ร่างกายของเราเปียกปอนไปด้วยน้ำฝน เนื่องด้วยศักยภาพของร่มไม่อาจทานทนต่อศักยภาพของลมและฝน ที่กำลังห่มคลุมความหนาวเย็นยะเยือกไว้ถ้วนทั่วร่างกายของเรา และบางส่วนของท้องทะเลกว้างทางด้านหน้า

ไม่เคยมีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ

ร่มที่อยู่ในมือ ตัวผม รวมถึงเธอ ล้วนแล้วแต่มีข้อบกพร่อง มีด้านที่อ่อนแอ และมีด้านที่เปราะบาง

เปรียบเสมือน จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นภาพใหญ่ของโลกใบนี้ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้มันจึงกลายเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่บอกไม่ได้ว่าแท้จริงนั้น มันเป็นส่วนเสี้ยวของภาพใดกัน

แต่ถึงกระนั้น

เราทั้งสองก็ยังยืนอยู่อย่างแน่นิ่งไม่หวั่นไหวต่อบรรยากาศหนาวยะเยือกที่อบอวลผสมผสานกับมวลสารของความทุกข์รอบๆ ตัว ดั่งงานประติมากรรมที่ถูกสลักเสลาขึ้นจากกาลเวลา--เนิบนาบ เชื่องช้า และหม่นเศร้า

มีบางสิ่งกำลังเคลื่อนผ่านเราไปอย่างช้าๆ วินาทีต่อวินาที

หนึ่งลมหายใจเข้ากับหนึ่งลมหายใจออก

หนึ่งห้วงของสายลมจากท้องทะเล

กับหนึ่งเสียงคลื่นกระทบฝั่ง

…..

หนึ่งเสียงเต้นของหัวใจผู้ชาย--คนหนึ่ง

กับหนึ่งเสียงเต้นในหัวใจของผู้หญิง--อีกคน

…..

ในยามที่ร่มไม่อาจทำหน้าที่กันฝนได้อย่างสมบูรณ์นั้น ยังควรค่าแก่การที่จะเรียกมันว่า "ร่ม" อีกหรือไม่?

ในยามที่ชีวิตมนุษย์ ไม่สามารถขับเคลื่อนลมหายใจไปตามชีวิตในอุดมคติ--ที่ดีงามและสมบูรณ์แบบได้ มนุษย์ยังควรค่าแก่การที่ถูกเรียกว่า "มนุษย์" อีกหรือเปล่า?

ในบางวินาที ในบางขณะ ในบางจังหวะของชีวิต

ทุกคำถามที่มีอยู่บนโลกอาจจะเป็นเพียงแค่ถ้อยคำเปลืองโลก--ไร้ซึ่งความหมายใดๆ

…..

เหมือนดังเช่นตอนนี้ ที่สายฝนกำลังโปรยหล่นเป็นสายลงบนท้องทะเลที่อยู่เบื้องหน้าอย่างเงียบงัน และโลกรอบๆ กายก็บรรจุความหนาวเย็นของอากาศเอาไว้เต็มปรี่

สำหรับผมนั้น

โลกในขณะนี้ เป็นโลกที่ไม่ต้องใช้ถ้อยคำใดๆ มาอธิบาย เป็นโลกที่ปราศจากความหมาย--โลกที่เราไม่ต้องเสียเวลามานั่งตีความ

คลื่นที่อยู่ทางด้านหน้ายังคงกระทบฝั่งอย่างเป็นจังหวะ สอดประสานกับเสียงจากลมหายใจเข้าออก เหมือนดนตรีที่มีห้วงทำนองหนืดเนือย

วินาทีนี้เอง

ผมค่อยๆ บีบมืออุ่นของเธอ--มนุษย์ที่กำลังดำรงอยู่บนโลกใบนี้ เธอเป็นสิ่งเดียวในขณะนี้ ที่สามารถใช้ "คำ" นิยามการมีตัวตน และตอนนี้เธอกำลังยืนกินพื้นที่ว่างอยู่บนโลก ในระยะที่ใกล้ตัวผมมากที่สุด

ทีละนิด อย่างช้าๆ ช้าๆ

เธอหันมามองผม แล้วความสุขก็เล็ดลอดออกมาจากรอยยิ้มนั้น เคลื่อนที่ปะปนกับความทุกข์ที่กำลังรายล้อมอยู่ในบรรยากาศ

ในวินาทีนี้เองเช่นกัน ผมโน้มตัวลงกระซิบที่ข้างหูเธออย่างแผ่วเบา

ระลอกของคลื่นถ้อยคำทยอยออกจากปาก ผ่านบรรยากาศของโลก เข้าไปที่หู จากหูชั้นนอกสู่หูชั้นกลาง จากหูชั้นกลาง สู่หูชั้นใน แล้วเคลื่อนที่ไปที่สมอง แปลความสั่นสะเทือนของถ้อยคำเหล่านั้น ให้มี 'ความหมาย'

แล้ว 'ความหมาย' ก็สั่นไหวกลายเป็นระลอกคลื่นความรู้สึก กระเพื่อมต่อไปที่ปลายทางสุดท้าย--หัวใจ ที่ซึ่งทุกความหมาย ทุกเหตุผล ทุกตรรกกะ ที่มีอยู่บนโลกนั้น--หยุดสั่นไหว

ผมไม่แน่ใจว่าความเศร้าและความทุกข์ที่อยู่รอบตัวในตอนนี้จะปนเปื้อนไปกับถ้อยคำเหล่านั้น มากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่ผมมั่นใจมากที่สุดในตอนนี้ก็คือ ความสั่นสะเทือนของระลอกคลื่นของถ้อยคำเหล่านั้น ไม่สามารถทำให้โลกที่อยู่ภายนอกนั้นสั่นไหวได้เลย--ไม่เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว

เมื่อคลื่นถ้อยคำเหล่านั้นเริ่มอ่อนแรงกระเพื่อมกลายเป็นเนื้อเดียวกับบรรยากาศของโลกที่อยู่ภายนอก

ร่ม--คันนั้น--ก็ถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากมือ ไปตามแรงของลม

หมุนและลอยคว้างอยู่กลางอากาศของทะเลว้างด้านหน้า กลายเป็นจุดเล็กๆ ในเฟรมผ้าใบผืนใหญ่ที่เรียกว่า 'โลก' ก่อนที่จะหายลับไปกับตา

วินาทีนี้ เมื่อไม่มีใครสามารถรับรู้การมีอยู่ในโลก คำถามเรื่องควรค่าต่อการเป็น 'ร่ม' หรือไม่นั้น จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ

เมื่อไม่มีอยู่ ก็ไม่ต้องถูกใครตั้งคำถาม

เมื่อไม่มีคำถาม ก็ไม่ต้องใช้ความคิด
เมื่อปราศจากความคิด ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ถ้อยคำ
เมื่อปราศจากถ้อยคำ ความหมายใดๆ บนโลกเล่า
จะมีภาชนะบรรจุ

แน่นอน เม็ดฝนย่อมปฎิบัติตามหน้าที่ตามธรรมชาติของมันได้อย่างสมบูรณ์--ยอดเยี่ยม ไร้ที่ติ

เมื่อปราศจากร่ม--คันนั้น ที่ลอยหายวับไปในทะเลกว้างทางด้านหน้า ร่างกายของเราย่อมเปียกปอนและฉ่ำชื้นไปด้วยฝน

ในวินาทีที่แสนจะหนาวเย็นและมวลอากาศรอบตัวรายล้อมไปด้วยความเว้ิงว้าง กว้างใหญ่ เหมือนเช่นตอนนี้--เรายังคงยืนกุมมือกันเอาไว้อย่างแนบแน่น

และไม่มีคนบนโลกนี้สามารถล่วงรู้ได้ว่า

ในวินาทีที่ผ่านมานั้น

ถ้อยคำใดกันหนอที่อยู่ในอากาศ--ระหว่างเรา

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์--พุทธทาส
-ตั้มกับญี่ปุ่น--วืศุทธิ์ พรนิมิตร
-นอนใต้ละอองหนาว--ปราบดา หยุ่น
-อเมริกากำเนิดอดัม--เคิร์ต วอนเนกัต(Kurt Vonnegut) แปลโดย วิมล กุณราชา

Books read:
-ทฤษฎีไร้ระเบียบ(Introducing Chaos)--Ziauddin Sardar แปลโดย เมธาวี เลิศรัตนา
-อเมริกากำเนิดอดัม--เคิร์ต วอนเนกัต(Kurt Vonnegut) แปลโดย วิมล กุณราชา

Thursday, October 19, 2006

about studio/ about café

About Place/ About Non-Place
2006-10-18

“Space is set of experiential dimensions that encompasses a set of objects and events, and in which it is possible to move about. Not necessarily preexisting or durable. Place is location invested with meaning, or affording identification, appropriation, or history.”


สถานที่ กับ บริบท (Place VS. Context)
ผิวโลก, แผ่นดิน, พื้นที่ ก็เหมือนสรรพสิ่งในธรรมชาติ ซึ่งดำรง อยู่โดยตัวมันเองก็จริง แต่ไร้ความหมายในตัวเอง แต่จะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อมนุษย์ในแง่ใดแง่หนึ่งขึ้นมานั้น ย่อมขึ้นอยู่ที่ว่ามนุษย์กำหนดหรือวางความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งเหล่านั้นไว้อย่างไร หรือ ว่าสิ่งนั้นสังคมได้กำหนดความรู้ นิยาม ชื่อ คำ หรือธรรมเนียมต่างๆ ให้มันอย่างไร

ร้านอะเบาท์สตูดิโอ/อะเบาท์คาเฟ่(about studio/about café) นั้นโดยตำแหน่งของมันบนพื้นโลก ตั้งอยู่ที่ 402- 408 ถนนไมตรีจิตต์ ป้อมปราบ กรุงเทพฯ 10100 ประเทศไทย แน่นอนสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยไปที่นั่น ความรู้ในเรื่องที่ตำแหน่งที่ตั้งของมันดูเหมือนจะไร้ประโยชน์ในการกำหนดลักษณะของพื้นที่แห่งนี้ แต่ความทรงจำของคุณนั้นพาคุณไปยังสถานที่ที่อยู่รอบๆที่นั่นได้ ที่ซึ่งคุณเคยมีประสบการณ์ร่วมในอดีต ความทรงจำจึงพาคุณเดินทางไปรอบๆ ความทรงจำนั้นไม่จำเป็นต้องมีลำดับเรื่องราวตามเวลาที่เป็นเส้นตรงแต่อย่างไร ความทรงจำสามารถที่จะนำเอาเรื่องราวและเหตุการณ์ที่มีประสบการณ์ในอดีตมารวมไว้ในที่เดียวกัน ยิ่งพยายามนึกถึงตำแหน่งของมันมากขึ้นเท่าไร ความทรงจำยิ่งจะทำให้สิ่งที่อยู่รอบๆที่นั่นชัดมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อคุณนึกพยามนึกถึงร้านแห่งนี้ คุณอาจจะได้ภาพของหัวลำโพง, ประตูจีน, น้ำพุที่เคยนั่งเล่นที่วงเวียน22 กรกฏาคม, ร้านก๋วยเตี๋ยวคั่วเจ้าประจำที่เคยกิน แน่นอนว่าประสบการณ์ที่มีต่อเหตุการณ์และเวลาของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้นต่างกัน ทำให้ภาพของความทรงจำที่เกิดหรือนึกถึงเรื่องราวในสถานที่นั้นๆ ย่อมแตกต่างกัน ซึ่งในความทรงจำของคนอื่นๆ อาจจะต่างจากเรื่องราวที่ผมกล่าวไปในตอนต้น

แต่ในบางย่านบางสถานที่นั้น พื้นที่/สถานที่แห่งนั้นอาจสร้างความทรงจำร่วมได้(collective memory) คือ เป็นความทรงจำที่ทุกคนมีร่วมกัน ซึ่งความทรงจำชนิดนี้อาจจะเกิดจากสัณฐานหรือลักษณะเฉพาะบางอย่างของสถานที่นั้น ที่ทุกคนสามารถรับรู้และสึกได้ร่วมกัน จนมันกลายเป็นลักษณะเฉพาะพิเศษของย่าน/สถานที่นั้นๆ ที่เราเรียกว่า “sense of place”

ถ้าเราลองย้อนกลับมามองที่ตั้งของร้านอะเบาท์สตูดิโอ/อะเบาท์คาเฟ่(about studio/about café) อีกครั้ง จะเห็นว่าตำแหน่งและที่ตั้งของร้าน ตั้งอยู่ในย่านที่มีความเก่าแก่ย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ลักษณะของอาคารบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นตึกแถว ความสูง 2 ชั้น ซึ่งบริเวณพื้นที่ชั้นล่างส่วนใหญ่นั้นใช้ในการทำมาค้าขาย และมีพื้นที่บางส่วนเป็นท่ารถสำหรับขนถ่ายสินค้า ทางรถบรรทุก, บางส่วนที่เป็นโรงแรมเกรดบี และ อาบ อบ นวด บางส่วนเป็นร้านขายอะไหล่รถยนต์ และร้านทำป้ายต่างๆ โดยมีถนนไมตรีจิตต์ เป็นตัวเชื่อมพื้นแถวนี้กับพื้นที่ในบริเวณวงเวียน 22 กรกฎาคม เข้าด้วยกัน ในเรื่องของสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนบริเวณนี้ ความหนาแน่นของผู้คนก็ไม่ได้มากมายอะไรเท่าไร และหากลองสังเกตดูผู้คนที่อยู่อาศัยบริเวณนี้ไม่ค่อยเร่งรีบ มีลักษณะที่เรียบๆเนือยๆ สบายๆ แต่บริเวณตึกแถวที่อยู่ในซอยย่อยๆต่างๆนั้น มีความเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่างๆมากกว่าพื้นที่ๆอยู่ติดกับถนนไมตรีจิต ซึ่งลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมานั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะพิเศษที่เป็นอัตลักษณ์(identity)ของย่านหรือของพื้นที่บริเวณนี้

และเนื่องจากสภาวะของความเป็นสถานที่(place)ใดๆ ก็ตามเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงอยู่ของมันในพื้นที่และเวลา ดังนั้นร้านอะเบาท์สตูดิโอ/อะเบาท์คาเฟ่(about studio/about café) ตึกแถวที่มีลักษณะสีชมพูอ่อนที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมพื้นที่ระหว่างถนนสองสาย ก็ปรากฎตัวขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งถ้าใครผ่านไปผ่านมาในบริเวณนั้นก็ย่อมที่จะสามารถพบเห็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ขอบเขตและตำแหน่งที่ตั้งของสถาปัตยกรรมชิ้นนี้จึงมีความชัดเจนในแง่ของความรู้สึกรับรู้ในเรื่องของการมีอยู่ในมิติที่เป็นกายภาพ อีกทั้งรูปแบบของของสถาปัตยกรรมที่ปรากฎนั้นก็ดูเหมือนว่าจะสอดประสานกลมกลืนไปกับบริบทที่แวดล้อม

แต่ในบางแง่มุมการดำรงอยู่ของสถานที่แห่งนี้ก็มีความคลุมเครือไม่ชัดเจนในเรื่องความหมายของพื้นที่ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นความจงใจของเจ้าของร้านกาแฟแห่งนี้ สังเกตุได้จากชื่อร้านคือ ‘อะเบาท์สตูดิโอ/อะเบาท์คาเฟ่’ คล้ายๆว่าไม่ยอมบ่งชัดเจนว่าเป็นจะเป็นอะไรกันแน่ รอบๆราวๆว่าจะเป็นร้านขายกาแฟ แต่ขณะเดียวกันก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสตูดิโอที่ไว้จัดแสดงงานศิลปะ ดังนั้นสิ่งที่อยู่รอบๆร้านกาแฟแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวของการแสดงงานศิลปะ ซึ่งในขณะเดียวกันสิ่งที่อยู่รอบๆงานศิลปะที่จัดแสดงนั้นอาจกลายเป็นบรรยากาศของร้านกาแฟ เมื่อแกนกลางความหมายของพื้นที่เกิดความคลุมเครือเปลี่ยนขั้วกันไปมาเหมือนชื่อร้าน ทำให้ความหมายที่ไหลเวียนอยู่ภายนอกไม่สามารถระบุแกนกลางได้ชัดเจน ซึ่งพื้นที่ในลักษณะนี้ ยากที่มนุษย์คนไหนจะเข้าไปสร้างความรู้สึกผูกพันและเปลี่ยนความหมายของพื้นที่นี้ให้กลายเป็น ‘สถานที่’(place)ได้

ในขณะที่ลักษณะของเหตุการณ์และกิจกรรมที่เกิดจากพื้นที่ภายในไม่เอื้อให้เกิดคุณลักษณะความเป็น’สถานที่’(place) ของพื้นที่นั้น ความเป็น ‘สถานที่’ กลับถูกส่งเข้ามาจากบริบท(Context)ภายนอก เพื่อสร้างความหมายแก่พื้นที่ภายใน เนื่องจากลักษณะพิเศษของความเป็นย่านที่มีลักษณะเฉพาะจากภายนอกโต้ตอบปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ภายในร้าน ผ่านหน้าต่างกระจกขนาดใหญ่ซึ่งวางตัวขนานไปกับถนนทั้งสองข้าง ที่อยู่แวดล้อมอาคาร ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมต่อระหว่างที่ว่างภายในกับที่ว่างภายนอกอาคาร ภาพกิจกรรมหรือวิถีชีวิตผู้คนของผู้คนบริเวณนั้นจะปรากฎขึ้นภายใน

สถานที่ กับ อสถานที่(Place VS. Non-Place)
เมื่อความคลุมเครือของเหตุการณ์และกิจกรรม ซึ่งเกิดจากการนำงานศิลปะซึ่งโดยลักษณะงานนั้นเป็นแบบ “representational art” เข้าไปแทรกในพื้นที่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเราถือว่าเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งในแบบที่เราเรียกว่า “non- representational art” ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความน่าสนใจในการศึกษา เนื่องจาก งานศิลปะแบบจัดวาง(installation art) ที่เขามาติดตั้งในพื้นที่ร้านอะเบาท์สตูดิโอ/อะเบาท์คาเฟ่ ซึ่งโดยทั่วไปลักษณะของงานประเภทนี้จะเปลี่ยนความหมายของพื้นที่ใหม่ กลายเป็นสถานที่ที่ไม่มีจริงในโลก หรือในแผนที่ใดๆ แต่เป็นพื้นที่ที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำกิจกรรมนั้นเป็นการเฉพาะ และลักษณะของพื้นที่ไม่ค่อยผูกพันกับเวลาและวิธีคิดที่แยกอดีต ปัจจุบัน และอนาคตออกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่ตัวมันจะมีระบบเวลาเป็นของตัวเอง ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะเปลี่ยนพื้นที่บริเวณนั้นให้กลายเป็น ‘อสถานที่’(non-place) ขณะเดียวกันลักษณะของพื้นที่ภายในร้านอะเบาท์สตูดิโอ/อะเบาท์คาเฟ่ ก็ไม่ได้มีลักษณะที่เป็นพื้นที่ปิด ทำให้‘บริบท’(context) ส่งความหมายของความเป็น ‘สถานที่’(place) เชื่อมโยงความหมายให้พื้นที่ภายในและภายนอกนั้นสัมพันธ์กัน ทำให้ตัวมันเองก็มีความเป็น ‘สถานที่’(place) อยู่ด้วย

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+

“คล้ายๆเป็นศิลปะ”(Smell like art)

“ได้รสชาดเหมือนอาหารและเครื่องดื่มปรกติ ให้ความรู้สึกเหมือนโต๊ะบิลเลียดและไม้คิวที่เล่นได้จริง เสียงต่างๆก็เหมือนเสียงดนตรีและเสียงของผู้คนที่พูดคุยกัน สถานที่ดูคล้ายเป็นร้านกาแฟและแกลเลอรี่ มันดู…คล้ายๆเป็น… ศิลปะ“

“นิทรรศการเดี่ยวของ สุรสีห์ กุศลวงศ์ ที่ อะเบาท์สตูดิโอ/อะเบาท์คาเฟ่ เป็นการพยายามที่จะทำให้เกิดความคลุมเครือ(เน้นเข้มโดยผู้เขียน—ผู้เขียน)ระหว่าง พื้นที่เฉพาะที่ใช้สำหรับแสดงงานศิลปะ(art site) และพื้นที่ปรกติทั่วไปที่ไม่ได้กำหนดหรือสร้างขึ้นเพื่อใช้แสดงงานศิลปะ(non-art site) โดยที่สุรสีห์ใช้องค์ประกอบแต่ละส่วนของพื้นที่ทั้งหมดมาเป็นส่วนหนึ่งของงาน ตัวบริบทเป็นคำศัพท์สำคัญในการสร้างความหมายของงานจัดวางชุดนี้ : ตัวอาคาร, บทบาทและหน้าที่ต่างๆ, กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสถานที่ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งหมดโดยรวม ดูเผินๆแล้ว งานจัดวางชุดนี้ดูเรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน ชิ้นงานประกอบด้วยโต๊ะ(บิลเลียด) พูล 2 โต๊ะที่ใช้เล่นได้จริงวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ตัวหนึ่งอยู่ชั้นบน อีกตัวหนึ่งอยู่ชั้นล่าง แผ่นพลาสติกหลากสีวางอยู่ปูอยู่บนโต๊ะในร้านกาแฟ, เฟอร์นิเจอที่ทำจากฟูกที่นอนที่มีลักษณะแบบงานประติมากรรม ถูกวางๆตามที่ต่างเพื่อปรโยชน์ใช้สอยสร้างความสบายให้กับผู้ที่เข้ามาในสถานที่, รูปทรงเราขาคณิตที่เขียนเป็นงานแบบนามธรรมบนกำแพงทั้งหมดของชั้นล่างรวมทั้งในห้องน้ำ”

พื้นที่ที่สุรสีห์สื่อสารให้คนดูนั้นเรียบง่ายและแสนที่จะคลุมเครือในความหมาย เขานำสิ่งใกล้ตัวมาสื่อสารและตั้งคำถามกับพื้นที่และคนดูที่เข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่ โดยพยายาม รวมพื้นที่ทางศิลปะ/พื้นที่ทางสังคม เข้าด้วยกัน นอกจากเขาจะใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์แล้วเขายังใช้ความคลุมเครือในพื้นที่เดิมที่มีอยู่เป็นประเด็นหลักในการทำงานชิ้นนี้ของเขา ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าถ้าคนไม่รู้ว่านี่เป็นงานศิลปะงานชิ้นนี้จะกลายเป็น ‘สถานที่’(place) เนื่องจากวัตถุที่เข้ามาติดตั้งนั้นเปลี่ยนแปลงความหมายของพื้นที่เดิมน้อยมาก จุดที่น่าสนใจในพื้นที่แห่งนี้อยู่ที่ให้โอกาสคนดูได้เข้ามามีโอกาสเปลี่ยนความหมายของพื้นที่ตรงนี้ด้วยตนเอง เพียงแต่คุณบอกตัวเองให้ได้ว่านีสิ่งนี้คืองานศิลปะ หรือว่ามัน คล้ายๆว่า….จะเป็นเท่านั้นเพราะมีศิลปินกำลังให้ความหมายว่ามันเป็นอยู่ ในแง่ของความหมายในการเป็น ‘อสถานที่’(non-place) ของพื้นที่นั้นในสถานการณ์นี้นั้ผู้เขียนมีความรู้สึกว่าตราบใดที่มันยังให้ความรู้สึกที่เป็นร้านกาแฟนั้น มันก็ยังเป็น ‘สถานที่’(place) แต่เมื่อพื้นที่ร้านมันเป็นงานศิลปะทั้งหมดถึงเวลานั้นพื้นที่แห่งนี้ก็จะมีสภาพเป็น ‘heterotopia’หรือ ‘อสถานที่’ (non-place) ไปโดยปริยายเนื่องจากสถานที่ที่เราเรียกมันว่า“คล้ายๆเป็นศิลปะ”(Smell like art) จะกลายเป็นพื้นที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ไม่มีสถานที่จริงในโลก หรือในแผนที่(the heterotopia without geographical markers) ดังนั้น “ผู้ที่ดูงานจะถูกกระตุ้นให้ตอบโต้กับ “งาน” และบริบทของชิ้นงานนั้นๆ (ร้านกาแฟ/แกลเลอรี่, โต๊ะพูล/การแทงลูกพูล, โต๊ะพูล/งานศิลปะ) ตัวแปรและการเปลี่ยนแปลงต่างๆของพื้นที่เป็นอย่างไร เมื่อถูกมองอย่างเชื่อมโยงงกับมุมมองและทัศนะคติที่ผู้มองมีต่อสิ่งถูกมอง และถ้าสิ่งที่เป็นเครื่องบ่งชี้ยังคงลักษณะอยู่เช่นเดิม ความหมายของพื้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่” สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่ที่ประสบการณ์ของผู้เข้าชมที่เกิดจากพื้นที่นั้นๆเป็นจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-ทฤษฎีไร้ระเบียบ(Introducing Chaos)--Ziauddin Sardar แปลโดย เมธาวี เลิศรัตนา

Books read:
-

Tuesday, October 17, 2006

Architecture of the Jumping Universe

2006-10-16
สถาปัตยกรรมแห่งจักรวาลก้าวกระโดด
หัวข้อถกเถียง : Complexity Science กำลังเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมอย่างไร

ในปี 1995 ชาร์ล เจนค์ (Charles Jencks) นักวิชาการทางสถาปัตยกรรมเขียนหนังสือ เล่มนี้ขึ้นมาภายหลังงานประชุมสัมนาที่เขาได้จัดร่วมกับ Jeffrey Kipnis ในหัวข้อ Complexity Theory และสถาปัตยกรรม ที่ AA--Architectural Association ใน ประเทศอังกฤษ หนังสือเล่มนี้ (อาจจะ) พูดได้ว่าเป็นถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการถึงอิทธิพลของวิทยาศาสตร์แบบใหม่ที่มีต่อมโนทัศน์ทางสถาปัตยกรรม เหมือนกับที่อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์คลาสสิคของนิวตันนั้นมีผลต่อแนวความคิดของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในยุคอุตสาหกรรม เฟื่องฟูในตอนต้นศตวรรษ

เนื้อภายในหนังสือแบ่งออกเป็น สามภาค โดยภาคแรกเป็นการเปรียบเทียบถึงแนวคิด Simplicity อันเป็นหัวใจสำคัญของ Modernism กับ Complexity ซึ่งเป็นประเด็นหลักของ Post-Modernism ในภาคที่สองนั้น เป็นการอธิบายถึงความเป็นไปได้ที่จะนำเอาแนวคิดและทฤษฎี ตลอดจนวิธีการใน Complexity Science มาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย และภาคสุดท้าย เป็นการแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซึ่ง Charles Jencks เรียกงานสถาปัตยกรรมในแนวทางนี้ว่า Cosmogenic Architecture หรืองานสถาปัตยกรรมที่มีส่วนสัมพันธ์ อ้างอิงและสะท้อนมุมมองของมนุษย์ที่มีต่อจักรวาลและโลกรอบตัว ภายใต้มโนทัศน์ที่เกิดจากวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+

บทนำ : The trap and butterfly

Charles Jencks เริ่มต้นด้วยการอธิบายว่าจักรวาลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด คือจากจุดเริ่มต้นที่เรียกกันว่า Platonic World หรือโลกแห่งแบบของ Plato นั้น (ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Singularity) เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Big Bang ทำให้เกิดพลังงานอย่าง quark หรือ proton ตลอดจนเวลา (time)ขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นการก้าวกระโดดครั้งแรกของจักรวาล ซึ่งถูกเรียกว่ายุคแห่งพลังงาน และเกิดการก้าวกระโดดครั้งที่สองมาสู่ยุคแห่งสสาร เมื่อเริ่มเกิดอะตอม ดวงดาวและดาราจักรต่างๆ เมื่อราวๆสิบเอ็ดพันล้านปีมาแล้ว ไปสู่การก้าวกระโดดครั้งที่สามคือยุคแห่งชีวิต โดยการถือกำเนิดของเซลการแบ่งเพศและความรู้สึก เมื่อสามพันล้านปีก่อน จนมาสู่การก้าวกระโดดครั้งที่สี่ในราวๆหนึ่งแสนปีก่อน เมื่อมีมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นบนโลก (homo sapien ) เริ่มรู้จักการใช้ภาษา ศิลปะและเทคโนโลยี (จนกลายเป็น homo cyborg อย่างในทุกวันนี้ ?) Charles Jencks เรียกยุคหลังสุดนี้ว่า ยุคแห่งสำนึก

ความน่าพิศวงของจักรวาลเริ่มคลี่คลายให้เราได้เห็นในยุคนี้ การเปลี่ยนจากพลังงานซึ่งไม่มีรูป ไปสู่สสารที่จับต้องได้ จากสสารที่จับต้องได้แต่ไร้ชีวิตมาสู่สิ่งมีชีวิต และจากสิ่งมีชีวิตกลายเป็นสิ่งที่มีจิตวิญญาน สำนึกรู้ตัว ถึงกระนั้นก็ตามอาจกล่าวได้ว่าเรารู้จักแต่กระบวนการของมัน แต่เรายังไม่สามารถเข้าใจและอธิบายได้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดการก้าวกระโดดของจักรวาลในแต่ละครั้ง

จักรวาลทัศน์ที่แสดงให้เห็นนี้ Jencks กล่าวว่าเป็นแนวคิดของมนุษย์ที่มีต่อจักรวาลยุคหลังคริสเตียน (Post-Cristian) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหัวใจหลัก ในทัศนะแม่บทแบบใหม่ของยุคหลังสมัยใหม่ (New Post-Modern Paradigm) ซึ่งก็คือ Complexity Science ที่ประกอบไปด้วย ตัวทฤษฎี Complexity เอง ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) ระบบจัดตั้งตนเอง (self-organization system) และพลวัตรที่ไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear dynamic)

สิ่งเหล่านี้ถือเป็น Cosmogenesis ในทัศนะของ Jencks (หรือเรียกได้ว่าเป็น genesis เล่มใหม่ ซึ่งตัว genesis ดั้งเดิมนั้นหมายถึงคัมภีร์ทางคริสตศาสนาในพระบัญญัติเก่าที่ว่าด้วยกำเนิด มนุษย์และโลก) โดยการให้นิยามจักรวาลเสียใหม่ว่าเป็นสิ่งที่ก่อกำเนิด และปรากฏขึ้นมาอย่างทันทีทันใด (Emergent) ตลอดจนเปลี่ยนแปลงไปมาไม่หยุดนิ่ง อันตรงกันข้ามกับมโนทัศน์เดิมในพระคัมภีร์เก่าและแนวคิดแบบนิวตันในวิชาฟิสิกส์

ซึ่งเป็นผลให้หลักการสุนทรียภาพแบบอื่นๆที่แตกต่างจากหลักสุนทรียภาพแบบเดิม ได้ถือโอกาสก่อตัวขึ้นมาจากมโนทัศน์ข้างต้นและส่งผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมในเวลาต่อมา ภาษาของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยจึงมีลักษณะเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้น ตรงกันข้ามกับความเป็นเครื่องจักรในยุคสมัยใหม่ ลักษณะดังกล่าวสะท้อนให้เห็นในการใช้ วิธีบิดหมุน (Twist) การพับ (Fold) ละลอกคลื่น (Undulation) หรือแม้แต่ รูปทรงของผลึก (Crystalline Form) ตลอดจนระนาบต่างๆที่แตกหัก (Fractured Planes) ในการออกแบบเป็นต้น

มุมมองที่เปลี่ยนไปนี้สามารถสังเกตได้ในปัจจุบัน เช่นเครื่องจักรกลมีแนวโน้มที่คล้ายคลึงสิ่งมีชีวิตมากขึ้นมีการวิวัฒนาการไปพร้อมกับมนุษย์หรือล้ำหน้ากว่า อย่างเช่น Cyborg หรือการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ในวงการวิทยาศาสตร์และปรัชญา ในงานเขียนซึ่งส่งอิทธิพลต่อทัศนแม่บทของ Ilya Prigogine, Freeman Dyson, Paul Devies, Murray Gell-Man และกลุ่มนักคิดจาก Santa Fe Institute ซึ่งกลายเป็นหนังสือขายดีในเวลาต่อมา การเผยแพร่แนวคิดดังกล่าวเริ่มจากจุดเล็กๆก่อนแพร่กระจายไปในวงกว้าง คล้ายกับปรากฏการณ์ผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect) ซึ่งเงื่อนไขในปัจจัยเล็กๆน้อยๆสามารถส่งผลกระทบออกไปอย่างกว้างขวางในภายหลัง

การที่ Jencks ใช้คำเปรียบเปรยถึงกับดักและผีเสื้อ ก็เพื่อจะอธิบายถึงมโนทัศน์แบบจักรกลนิยมปะทะกับมโนทัศน์ใหม่ กับดักคือตัวแทนของแนวคิดแบบ Determinism ซึ่งตรงกันข้ามกับ Free Will เป็นตัวแทนของความตายที่ตรงกันข้ามกับชีวิต และเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ตรงกันข้ามกับการออกแบบในแนวทาง Organic ในขณะเดียวกันเราจะพบว่าผีเสื้อคือตัวแทนของความบอบบาง และความงามในยามเมื่อมันกระพือปีก ตลอดจนเสรีภาพ ความพยายามใช้กับดักกับผีเสื้อก็คือลักษณะของแนวคิดในยุคสมัยใหม่นั่นเอง ซึ่งในตอนนั้นกับดักหรือตัวแทนของอารยธรรมแบบเครื่องจักรกลเป็นฝ่ายชนะแต่ก็ได้ทำลายความเป็นผีเสื้อลงไปด้วย

ความคิดที่ว่าจะเข้าใจผีเสื้อโดยการควบคุมเป็นสิ่งที่คล้ายกับความเพียรพยายามเข้าควบคุมธรรมชาติของมนุษย์ แต่สำหรับผีเสื้อแล้วตรรกะไม่สามารถอธิบายได้ ไม่สามารถลดทอน หรือทำให้เรียบง่าย เพราะในวิทยาศาสตร์แบบ Complexity ถือว่าธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดา มีการจัดตั้งตนเอง สร้างสรรค์ และเปลี่ยนรูปเช่นเดียวกับผีเสื้อที่แปลงร่างมาจากดักแด้ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นไม่อาจคาดคะเนได้

เมื่อมาถึงตรงจุดนี้ Jencks จึงใช้คำว่า Form Follows World View หรือรูปทรงเป็นไปตามโลกทัศน์ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า การที่สถาปนิกแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของมนุษย์หรือสะท้อนอุดมคติ ตลอดจนความหมายของยุคสมัยลงไปในงานสถาปัตยกรรมนั้นย่อมยืนอยู่บนโลกทัศน์แบบใดแบบหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เมื่อโลกทัศน์ของมนุษย์เปลี่ยนรูปทรงของงานสถาปัตยกรรมจึงเกิดความเปลี่ยนแปลงไปตามนั้นด้วย

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+

Simplicity and Complexity

ความซับซ้อนนั้นเกิดจากความต้องการที่ตรงกันข้ามกับความเรียบง่ายและความแตกต่างในภาษาทางสถาปัตยกรรม ในแง่นี้ Jencks ต้องการโจมตีสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในแง่ที่พยายามลดทอนสิ่งต่างๆให้ไปสู่ความเรียบง่ายจนเกินไป สถาปัตยกรรมแตกต่างจากศิลปะแขนงอื่นตรงที่มันกินพื้นที่และเวลา ดังนั้นมันจึงมีปัญหาในการเลือกรูปแบบและเนื้อหาเข้ามาเกี่ยวข้อง และประเด็นดังกล่าวสามารถเป็นปรอทวัดสถานภาพของวัฒนธรรมได้ นี่คือการตั้งคำถามถึงอำนาจและขอบเขตของสถาปัตยกรรม ซึ่งไม่ใช่ความคิดในทำนองที่ว่าสถาปนิกนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ อย่างในช่วงศตวรรษที่ 20 ถึงกระนั้นก็ตาม Jencks ยังคิดว่าการออกแบบอาคารหลังหนึ่งนั้นอยู่ในข่ายอำนาจสถาปนิก และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ที่มีอยู่ ด้วยการสะท้อนให้เห็นหรือจินตนาการถึงความเป็นจริงของจักรวาล มนุษย์ไม่ใช่เครื่องวัดสรรพสิ่งอีกต่อไป แต่จักรวาลต่างหากที่เป็นเครื่องวัด

การนำเอาคุณลักษณะของจักรวาลเข้ามาร่วมในภาษาในการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เพราะโดยพื้นฐานแล้วจักรวาลมีลักษณะเปิด มีพลวัตรอย่างน่าประหลาดใจ และไม่สงบนิ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เคยถูกปฏิเสธไปในยุคสมัยใหม่ จนกระทั่ง Complexity Science กลับไปค้นพบมันอีกครั้ง โดยแท้จริงแล้วการก้าวกระโดดแต่ละครั้งของจักรวาลเกิดขึ้นอย่างคาดเดาไม่ได้ และนั่นจึงทำให้เกิดสิ่งพิเศษหรือบังเกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาใหม่ (อย่างเช่นการเปลี่ยนจากพลังงานเป็นสสาร) ในระหว่างช่องว่างของการก้าวความเป็นไปได้ที่เปิดกว้างทำให้เกิดการสร้างสรรค์ และการจัดระเบียบตนเองขึ้นมาใหม่

ในระดับเมืองก็ประสบปัญหาเช่นกันเพราะตัวเมืองเองก็คือปัญหาการจัดองค์กรที่ซับซ้อน ไม่ใช่ปัญหาการจัดโซนตามหน้าที่การใช้งาน หรือแบ่งเป็นห้าส่วน (ส่วนอยู่อาศัย, ทำงาน, ทางสัญจร, พักผ่อน และส่วนของรัฐ) อย่างที่เมืองในยุคสมัยใหม่เป็น ด้วยเหตุนี้ Complexity Science จึงมีส่วนสำคัญในการจัดการความซับซ้อนเหล่านี้โดยไม่ลดทอนมันลงมา ในที่นี้ Jencks แนะนำให้เปลี่ยนทัศนคติแบบนาฬิกาไปเป็นเมฆ ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิวัติทางความคิดแบบหนึ่งจากสุนทรียภาพแบบเครื่องจักรที่เป็นระเบียบ แน่นอน ไปสู่สุนทรียภาพแบบธรรมชาติที่ไร้รูปลักษณ์อย่างชัดเจน มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างไม่อาจคาดเดา

โดยแท้ที่จริง ความเป็น Complexity เองนั้นไม่ใช่ความไร้ระเบียบอย่างสิ้นเชิงแต่หมายถึงขอบของความไร้ระเบียบ (edge of chaos) ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ระหว่างความมีระเบียบและไร้ระเบียบนั่นเอง

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+

In which language shall we build?

Self-similarity(fractals) and Strange attractors
อย่างที่ได้เกริ่นนำไปในส่วนแรก ในเรื่องโลกทัศน์ใหม่ของเราในเรื่องความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์สมัยใหม่(new scientific paradigm) ทำให้เราเริ่มเห็นข้อจำกัดของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่(modern architectecture)ที่พยายามลดทอนทุกสิ่งสู่ความเรียบง่าย ซึ่งทำให้มองข้ามความจำเป็นในการที่จะสร้างงานสถาปัตยกรรมซึ่งตอบรับความสลับซับซ้อนที่มีอยู่จริงในชีวิตของเรา ซึ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า “แล้วงานสถาปัตยกรรมแบบไหนที่สามารถตอบรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้?” ซึ่ง Charles Jencks ได้นำเสนอภาษาสถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า “Emergent languages” ซึ่งตัวเขาเองได้แรงบันดาลใจมาจาก Complexity and Chaos theories ในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

หนึ่งใน “Emergent languages” ที่ Charles Jencks ได้นำเสนอก็คือ ความคิดในเรื่อง ‘fractals’ ซึ่งสามารถพบเห็นทั่วไปในธรรมชาติ คือการซ้ำกันของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นจะคล้ายกับสิ่งเริ่มต้น(similitude)ซึ่งการซ้ำกันของมันจะไม่เหมือนกับสิ่งที่เป็นต้นแบบ ยกตัวอย่างเช่น ก้อนเมฆ ใบไม้ และเส้นฝั่งทะเล ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้ก้อนเมฆจะดูคล้ายกันแต่จะไม่มีก้อนเมฆก้อนไหนเลยที่มีลักษณที่เหมือนกันทุกประการ

เพื่อให้เราได้มองเห็นภาพชัดเจน Charles Jencks ได้ยกตัวอย่างงานออกแบบของ Bruce Goff คือ ‘Price House’ ซึ่งรูปแบบที่เกิดขึ้นของรูปร่างบ้านหลังนี้ เป็นการ Self-similar รูปทรงเรขาคณิต สามเหลี่ยมและหกเหลี่ยม ทั้งในระดับโครงสร้างของอาคารจนถึงรายละเอียดการตกแต่งภายในของอาคาร โดยใชัมุม 60 องศา เป็นจุดอ้างอิงเพื่อเพิ่ม(multiplication) และ แบ่งย่อย(subdivision) องค์ประกอบต่างๆในอาคารไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปทรง(form) และวัสดุ(materials)ต่างๆที่ใช้

Nonlinearity
ในวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์เก่า(newton Paradigm)นั้น มีมุมมองต่อจักรวาลในลักษณะที่เราเรียกว่า‘Linear mecchanics’ (straight-line determinism) คือ ในวิทยาศาสตร์แบบนิวตันนี้ มองพัฒนาการของจักรวาลของในลักษณะที่เป็นเชิงเส้นตรงและมีพัฒนาการในลักษณะสม่ำเสมอและแน่นอน ซึ่งทำให้นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์สามารถคาดการณ์สิ่งต่างๆได้ล่วงหน้า และสามารถอธิบายปรากฏการณ์รวมทั้งจับสาระสำคัญในรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในจักรวาลได้ ซึ่งวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่นั้น (new scientific paradigm) มีสมมติฐานใหม่ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิม คือเชื่อว่าวิวัตน์นาการของจักรวาลหรือลักษณะปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น มีลักณะที่เป็น ‘Nonlinearity’ คือเป็นการพัตนาแบบที่ไม่เป็นเส้นตรงและไม่มีความต่อเนื่องกัน ซึ่ง Charles Jencks เชื่อว่าถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริง งานออแบบสถาปัตยกรรมก็น่าที่จะต้องสะท้อนความจริงใหม่นี้

An Architecture of waves and twists
ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปทรงเป็นคลื่น(undulating form)? บางส่วนของคำตอบเราอาจค้นพบได้ในการเคลื่อนไหวเป็นคลื่นในลักษณะที่เป็น Nonlinearity ซึ่งเป็นส่วนสำคัญและปรากฎอยู่ทุกหนทุกแห่งในธรรมชาติของสรรพสิ่งในระดับพื้นฐานในทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์(quantum physics) ซึ่งเชื่อว่าในส่วนประกอบย่อยของสรรพสิ่งตัวมันเองเป็นทั้งคลื่น(wave)และอนุภาค(particle) ซึ่งของทุกสิ่งๆในโลกรวมทั้งมนุษย์เราก็ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยเหล่านี้ทั้งสิ้น ซึ่งการเปลี่ยนกลับไปกับมาระหว่างความเป็นคลื่นและอนุภาคนั้นเป็นไปด้วยกความกลมกลืนและต่อเนื่องกัน ซึ่ง Charles Jencks คิดว่าในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมเราควรออกถึงแนวคิดเหล่านี้ เพื่อให้เราเห็นภาพเขาได้ยกตัวงานงานของเขาชิ้นหนึ่งในสก็อตแลนด์ คือ Soliton Gates ซึ่งเขาใช้แนวความคิดในเรื่อง waves and twists ในการออกแบบ


Folding – Catastrophe and Continuity
ใน Catastrophe Theory ของ Rene Thom ได้พูดถึงช่วงเปลี่ยนผ่าน(phase transitions) ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ทั่วๆไปตามธรรมชาติ คือ ช่วงที่น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งที่อุณหภูมิศูนย์องศา หรือ ช่วงที่น้ำร้อนจะกลายเป็นไอในอุณหภูมิหนึ่งร้อยองศา ซึ่งช่วงเปลี่ยนผ่านนั้นจะเกิดขึ้นตอนที่ระบบใดก็ตามนั้นถึงจุดที่ห่างไกลจากจุดสมดุล(far from equilibrium) โดยการเพิ่มความร้อน พลังงาน หรือ ข้อมูลบางอย่างเข้าไปในระบบ ทำให้ระบบไม่สามารถพัฒนาเป็นเส้นตรง เกิดการกวัดแกว่งและไร้ระเบียบ จนมันเองขยายตัวจนพัฒนาไปสู่ระบบที่เป็นพลวัตใหม่ ซึ่งต่างจากระบบที่หยุดนิ่งในตอนแรก ซึ่งในงานสถาปัตยกรรม เราสามารถแสดงถึงจุดเปลี่ยนผ่าน(phase transitions) ได้โดยการพับ(fold)และ บิด(twist) เพื่อที่จะผสานองค์ประกอบต่างๆของสถาปัตยกรรมเข้าหากัน

Charles Jencks ได้พยายามอธิบายการ ‘Fold’ ในงานสถาปัตยกรรม โดยยกตัวอย่างงานของ Zaha Hadid ที่ชนะการประกวดแบบในโครงการ The Cardiff Bay House ในประเทศเวลส์ ซึ่งในโครงการนี้ส่วนประกอบต่างๆที่เป็นส่วน service นั้นอยู่ล้อมรอบ ส่วนที่เป็น auditorium ที่อยู่ภายใน โดยมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมซึ่งคลุมถนนด้านหน้าโครงการทำให้เกิดพลาซ่าซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ(semi-public)เกิดขึ้นภายในและเปิดพื้นที่เหล่านี้ออกไปสู่ทะเล ซึ่งตัวอาคารจะบิดออกจากทิศทางเดิมของอาคาร ทำให้เกิดลักษณะของพื้นที่ ที่เป็นลักษณะ Semi-protect และเป็น Open landscape ที่สมบูรณ์ และพยายามสร้างความเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กันของพื้นที่ในโครงการ ทั้งในระนาบของผังพื้นและรูปตัดของ auditorium ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยงที่เป็นเอกภาพ ซึ่งความแตกต่างของพื้นที่ในโครงการถูกห้อมล้อมด้วยความต่อเนื่อง


Sudden Emergence – Phase Transition
The Sudden emergence นั้นเป็นการปรากฏขึ้นขององค์กรใหม่ ซึ่งไม่สามารถทำนายหรือกำหนดคาดการณ์ใดๆได้ล่วงหน้าซี่งปรากฏการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งในทฤษฎี Complexity Theory ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถอธิบายถึงพลังและความอัศจรรย์ที่อยู่เบื้องหลังมันได้ ดังที่เราพูดถึงจุดเปลี่ยนผ่าน(phase transitions) Sudden emergence คือ ช่วงเวลาระหว่างของการก้าวกระโดดจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง ซึ่ง Charles Jencks ได้ยกตัวอย่างเพื่ออธิบาย เช่น ช่วงเปลี่ยนผ่านของน้ำแข็ง/น้ำ/ไอน้ำ หรือ การเปลี่ยนผ่านระหว่างยุคโกธิคไปยังยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และการเปลี่ยนแปลงสปีชีส์ในยุคดึกดำบรรพ์จาก Triassic เป็น Jurasic เป็นต้น ซึ่งการก้าวกระโดดอย่างฉับพลันนั้นพบเห็นได้ทั่วไปในทุกๆส่วนที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับระบบการจัดองค์กรตัวเองของธรรมชาติ(Self-Oganization) ซึ่งแนวความคิดนี้สามารถนำมาอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดในสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นหรือ การพัฒนาของประวัติศาสตร์ในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก
ในวงการสถาปัตยกรรมนั้น Daniel Libeskind พยายามสร้างสิ่งที่เขาเรียกว่า ‘emergent social order’ ในงานสถาปัตยกรรมในโครงการต่อเติม Jewish Museum เข้ากับ German Museum ซึ่งเป็นอาคารในกรุงเบอลิน ซึ่งโครงการนี้ออกแบบโดยการใช้ข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นในอดีตคือการทำลายล้างและเนรเทศชาวยิวจากกรุงเบอลิน รูปแบบของงานสถาปัตยกรรม เป็นลักษณะ dual-national building และมีลักษณะของโครงสร้างที่เคลื่อนไหวไปมา คือถ้ามองจากผังอาคารและรายละเอียดต่างๆจะเห็นว่ามีลักษณะซิกแซกไปมา มีรูปทรงคล้ายกระดูก และเกิดการกระโดดไปมาของทิศทางต่างๆภายในอาคาร ซึ่งองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้สามารถสะท้อนภาพของแนวความคิดในเรื่อง Complexity Theory ได้อย่างชัดเจน

Oganizational Depth
ในความคิดของ Charles Jencks งานสถาปัตยกรรมควรสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรม(cultural pluralism) ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยยกตัวอย่างงานออกแบบ Frank Gehry ในการออกแบบอาคารสำนักงาน Chiat/Day/Mojo Office ที่เมือง Vanice ใน California ซึ่งมีแนวความคิดในการรวมความขัดแย้งต่างๆในภาษาของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ เช่น high/low, figulative/industrial, classical/pop นำมาจับวางคู่กันเป็นองค์ประกอบของอาคาร การทำให้เกิดความลึกล้ำของความของหมาย ในแง่ที่สามารถรองรับความหลากหลายของกลุ่มคนในสังคมในการตีความความหมายของอาคาร ซึ่งด้านหน้าของอาคารประกอบด้วยที่จอดรถและกล้องส่องทางไกลซึ่งคือจุดเด่นที่เป็น pop-logo เพื่อโฆษณาความเป็นองค์กร/บริษัทของอาคาร และทางด้านซ้ายรูปทรงอาคารที่จินตนการไปถึงเรือที่ทันสมัย เพื่อแสดงออกถึงประโยชน์ใช้สอยที่เป็นสถานที่ทำงานภายในอาคาร ซึ่งอยู่ใกล้กับมหาสมุทรแปซิฟิก และทางด้านขวารูปด้านอาคารมีลักษณะเหมือนต้นไม้ซึ่งใช้ทองแดงในการตกแต่งผิว การตกแต่งภายในสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา ซึ่งสื่อถึงความเก่าและใหม่ในเวลเดียวกัน ซึ่งองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้เป็นตัวสร้างความกำกวม(Ambiguity) ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าเป็นอาคารชนิดไหน ซึ่ง Charles Jencks เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภาษาของความคิดหลังสมัยใหม่(post-modern) ซึ่งเขาเรียกมันว่า ‘The Carnivalesque’

Superposition – Can one build-in time?
ในช่วงปี 1980s นั้นมีสถาปนิกที่ชื่อ Bernard Tschumi ใด้เสนอความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับความคิดเรื่อง ‘superimposition’ คือการออกแบบโดยสร้างสิ่งที่เรียกว่า ‘The aesthetic of layering, ambiguity, transparency and juxaposition’ ในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งความคิดเหล่านี้ก็ปรากฎในงานประกวดแบบโครงการ Parc de la Villette กรุงปรารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาพยายายามสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ไม่สามารถตัดสินได้(undecidable) และเกิดความหลากหลาย โดยการ disintegration เพื่อต่อต้านความเป็น totality ในงานสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างความหลากหลายในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งในโครงการเดียวกันนี้ Rem Koolhaas ได้เสนอสิ่งที่เรียกว่า ‘five ingredients’ คือการซ้อน 5 ระบบที่ต่างกันลงบนพื้นที่เดียวกัน คือ 1) lateral ‘band’ of planting and activity, 2) a sprinkling of randomized small elements call ‘confetti’ 3) the large elements of the existing site and program 4) Circulation 5) connecting layers ซึ่งแนวความคิดนี้ทำให้เกิดแถบของโปรแกรมต่างๆในโครงการซ้อนกัน ทำให้เกิดความหลายขึ้นในระบบ เกิดเป็นรูปแบบที่ซับซ้อน(Complex order) ซึ่งจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘nonlinear dinamic’ จากความซับซ้อนที่อยู่ภายในโครงการเอง

สรุปและเรียบเรียงโดย
พุทธิชาติ วาณิชทัตต์ และ วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+

Architecture of the Jumping Universe
A Polemic : How Complexity Science Is Changing Architecture and Culture
Charles Jencks
ISBN : 1854904868
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-Architecture in Transition: Between Deconstruction and New Modernism--Edited by Peter Noever
-Art4D Number 150--September 2006

Sunday, October 15, 2006

Grid

2006-10-15


Grid Systems in Graphic Design
Josef Müller-Brockmann
ISBN: 3721201450





A Visual Communication Manual for graphic designers, typographers and three dimensional designers. Considered by most to be the definitive book on grid systems. This book is a must for any designer. From concept to instructional, this book covers typography through grid systems used in design both 2D and 3D.

Put simply: a guidebook from the profession for the profession. The development of organizational systems in visual communication was the service and the accomplishment of the representatives of simple and functional typography and graphic design.



Grid Systems
Kimberly Elam
ISBN: 1568984650






Although grid systems are the foundation for almost all typographic design, they are often associated with rigid, formulaic solutions. However, the belief that all great design is nonetheless based on grid systems (even if only subverted ones) suggests that few designers truly understand the complexities and potential riches of grid composition.

In her book Geometry of Design, Elam shows how proportion, symmetry, and other geometrical systems underlie many of the visual relationships that make for good design. Now, Elam brings the same keen eye and clear explanations to bear on the most prevalent, and maybe least understood, system of visual organization: the grid.

Filled with extensive research and more than 100 informative examples from the Bauhaus to Nike ads, Grid Systems provides a rich, easy-to-understand overview and demonstrates a step-by-step approach to typographic composition. It suggests design strategies that transcend simple function and reductionist recipes to allow grids to become a means of truly dynamic communication. Any designer, educator, or student will benefit greatly from this elegant slim book, chock-a-block full of colorful examples, helpful vellum overlays, and Elam's insightful analysis.


The Designer and the Grid
Julia Thrift, Lucien E. Roberts
ISBN : 2-88046-814-0






"There has been a serious lack of design titles for students that explain the basic principles of design... what this book is trying to do is good... (It) is a must-have for all design students. I've seen nothing else in the market that would compete with this title."
Graphics International

"Here is one of those special items: a new book on typography (or at least with a high typographic content), which should be added to the list of required reading for all professionals and students alike... The Designer and the Gri really delves behind its subject, and beyond it, as promised. We can gain a clear insight into the importance of grids, and to the relevance of 'grid philosophy' to the life issues posed at the beginning of the book: the need to find some order in the chaos of our world; the need for a clearer life framework. Even from the narrower typographic standpoint, this book is a must."
Baseline

This book reveals the key to the hidden driving force behind almost all graphic design - the grid. Case studies and interviews with leading designers such as Simon Esterson, Vaughan Oliver, Ellen Lupton, and Muller & Hesse explore what the grid means today and these and other top names choose their favourite grids. The authors move on to take a step-by-step look at the precision of the digital grid and ask, provocatively, whether the new CAD/CAM technologies may spell the end of the grid as we know it.

About The Author

Lucienne Roberts' design studio, sans+baum, specialises on projects outside the purely commercial. Clients have included the ICA, Sadler’s Wells, Breakthrough Breast Cancer, The British Council, Phaidon Press and the identity for the Arts Council’s Architecture Week. Lucienne also teaches at the London College of Printing.

Julia Thrift is a well-established design and architecture journalist who contributes to many magazine and book publications, including Blueprint magazine. She is also Head of Programmes at the Civic Trust in London.

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-Grid Systems in Graphic Design--Josef Müller-Brockmann
-Grid Systems--Kimberly Elam
-The Designer and the Grid--Julia Thrift and Lucien E. Roberts

Saturday, October 14, 2006

Uncommon Places

2006-10-14








+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+


Uncommon Places
Stephen Shore
ISBN: 1931788340


Published by Aperture in 1982 and long unavailable, Stephen Shore’s legendary Uncommon Places has influenced a generation of photographers. Among the first artists to take color beyond advertising and fashion photography, Shore’s large-format color work on the American vernacular landscape stands at the root of what has become a vital photographic tradition. Uncommon Places: The Complete Works presents a definitive collection of the original series, much of it never before published or exhibited.

Like Robert Frank and Walker Evans before him, Shore discovered a hitherto unarticulated version of America via highway and camera. Approaching his subjects with cool objectivity, Shore’s images retain precise internal systems of gestures in composition and light through which the objects before his lens assume both an archetypal aura and an ambiguously personal importance. In contrast to Shore’s signature landscapes with which “Un-common Places” is often associated, this expanded survey reveals equally remarkable collections of interiors and portraits.

As a new generation of artists expands on the projects of the New Topographic and New Color photographers of the seventies—Thomas Struth (whose first book was titled Unconscious Places), Andreas Gursky, and Catherine Opie among them—Uncommon Places: The Complete Works provides a timely opportunity to reexamine the diverse implications of Shore’s project and offers a fundamental primer for the last thirty years of large-format color photography.

At age twelve, Stephen Shore’s work was purchased by Edward Steichen for the Museum of Modern Art. At twenty-four, he became the first living photographer to have a one-man show at the Metropolitan Museum of Art, New York. Other one-man show venues include the Museum of Modern Art, New York, the Art Institute of Chicago, and the Kunsthalle Düsseldorf. He has received two National Endowment for the Arts Grants and a Guggenheim Foundation Grant, and has been the Chair of Bard College’s photography department in upstate N.Y. since 1982.




FARMAX : Excursions on Density
MVRDV
edited Winy Maas, Jacob van Rijs, Richard Koek
ISBN 978 90 6450 587 4

Vast areas of the Netherlands and other states seem to be filling up with a suburban 'matter' of low cost housing, low rent offices, warehouses and other low density elements. How are we to cope with this matter that is turning our environments into one 'sea of mediocrity', one vast 'greyness', an equation of difference and individualism? Is it possible to reconsider this situation by carrying density to extremes and ruffling the texture with inserts or polarities? This book examines the possibilities of these extremes. It sets out to discover the prospects and limitations, the world of the extreme Floor Area Ratio, FARMAX. Conceived and edited by Winy Maas and Jacob van Rijs with Richard Koek and produced by MVRDV, FARMAX reads as an architectural narrative composed of studies and designs made by MVRDV and students from Delft University of Technology, the Berlage Institute and the Rotterdam Academy of Architecture and Urban Planning, along with contributions by other authors.




From Lascaux to Brooklyn
Paul Rand
ISBN: 0300066767

One of the world's leading graphic designers, Paul Rand has had a profound influence on the design profession: his pioneering work in the field of advertising design and typography has helped elevate "commercial art" to one of the fine arts. In this lively and visually arresting book, Rand awakens readers to the lessons of the cave paintings of Lascaux—that art is an intuitive, autonomous, and timeless activity—and he shows how this is conveyed in works of art from the Leaning Tower of Pisa to a painting by Cézanne, African sculpture, a Gorgan pitcher, and a park in Brooklyn, all of which are aesthetically pleasing no matter what their era, place, purpose, style, or genre. Rand defines aesthetics and the aesthetic experience, in particular as it affects the designer, and he helps members of his profession articulate and solve design problems by linking principles of aesthetics to the practice of design.

Illustrating his ideas with examples of his own stunning graphic work, as well as an eclectic collection of masterpieces, Rand discusses such topics as: the relation between art and business; the presentation of design ideas and sketches to prospective clients; the debate over typographic style; and the aesthetics of combinatorial geometry as applied to the grid. His book will engage and enlighten anyone interested in the practice or theory of graphic design.


Paul Rand's vast experience has included art direction for both magazines and advertising agencies, packaging, book illustration, and typography, as well as painting and art education. Among the numerous clients for whom he has been a consultant and/or designer are the American Broadcasting Company, Cummins Engine Company, IBM Corporation, United Parcel Service, and Westinghouse Electric Corporation. He has taught at Pratt Institute and Cooper Union and is now professor emeritus at Yale University. During his lifetime he has been honored with prestigious awards from many professional and academic groups, and in 1987 he was the first recipient of the Florence Prize for Visual Communication. His work is in the permanent collections of museums in the United States, Europe, and Japan. He is the author of many books, the most recent of which are Design, Form, and Chaos and Paul Rand: A Designer's Art, both published by Yale University Press.


+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-FARMAX : Excursions on Density--MVRDV
-From Lascaux to Brooklyn--Paul Rand

Books read:
-A+U Magazine 06:09 number432--September 2006
-Uncommon Places--Stephen Shore
-FARMAX : Excursions on Density--MVRDV

2006-10-13


How to read Wittgenstein
Ray Monk
ISBN: 186207724X

Though Wittgenstein wrote on the same subjects that dominate the work of other analytic philosophers – the nature of logic, the limits of language, the analysis of meaning – he did so in a peculiarly poetic style that separates his work sharply from that of his peers and makes the question of how to read him particularly pertinent. At the root of Wittgenstein's thought, Monk argues, is a determination to resist the scientism characteristic of our age, a determination to insist on the integrity and the autonomy of non-scientific forms of understanding. The kind of understanding we seek in philosophy, Wittgenstein tried to make clear, is similar to the kind we might seek of a person, a piece of music, or, indeed, of a poem.

Extracts are taken from Tractatus Logico-Philosophicus and from a range of Wittgenstein's posthumously published writings, including Philosophical Investigations, The Blue and Brown Books, On Certainty and Last Writings on the Philosophy of Psychology.




How to Read Nietzsche
Keith Ansell Pearson
ISBN: 1862077290

Keith Ansell Pearson introduces Nietzsche's distinctive voice, the mood of his philosophical thought and in particular his use of the extended aphorism. He emphasises Nietzsche's openness to new modes and methods of knowledge, which broke away from previous philosophical thought and significantly reshaped the modern philosophical landscape.

After familiarising the reader with Nietzsche's unique approach, Ansell Pearson illuminates some of the best known and controversial of Nietzsche's philosophical arguments: the Will to Power, the Übermensch, the 'Death of God' and Nietzsche's conception of truth.

Extracts are taken from a range of Nietzsche's works, including The Gay Science; On the Genealogy of Morality, Beyond Good and Evil and Thus Spake Zarathustra.


+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-How to read Wittgenstein--Ray Monk
-How to Read Nietzsche--Keith Ansell Pearson

Book read:
-

2006-10-12

Book bought:
-
Book read:
-Art4D Magazine Number150--September 2006

Wednesday, October 11, 2006

ตึกเสริมมิตร

Goodbye, My Urban Space
2006-10-11

“Space is set of experiential dimensions that encompasses a set of objects and events, and in which it is possible to move about. Not necessarily preexisting or durable. Place is location invested with meaning, or affording identification, appropriation, or history.”


ผมเป็นคนไม่สูบบุหรี่

อาจจะเคยสูบบ้างเป็นบางครั้งบางคราว บางค่ำคืน(ที่นึกสนุกอยากสูบ) ในวงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูงที่สนิทสนมกัน และหากจำเป็นต้องนั่งสนทนาพาทีอยู่ในกลุ่มสิงห์อมควันทั้งหลายแล้ว ผมไม่เคยตั้งท่ารังเกียจ ปิดจมูก หรือเบ้ปาก

รู้ว่าบุหรี่มีโทษ อาจจะทำให้อายุในการอาศัยอยู่บนโลกของเรานั้นสั้นลง(ไปอีกหน่อย) สำหรับผมแล้วบุหรี่ไม่ต่างอะไรไปจาก อาหารฟาสฟู้ด รถยนต์ หรือข้าวของเครื่องใช้รอบๆ ตัว ในชีวิตประจำวัน ที่ล้วนแล้วแต่มีพิษภัยแฝงมากับการบริโภคทั้งสิ้น(โลกใบนี้ที่เราอยู่กันนั้นโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ อากาศมันก็ไม่ได้สะอาดอะไรนักหนา)--อาหารฟาสฟู้ดกินแล้วอ้วนไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รถยนต์ก่อมลพิษทางอากาศ นักวิทยาศาสตร์เคยออกมาบอกว่ามันเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด green house effect และทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น(ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และสภาพอากาศแปรปรวน) จำได้ว่าเคยดูรายการของคุณสุทธิชัย หยุ่น ทางช่องเก้าในคืนหนึ่ง ว่าด้วยปัญหาของเรื่องสภาวะโลกร้อน มีคำถามหนึ่งที่เขาถามว่านักวิทยาศาสตร์ว่า "แล้วเราจะแก้ไขปัญหาเรื่องโลกร้อนขึ้นได้ยังไง" นักวิทยาศาสตร์คนนั้นตอบสั้นๆ แต่ได้ใจความว่า "มนุษย์ต้องเลิกใช้รถยนต์"

คุณอาจจะบอกว่ารถยนต์นั้นต่างจากบุหรี่เพราะเป็นยานพาหนะ มีประโยชน์ แต่สำหรับคนไม่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล(อย่างผม)แล้ว การที่คุณใช้ยานพาหนะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้เร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น(หนึ่งคนต่อหนึ่งคัน วัตถุน้ำหนักเกือบสองตันบรรทุกวัตถุน้ำหนักไม่ถึงเจ็ดสิบกิโลกรัม--สำหรับผมมันเป็นสัดส่วนที่แปลกพิลึก) แต่พ่นควันพิษออกมาปะปนอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก มันก็ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับ (ผม) คนที่เดินอยู่บนทางเท้าริมถนนตรงไหน (ยังไงก็ตามเวลาเห็นรถติดแล้วจอดนิ่งๆ กันเป็นแพ ปล่อยควันพิษอยู่บนถนน ผมก็ไม่เคยคิดทำอะไรที่ไร้มารยาท เหมือนโฆษณารณรงค์ต่อต้านคนสูบบุหรี่เช่น เดินเข้าไปเคาะกระจกรถ แล้วถามคนขับว่า "เราเคยรู้จักกันหรือเปล่า? แล้วคุณมาทำร้ายฉันทำไม?")

เหตุผลเช่นเดียวกันกับที่ผมรู้สึกกับคนที่สูบบุหรี่ทั้งหลาย--ผมก็ไม่เคยคิดรังเกียจคนที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล(ผมมีเพื่อนสนิทหลายคนที่ขับรถไปทำงานทุกวัน)

แต่ทุกวันนี้ ผมรู้สึกว่าสังคมของคนสูบบุหรี่กำลังถูกริดรอนสิทธิในการใช้พื้นที่ลงไปเรื่อยๆ

(ไม่นับการกระทำทีไร้มารยาทที่ทางราชการมีต่อคนที่สูบบุหรี่ เช่น ติดภาพน่าเกียจ(ไม่น่ารื่นรมย์) พร้อมคำเตือน ถึงพิษภัยขนาดค่อนพื้นที่ของซองบุหรี่ รู้ว่าเป็นคำเตือน แต่การเตือนก็ควรรักษามารยาทและไม่ดูก้าวร้าวแบบนี้ไม่ใช่หรือ? ลองคิดดูสิ ถ้าแฮมเบอร์เกอร์ทุกชิ้น มีรูปคนอ้วนน่าเกียจติดอยู่บนกระดาษห่อพร้อมกับคำเตือน หรือถ้ารถยนต์ทุกคันที่ท้ายรถมีรูป ปอดเน่าๆ สีดำๆ ติดอยู่พร้อมกับ มีคำเตือนตัวใหญ่ๆ แปะเอาไว้ที่ท้ายรถว่า "ควันจากท่อไอเสียรถยนต์เป็นพิษต่อร่างกาย และสร้างภาวะเรือนกระจกให้กับโลก โปรดขับขี่ด้วยความระมัดระวัง" ผมคิดว่าคงไม่น่ารื่นรมย์นัก)

อย่างน้อยที่สุดก็สังคมของคนสูบบุหรี่ที่หน้าตึกเสริมมิตร ริมถนนอโศก ที่ผมเดินผ่านทุกเช้า

ในสมัยที่ยังเรียนหนังสือ ผมเคยใช้ห้องสมุดของมูลนิธิญี่ปุ่น(ที่ตึกเสริมมิตร) เป็นห้องทำงานวิจัย(ส่งอาจารย์) หรือไม่ก็นั่งอ่านหนังสือเล่นๆ ไปบ่อยถึงขนาดที่โดนบรรณารักษ์(เป็นผู้หญิงสูงอายุ หน้าตาดุมากๆ แต่ก็ใจดีมากๆ--เธอมีบุคคลิกดีมากๆ ผมสีขาวโพรน ใส่แว่นตา และดูสุขุม ทุกวันนี้เธอไม่ได้ทำงานที่นี้แล้ว คิดว่าคงเกษียณอายุ แล้วไปใช้ชีวิตอย่างสงบสุข อยู่ที่ไหนสักแห่ง ) แซวว่า "อ่านหนังสือหมดห้องสมุดหรือยังจ๊ะหนู? เห็นมาทุกวัน" แล้วก็ยิ้มให้

ทุกเช้าก่อนขึ้นไปใช้บริการห้องสมุดผมมักจะนั่งกินกาแฟ อยู่ที่ร้านกาแฟข้างตึก จากนั้นก็จะไปซื้อน้ำผลไม้ปั่น(เมนูที่กินประจำคือ สตอเบอรี่ ซันไลท์ ^_^) หน้าตึกเสริมมิตรกิน

ซึ่งกิจกรรมที่ทำเป็นประจำทุกเช้านี้เองที่ทำให้ผมต้องพบปะกับ สมาคมสิงห์อมควันแห่งตึกเสริมมิตร ^_^

ผมรู้สึกว่าสังคมของผู้ที่สูบบุหรี่หน้าตึกเสริมมิตรนั้น น่ารักและมีบุคคลิกเฉพาะ คุณจะเห็นภาพผู้บริหารระดับสูงชาวญีุ่ปุ่น ยืนคุยกับพนักงานส่งเอกสาร เห็นหนุ่มออฟฟิศหลากบริษัทที่ทำงานอยู่ด้านบนยืนคุยกัน อย่างออกรส บางกลุ่มบางพวกก็กางหนังสือพิมพ์พูดคุยวิเคราะห์การเมือง ด้วยบรรยากาศที่ดูผ่อนคลาย สบายๆ (แน่นอนที่สุดในมือของทุกคนนั้นคีบบุหรี่เอาไว้ด้วย)

ถ้าการไปออนเซ็นของคนญี่ปุ่นเป็นการสลายสถานะภาพทางสังคมของแต่ละบุคคล(ชั่วขณะ) พื้นที่สาธารณะบริเวณหน้าตึกเสริมมิตรก็น่าจะมีลักษณะอะไรที่คล้ายๆกันอยู่ (ถึงแม้กิจกรรมทั้งสองอย่างนั้นจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ตาม)

ทุกวันนี้ถ้าคุณผ่านไปที่ตึกเสริมมิตรเวลาในช่วงเช้าๆหรือบ่ายๆ คุณก็จะไม่เห็นภาพการพบปะสังสรรค์กันทางสังคมแบบนี้อีกแล้ว แต่ภาพที่คุณเห็นก็คือจะมีอีเว้นส์หรือกิจกรรมโฆษณาสินค้า พูดออกไมค์เปิดลำโพงเสียงดัง(สำหรับผมมันเป็นภาพที่น่ารำคาญกว่าการเห็นคนสูบบุหรี่ยืนคุยกันเยอะแยะ--เพราะมันส่งเสียงเอะอะน่ารำคาญพูดจาเอาแต่ได้, เอาแต่ประโยชน์ของตัวเองและแน่นอนที่สุดมันทำทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง)

เราเคยเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนฟังเมื่ออาทิตย์ที่แล้วในขณะที่นั่งกินข้าวเย็นกัน เพื่อนเราถึงกับบ่นเสียดาย(เพราะรู้สึกดีกับมัน) เพราะเคยไปใช้พื้นที่บริเวณนี้สูบบุหรี่บ่อยๆ ตอนที่ต้องมาทำธุระแถวอโศก

ที่หน้าตึกเสริมมิตรวันนี้มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ติดอยู่ ไม่มีมนุษย์มายืนปฎิสัมพันธ์กัน บางวันบางเวลาคุณก็จะได้ยินเสียงเอะอะโวยวายเปิดเพลงเสียงดัง--พร้อมกับโฆษณาสินค้า(ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลผลิตจากสมองของคนที่เรียกตัวเองว่าครีเอทีฟ--นักสร้างสรรค์ :P )

ไม่มีคนยืนสูบบุหรี่ที่หน้าตึกแล้วอากาศน่าจะดีขึ้น โลกคงน่าอยู่มากขึ้น ที่หน้าตึกคงน่าภิรมย์มากขึ้น--เอาน่า มันน่าจะคุ้มค่านะ แค่พื้นที่ทางสังคมหายไปนิดหน่อย(แล้วได้พื้นที่ทางการตลาดทึ่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนหนุ่มสาววัยทำงานมากขึ้น)

ถัดออกไปอีกนิด ทางด้านนอกตึก บนถนนอโศก รถติดกันเป็นแพ ควันสีขาวลอยอยู่เต็มบรรยากาศ

แน่นอนที่สุด
"มันไม่ใช่ควันที่เกิดจากการสูบบุหรี่"


+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-ฉันหลงรักฤดูกาล--สกุณี ณัฐพูลวัตน์

Books read:
-Art4D Magazine Number150--September 2006
-วารสารอาษา ฉบับ 08:49-09:49

Tuesday, October 10, 2006

2006-10-10

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Art4D Magazine Number150--September 2006

2006-10-09


The Cloudspotter's guide : The science, History, and Culture of Clounds
Gavin Pretor-Pinney
ISBN : 9780399532566


A unique and far-ranging romp through science, history, art, and pop culture -- written for anyone who’s curious about those fluffy, floating, ever-shifting cotton balls in the sky...

Where do clouds come from? Why do they look the way they do? And why have they captured the imagination of timeless artists, romantic poets, and every kid who’s ever held a Crayon? Veteran journalist and lifelong sky-watcher Gavin Pretor-Pinney reveals everything there is to know about clouds, from history and science to art and pop culture. Cumulus, nimbostratus, and the dramatic and surfable Morning Glory cloud are just a few of the varieties explored in this smart, witty, and eclectic tour through the skies.

Generously illustrated with striking photographs and line drawings featuring everything from classical paintings to lava lamps, children’s drawings, and popular advertisements, The Cloudspotter’s Guide will have enthusiasts, poets, weather watchers, and the just plain curious floating on cloud nine. Looking up will never be the same again.


+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-The Cloudspotter's guide : The science, History, and Culture of Clounds--Gavin Pretor-Pinney

Books read:
-The Yokohama Project--Foreign office architects
-Art4D Magazine Number150--September 2006

Sunday, October 08, 2006

FOA

2006-10-08


Phylogenesis: FOA’s Ark
Foreign Office Architects
ISBN: 8495951479

Through a series of competitions, speculative commissions, and built work, FOA's first monograph is structured to reflect the development of their specific attitude and as a compendium of the technical arsenal that they use to within their practice. The resultant body of work is not simply a series of experiments, but is a consistent reservoir of architectural species that will continue to proliferate, mutate, and evolve in the coming years. With the spirit of scientific classification, the genesis of an architectural project is identified within a series of phylum, actualized and simultaneously virtualized, in their specific application to the unique conditions of a project's location. Phylogenesis also includes a collection of texts from several critics who investigate related topics that touch upon different aspects of FOA's discourse.



The Yokohama Project
Foreign Office Architects
ISBN: 84-95951-18-5

As a complex entity, an interesting building always has an interesting epic, a story that is embedded in the organisation of matter. A specific building epic, that of the Yokohama International Port terminal, is described in this book, the first in the series of Verb monographs. The book is structured as a replica of architecture design team's unique process, one where every member is in charge of an entire design package. This editorial structure has two fundamental intentions: first, to depict the design development process as the growth of ideas from rather specific material domains; second, to rediscover the linearity of the ordering system of construction documents. As an experiment falling outside of the typical architecture publication, we have chosen to exlude critical texts (theorisation on the work) in favor of a description of the set of decisions that made various matters evolve into a building.

+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:++:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Phylogenesis: foa's ark--Foreign office architects
-The Yokohama Project--Foreign office architects
-Art4D Magazine Number150--September 2006

Books read:
-The Yokohama Project--Foreign office architects
-Art4D Magazine Number150--September 2006
-นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 259--เดือนกันยายน 2549