2007-08-28
"Real information can only be gaind on foot."
-ทำไมคุณถึงตัดสินใจไปสอนที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว
ผมเดาว่าคุณจะต้องบอกว่าผมคงเหนื่อยหน่ายกับการที่เอาสถาปัตยกรรมเป็นศูนย์กลางของชีวิต ความจริงแล้วอยากจะบอกว่า ผมปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนี้จากด้านนอกมากกว่า อย่างไรก็ตาม ในของโลกวิศวกรรมโยธา ดูเหมือนว่ามันเป็นความรู้สึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเคลือบแคลงในการก้าวไปข้างหน้าของสถาปนิก และขณะที่สอนอยู่ที่นี่ ผมปฏิบัติราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่น่าพินิจพิเคราะห์
-อะไรคือความรู้สึกที่คุณมีต่อสถาปนิกรุ่นหนุ่มสาวและนักศึกษาสถาปัตย์ในวันนี้
พวกเขาขี้ขลาด และน้อยกว่านั้นชอบสัญญาด้วยความกล้าหาญ แต่มันก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น สถาปัตยกรรม เมือง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกกังวลใจ ซึ่งสิ่งที่ควรจะเป็นก็คือพวกเขาควรตระหนักถึงชีวิตข้างหน้าที่คนแก่ๆ มีเวลาไม่มากนักที่จะก้าวข้ามมันไป ในช่วงเวลาที่สับสนอลหม่านเช่นนี้ คนหนุ่มสาวควรแสดงความคิดเห็นที่เปี่ยมไปด้วยพลัง ผมคิดว่าเราควรจะต้องไปให้ไกลกว่าสิ่งที่เราพูด ด้วยเวลาของชีวิตที่ยังมีอยู่มากมาย พวกเขาควรกระตุ้นความรู้สึกสนใจและตระหนักในเรื่องของเมืองและบ้านเกิดของพวกเขาบ้าง
-มีความแตกต่างกันไหมระหว่างนักศึกษาสถาปัตย์กับนักศึกษาวิศวกรรมโยธา
พูดตรงๆ เลยก็คือ นักศึกษาวิศวะฯ นั้นดูเอาจริงเอาจัง ส่วน นักศึกษาสถาปัตย์นั้นก็มีความมั่นใจสูง โดยรากฐานแล้ววิศวกรรมโยธานั้นเป็นศาสตร์ว่าด้วยการขบคิดและค้นหาผลลัพท์ของบุคคลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง นั่นคือแนวโน้มของการทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยปราศจากการป่าวประกาศ ในสถาปัตยกรรมถึงแม้ว่าข้อจำกัดจะอยู่ที่มุมมองในเรื่องของการออกแบบ มาตรฐานของมันอยู่ที่การค้นหาผลลัพท์ของแต่ละบุคคลเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จที่ได้วางเอาไว้
-อะไรคือสิ่งที่คุณคิดว่าควรทำในความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธา
สถาปัตยกรรมนั้นสูญเสียแนวความคิดในเรื่องของตัวตนในขณะที่วิศวกรรมโยธานั้นสูญเสียความรู้สึกในเรื่องของการสื่อความหมายกับสาธารณะ ผมชอบที่เปิดเผยและถ่ายเทลักษณะของทั้งสองศาสตร์นี้ในการทำงาน โดยการนำสิ่งดีของอีกศาสตร์หนึ่งมาใช้กับอีกศาสตร์หนึ่ง แม้ว่าการถ่ายเทที่ว่านี้จะเป็นองค์ประกอบที่เลวด้วยเหตุที่มันยากต่อการทำนาย แต่ผมก็มีความตั้งใจที่จะทำเรื่องนี้ต่อไปโดยการนำส่วนที่ดีในสถาปัตยกรรมไปสู่งานวิศวกรรมโยธา และนำส่วนที่ดีของวิศวกรรมโยธามาสู่งานสถาปัตยกรรม
-นานมาแล้วมีคนเคยบอกว่าการเดินทางท่องเที่ยวมีความสำคัญมากสำหรับการเป็นสถาปนิก สำหรับคุณไนโตะแล้วในยุคสมัยสังคมข้อมูลข่าวสาร(Information society) เหมือนเช่นในตอนนี้ การเดินทางท่องเที่ยวยังคงความสำคัญเหมือนเดิมไหม?
โดยธรรมชาติแล้ว ข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสารนั้นมีข้อจำกัดมันเป็นแค่เพียงชนิดอีกชนิดหนึ่งของข้อมูลทั้งหมด สำหรับผมแล้ว ข้อมูลจริง(Real Information) นั้นสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินด้วยเท้าของเราเท่านั้น ไม่เหมือนข้อมูลที่ได้มาทางโครงข่ายที่ใครๆก็สามารถเข้าถึงมันได้ สำหรับผมข้อมูลคือสิ่งที่เราได้จากการเดินด้วยเท้าและมันมาพร้อมกับความรู้สึกสะทบสะท้านทางจิตใจที่เรามีต่อรูปทรงซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของอัตลักษณ์ของสิ่งนั้นๆ วิธีที่ดีที่สุดในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ก็คือถ้ามีบางสิ่งบางอย่างกระทบกระเทือนความรู้สึกคุณที่พบในหน้านิตยสาร ให้ไปที่สถานที่แห่งนั้นแล้วดูมัน ถ้าคุณได้ยินว่ามีใครบางคนซึ่งน่าสนใจให้เดินทางไปพบเขาหรือถ้ามีบางสิ่งที่คุณไม่เข้าใจให้เอ่ยปากถาม อย่าให้ความสงสัยของคุณถูกเติมเต็มด้วยความรู้สึกพอใจที่คุณได้จากกระแสของข้อมูล(flood of information) ที่คุณได้รับเพียงอย่างเดียว ถ้าเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน กระทบกระเทือนความรู้สึกคุณให้ไปที่นั่นแล้วดูมัน (อ่านตรงนี้จบนี่แทบอยากจะเดินออกจากบ้านไปซื้อตั๋วเครื่องบินไปโตเกียวแล้วไปคุยกับคุณไนโตะเลย ^_^ ถ้าทำตามคำแนะนำของไนโตะชีวิตนี้เราคงมีข้อมูลในตัวไม่มากหรอก แต่ข้อมูลทั้งหมดนั้นน่าเป็นข้อมูลที่เรารู้สึกรู้สากับมันจริงๆ-ผู้แปล)
ที่ไหนคือฉากแรกเริ่ม(primal Scene)ที่มันยังคงอยู่ในความทรงจำของคุณ
น่าจะเป็นบ้านที่ผมเคยอยู่ตอนที่อายุห้าขวบ ที่เป็นแมนชั่นที่อยู่บนที่ดินประมาณ 5,600 ตารางเมตร แถวๆ โฮโดกายา ในจังหวัดโยโกฮามา มันมีทางเดินที่มืดและยาวที่ทำให้ผมนั้นขวัญผวา ที่นั่นยังมีแสงระยิบระยับที่สะท้อนจากสระน้ำบนฝ้าเพดานในห้องกินข้าวนั่นคือทั้งหมดที่ผมจำได้
(ยังไม่จบนะ ^_^ ดูรูปผลงานของไนโตะไปพลางๆก่อน)
Azumino Chihiro Art Museum ที่เมืองอะโซมิโนะ จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุ่น
ออกแบบโดยไนโตะ ที่ดูเรียบง่าย บ้านๆ และมีความงดงามในเชิงช่าง ^_^
http://www.chihiro.jp/english/azumino/top.htm
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-Network Practices:New strategies in Architecture and Design--Anthony Burke and Therese Tierney, editors
-ความเงียบ(The Spirit of Silence)--John Lane แปลโดย สดใส ขันติวรพงศ์
Tuesday, August 28, 2007
Sunday, August 26, 2007
โลกของธีร์
2007-08-26
ผมชอบวิธีการร้องเพลงของธีร์ ไชยเดช
เพลงของธีร์ นั้นดูเชื่องช้าหนืดเนือยกว่าโลกของความเป็นจริงอยู่หนึ่งจังหวะเสมอ
(นี่อาจจะเป็นสุนทรียศาสตร์ในแบบของเขา)
เพลงของธีร์อาจจะทำให้คุณรู้สึกอยากหายใจให้ช้าลง
ถ้าคุณกำลังวิ่งมันอาจจะทำให้คุณรู้สึกอยากเดิน
ถ้ากำลังขับรถอยู่ มันอาจจะทำให้คุณรู้สึกว่า โอ้ยตอนนี้แค่ปั่นจักรยานก็พอ
ไม่มีอะไรหรอก
แค่อยากบอกว่า
เช้าวันนี้เพลงของธีร์
ที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว กลายเป็นภาพสโลว์โมชั่นไปชั่วขณะ ^_^
ปล-ช่วงนี้ที่อัพเพลงบ่อย ก็เพราะว่าเพิ่งทำเป็นแล้วก็กำลังเห่ออ่ะ ร้อนวิชาๆ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
ผมชอบวิธีการร้องเพลงของธีร์ ไชยเดช
เพลงของธีร์ นั้นดูเชื่องช้าหนืดเนือยกว่าโลกของความเป็นจริงอยู่หนึ่งจังหวะเสมอ
(นี่อาจจะเป็นสุนทรียศาสตร์ในแบบของเขา)
เพลงของธีร์อาจจะทำให้คุณรู้สึกอยากหายใจให้ช้าลง
ถ้าคุณกำลังวิ่งมันอาจจะทำให้คุณรู้สึกอยากเดิน
ถ้ากำลังขับรถอยู่ มันอาจจะทำให้คุณรู้สึกว่า โอ้ยตอนนี้แค่ปั่นจักรยานก็พอ
ไม่มีอะไรหรอก
แค่อยากบอกว่า
เช้าวันนี้เพลงของธีร์
ที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว กลายเป็นภาพสโลว์โมชั่นไปชั่วขณะ ^_^
ปล-ช่วงนี้ที่อัพเพลงบ่อย ก็เพราะว่าเพิ่งทำเป็นแล้วก็กำลังเห่ออ่ะ ร้อนวิชาๆ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
Thursday, August 23, 2007
แค่คนหลงทาง
Lost Highway
2007-08-23
Oh, the day we met, I went astray,
I started rollin' down that lost highway.
I'm a rolling stone, all alone and lost,
For a life of sin, I have paid the cost.
When I pass by, all the people say
"Just another guy on the lost highway."
Just a deck of cards and a jug of wine
And a woman's lies make a life like mine.
Oh, the day we met, I went astray,
I started rollin' down that lost highway.
I was just a lad, nearly twenty-two,
Neither good nor bad, just a kid like you,
And now I'm lost, too late to pray,
Lord, I've paid the cost on the lost highway.
Now, boys, don't start your ramblin' round,
On this road of sin or you're sorrow bound.
Take my advice or you'll curse the day
You started rollin' down that lost highway
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
2007-08-23
Oh, the day we met, I went astray,
I started rollin' down that lost highway.
I'm a rolling stone, all alone and lost,
For a life of sin, I have paid the cost.
When I pass by, all the people say
"Just another guy on the lost highway."
Just a deck of cards and a jug of wine
And a woman's lies make a life like mine.
Oh, the day we met, I went astray,
I started rollin' down that lost highway.
I was just a lad, nearly twenty-two,
Neither good nor bad, just a kid like you,
And now I'm lost, too late to pray,
Lord, I've paid the cost on the lost highway.
Now, boys, don't start your ramblin' round,
On this road of sin or you're sorrow bound.
Take my advice or you'll curse the day
You started rollin' down that lost highway
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Saturday, August 11, 2007
Assembling
Mapping of Difference in Lighting Density through Time
2007-o8-11
"What happens when the sensori-motor schema breaks
down and perception no longer result in action?"
Traditional editing in film or typical architectural animation entail piecing together shots in a linear, casual sequence to describe sensori-motor connections between seemingly chronological events. This give us an indirect image of time as a consequence of movement in space rather than as a transformation of the open whole. Memory, however, complicates framing, shooting, and assembling because it enters into the process of selecting from the open whole. It problematizes both description and narration and can even cause us to question what is true. When we cannot act on what we are feeling, sonic and optical images emerge that break our habitual sensori-motor schema. These images initiate a process that engages, not perception, which occurs in space, but memory which occurs in time, leading us to a direct crystal image of time. Thus, breaks in the sensori-motor schema, by dissolving boundaries of linear thinking, create an opportunity for new experiences and thoughts to emerge that lead the way to an architecture of “newness”
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
หมายเหตุ-หนังสั้นๆ ด้านบนเป็นหนังที่เราทำตอนต้นปี เพื่อส่งศาสตราจารย์ไบรอัน แมคกัท (Brian McGath)ตอนที่(แอบลาพักร้อนโดดงาน)ไปทำเวิร์คชอบกับแกที่จุฬา อ.ไบรอัน เป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่นิวยอร์ค แกกำลังศึกษาและพยายามพัฒนานำเทคนิคทางภาพยนต์มาใช้ในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม อาจารย์แกสนใจปรัชญาของ Gilles Deleuze โดยเฉพาะเล่มที่เกี่ยวกับหนัง-Cinema 1,2 (เราว่าปรัชญาของ Deleuze มีกลิ่นของพุทธศาสนา แล้วก็พวกเซนอยู่เยอะมาก) สำหรับเราสิ่งที่เราได้จากการทำเวิร์คช๊อบในครั้งนั้น(วรรคนี้อ่านแล้วดูเป็นราชการมากๆ^_^)มันได้สร้างช่วงเวลาที่ทำให้เราได้ย้อนกลับมาสนใจในผัสสะในการรับรู้สิ่งต่างๆของตัวเอง รับรู้ถึงคุณสมบัติพิเศษและข้อจำกัดของเครื่องมือที่เราใช้(ซึ่งในที่นี้ก็คือกล้อง) ใครว่าการทำสมาธิจะต้องทำได้แค่การนั่งขัดสมาธิแล้วก็หลับ(ตา) บางทีนี่อาจจะเป็นการฝึกสมาธิด้วยกล้องถ่ายรูปหรือกล้องถ่ายหนัง ก็ได้นะใครจะรู้ ^_^
เออไม่ต้องซีเรียสนะถ้าดูหนังข้างบนแล้วไม่รู้เรื่องอ่ะ เพราะความจริงแล้วมันก็ไม่ได้มีเรื่อง(เล่า)ให้ต้องรู้อะไรมากมาย เพียงแค่ดูแล้วรู้สึกอะไรบ้างก็น่าจะโอฯแล้ว ^_^
ปล. ถ้าหนังด้านบนที่ลงไว้ดูไม่ได้ให้ลองเข้าตรงเลยไปที่
http://profile.imeem.com/aWbS6k/video/n6FnFCdp/mapping_of_difference_in_lighting_density_through_time/
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
44%How Addicted to Blogging Are You?
2007-o8-11
"What happens when the sensori-motor schema breaks
down and perception no longer result in action?"
Traditional editing in film or typical architectural animation entail piecing together shots in a linear, casual sequence to describe sensori-motor connections between seemingly chronological events. This give us an indirect image of time as a consequence of movement in space rather than as a transformation of the open whole. Memory, however, complicates framing, shooting, and assembling because it enters into the process of selecting from the open whole. It problematizes both description and narration and can even cause us to question what is true. When we cannot act on what we are feeling, sonic and optical images emerge that break our habitual sensori-motor schema. These images initiate a process that engages, not perception, which occurs in space, but memory which occurs in time, leading us to a direct crystal image of time. Thus, breaks in the sensori-motor schema, by dissolving boundaries of linear thinking, create an opportunity for new experiences and thoughts to emerge that lead the way to an architecture of “newness”
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
หมายเหตุ-หนังสั้นๆ ด้านบนเป็นหนังที่เราทำตอนต้นปี เพื่อส่งศาสตราจารย์ไบรอัน แมคกัท (Brian McGath)ตอนที่(แอบลาพักร้อนโดดงาน)ไปทำเวิร์คชอบกับแกที่จุฬา อ.ไบรอัน เป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่นิวยอร์ค แกกำลังศึกษาและพยายามพัฒนานำเทคนิคทางภาพยนต์มาใช้ในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม อาจารย์แกสนใจปรัชญาของ Gilles Deleuze โดยเฉพาะเล่มที่เกี่ยวกับหนัง-Cinema 1,2 (เราว่าปรัชญาของ Deleuze มีกลิ่นของพุทธศาสนา แล้วก็พวกเซนอยู่เยอะมาก) สำหรับเราสิ่งที่เราได้จากการทำเวิร์คช๊อบในครั้งนั้น(วรรคนี้อ่านแล้วดูเป็นราชการมากๆ^_^)มันได้สร้างช่วงเวลาที่ทำให้เราได้ย้อนกลับมาสนใจในผัสสะในการรับรู้สิ่งต่างๆของตัวเอง รับรู้ถึงคุณสมบัติพิเศษและข้อจำกัดของเครื่องมือที่เราใช้(ซึ่งในที่นี้ก็คือกล้อง) ใครว่าการทำสมาธิจะต้องทำได้แค่การนั่งขัดสมาธิแล้วก็หลับ(ตา) บางทีนี่อาจจะเป็นการฝึกสมาธิด้วยกล้องถ่ายรูปหรือกล้องถ่ายหนัง ก็ได้นะใครจะรู้ ^_^
เออไม่ต้องซีเรียสนะถ้าดูหนังข้างบนแล้วไม่รู้เรื่องอ่ะ เพราะความจริงแล้วมันก็ไม่ได้มีเรื่อง(เล่า)ให้ต้องรู้อะไรมากมาย เพียงแค่ดูแล้วรู้สึกอะไรบ้างก็น่าจะโอฯแล้ว ^_^
ปล. ถ้าหนังด้านบนที่ลงไว้ดูไม่ได้ให้ลองเข้าตรงเลยไปที่
http://profile.imeem.com/aWbS6k/video/n6FnFCdp/mapping_of_difference_in_lighting_density_through_time/
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
44%How Addicted to Blogging Are You?
Mingle2 - Dating Site
Wednesday, August 08, 2007
Mies
2007-08-08
"Less is More"
Mies Van Der Rohe
เมื่อพูดถึงประโยคด้านบน ใครๆ ก็นึกถึงลุงมีส ฟาน เดอร์ โรฮ์ (Mies Van Der Rohe) ถึงแม้ลุงแกจะบอกกี่ครั้งแล้วก็ตามว่าลุงไม่ได้เป็นคนพูดประโยคนี้เป็นคนแรก (ลุงจำขี้ปากเขามาพูดอีกที) แต่ถึงกระนั้นแล้วก็ยังไม่มีใครฟัง พยายามยัดประโยคนี้เข้าไปในปากลุงให้ได้ ตามภาษาคนเขียนหนังสือที่อยากได้วรรคทองจากปากของคนอื่น แต่ในกรณีของลุงมีสนั้นเลยเถิดไปกว่านั้น(สำหรับที่เมืองไทยนั้น มีกลุ่มคนที่มีชื่ออาชีพที่น่าหมั่นไส้ที่สุด--Creative อุตส่าห์ดัดแปลงวรรคทองนี้ไปใช้จนได้ เปลี่ยนนิดหน่อย จาก Less เป็น Life กลายเป็น "Life is More" เอาไปโฆษณารถกระบะซะงั้น แหมช่างสร้างสรรค์สมชื่ออาชีพ เจงๆ)
ถ้าเทียบกับมาสเตอร์ทางสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นทั้งหมดแล้ว ลุงมีสเขียนหนังสือป่าวประกาศอุดมการณ์ของตัวเอง(manifesto) น้อยจนน่าใจหาย ผิดวิสัยของพวกมาสเตอร์ทั้งหลาย อย่างมากก็แค่เขียน course syllabus เอาไว้แจกนักศึกษา ที่บาวเฮ้าส์ กับที่ ไอไอที (ประโยคข้างหน้าเวอร์ไปนิด ความจริงมีสมีงานเขียนเล็กน้อยในหนังสือ G magazine เฮอๆ ^_^)
มีคนเห็นงานเรียบๆ น้อยๆ ของลุงมีสแล้วนึกสนุกกับความรู้สึกของตัวเอง คิดว่างานที่ลุงออกแบบนั้นมีอารมณ์บางอย่างคล้ายๆ กับสถาปัตยกรรมโบราณของญี่ปุ่น แค่สนุกในหัวสมองตัวเองไม่พอ ยังอุตส่าห์ เอาไอเดียนี้ไปถามลุงมีส ให้ลุงมีสได้ร่วมสนุกด้วย คำตอบที่ได้จากปากลุงก็คือ " ลุงไม่เคยไปญี่ปุ่น ลุงไม่เคยเห็นสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ลุงทำงานของลุงด้วยเหตุผลบางอย่าง อาจจะเป็นไปได้นะที่คนญี่ปุ่นอาจจะทำงานด้วยเหตุผลเดียวกันกับลุง" แล้วลุงก็ตบท้ายคำตอบนี้ด้วยคำพูดว่า "บางทีสิ่งดีๆ ก็อาจะเหมือนกันได้"
ตามภาษาคนที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ลุงเคยแนะนำลูกศิษย์เอาไว้ว่า เราควรเลือกงานและรับเฉพาะงานที่คิดว่าเราสามารถทำมันออกมาได้ดี (ในที่นี้อาจหมายความกว้างๆ รวมไปถึงการทำในสิ่งที่ทำแล้วไม่สูญเสียความรู้สึกนับถือตัวเอง) ลุงยังแนะนำต่ออีกว่าถ้าปีไหนไม่มีงานให้ทำ(ซึ่งตรงนี้ลุงอาจจะเล็งเห็นว่า สถาณการณ์เช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ สาเหตุก็อาจจะเนื่องมาจากการเลือกงาน ^_^) ก็ให้ตั้งโจทย์สำหรับฝึกตัวเองให้ใช้ความคิดอย่างน้อย ก็ให้ลองทำงานออกแบบเองแบบที่ไม่มีใครจ้างสักชิ้นสองชิ้น ต่อหนึ่งปี
ก็คงจะถูกอย่างที่ลุงมีสแกพูดนั่นแหละ เพราะงานที่แกคิดตอนว่างๆ ที่ไม่มีใครจ้างนั่นแหละตอนหลัง กลายเป็นนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 20 เลยเชียว
เห็นอย่างนี้ จะว่าไปลุงแกมีชื่อเสียงพอตัว ก่อนที่จะลี้ภัยมาสอนหนังสืออยู่ที่ไอไอที(เป็นคณบดี คณะสถาปัตย์ รวมถึงเป็นร่วมบุกเบิกสถาบันแห่งนี้) ในอเมริกา ลุงแกคือหนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงเรียนบาวฮาวส์ มีช่วงหนึ่งบรรณาธิการนิตยสารออกแบบและตกแต่งชื่อดัง ได้เชิญ คณบดีจากสถาบันต่างๆ มาเขียนบทความแสดงวิสัยทัศน์ในด้านการออกแบบ ของแต่ละสถาบัน
ลุงมีสอีกนั่นแหละที่ บรรณาธิการนิตสารเล่มนั้น(รวมถึง แฟรง รอย ไรท์ สถาปนิกชื่อดังที่ผมเองไม่ค่อยชอบเขาเท่าไหร่)กระแนะกระแหนว่า แสดงวิสัยทัศน์ได้ธรรมดาที่สุดในบรรดาเหล่าคณะบดีทั้งหลาย
อยากรู้ไหมว่าลุงแกเขียนว่าอะไร
ลุงแกเขียนในนิตยสารเล่มนั้นเอาไว้ว่า "ปีแรกๆ เราก็ให้นักศึกษาของเราทำความรู้จักกับไม้ก่อน พอเริ่มรู้จักไม้ดีแล้วในปีที่สูงขึ้นไปเรื่่อยๆ เราก็ให้ทำความรู้จักกับ กระจก และ เหล็ก ต่อไป" (โชคยังดีที่ลุงแกใช้ชีวิตอยู่ในช่วงต้นศตวรรษ ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าลุงมีชีวิตอยู่ตอนนี้และพูดอะไรแบบนี้ อาจจะถูกพวกนักวิชาการหัวโพสโมเดิร์นทั้งหลายรุมเหยียดหยาม-ที่จริงแล้วตอนนี้ก็โดนรุมอยู่นะ เฮอ)
"Form Follow Function"-รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอย คือคำใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ซึ่งความจริงแล้วจะว่าไปลุงมีสเองก็ไม่ได้สนใจแนวคิดนี้ซะทีเดียว(สิ่งนี้อาจจะหมายความว่าได้ว่าลุงแกไม่ได้เป็นโมเดิร์นนิสท์หรือเปล่า? ) สำหรับลุงแล้ว Form--รูปทรง ไม่ใช่เรื่องใหญ่ จนเราต้องประดิษฐ์ประดอยให้ความสำคัญ และประโยชน์ใช้สอยก็ไม่ใช่สิ่งที่เราต้อง follow มันแบบสุดโต่ง แบบที่ต้องเลือกเอาด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับลุงแล้วสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ถ้าใช้ไม้ในการก่อสร้าง ไม้ควรแสดงความเป็นไม้ออกมาอย่างเปิดเผย แสดงให้เราเห็นทั้งจุดเด่นและข้อจำกัดของมัน เหล็กควรแสดงความเป็นเหล็ก ทุกสิ่ง ทุกวัสดุต้องมารวมกัน และประสานสัมพันธ์กัน มากว่าจะคิดว่าจะต้องมีสิ่งใดที่ dominate สิ่งอื่นๆอยู่ สิ่งที่เห็นด้วยตาทำงานประสานกันกับสิ่งที่ "ไม่เห็น" แต่ว่า "เห็น" เพราะถูกสิ่งที่ตาเห็นล้อมกรอบ(ซึ่งในที่นี้เราอาจจะเรียกมันกว้างๆว่า ที่ว่าง-space)
ถึงตรงนี้ถ้าใครยังไม่เคยเห็นหน้าลุงมีสด้านบนคือรูปของลุง หลายคนเห็นหน้าลุงแล้วอาจจะผิดหวัง ว่านี่หรือที่เป็นสถาปนิกคนสำคัญ หน้าตาไม่ส่อแววของความเป็นคนที่มีอารมณ์สุนทรีย์อยู่เลย คล้ายๆ นักธุรกิจแก่ๆ คนหนึ่งมากกว่า (แสดงว่าคนเราไม่ควรมองกันแต่เพียงภายนอก อุ๊ย นี่เราเขียนอะไรเชยๆ ออกไปเนี่ย ^_^) ถึงตรงนี้หลายคนอาจอยากจะรู้ว่า ไลฟท์สไตล์ของลุงเป็นยังๆไง วันๆ ลุงทำอะไรบ้าง? (ไปแฮงค์เอ้าท์ที่ไหน ที่ฮิบๆ เก๋ๆ หรือเปล่า?)
โดยปรกติลุงมีสจะตืนนอนตอน สิบเอ็ดโมง เปิดเพลงคลาสสิค ทำธุระส่วนตัว อ่านหนังสือ จิบไวน์ ไปตามเรื่องตามราว พอบ่ายคล้อยใกล้เย็น ลุงแกก็จัดแจงแต่งตัวเนี้ยบใส่สูทที่ตัดเย็บอย่างดีโดยเพื่อนแกที่เป็นดีไซน์เนอร์ชื่อดัง(นึกชื่อไม่ออก และขี้เกียจไปค้นในหนังสือว่าชื่ออะไร) ลุงแกแต่งตัวเนี้ยบมากๆ(เหมือนกับงานที่แกออกแบบ) เดินจากบ้านไปออฟฟิศเพื่อตรวจงานลูกน้อง นั่งคอมเม้นงาน จนถึงเย็น จากนั้นก็เอางานกลับมาคิดต่อที่บ้าน เวลาหัวค่ำถึงรุ่งเช้าอีกวันหนึ่งคือเวลาที่ลุงแกนั่งทำงานจริงๆ จังๆ ที่ทำงานช่วงนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าลุงแกคงหลงรัก ความเงียบของตอนกลางคืนกระมัง
หมดไปอีกวัน หนึ่งวันเบาๆ ของลุงมีสก็คงมีแค่นี้
ผมรู้จักลุงมีสครั้งแรกสมัยที่เรียนอยู่ชั้นปอสี่ ช่วงปิดเทอมหน้าร้อนคุณครูให้การบ้านให้ทำรายงานเรื่องบุคคลสำคัญของโลกความยาวสิบหน้ากระดาษฟูลแก๊บ(คิดถึงกระดาษแบบนี้เหมือนกันเดี๋ยวนี้คงไม่มีขายแล้ว ^_^) ปรึกษาแม่ว่าทำไงดี แม่ก็เลยถามพี่ที่อยู่ข้างบ้านว่าทำยังไง พี่แกบอกว่าลองไปหอสมุดแห่งชาติดูดิ อยากไปเปล่าเดี๋ยวพี่พาไป(ตอนนั้นพี่คนนี้แกเรียนอักษรอยู่แกชื่อพี่นุช) ผมจึงรู้จักลุงมีสพร้อมๆกับที่รู้จักหอสมุดแห่งชาติ
ลุงมีสคือ บุคคลสำคัญของโลก คนนั้นที่ผมเขียนลงไปในกระดาษฟูลแก๊บส่งอาจารย์เป็นการบ้าน อย่าถามว่าทำไมถึงเลือกลุงมีส เพราะจำไม่ได้จริงๆ(ประมาณว่าเลือกมามั่วๆ ไม่ได้คิดอะไร :P ) รู้แต่ว่าบอกพี่นุชว่าอยากทำเกี่ยวกับศิลปะ พี่แกก็เลยพาไปในห้องนั้น(ห้องที่อยู่ซ้ายมือชั้นล่าง) ก็เลยได้หนังสือที่เกี่ยวกับลุงมา
วันเปิดเทอมปรากฏว่า หัวข้อรายงานหลากหลายมาก บ้างก็ทำ เรื่องกาลิเลโอ บ้างก็ทำเอดิสัน บ้างก็ทำเรื่องนิวตัน บางก็ทำเรื่องพระพุทธเจ้า ส่วนผมทำเรื่อง มีส ฟาน เดอร์ โรฮ์ และทุกครั้งที่ตอบเพื่อนไปว่าทำรายงานเรื่องอะไร เพื่อนก็จะถามกลับทันทีว่า "ใครว่ะ มีสอะไรนะเมื่อกี้?"
โตขึ้นมาหน่อย(ความจริงต้องใช้คำว่าโตขึ้นมาอีกเยอะ) ตอนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ฉายสไลด์ให้ดู พอเห็นหน้าลุงผมก็จำได้ทันทีว่า ลุงคนนั้นเมื่อครั้งตอนเด็กนั่นเอง ยังหันไปโม้กับเพื่อนที่นั่งเรียนอยู่ข้างๆเลยว่า "มีสเนี่ยกูรู้จักตั้งแต่เด็กๆแล้ว กูเคยทำรายงาน" เพื่อนหันมาแล้วบอกว่า "มึงอย่างมาโม้หน่อยเลย" ^_^
ผมชอบงานที่ลุงแกออกแบบมากๆ (ที่เสียเวลาเขียนอยู่เนี่ยก็เพราะปลื้มแกอ่ะนะ) ชอบเพราะว่ามันดูเรียบๆ สวยๆ แล้วก็ดูสบายตา ถ้าเป็นงานกราฟฟิก ก็อาจจะพูดได้ว่างานแก grid ดีแล้วก็ spacing สวย
ตอนเรียนหนังสือตอนที่อยู่ชั้นโตขึ้นมาหน่อยถึงรู้ว่าพวกแนวคิดโพสโมเดิร์นทั้งหลาย เล่นแกซะยับ พวกที่หมกมุ่นอยู่ในเรื่องความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นมันต้องสื่อสารความหมาย ก็บอกว่างานแกไม่สื่อสาร ไม่ซับซ้อน ไม่สะท้อนความหมายเชิงวัฒนธรรม และมีความคิดที่ช่างเป็นเผด็จการ อ่านไปก็ผงกหัวตามไปนิดหน่อยตามแต่ Logic จะพาไป แต่จนแล้วจนรอด ขณะที่สมองพาลจะเห็นด้วยกับที่พวกโพสโมเดิร์นเขียน แต่ลึกๆแล้ว ก็ยังชื่อสิ่งที่ตาเห็นและรู้สึกว่างานลุงมีอะไรดีอยู่ข้างใน
บางทีเราก็รู้สึกรำคาญ ในการเป็นมนุษย์ช่างต่อปากต่อคำแบบพวกโพสโมเดิร์น การเป็นมาสเตอร์แบบลุงมีก็ไม่เห็นเสียหายอะไรเลย(นี่หว่า)?
ทุกวันนี้หากต้องเลือกอยู่ใกล้ มุนษย์ที่ intellectual เสียเหลือเกิน กับ มนุษย์ที่มี intuition แบบบลุงมีส บอกตามตรงว่ารู้สึกดีกับมนุษย์แบบหลังมากกว่า
อีกเรื่องหนึ่ง--ตอนเรียนอยู่ปีสามบังเอิญได้มีโอกาสไปฝึกงานอยู่ที่ออฟฟิศเล็กๆ แห่งหนึ่ง ที่บังเอิญเช่าบ้านหลังเล็กๆ ของอาจารย์ปู่--เรืองศักดิ์ กันตะบุตร เป็นออฟฟิศ อาจารย์ปู่แกเป็นลูกศิษย์ ของลุงมีส (เอ๊ะถ้าเรียกลูกศิษย์ว่าปู่ แล้วทำไมถึงเรียกมีสว่าลุง? เลยตามเลยละกัน ^_^) ทุกวันอาจารย์ปู่จะเดินเข้ามาเยี่ยมเยียนที่บ้าน แล้วก็ชวนคุยตามภาษาผู้ใหญ่ใจดี แกเคยเล่าให้ฟังว่าสมัยสงครามโลก แกเคยอยู่ฝ่ายออกแบบแล้วต้องออกแบบรถถัง ชีวิตช่วงสงครามช่างแสนลำบากยากเข็น แกยังเล่าให้ฟังตามภาษาสถาปนิก ว่าบ้านหลังที่แกอยู่นั้นแกคิดโครงสร้างใหม่ที่ทำให้ไม่ต้องตอกเสาเข็ม ทุกคนที่อยู่ในวงสนทนาตอนนั้นถามแกเป็นเสียงเดียวกันว่า "ทำไม"
"สงสารมดกับไส้เดือนที่อยู่แถวนั้น ไม่อยากทำอะไรรบกวนมัน" อาจารย์ปู่ลูกศิษย์ลุงมีสแกตอบแบบนั้น
เคยอ่านเจอไฮกุบทหนึ่ง ที่เขียนโดย มัสซึโอะ บาโช(Matsuo Basho) กวีชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในสมัยเอโดะ(ศตวรรษที่ 17)--คนนี้ก็คนโปรดของเรา ถ้ามีโอกาสอาจจะเขียนถึงใน blog นี้ ^_^
บาโชเขียนเอาไว้ว่า
By a little kitten--ลูกแมวเล็กๆ
Sniffed at,--เอาจมูกมาสูด
Creeps the slug unconcerned.--คนที่เกียจคร้านก็กระเถิบตัวหนี
ดี ที สึซึกิ (D. T. Suzuki) เคยเขียนถึงไฮกุบทนี้ในหนังสือ Zen and Japanese Culture ของเขาเอาไว้ว่า "a bit of human playfulness and sweetness"
ไฮกุบทนี้ทำให้ผมนึกถึงลุงมีส และข้อความที่ลุงแกเคยเขียน และท่าทีในการใช้ชีวิตของแก
"ปีแรกๆ เราก็ให้นักศึกษาของเราทำความรู้จักกับไม้ก่อน พอเริ่มรู้จักไม้ดีแล้ว
ในปีที่สูงขึ้นไป เราก็ให้ทำความรู้จักกับ กระจก และ เหล็ก ต่อไป"
สำหรับผมแล้วที่ลุงแกเขียนน่ะ--เขียนได้ขี้เล่นและอ่อนหวานไม่แพ้บาโช
ก็คงเหมือนอย่างที่ลุงแกบอก
และผมคงจะไม่ได้คิดไปเอง
"บางทีสิ่งดี อาจะเหมือนกันได้"
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Business Week(ไทยแลนด์)--สิงหาคม 2550
"Less is More"
Mies Van Der Rohe
เมื่อพูดถึงประโยคด้านบน ใครๆ ก็นึกถึงลุงมีส ฟาน เดอร์ โรฮ์ (Mies Van Der Rohe) ถึงแม้ลุงแกจะบอกกี่ครั้งแล้วก็ตามว่าลุงไม่ได้เป็นคนพูดประโยคนี้เป็นคนแรก (ลุงจำขี้ปากเขามาพูดอีกที) แต่ถึงกระนั้นแล้วก็ยังไม่มีใครฟัง พยายามยัดประโยคนี้เข้าไปในปากลุงให้ได้ ตามภาษาคนเขียนหนังสือที่อยากได้วรรคทองจากปากของคนอื่น แต่ในกรณีของลุงมีสนั้นเลยเถิดไปกว่านั้น(สำหรับที่เมืองไทยนั้น มีกลุ่มคนที่มีชื่ออาชีพที่น่าหมั่นไส้ที่สุด--Creative อุตส่าห์ดัดแปลงวรรคทองนี้ไปใช้จนได้ เปลี่ยนนิดหน่อย จาก Less เป็น Life กลายเป็น "Life is More" เอาไปโฆษณารถกระบะซะงั้น แหมช่างสร้างสรรค์สมชื่ออาชีพ เจงๆ)
ถ้าเทียบกับมาสเตอร์ทางสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นทั้งหมดแล้ว ลุงมีสเขียนหนังสือป่าวประกาศอุดมการณ์ของตัวเอง(manifesto) น้อยจนน่าใจหาย ผิดวิสัยของพวกมาสเตอร์ทั้งหลาย อย่างมากก็แค่เขียน course syllabus เอาไว้แจกนักศึกษา ที่บาวเฮ้าส์ กับที่ ไอไอที (ประโยคข้างหน้าเวอร์ไปนิด ความจริงมีสมีงานเขียนเล็กน้อยในหนังสือ G magazine เฮอๆ ^_^)
มีคนเห็นงานเรียบๆ น้อยๆ ของลุงมีสแล้วนึกสนุกกับความรู้สึกของตัวเอง คิดว่างานที่ลุงออกแบบนั้นมีอารมณ์บางอย่างคล้ายๆ กับสถาปัตยกรรมโบราณของญี่ปุ่น แค่สนุกในหัวสมองตัวเองไม่พอ ยังอุตส่าห์ เอาไอเดียนี้ไปถามลุงมีส ให้ลุงมีสได้ร่วมสนุกด้วย คำตอบที่ได้จากปากลุงก็คือ " ลุงไม่เคยไปญี่ปุ่น ลุงไม่เคยเห็นสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ลุงทำงานของลุงด้วยเหตุผลบางอย่าง อาจจะเป็นไปได้นะที่คนญี่ปุ่นอาจจะทำงานด้วยเหตุผลเดียวกันกับลุง" แล้วลุงก็ตบท้ายคำตอบนี้ด้วยคำพูดว่า "บางทีสิ่งดีๆ ก็อาจะเหมือนกันได้"
ตามภาษาคนที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ลุงเคยแนะนำลูกศิษย์เอาไว้ว่า เราควรเลือกงานและรับเฉพาะงานที่คิดว่าเราสามารถทำมันออกมาได้ดี (ในที่นี้อาจหมายความกว้างๆ รวมไปถึงการทำในสิ่งที่ทำแล้วไม่สูญเสียความรู้สึกนับถือตัวเอง) ลุงยังแนะนำต่ออีกว่าถ้าปีไหนไม่มีงานให้ทำ(ซึ่งตรงนี้ลุงอาจจะเล็งเห็นว่า สถาณการณ์เช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ สาเหตุก็อาจจะเนื่องมาจากการเลือกงาน ^_^) ก็ให้ตั้งโจทย์สำหรับฝึกตัวเองให้ใช้ความคิดอย่างน้อย ก็ให้ลองทำงานออกแบบเองแบบที่ไม่มีใครจ้างสักชิ้นสองชิ้น ต่อหนึ่งปี
ก็คงจะถูกอย่างที่ลุงมีสแกพูดนั่นแหละ เพราะงานที่แกคิดตอนว่างๆ ที่ไม่มีใครจ้างนั่นแหละตอนหลัง กลายเป็นนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 20 เลยเชียว
เห็นอย่างนี้ จะว่าไปลุงแกมีชื่อเสียงพอตัว ก่อนที่จะลี้ภัยมาสอนหนังสืออยู่ที่ไอไอที(เป็นคณบดี คณะสถาปัตย์ รวมถึงเป็นร่วมบุกเบิกสถาบันแห่งนี้) ในอเมริกา ลุงแกคือหนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงเรียนบาวฮาวส์ มีช่วงหนึ่งบรรณาธิการนิตยสารออกแบบและตกแต่งชื่อดัง ได้เชิญ คณบดีจากสถาบันต่างๆ มาเขียนบทความแสดงวิสัยทัศน์ในด้านการออกแบบ ของแต่ละสถาบัน
ลุงมีสอีกนั่นแหละที่ บรรณาธิการนิตสารเล่มนั้น(รวมถึง แฟรง รอย ไรท์ สถาปนิกชื่อดังที่ผมเองไม่ค่อยชอบเขาเท่าไหร่)กระแนะกระแหนว่า แสดงวิสัยทัศน์ได้ธรรมดาที่สุดในบรรดาเหล่าคณะบดีทั้งหลาย
อยากรู้ไหมว่าลุงแกเขียนว่าอะไร
ลุงแกเขียนในนิตยสารเล่มนั้นเอาไว้ว่า "ปีแรกๆ เราก็ให้นักศึกษาของเราทำความรู้จักกับไม้ก่อน พอเริ่มรู้จักไม้ดีแล้วในปีที่สูงขึ้นไปเรื่่อยๆ เราก็ให้ทำความรู้จักกับ กระจก และ เหล็ก ต่อไป" (โชคยังดีที่ลุงแกใช้ชีวิตอยู่ในช่วงต้นศตวรรษ ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าลุงมีชีวิตอยู่ตอนนี้และพูดอะไรแบบนี้ อาจจะถูกพวกนักวิชาการหัวโพสโมเดิร์นทั้งหลายรุมเหยียดหยาม-ที่จริงแล้วตอนนี้ก็โดนรุมอยู่นะ เฮอ)
"Form Follow Function"-รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอย คือคำใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ซึ่งความจริงแล้วจะว่าไปลุงมีสเองก็ไม่ได้สนใจแนวคิดนี้ซะทีเดียว(สิ่งนี้อาจจะหมายความว่าได้ว่าลุงแกไม่ได้เป็นโมเดิร์นนิสท์หรือเปล่า? ) สำหรับลุงแล้ว Form--รูปทรง ไม่ใช่เรื่องใหญ่ จนเราต้องประดิษฐ์ประดอยให้ความสำคัญ และประโยชน์ใช้สอยก็ไม่ใช่สิ่งที่เราต้อง follow มันแบบสุดโต่ง แบบที่ต้องเลือกเอาด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับลุงแล้วสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ถ้าใช้ไม้ในการก่อสร้าง ไม้ควรแสดงความเป็นไม้ออกมาอย่างเปิดเผย แสดงให้เราเห็นทั้งจุดเด่นและข้อจำกัดของมัน เหล็กควรแสดงความเป็นเหล็ก ทุกสิ่ง ทุกวัสดุต้องมารวมกัน และประสานสัมพันธ์กัน มากว่าจะคิดว่าจะต้องมีสิ่งใดที่ dominate สิ่งอื่นๆอยู่ สิ่งที่เห็นด้วยตาทำงานประสานกันกับสิ่งที่ "ไม่เห็น" แต่ว่า "เห็น" เพราะถูกสิ่งที่ตาเห็นล้อมกรอบ(ซึ่งในที่นี้เราอาจจะเรียกมันกว้างๆว่า ที่ว่าง-space)
ถึงตรงนี้ถ้าใครยังไม่เคยเห็นหน้าลุงมีสด้านบนคือรูปของลุง หลายคนเห็นหน้าลุงแล้วอาจจะผิดหวัง ว่านี่หรือที่เป็นสถาปนิกคนสำคัญ หน้าตาไม่ส่อแววของความเป็นคนที่มีอารมณ์สุนทรีย์อยู่เลย คล้ายๆ นักธุรกิจแก่ๆ คนหนึ่งมากกว่า (แสดงว่าคนเราไม่ควรมองกันแต่เพียงภายนอก อุ๊ย นี่เราเขียนอะไรเชยๆ ออกไปเนี่ย ^_^) ถึงตรงนี้หลายคนอาจอยากจะรู้ว่า ไลฟท์สไตล์ของลุงเป็นยังๆไง วันๆ ลุงทำอะไรบ้าง? (ไปแฮงค์เอ้าท์ที่ไหน ที่ฮิบๆ เก๋ๆ หรือเปล่า?)
โดยปรกติลุงมีสจะตืนนอนตอน สิบเอ็ดโมง เปิดเพลงคลาสสิค ทำธุระส่วนตัว อ่านหนังสือ จิบไวน์ ไปตามเรื่องตามราว พอบ่ายคล้อยใกล้เย็น ลุงแกก็จัดแจงแต่งตัวเนี้ยบใส่สูทที่ตัดเย็บอย่างดีโดยเพื่อนแกที่เป็นดีไซน์เนอร์ชื่อดัง(นึกชื่อไม่ออก และขี้เกียจไปค้นในหนังสือว่าชื่ออะไร) ลุงแกแต่งตัวเนี้ยบมากๆ(เหมือนกับงานที่แกออกแบบ) เดินจากบ้านไปออฟฟิศเพื่อตรวจงานลูกน้อง นั่งคอมเม้นงาน จนถึงเย็น จากนั้นก็เอางานกลับมาคิดต่อที่บ้าน เวลาหัวค่ำถึงรุ่งเช้าอีกวันหนึ่งคือเวลาที่ลุงแกนั่งทำงานจริงๆ จังๆ ที่ทำงานช่วงนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าลุงแกคงหลงรัก ความเงียบของตอนกลางคืนกระมัง
หมดไปอีกวัน หนึ่งวันเบาๆ ของลุงมีสก็คงมีแค่นี้
ผมรู้จักลุงมีสครั้งแรกสมัยที่เรียนอยู่ชั้นปอสี่ ช่วงปิดเทอมหน้าร้อนคุณครูให้การบ้านให้ทำรายงานเรื่องบุคคลสำคัญของโลกความยาวสิบหน้ากระดาษฟูลแก๊บ(คิดถึงกระดาษแบบนี้เหมือนกันเดี๋ยวนี้คงไม่มีขายแล้ว ^_^) ปรึกษาแม่ว่าทำไงดี แม่ก็เลยถามพี่ที่อยู่ข้างบ้านว่าทำยังไง พี่แกบอกว่าลองไปหอสมุดแห่งชาติดูดิ อยากไปเปล่าเดี๋ยวพี่พาไป(ตอนนั้นพี่คนนี้แกเรียนอักษรอยู่แกชื่อพี่นุช) ผมจึงรู้จักลุงมีสพร้อมๆกับที่รู้จักหอสมุดแห่งชาติ
ลุงมีสคือ บุคคลสำคัญของโลก คนนั้นที่ผมเขียนลงไปในกระดาษฟูลแก๊บส่งอาจารย์เป็นการบ้าน อย่าถามว่าทำไมถึงเลือกลุงมีส เพราะจำไม่ได้จริงๆ(ประมาณว่าเลือกมามั่วๆ ไม่ได้คิดอะไร :P ) รู้แต่ว่าบอกพี่นุชว่าอยากทำเกี่ยวกับศิลปะ พี่แกก็เลยพาไปในห้องนั้น(ห้องที่อยู่ซ้ายมือชั้นล่าง) ก็เลยได้หนังสือที่เกี่ยวกับลุงมา
วันเปิดเทอมปรากฏว่า หัวข้อรายงานหลากหลายมาก บ้างก็ทำ เรื่องกาลิเลโอ บ้างก็ทำเอดิสัน บ้างก็ทำเรื่องนิวตัน บางก็ทำเรื่องพระพุทธเจ้า ส่วนผมทำเรื่อง มีส ฟาน เดอร์ โรฮ์ และทุกครั้งที่ตอบเพื่อนไปว่าทำรายงานเรื่องอะไร เพื่อนก็จะถามกลับทันทีว่า "ใครว่ะ มีสอะไรนะเมื่อกี้?"
โตขึ้นมาหน่อย(ความจริงต้องใช้คำว่าโตขึ้นมาอีกเยอะ) ตอนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ฉายสไลด์ให้ดู พอเห็นหน้าลุงผมก็จำได้ทันทีว่า ลุงคนนั้นเมื่อครั้งตอนเด็กนั่นเอง ยังหันไปโม้กับเพื่อนที่นั่งเรียนอยู่ข้างๆเลยว่า "มีสเนี่ยกูรู้จักตั้งแต่เด็กๆแล้ว กูเคยทำรายงาน" เพื่อนหันมาแล้วบอกว่า "มึงอย่างมาโม้หน่อยเลย" ^_^
ผมชอบงานที่ลุงแกออกแบบมากๆ (ที่เสียเวลาเขียนอยู่เนี่ยก็เพราะปลื้มแกอ่ะนะ) ชอบเพราะว่ามันดูเรียบๆ สวยๆ แล้วก็ดูสบายตา ถ้าเป็นงานกราฟฟิก ก็อาจจะพูดได้ว่างานแก grid ดีแล้วก็ spacing สวย
ตอนเรียนหนังสือตอนที่อยู่ชั้นโตขึ้นมาหน่อยถึงรู้ว่าพวกแนวคิดโพสโมเดิร์นทั้งหลาย เล่นแกซะยับ พวกที่หมกมุ่นอยู่ในเรื่องความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นมันต้องสื่อสารความหมาย ก็บอกว่างานแกไม่สื่อสาร ไม่ซับซ้อน ไม่สะท้อนความหมายเชิงวัฒนธรรม และมีความคิดที่ช่างเป็นเผด็จการ อ่านไปก็ผงกหัวตามไปนิดหน่อยตามแต่ Logic จะพาไป แต่จนแล้วจนรอด ขณะที่สมองพาลจะเห็นด้วยกับที่พวกโพสโมเดิร์นเขียน แต่ลึกๆแล้ว ก็ยังชื่อสิ่งที่ตาเห็นและรู้สึกว่างานลุงมีอะไรดีอยู่ข้างใน
บางทีเราก็รู้สึกรำคาญ ในการเป็นมนุษย์ช่างต่อปากต่อคำแบบพวกโพสโมเดิร์น การเป็นมาสเตอร์แบบลุงมีก็ไม่เห็นเสียหายอะไรเลย(นี่หว่า)?
ทุกวันนี้หากต้องเลือกอยู่ใกล้ มุนษย์ที่ intellectual เสียเหลือเกิน กับ มนุษย์ที่มี intuition แบบบลุงมีส บอกตามตรงว่ารู้สึกดีกับมนุษย์แบบหลังมากกว่า
อีกเรื่องหนึ่ง--ตอนเรียนอยู่ปีสามบังเอิญได้มีโอกาสไปฝึกงานอยู่ที่ออฟฟิศเล็กๆ แห่งหนึ่ง ที่บังเอิญเช่าบ้านหลังเล็กๆ ของอาจารย์ปู่--เรืองศักดิ์ กันตะบุตร เป็นออฟฟิศ อาจารย์ปู่แกเป็นลูกศิษย์ ของลุงมีส (เอ๊ะถ้าเรียกลูกศิษย์ว่าปู่ แล้วทำไมถึงเรียกมีสว่าลุง? เลยตามเลยละกัน ^_^) ทุกวันอาจารย์ปู่จะเดินเข้ามาเยี่ยมเยียนที่บ้าน แล้วก็ชวนคุยตามภาษาผู้ใหญ่ใจดี แกเคยเล่าให้ฟังว่าสมัยสงครามโลก แกเคยอยู่ฝ่ายออกแบบแล้วต้องออกแบบรถถัง ชีวิตช่วงสงครามช่างแสนลำบากยากเข็น แกยังเล่าให้ฟังตามภาษาสถาปนิก ว่าบ้านหลังที่แกอยู่นั้นแกคิดโครงสร้างใหม่ที่ทำให้ไม่ต้องตอกเสาเข็ม ทุกคนที่อยู่ในวงสนทนาตอนนั้นถามแกเป็นเสียงเดียวกันว่า "ทำไม"
"สงสารมดกับไส้เดือนที่อยู่แถวนั้น ไม่อยากทำอะไรรบกวนมัน" อาจารย์ปู่ลูกศิษย์ลุงมีสแกตอบแบบนั้น
เคยอ่านเจอไฮกุบทหนึ่ง ที่เขียนโดย มัสซึโอะ บาโช(Matsuo Basho) กวีชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในสมัยเอโดะ(ศตวรรษที่ 17)--คนนี้ก็คนโปรดของเรา ถ้ามีโอกาสอาจจะเขียนถึงใน blog นี้ ^_^
บาโชเขียนเอาไว้ว่า
By a little kitten--ลูกแมวเล็กๆ
Sniffed at,--เอาจมูกมาสูด
Creeps the slug unconcerned.--คนที่เกียจคร้านก็กระเถิบตัวหนี
ดี ที สึซึกิ (D. T. Suzuki) เคยเขียนถึงไฮกุบทนี้ในหนังสือ Zen and Japanese Culture ของเขาเอาไว้ว่า "a bit of human playfulness and sweetness"
ไฮกุบทนี้ทำให้ผมนึกถึงลุงมีส และข้อความที่ลุงแกเคยเขียน และท่าทีในการใช้ชีวิตของแก
"ปีแรกๆ เราก็ให้นักศึกษาของเราทำความรู้จักกับไม้ก่อน พอเริ่มรู้จักไม้ดีแล้ว
ในปีที่สูงขึ้นไป เราก็ให้ทำความรู้จักกับ กระจก และ เหล็ก ต่อไป"
สำหรับผมแล้วที่ลุงแกเขียนน่ะ--เขียนได้ขี้เล่นและอ่อนหวานไม่แพ้บาโช
ก็คงเหมือนอย่างที่ลุงแกบอก
และผมคงจะไม่ได้คิดไปเอง
"บางทีสิ่งดี อาจะเหมือนกันได้"
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Business Week(ไทยแลนด์)--สิงหาคม 2550
Thursday, August 02, 2007
จดหมายของลุง
2007-08-02
"วาดสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของเธอด้วยดินสอ, ปากกา, ดินสอสี หรือว่าสีน้ำ วาดทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอได้จินตนาการถึงมัน ไม่ต้องกังวลถึงอะไรเกี่ยวกับคำชมเชยหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เธอจะได้รับ ตัดสินในสิ่งที่เธอได้ทำไปด้วยตัวของเธอเอง"
ภาพ Le Corbusier กับ หนุ่มน้อยมิมี่ ในขณะที่กำลังง่วนอยู่กับการสังเกตธรรมชาติ ที่ Cap-Martin
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 1953
มีมี่
ฉันกำลังเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงเธออยู่ที่ม้านั่งในสถานนีรถไฟ มันเยี่ยมมากเลยที่เธอทำสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเธอเหมือนที่เธอกำลังทำอยู่ในตอนนี้ มันอาจจะยากสักหน่อยเพราะอายุเธอยังน้อย และพบว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับบริบทที่มีความชัดเจนมากๆ
เธอได้ก้าวผ่านก้าวที่สำคัญที่สุดไปข้างหน้าแล้ว เพราะเธอเลือกสถาปัตยกรรม แทนที่จะเลือกที่ทำการไปรษณีย์ แล้ววันหนึ่งเธอก็จะรู้ความจริงว่าตรงนี้เป็นทางแพร่งที่สำคัญมากๆ สถาปัตยกรรมกำลังเริ่มนับหนึ่งและก็กำลังดำเนินต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นเป็นทางเลือกที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกาลเวลา บุคคลิกภาพของเธอยังไม่ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจน แต่ไม่แน่บางที่สิ่งนี้มันอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าเธอสามารถคาดคะเน ปรารถนา และมีความหวังในมัน โดยพยายามทำในทิศทางที่ถูกต้อง โดยเตรียมสิ่งที่จะเกื้อหนุนต่อเธอได้โดยที่เธอต้องไม่หลอกตัวเอง
มีสิ่งดีๆที่เธอสามารถปฏิบัติได้ และมีประโยชน์มากๆ มันจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความพอใจให้เธอได้ในอนาคตแน่ๆ
และนี่คือคำแนะนำที่มีประโยชน์ที่ว่านั้น:
ข้อที่หนึ่ง เรียนรู้เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวกับการเขียนแบบ อย่างกระจ่างแจ้ง และสมบูรณ์แบบ ในหลายๆ มาตราส่วน ทั้งการเขียนด้วยดินสอ และการเขียนด้วยปากกา
ข้อที่สอง เรียนรู้ที่จะอธิบายรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ด้วยความคิดที่เรียบง่าย โดยปราศจากการอวดอ้าง หากระดาษที่เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสมาใช้สำหรับฝึกฝน อย่าเสียเวลาไปกับการลบมัน(หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเขียนแบบไม่ต้องกลัวว่าจะเลอะ-ผู้แปล)ไม่ต้องเขียนด้วยเส้นเนี้ยบๆ(cross-hatching) และอย่าเขียนแบบอวดรู้ในสิ่งที่ตัวเองก็ยังไม่เข้าใจมัน
เมื่อเธอและเพื่อนของเธอ มีสมุดสำหรับใช้ฝึกฝนแล้ว ให้คิดโจทย์ขึ้นมาสำหรับใช้ในการฝึกในสมุดแบบฝึกหัดของเธอ ด้วยไม้บรรทัดและดินสอสี และกำหนดรูปแบบของแนวความคิดและการเขียนแบบของเธอขึ้นมา
ข้อที่สาม การเขียนภาพทัศนียภาพ (perspective) (เช่นเดียวกัน ควรเขียนลงบนกระดาษที่เป็นสี่เหลี่ยมที่มาตราส่วน 5 m/m) ด้วยสัดส่วนแบบนี้อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่ยุ่งยากแต่มันจะทำให้เธอเขียนภาพทัศนียภาพได้ง่ายขึ้น!
ข้อที่สี่ วาดสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของเธอด้วยดินสอ, ปากกา, ดินสอสี หรือว่าสีน้ำ วาดทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอได้จินตนาการถึงมัน ไม่ต้องกังวลถึงอะไรเกี่ยวกับคำชมเชยหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เธอจะได้รับ ตัดสินในสิ่งที่เธอได้ทำไปด้วยตัวของเธอเอง และต่อไปนี้กฎที่่จะพูดถึงสิ่งที่เธอไม่ควรทำ : อย่าเขียนภาพจากหุ่นปูนปลาสเตอร์, ก้อนหิน, โครงสร้าง, ต้นไม้, หรือกิ่งไม้ แต่ให้เขียนจากความทรงจำของเธอที่มีต่อสิ่งเหล่านั้น ที่เข้ามากระทบความรู้สึกของเธอในขณะนั้น
อย่าให้อาจารย์แนะนำเธอเกี่ยวกับเรื่องศิลปะ ให้ถอยห่างออกมาและอยู่ในมุมของเธอเองแล้วพยายามก้าวเดินต่อไปข้างหน้า(แล้วมีมี่ควรจะเชื่อสิ่งที่ลุงคอร์บูฯ ร่ายยาวมาตั้งแต่แรกจนถึงบรรทัดนี่ไหมและเนี่ย(แซวเล่น ^_^)--ผู้แปล)
มองไปที่ก้อนเมฆบนฟ้าแล้วพยายามทำความเข้าใจให้ได้ว่าสิ่งเหล่านี้นั้นมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร(มันมีความแตกต่างกันมากนะ)
ยิ่งไปกว่านั้นพยายามวาดบ้านและทิวทัศน์ต่างๆเยอะๆ แต่ก็อย่าวาดด้วยความรู้สึกที่ว่ามีผู้อื่นได้ขอร้องให้ทำสิ่งเหล่านี้
ตอนนี้ให้พยายามเข้าใจกับคำแนะนำต่างๆ ของฉัน แล้วเธอจะสามารถก้าวไปข้างหน้าและค้นพบลักษณะเฉพาะที่เป็นแบบของเธอเองได้
บอกกับตัวเองเอาไว้ว่าเหล่านี้เป็นคำแนะนำที่ดี
เออ บอกฉันและเตือนฉันด้วย ว่าให้ส่งนิตยสารจากปารีสให้เธอ เพราะที่นี่มีนิตยสารมากมาย และเพียงพอที่จะส่งเพื่อจะแบ่งปันให้เธออ่าน
ส่งมาตามที่อยู่นี้
Mme Jeanne
Atelier L-C, 35 rue de Sevres Paris 6
รักษาความกล้าหาญของเธอไว้ จากเพื่อนของเธอ
เลอ คอร์บูซิเออร์
ปล.--ช่วงฤดูร้อนที่จะมาถึงนี้เธอคงจะมีเวลามากมาย อย่าลงทะเบียนเรียนวิชา "Decorative art" เป็นอันขาด เพราะเมื่อพวกเขามอบสิ่งนั้นให้แด่เธอ ก็เหมือนกับว่าพวกเขาได้ฆ่าเธอไปแล้ว(สมกับเป็นผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ตรงนี้สะท้อนให้เห็นทัศนะคติที่ลุงคอร์บูฯ มีต่อการตกแต่ง เหมือนที่พวกโมเดิร์นนิสท์ชอบพูดว่า "การตกแต่งเป็นอาชญากรรม" นั่นแหละ--วงเล็บนี้เป็นของผู้แปลเองวงเล็บถัดไปเป็นของคอร์บูฯ)(ขอร้องให้พี่สาวของเธอช่วยพิมพ์จดหมายฉบับนี้ เพื่อเธอจะได้สามารถอ่านมันได้ง่ายและเข้าใจมันได้มากขึ้นและก็อย่าลืมทำสำเนาส่งมาให้ฉันด้วย)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ด้านบนคือจดหมายที่ เลอ คอร์บูซิเออร์(Le Corbusier) เขียนถึงมิมี่ หนุ่มน้อยลูกชายของเพื่อนสนิทที่กำลังตัดสินใจเข้าเรียนสถาปัตยกรรม
ใครจะไปรู้ว่าการพบลุงคอร์บในช่วงฤดูร้อนในปี 1949 (corb--คือชื่อเล่นอย่างเป็นทางการของคอร์บูฯ ซึ่งนับตั้งแต่ตรงนี้จะเรียกคอร์บูฯ ว่าลุงคอร์บนะ โอฯป่ะ ) ทำให้เด็กน้อยทีี่ชื่อโรเบิร์ต รีบูตาโต้ หรือมิมี่ ประทับใจในอาชีพของลุง--สถาปนิก (และมีโอกาสได้ไปช่วยงานลุงคอร์บในอนาคต) ในห้วงเวลานั้น นั่นเองหลังจากที่ได้พบปะและพูดคุยกับลุง ที่ร้านอาหารริมทะเลของพ่อที่มีชื่อว่าThe Etoile de mer ที่ Cap-Martin ประเทศฝรั่งเศส
ใครจะไปรู้ว่า การไปเที่ยวที่ Cap-Martin ในครั้งนั้นทำให้ลุงคอร์บประทับใจกับทัศนียภาพที่งดงามของทะเลที่อยู่ตรงหน้ารวมถึงมิตรภาพและน้ำจิตน้ำใจของผู้คนแถวนั้น หรือพูดง่ายๆก็คือถูกชะตา จนทำให้ตัดสินใจสร้างบ้านพักตากอากาศเพื่อจะได้มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนๆ และพรรคพวกที่รักใคร่ ชอบพอกัน (หนึ่งในนั้นมี Eileen Gray สถาปนิกและนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงรวมอยู่ด้วย)
แต่บ้านพักตากอากาศของสถาปนิกที่นิตยสาร Time บอกว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด(ในทางสถาปัตยกรรม)ที่สุดในศตวรรษที่ 20 นั้นจะเป็นยังไง? หลายคนคงคิดว่าบ้านของลุงคงใหญ่โตหรูหรา หรือถ้าคิดแบบเศรษฐีไทยก็อาจจะบอกว่าคงจะต้องอบอุ่นสไตล์รีสอร์ทและมีสปาอยู่ในบ้านด้วย? หรือไม่ก็คงเรียบหรูอย่างมีเหตุมีผลแบบโมเดิร์นเหมือนที่ลุงได้ป่าวประกาศอุดมการณ์เอาไว้ในนิตยสาร L'Espirit Nouveau ของตัวเองในช่วงต้นศตวรรษ?
บางครั้งความจริงก็ชอบวิ่งสวนทางกับสิ่งที่เราคิดว่ามันควรจะเป็นอยู่บ่อยๆ บ่อยเสียจนมนุษย์เองก็น่าจะคบหาความไม่แน่นอนนี้เอาไว้เป็นเพื่อนได้เสียทีนึง (เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ บ่อยเสียจนมนุษย์อย่างเราๆน่าจะทำใจกับมันได้แล้ว?)
บ้านพักตากอากาศ Le Petit Cabanon ของลุงเป็นยังไงนั้น จะต้องเสียเวลาสาธยายทำไมก็ในเมื่อเรามีรูปถ่ายให้ดู ^_^
Le Petit Cabanon บ้านของลุงคอร์บที่ Cap-Martin
ส่วนเรื่องราวของลุงคอร์บที่เกิดขึ้นใน Le Petit Cabanon จะเป็นยังไงนั้น ก็คงต้องเอาไว้คราวหน้า เพราะตอนนี้คนเขียน Blog นี้เริ่มขี้เกียจเสียแล้วล่ะ เฮอๆ ^_^
*หมายเหตุ--จดหมายที่ลุงคอร์บเขียนถึงมิมี่แปลจากจดหมายที่ลงในจดหมายข่าวของ Fondation Le Corbusier ฉบับที่ 27--มีนาคม 2005
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-นิตยสารสารคดี ฉบับ 269--กรกฎาคม 2550
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
"วาดสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของเธอด้วยดินสอ, ปากกา, ดินสอสี หรือว่าสีน้ำ วาดทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอได้จินตนาการถึงมัน ไม่ต้องกังวลถึงอะไรเกี่ยวกับคำชมเชยหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เธอจะได้รับ ตัดสินในสิ่งที่เธอได้ทำไปด้วยตัวของเธอเอง"
ภาพ Le Corbusier กับ หนุ่มน้อยมิมี่ ในขณะที่กำลังง่วนอยู่กับการสังเกตธรรมชาติ ที่ Cap-Martin
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 1953
มีมี่
ฉันกำลังเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงเธออยู่ที่ม้านั่งในสถานนีรถไฟ มันเยี่ยมมากเลยที่เธอทำสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเธอเหมือนที่เธอกำลังทำอยู่ในตอนนี้ มันอาจจะยากสักหน่อยเพราะอายุเธอยังน้อย และพบว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับบริบทที่มีความชัดเจนมากๆ
เธอได้ก้าวผ่านก้าวที่สำคัญที่สุดไปข้างหน้าแล้ว เพราะเธอเลือกสถาปัตยกรรม แทนที่จะเลือกที่ทำการไปรษณีย์ แล้ววันหนึ่งเธอก็จะรู้ความจริงว่าตรงนี้เป็นทางแพร่งที่สำคัญมากๆ สถาปัตยกรรมกำลังเริ่มนับหนึ่งและก็กำลังดำเนินต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นเป็นทางเลือกที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกาลเวลา บุคคลิกภาพของเธอยังไม่ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจน แต่ไม่แน่บางที่สิ่งนี้มันอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าเธอสามารถคาดคะเน ปรารถนา และมีความหวังในมัน โดยพยายามทำในทิศทางที่ถูกต้อง โดยเตรียมสิ่งที่จะเกื้อหนุนต่อเธอได้โดยที่เธอต้องไม่หลอกตัวเอง
มีสิ่งดีๆที่เธอสามารถปฏิบัติได้ และมีประโยชน์มากๆ มันจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความพอใจให้เธอได้ในอนาคตแน่ๆ
และนี่คือคำแนะนำที่มีประโยชน์ที่ว่านั้น:
ข้อที่หนึ่ง เรียนรู้เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวกับการเขียนแบบ อย่างกระจ่างแจ้ง และสมบูรณ์แบบ ในหลายๆ มาตราส่วน ทั้งการเขียนด้วยดินสอ และการเขียนด้วยปากกา
ข้อที่สอง เรียนรู้ที่จะอธิบายรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ด้วยความคิดที่เรียบง่าย โดยปราศจากการอวดอ้าง หากระดาษที่เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสมาใช้สำหรับฝึกฝน อย่าเสียเวลาไปกับการลบมัน(หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเขียนแบบไม่ต้องกลัวว่าจะเลอะ-ผู้แปล)ไม่ต้องเขียนด้วยเส้นเนี้ยบๆ(cross-hatching) และอย่าเขียนแบบอวดรู้ในสิ่งที่ตัวเองก็ยังไม่เข้าใจมัน
เมื่อเธอและเพื่อนของเธอ มีสมุดสำหรับใช้ฝึกฝนแล้ว ให้คิดโจทย์ขึ้นมาสำหรับใช้ในการฝึกในสมุดแบบฝึกหัดของเธอ ด้วยไม้บรรทัดและดินสอสี และกำหนดรูปแบบของแนวความคิดและการเขียนแบบของเธอขึ้นมา
ข้อที่สาม การเขียนภาพทัศนียภาพ (perspective) (เช่นเดียวกัน ควรเขียนลงบนกระดาษที่เป็นสี่เหลี่ยมที่มาตราส่วน 5 m/m) ด้วยสัดส่วนแบบนี้อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่ยุ่งยากแต่มันจะทำให้เธอเขียนภาพทัศนียภาพได้ง่ายขึ้น!
ข้อที่สี่ วาดสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของเธอด้วยดินสอ, ปากกา, ดินสอสี หรือว่าสีน้ำ วาดทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอได้จินตนาการถึงมัน ไม่ต้องกังวลถึงอะไรเกี่ยวกับคำชมเชยหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เธอจะได้รับ ตัดสินในสิ่งที่เธอได้ทำไปด้วยตัวของเธอเอง และต่อไปนี้กฎที่่จะพูดถึงสิ่งที่เธอไม่ควรทำ : อย่าเขียนภาพจากหุ่นปูนปลาสเตอร์, ก้อนหิน, โครงสร้าง, ต้นไม้, หรือกิ่งไม้ แต่ให้เขียนจากความทรงจำของเธอที่มีต่อสิ่งเหล่านั้น ที่เข้ามากระทบความรู้สึกของเธอในขณะนั้น
อย่าให้อาจารย์แนะนำเธอเกี่ยวกับเรื่องศิลปะ ให้ถอยห่างออกมาและอยู่ในมุมของเธอเองแล้วพยายามก้าวเดินต่อไปข้างหน้า(แล้วมีมี่ควรจะเชื่อสิ่งที่ลุงคอร์บูฯ ร่ายยาวมาตั้งแต่แรกจนถึงบรรทัดนี่ไหมและเนี่ย(แซวเล่น ^_^)--ผู้แปล)
มองไปที่ก้อนเมฆบนฟ้าแล้วพยายามทำความเข้าใจให้ได้ว่าสิ่งเหล่านี้นั้นมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร(มันมีความแตกต่างกันมากนะ)
ยิ่งไปกว่านั้นพยายามวาดบ้านและทิวทัศน์ต่างๆเยอะๆ แต่ก็อย่าวาดด้วยความรู้สึกที่ว่ามีผู้อื่นได้ขอร้องให้ทำสิ่งเหล่านี้
ตอนนี้ให้พยายามเข้าใจกับคำแนะนำต่างๆ ของฉัน แล้วเธอจะสามารถก้าวไปข้างหน้าและค้นพบลักษณะเฉพาะที่เป็นแบบของเธอเองได้
บอกกับตัวเองเอาไว้ว่าเหล่านี้เป็นคำแนะนำที่ดี
เออ บอกฉันและเตือนฉันด้วย ว่าให้ส่งนิตยสารจากปารีสให้เธอ เพราะที่นี่มีนิตยสารมากมาย และเพียงพอที่จะส่งเพื่อจะแบ่งปันให้เธออ่าน
ส่งมาตามที่อยู่นี้
Mme Jeanne
Atelier L-C, 35 rue de Sevres Paris 6
รักษาความกล้าหาญของเธอไว้ จากเพื่อนของเธอ
เลอ คอร์บูซิเออร์
ปล.--ช่วงฤดูร้อนที่จะมาถึงนี้เธอคงจะมีเวลามากมาย อย่าลงทะเบียนเรียนวิชา "Decorative art" เป็นอันขาด เพราะเมื่อพวกเขามอบสิ่งนั้นให้แด่เธอ ก็เหมือนกับว่าพวกเขาได้ฆ่าเธอไปแล้ว(สมกับเป็นผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ตรงนี้สะท้อนให้เห็นทัศนะคติที่ลุงคอร์บูฯ มีต่อการตกแต่ง เหมือนที่พวกโมเดิร์นนิสท์ชอบพูดว่า "การตกแต่งเป็นอาชญากรรม" นั่นแหละ--วงเล็บนี้เป็นของผู้แปลเองวงเล็บถัดไปเป็นของคอร์บูฯ)(ขอร้องให้พี่สาวของเธอช่วยพิมพ์จดหมายฉบับนี้ เพื่อเธอจะได้สามารถอ่านมันได้ง่ายและเข้าใจมันได้มากขึ้นและก็อย่าลืมทำสำเนาส่งมาให้ฉันด้วย)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ด้านบนคือจดหมายที่ เลอ คอร์บูซิเออร์(Le Corbusier) เขียนถึงมิมี่ หนุ่มน้อยลูกชายของเพื่อนสนิทที่กำลังตัดสินใจเข้าเรียนสถาปัตยกรรม
ใครจะไปรู้ว่าการพบลุงคอร์บในช่วงฤดูร้อนในปี 1949 (corb--คือชื่อเล่นอย่างเป็นทางการของคอร์บูฯ ซึ่งนับตั้งแต่ตรงนี้จะเรียกคอร์บูฯ ว่าลุงคอร์บนะ โอฯป่ะ ) ทำให้เด็กน้อยทีี่ชื่อโรเบิร์ต รีบูตาโต้ หรือมิมี่ ประทับใจในอาชีพของลุง--สถาปนิก (และมีโอกาสได้ไปช่วยงานลุงคอร์บในอนาคต) ในห้วงเวลานั้น นั่นเองหลังจากที่ได้พบปะและพูดคุยกับลุง ที่ร้านอาหารริมทะเลของพ่อที่มีชื่อว่าThe Etoile de mer ที่ Cap-Martin ประเทศฝรั่งเศส
ใครจะไปรู้ว่า การไปเที่ยวที่ Cap-Martin ในครั้งนั้นทำให้ลุงคอร์บประทับใจกับทัศนียภาพที่งดงามของทะเลที่อยู่ตรงหน้ารวมถึงมิตรภาพและน้ำจิตน้ำใจของผู้คนแถวนั้น หรือพูดง่ายๆก็คือถูกชะตา จนทำให้ตัดสินใจสร้างบ้านพักตากอากาศเพื่อจะได้มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนๆ และพรรคพวกที่รักใคร่ ชอบพอกัน (หนึ่งในนั้นมี Eileen Gray สถาปนิกและนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงรวมอยู่ด้วย)
แต่บ้านพักตากอากาศของสถาปนิกที่นิตยสาร Time บอกว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด(ในทางสถาปัตยกรรม)ที่สุดในศตวรรษที่ 20 นั้นจะเป็นยังไง? หลายคนคงคิดว่าบ้านของลุงคงใหญ่โตหรูหรา หรือถ้าคิดแบบเศรษฐีไทยก็อาจจะบอกว่าคงจะต้องอบอุ่นสไตล์รีสอร์ทและมีสปาอยู่ในบ้านด้วย? หรือไม่ก็คงเรียบหรูอย่างมีเหตุมีผลแบบโมเดิร์นเหมือนที่ลุงได้ป่าวประกาศอุดมการณ์เอาไว้ในนิตยสาร L'Espirit Nouveau ของตัวเองในช่วงต้นศตวรรษ?
บางครั้งความจริงก็ชอบวิ่งสวนทางกับสิ่งที่เราคิดว่ามันควรจะเป็นอยู่บ่อยๆ บ่อยเสียจนมนุษย์เองก็น่าจะคบหาความไม่แน่นอนนี้เอาไว้เป็นเพื่อนได้เสียทีนึง (เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ บ่อยเสียจนมนุษย์อย่างเราๆน่าจะทำใจกับมันได้แล้ว?)
บ้านพักตากอากาศ Le Petit Cabanon ของลุงเป็นยังไงนั้น จะต้องเสียเวลาสาธยายทำไมก็ในเมื่อเรามีรูปถ่ายให้ดู ^_^
Le Petit Cabanon บ้านของลุงคอร์บที่ Cap-Martin
ส่วนเรื่องราวของลุงคอร์บที่เกิดขึ้นใน Le Petit Cabanon จะเป็นยังไงนั้น ก็คงต้องเอาไว้คราวหน้า เพราะตอนนี้คนเขียน Blog นี้เริ่มขี้เกียจเสียแล้วล่ะ เฮอๆ ^_^
*หมายเหตุ--จดหมายที่ลุงคอร์บเขียนถึงมิมี่แปลจากจดหมายที่ลงในจดหมายข่าวของ Fondation Le Corbusier ฉบับที่ 27--มีนาคม 2005
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-นิตยสารสารคดี ฉบับ 269--กรกฎาคม 2550
Book read:
-The Narrow Road to Oku--Matsuo Basho(Translated by Donald Keene)
Tuesday, June 05, 2007
ถนน
2007-06-05
เคยไหมที่..
เพลงดีๆ พาคุณล่องลอยออกไปไกลแสนไกล
คุณเคย...
นั่งเขียนอะไรถึงดวงจันทร์ที่อยู่บนฟ้า?
บางเวลา
คุณก็เฝ้าฝันถึงดวงดาวดวงนั้นอยู่?
คุณเคยเห็น?
ความเศร้าที่อยู่ในห้องของโรงแรมเก่าๆ ที่คุณพัก?
มองออกไปที่นอกหน้าต่าง
คุณเห็นเด็กผู้หญิงกำลังนั่งอยู่ในรถของพ่อ
บางเวลา
คุณอาจจะอยากร้องเพลงที่พูดถึงค่ำคืน
แล้วก็นั่งหัวเราะให้กับรอยแผลเป็นของคุณ
ตอนเช้านั่งกินกาแฟ ตอนบ่ายก็โคเคน
นั่งสนทนากันถึงสภาพอากาศ
แล้วก็แอบยิ้มให้กับห้องที่ว่างเปล่า
มีเสียงโทรศัพท์มาจากที่ที่แสนไกล
เสียงนั้นถามคุณว่า "เป็นยังไงบ้างสบายดีไหม"
บางเวลาคุณก็ต้องแกล้งทำเป็นลืมเรื่องที่พ่ายแพ้
ด้วยการพูดจากลบเกลื่อนด้วยเรื่องชัยชนะ
ถ้าคุณเคยรู้สึกอะไรแบบนี้
ที่ในบางค่ำคืนคุณอาจจะต้องนอนดูดาวผ่านช่องหน้าต่าง
ของรถที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วอยู่บนไฮเวย์
เหตุการณ์ทั้งหมดมันก็เหมือนกับสถานที่ ที่อยู่ที่สองข้างทาง
และชีวิตของคุณก็คือถนน
เมื่อคุณหยุดที่จะรับรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้
คุณก็จะรู้สึกตกต่ำ
เอาน่า ไม่เป็นไร
สิ่งเหล่านี้มันก็แค่เมืองๆหนึ่ง
ที่อยู่ระหว่างทาง
เมื่อชีวิตคือถนน
และคุณคือนักดนตรี
ทั้งหมดมันก็เป็นแค่
เมืองอีกเมืองที่คุณต้องผ่านมันไป
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Running On Empty(1977)--Jackson Browne
เพลง The Road อยู่ในอัลบั้มที่ห้าของ Jackson Browne ชื่ออัลบั้มว่า Running On Empty (1977) เป็นคอนเซ็ปท์อัลบั้ม เพลงทั้งหมดในอัลบั้มนี้เกี่ยวกับชีวิตนักดนตรี บางเพลงในอัลบั้มนี้แต่งตอนกลางคืนแล้วเอาไปร้องในคอนเสิร์ตที่เล่นในวันถัดไปแล้วบันทึกเสียงเก็บไว้ บางเพลงบันทึกเสียงบนรถบัสในขณะที่รถกำลังวิ่งไปบนไฮเวย์(เวลาที่ออกเดินสายเล่นคอนเสิร์ต—ซึ่งเราจะได้ยินเสียงเครื่องยนต์และเสียงยางรถยนต์บดกับถนนดังเบาๆ คลออยู่ด้วย) บางเพลงก็บันทึกเสียงในขณะที่เล่นอยู่ในบาร์เล็กๆ บางเพลงก็บันทึกเสียงในห้องพักของโรงแรม นี่ไม่ใช่บันทึกการแสดงสด(เอ๋ะ หรือใช่เพราะทุกเพลงบันทึกตอนเล่นสดๆ ) เพราะทุกเพลงเป็นเพลงใหม่ที่ไม่เคยร้องในอัลบั้มก่อนหน้านี้ และไม่มีเพลงไหนเลยในอัลบั้มนี้ที่บันทึกเสียงในห้องอัด ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง Forest Gump เพลง Running On Empty ในอัลบั้มนี้คือเพลงที่ใช้ประกอบหนังตอนที่ กัมพ์เริ่มออกวิ่งไปเรื่อยๆแบบไม่มีจุดหมาย ตอนที่ชีวิตของเขานั้นประสบความสำเร็จสูงสุด และหนวดเคราขึ้นรกรุงรัง (ผิดกันนิดหน่อยตรงที่หนุ่มน้อยในเนื้อเพลงรู้สึกว่าชีวิตกำลังวิ่งอยู่บนความว่างเปล่าตอนที่เขาอายุ 17 ปี ส่วนกัมพ์นั้นเมื่อชีวิตขึ้นสู่จุดสูงสุดแล้วถึงรู้สึก-แล้วถึงเริ่มออกวิ่งอย่างไม่มีจุดหมาย ^_^) นี่คือเพลงที่ Robert Zemeckis ใช้เป็นเพลงที่เป็นตัวแทนของปี 1977 ในหนัง เอออัลบั้มนี้มีเพลงรัก(ที่ค่อนข้างออกไปทางน้ำเน่าหน่อย)อย่าง Love Needs a Heart เราชอบท่อนนี้ที่สุด “Proud and alone, cold as a stone. Rolling down that hill into the night” ซึ่งเพลงนี้อาจจะทำให้ใครบางคนหัวใจสลายได้ ถ้าดันไปเผลอฟังแบบไม่ทันตั้งตัวตั้งใจเอาไว้ก่อน เพราะมันเพราะมากๆ เฮอๆ เออ อาทิตย์ พรหมประสิทธิ์ เคยเขียนไว้ที่ไหนจำไม่ได้แล้ว บอกว่าอัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่คุณจะต้องมีติดรถเอาไว้เวลาที่คุณต้องเดินทางไกลๆ นะ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Rem Koolhaas: The Conversation Series--Hans Ulrich Obrist
แจ๊คสัน บราวน์ (คนขวา) ขณะกำลังร้องเพลงอยู่บนรถ
เคยไหมที่..
เพลงดีๆ พาคุณล่องลอยออกไปไกลแสนไกล
คุณเคย...
นั่งเขียนอะไรถึงดวงจันทร์ที่อยู่บนฟ้า?
บางเวลา
คุณก็เฝ้าฝันถึงดวงดาวดวงนั้นอยู่?
คุณเคยเห็น?
ความเศร้าที่อยู่ในห้องของโรงแรมเก่าๆ ที่คุณพัก?
มองออกไปที่นอกหน้าต่าง
คุณเห็นเด็กผู้หญิงกำลังนั่งอยู่ในรถของพ่อ
บางเวลา
คุณอาจจะอยากร้องเพลงที่พูดถึงค่ำคืน
แล้วก็นั่งหัวเราะให้กับรอยแผลเป็นของคุณ
ตอนเช้านั่งกินกาแฟ ตอนบ่ายก็โคเคน
นั่งสนทนากันถึงสภาพอากาศ
แล้วก็แอบยิ้มให้กับห้องที่ว่างเปล่า
มีเสียงโทรศัพท์มาจากที่ที่แสนไกล
เสียงนั้นถามคุณว่า "เป็นยังไงบ้างสบายดีไหม"
บางเวลาคุณก็ต้องแกล้งทำเป็นลืมเรื่องที่พ่ายแพ้
ด้วยการพูดจากลบเกลื่อนด้วยเรื่องชัยชนะ
ถ้าคุณเคยรู้สึกอะไรแบบนี้
ที่ในบางค่ำคืนคุณอาจจะต้องนอนดูดาวผ่านช่องหน้าต่าง
ของรถที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วอยู่บนไฮเวย์
เหตุการณ์ทั้งหมดมันก็เหมือนกับสถานที่ ที่อยู่ที่สองข้างทาง
และชีวิตของคุณก็คือถนน
เมื่อคุณหยุดที่จะรับรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้
คุณก็จะรู้สึกตกต่ำ
เอาน่า ไม่เป็นไร
สิ่งเหล่านี้มันก็แค่เมืองๆหนึ่ง
ที่อยู่ระหว่างทาง
เมื่อชีวิตคือถนน
และคุณคือนักดนตรี
ทั้งหมดมันก็เป็นแค่
เมืองอีกเมืองที่คุณต้องผ่านมันไป
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Running On Empty(1977)--Jackson Browne
เพลง The Road อยู่ในอัลบั้มที่ห้าของ Jackson Browne ชื่ออัลบั้มว่า Running On Empty (1977) เป็นคอนเซ็ปท์อัลบั้ม เพลงทั้งหมดในอัลบั้มนี้เกี่ยวกับชีวิตนักดนตรี บางเพลงในอัลบั้มนี้แต่งตอนกลางคืนแล้วเอาไปร้องในคอนเสิร์ตที่เล่นในวันถัดไปแล้วบันทึกเสียงเก็บไว้ บางเพลงบันทึกเสียงบนรถบัสในขณะที่รถกำลังวิ่งไปบนไฮเวย์(เวลาที่ออกเดินสายเล่นคอนเสิร์ต—ซึ่งเราจะได้ยินเสียงเครื่องยนต์และเสียงยางรถยนต์บดกับถนนดังเบาๆ คลออยู่ด้วย) บางเพลงก็บันทึกเสียงในขณะที่เล่นอยู่ในบาร์เล็กๆ บางเพลงก็บันทึกเสียงในห้องพักของโรงแรม นี่ไม่ใช่บันทึกการแสดงสด(เอ๋ะ หรือใช่เพราะทุกเพลงบันทึกตอนเล่นสดๆ ) เพราะทุกเพลงเป็นเพลงใหม่ที่ไม่เคยร้องในอัลบั้มก่อนหน้านี้ และไม่มีเพลงไหนเลยในอัลบั้มนี้ที่บันทึกเสียงในห้องอัด ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง Forest Gump เพลง Running On Empty ในอัลบั้มนี้คือเพลงที่ใช้ประกอบหนังตอนที่ กัมพ์เริ่มออกวิ่งไปเรื่อยๆแบบไม่มีจุดหมาย ตอนที่ชีวิตของเขานั้นประสบความสำเร็จสูงสุด และหนวดเคราขึ้นรกรุงรัง (ผิดกันนิดหน่อยตรงที่หนุ่มน้อยในเนื้อเพลงรู้สึกว่าชีวิตกำลังวิ่งอยู่บนความว่างเปล่าตอนที่เขาอายุ 17 ปี ส่วนกัมพ์นั้นเมื่อชีวิตขึ้นสู่จุดสูงสุดแล้วถึงรู้สึก-แล้วถึงเริ่มออกวิ่งอย่างไม่มีจุดหมาย ^_^) นี่คือเพลงที่ Robert Zemeckis ใช้เป็นเพลงที่เป็นตัวแทนของปี 1977 ในหนัง เอออัลบั้มนี้มีเพลงรัก(ที่ค่อนข้างออกไปทางน้ำเน่าหน่อย)อย่าง Love Needs a Heart เราชอบท่อนนี้ที่สุด “Proud and alone, cold as a stone. Rolling down that hill into the night” ซึ่งเพลงนี้อาจจะทำให้ใครบางคนหัวใจสลายได้ ถ้าดันไปเผลอฟังแบบไม่ทันตั้งตัวตั้งใจเอาไว้ก่อน เพราะมันเพราะมากๆ เฮอๆ เออ อาทิตย์ พรหมประสิทธิ์ เคยเขียนไว้ที่ไหนจำไม่ได้แล้ว บอกว่าอัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่คุณจะต้องมีติดรถเอาไว้เวลาที่คุณต้องเดินทางไกลๆ นะ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Rem Koolhaas: The Conversation Series--Hans Ulrich Obrist
Monday, June 04, 2007
ภาพถ่ายสมัยที่พ่อของฉันยังไม่ได้เป็นพ่อของฉัน
2007-06-5
รูปพ่อ
รูปบ๊อบ ดีแลน
ก็อย่างที่เล่าให้ฟัง ว่าเดือนที่แล้วจัดหนังสือ ^_^
เจอรูปพ่อรูปนึง--สมัยวัยทีนเอจ (ท่าทางจะซ่าเอาเรื่อง เฮอๆ)
เราว่าน่าตาคล้ายๆ นักร้องด้านบนเหมือนกัน ^_^
(อายุก็ไล่เลี่ยกัน--แสดงว่าวัยรุ่นสมัยนั้นเขาแต่งตัวกันแบบนี้)
ปล--ที่ว่าเนื้อหาเข้มข้นน่ะเอาไว้ก่อนนะ เฮอๆ ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-
Books read:
-Rem Koolhaas: The Conversation Series--Hans Ulrich Obrist
-Written into The Void: Selected Writings 1990-2004--Peter Eisenman
รูปพ่อ
รูปบ๊อบ ดีแลน
ก็อย่างที่เล่าให้ฟัง ว่าเดือนที่แล้วจัดหนังสือ ^_^
เจอรูปพ่อรูปนึง--สมัยวัยทีนเอจ (ท่าทางจะซ่าเอาเรื่อง เฮอๆ)
เราว่าน่าตาคล้ายๆ นักร้องด้านบนเหมือนกัน ^_^
(อายุก็ไล่เลี่ยกัน--แสดงว่าวัยรุ่นสมัยนั้นเขาแต่งตัวกันแบบนี้)
ปล--ที่ว่าเนื้อหาเข้มข้นน่ะเอาไว้ก่อนนะ เฮอๆ ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-
Books read:
-Rem Koolhaas: The Conversation Series--Hans Ulrich Obrist
-Written into The Void: Selected Writings 1990-2004--Peter Eisenman
Wednesday, May 30, 2007
ความทรงจำความยาว 12 หน้ากระดาษ
2007-05-30
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ไม่ได้อัพ Blog นานมากๆ
ก็เพราะ Blog is not made with brain ใช่หรือเปล่า?
แหมมันต้องใช้ทั้งแรงงานและเวลา(ว่าง)อ่ะนะ ^_^
ดูจากที่โพสไว้ครั้งล่าสุดก็ตั้งแต่ช่วงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเลย :P
หลังจากช่วงนั้นเราก็วุ่นๆ อยู่กับการอ่านหนังสือ(เป็นความว่นที่มีความสุขดี)
แล้วก็จัดเก็บหนังสือของตัวเองลงกล่องเอกสารไว้ให้เป็นหมวดหมู่
ซึ่งใช้เวลาเกือบเดือน :P แทบไม่น่าเชื่อว่าจะนานขนาดนี้
สาเหตุที่นานก็เพราะ เวลาเราจัดหนังสือก็มักจะเจอหนังสือเก่าๆ ที่ไม่ได้เจอะเจอมานาน
ก็เลยต้องนั่งอ่าน อ่านไปจัดไป ก็ยิ่งเนิ่นนานไม่เสร็จเสียที กินเวลาไปเดือนกว่าๆ เห็นจะได้
การ์ตูนที่เราเอามาโพสไว้ด้านบนก็เป็นผลพวงที่เกิดจากการจัดเก็บหนังสือ
แล้วบังเอิญไปเจอ นี่เป็นการ์ตูนที่เราเขียนสมัยตอนอยู่มอหนึ่ง ชื่อเรื่องอะไรก็จำไม่ได้แล้ว :P
รู้แต่ว่ายังเขียนไม่เสร็จ ช่วงนั้นกำลังบ้าการ์ตูนฟุตบอล ตัวละครในเรื่องก็เป็นชื่อเพื่อนสมัย
เด็กๆ ทั้งนั้น-อ่านแล้วนึกถึงตอนสมัยนั้น ^_^
อ่านการ์ตูนแก้ขัดไปพลางๆ นะสำหรับเพื่อนๆที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม
รับรองว่าหลังจากนี้ เนื้อหาในบล๊อกนี้จะเข้มข้นขึ้นอีกเป็นเท่าทวีคูณเลยน่ะเอ้า ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-
Books read:
-The Curtain : An Essay in Seven Parts--Milan Kundera
-Written into The Void: Selected Writings 1990-2004--Peter Eisenman
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ไม่ได้อัพ Blog นานมากๆ
ก็เพราะ Blog is not made with brain ใช่หรือเปล่า?
แหมมันต้องใช้ทั้งแรงงานและเวลา(ว่าง)อ่ะนะ ^_^
ดูจากที่โพสไว้ครั้งล่าสุดก็ตั้งแต่ช่วงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเลย :P
หลังจากช่วงนั้นเราก็วุ่นๆ อยู่กับการอ่านหนังสือ(เป็นความว่นที่มีความสุขดี)
แล้วก็จัดเก็บหนังสือของตัวเองลงกล่องเอกสารไว้ให้เป็นหมวดหมู่
ซึ่งใช้เวลาเกือบเดือน :P แทบไม่น่าเชื่อว่าจะนานขนาดนี้
สาเหตุที่นานก็เพราะ เวลาเราจัดหนังสือก็มักจะเจอหนังสือเก่าๆ ที่ไม่ได้เจอะเจอมานาน
ก็เลยต้องนั่งอ่าน อ่านไปจัดไป ก็ยิ่งเนิ่นนานไม่เสร็จเสียที กินเวลาไปเดือนกว่าๆ เห็นจะได้
การ์ตูนที่เราเอามาโพสไว้ด้านบนก็เป็นผลพวงที่เกิดจากการจัดเก็บหนังสือ
แล้วบังเอิญไปเจอ นี่เป็นการ์ตูนที่เราเขียนสมัยตอนอยู่มอหนึ่ง ชื่อเรื่องอะไรก็จำไม่ได้แล้ว :P
รู้แต่ว่ายังเขียนไม่เสร็จ ช่วงนั้นกำลังบ้าการ์ตูนฟุตบอล ตัวละครในเรื่องก็เป็นชื่อเพื่อนสมัย
เด็กๆ ทั้งนั้น-อ่านแล้วนึกถึงตอนสมัยนั้น ^_^
อ่านการ์ตูนแก้ขัดไปพลางๆ นะสำหรับเพื่อนๆที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม
รับรองว่าหลังจากนี้ เนื้อหาในบล๊อกนี้จะเข้มข้นขึ้นอีกเป็นเท่าทวีคูณเลยน่ะเอ้า ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-
Books read:
-The Curtain : An Essay in Seven Parts--Milan Kundera
-Written into The Void: Selected Writings 1990-2004--Peter Eisenman
Tuesday, April 03, 2007
เย็นวันอาทิตย์และหัวค่ำวันอังคาร
ในงานสัปดาห์หนังสือ
2007-04-01>2007-04-03
ไปเดินงานสัปดาห์หนังสือมาอีกสองวัน
ได้หนังสือเพิ่มมาอีกหลายเล่ม ^_^
หนังสือที่เราได้มามีรายนามดังต่อไปนี้
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
::หนังสือของเย็นวันอาทิตย์::
1. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม--เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร
อย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่าช่วงนี้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ เล่มนี้เป็นการเขียนบรรยายลักษณะสังคมไทยอย่างละเอียด
ในมุมมองของชาวฝรั่งเศส ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ลองเปิดอ่านดูคร่าวๆ ก็น่าสนใจดี (บูธสำนักพิมพ์ศรีปัญญา)
2. Mixing Messages เขียนโดย Ellen Lupton เป็นหนังสือว่าด้วยเรื่องของ การออกแบบกราฟฟิกในสังคมร่วมสมัย
ถ้าจะให้อธิบายบุคคลิกทางความคิดของ Lupton แบบให้พอเห็นภาพแบบสั้นๆ ก็อาจจะพูดได้ว่า เธอคือ "ประชา สุวีรานนท์" แห่งนิวยอร์กนั่นเอง
เธอเขียนหนังสือดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบกราฟฟิกไว้หลายเล่ม เมื่อปีที่แล้วเคยได้อ่านหนังสือของเธอเล่มนึงมีชื่อว่า The Kitchen, the Bathroom, and the Aesthetics of Waste: A Process of Elimination ว่าด้วยเรื่องวาทกรรมที่เกี่ยวกับพื่นที่ที่เราเรียกกันว่า ห้องน้ำ ซึ่งเป็นหนังสือที่ดีมากๆ เล่มนึงเลยอ่ะ (ซื้อที่ร้านพี่นุ้ย--55 Bookstall แห่งสวนจตุจักร บูธอยู่ด้านนอก)
อันนี้เป็นเว๊บของเธอ http://www.elupton.com/
3. Process ; A Tomato Project เคยได้ยินกิตติศัพท์ของหนังสือเล่มนี้มานาน ^_^ เป็นงานทดลองทางด้านกราฟฟิกของกลุ่มนักออกแบบที่เรียกตัวเองว่า Tomato ซึ่งเนื้อหาของงานนั่นช่างห่างไกลจากคำว่า "พาณิชศิลป์" :P เราพบหนังสือเล่มนี้วางอยู่ในซอกเล็กๆ พอดีเราเห็นชื่อทีสันก็เลยดึงออกมาเพื่อลองยล แล้วเจ้าของร้านก็ทักว่าอยากได้เปล่า ถ้าอยากได้พี่ลดให้เป็นพิเศษ หนังสือมันดูไม่ค่อยรู้เรื่องขายยาก ผมพยักหน้าแล้วยิ้มให้พี่คนขาย ^_^ ผมได้หนังสือเล่มนี้มาในราคาที่ถูกมากๆ ไว้อ่านแล้วรุ้สึกยังไงกับมันถ้ามีเวลาและรุ้สึกอยากเล่าจะมาเล่าให้ฟังใน Blog อีกที (เล่มนี้ก็ซื้อที่ร้านพี่นุ้ย--55 Bookstall)
เว็บของกลุ่ม Tomato http://www.tomato.co.uk
4. C Programming เขียนโปรแกรมภาษาซี (ฉบับสมบูรณ์) เขียนโดย นิรุธ อำนวยศิลป์ อย่างที่เคยเล่าว่าช่วงนี้สนใจเรื่องการเขียนโปรแกรม อยากมีทักษะในเรื่องพวกนี้บ้าง ลองดูซักตั้งว่ะ :P (ซื้อที่บูธหนังสือคอมพิวเตอร์ภายในฮอลล์ใหญ่อ่ะจำชื่อบูธไม่ได้ :P)
5. เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ (The God of Small Things) ของ อรุณธตี รอย แปลโดย สดใส รู้จักหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรก เมื่อสองปีที่แล้ว ตอนไปสัมนาเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยที่เชียงใหม่ แล้วได้เพื่อนร่วมห้องเป็นนักศึกษาปริญญาโท ชาวญี่ปุ่นชื่อโคจิ ซื่งอยู่ในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว แบบตะลอนๆ ไปเรื่อยๆ วันที่เจอผมเขาก็ตะลอน ออกจากญี่ปุ่นเป็นเวลากว่าหกเดือนแล้ว The God of Small Things คือหนังสือที่โคจิ พกติดตัวเอาไว้อ่านในขณะเดินทาง เขาบอกกับผมว่า หนังสือดีมากๆ ลองหามาลองอ่าน ผมซื้อมาอ่านทันทีเมื่อถึงกรุงเทพฯ แต่อ่านไม่จบอ่ะ :P (ทิ้งเอาไว้แล้วก็ลืมไปเฉยๆเลยว่าอ่านไม่จบ) เออเคยเห็นเรื่องนี้บนโต๊ะของคุณลุงคนนึงที่ออฟฟิศด้วย ลุงแกบอกว่าแกชอบเรื่องนี้มากๆ ตอนชวนแกคุยเรื่องหนังสือ มาเดินที่งานหนังสือเห็นว่าเป็นหนังสือดี และมีคนอุตสาห์แปลเป็นภาษาไทยก็เลยตัดสินใจซื้อเก็บไว้--ต้องอุดหนุนๆ คนแปลหนังสือดีๆ จะได้มีกำลังใจทำงาน ^_^ ที่ปกหลัง ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เขียนแนะนำเอาไว้ว่า "The God of Small Things นวนิยายเล่มแรกในชีวิตของ อรุณธตี รอย ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการวรรณกรรมอินเดีย และสร้างความฮือฮาในหมู่นักอ่านและนักวิจารณ์ชาวตะวันตก ถึงขนาดจอห์น อัพไดค์ เปรียบงานของเธอว่า 'เป็นการแจ้งเกิดแบบไทเกอร์ วูดส์ เธอมีความสามารถในการหวดลูกระยะไกลที่ครอบคลุมเรื่องสังคม-จักรวาลได้ดี ขณะเดียวกันก็สามารถเล่นลูกระยะสั้นได้อย่างงดงาม'(ซื้อที่บูธมูลนิธิเด็ก)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
:: หนังสือของหัวค่ำวันอังคาร::
1.สยามพิมพการ : ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย จัดทำโดย สำนักพิมพ์มติชน สำหรับเราหนังสือแบบนี้ไม่ใช่หนังสือที่จะทำได้ง่ายๆ (เรื่องเล็กๆ ในยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านมาเป็นสังคมแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย) และเมืองไทยของเรายังขาดคนเขียนหนังสือหรือทำหนังสือแบบนี้อีกเยอะนะ--ก็อย่างที่บอกแหละว่าช่วงนี้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ยุคโมเดิร์นในไทย ^_^ (บูธสำนักพิมพ์มติชน)
2. ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข เขียนโดยพอล ฮอฟมานน์ และ รามานุจัน อัจฉริยะไม่รู้จบ ทั้งสองเล่ม แปลโดย นรา สุภัคโรจน์ เป็นหนังสือว่าด้วยชีวประวัติของอัฉริยะทางคณิตศาสตร์สองคน--ช่วงนี้กำลังสนใจคณิตศาสตร์ ^_^ (บูธสำนักพิมพ์มติชน)
3. กำเนิดควอนตัม (Introducing Quantum Theory) เขียนโดย Joseph P. McEvoy แปลโดย สุจินต์ วังสุยะ ตอนซื้อไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่า "เอาวุ้ยลองดูสักตั้งว่ะ" (ซื้อที่บูธมูลนิธิเด็ก)
4. ที่อื่น เขียนโดย กิตติพล สรัคคานนท์ เป็นรวมเรื่องสั้นที่พี่ต้น-อนุสรณ์ ติปยานนท์ แนะนำให้ลองอ่าน แล้วก็รู้สึกคุ้นๆชื่อ เหมือนว่าเขาเคยเขียนบทความในนิตยสาร Scale ซึ่งตอนนี้เลิกทำไปแล้วด้วยอ่ะ (ซื้อที่ไหนจำไม่ได้ :P)
5. นิยายเรื่อง ฉลาม เขียนโดย ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์ พี่แป๊ด--บรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ บอกว่าน่าลองอ่าน อารมณ์ของหนังสือ คล้ายๆ เรื่อง เซียงไฮ้ เบบี้ (บูธบลูสเกล)
6. ฮ่องกง คู่มือท่องเที่ยวฮ่องกงด้วยตัวเอง เขียนโดย ธเนศ จิระเสวกดิลก และสุพัตรา สุขสวัสดิ์ พอดีรุ่นพี่ที่รุ้จักเป็นคนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็เลยอุดหนุนเสียหน่อย ^_^
2007-04-01>2007-04-03
ไปเดินงานสัปดาห์หนังสือมาอีกสองวัน
ได้หนังสือเพิ่มมาอีกหลายเล่ม ^_^
หนังสือที่เราได้มามีรายนามดังต่อไปนี้
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
::หนังสือของเย็นวันอาทิตย์::
1. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม--เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร
อย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่าช่วงนี้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ เล่มนี้เป็นการเขียนบรรยายลักษณะสังคมไทยอย่างละเอียด
ในมุมมองของชาวฝรั่งเศส ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ลองเปิดอ่านดูคร่าวๆ ก็น่าสนใจดี (บูธสำนักพิมพ์ศรีปัญญา)
2. Mixing Messages เขียนโดย Ellen Lupton เป็นหนังสือว่าด้วยเรื่องของ การออกแบบกราฟฟิกในสังคมร่วมสมัย
ถ้าจะให้อธิบายบุคคลิกทางความคิดของ Lupton แบบให้พอเห็นภาพแบบสั้นๆ ก็อาจจะพูดได้ว่า เธอคือ "ประชา สุวีรานนท์" แห่งนิวยอร์กนั่นเอง
เธอเขียนหนังสือดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบกราฟฟิกไว้หลายเล่ม เมื่อปีที่แล้วเคยได้อ่านหนังสือของเธอเล่มนึงมีชื่อว่า The Kitchen, the Bathroom, and the Aesthetics of Waste: A Process of Elimination ว่าด้วยเรื่องวาทกรรมที่เกี่ยวกับพื่นที่ที่เราเรียกกันว่า ห้องน้ำ ซึ่งเป็นหนังสือที่ดีมากๆ เล่มนึงเลยอ่ะ (ซื้อที่ร้านพี่นุ้ย--55 Bookstall แห่งสวนจตุจักร บูธอยู่ด้านนอก)
อันนี้เป็นเว๊บของเธอ http://www.elupton.com/
3. Process ; A Tomato Project เคยได้ยินกิตติศัพท์ของหนังสือเล่มนี้มานาน ^_^ เป็นงานทดลองทางด้านกราฟฟิกของกลุ่มนักออกแบบที่เรียกตัวเองว่า Tomato ซึ่งเนื้อหาของงานนั่นช่างห่างไกลจากคำว่า "พาณิชศิลป์" :P เราพบหนังสือเล่มนี้วางอยู่ในซอกเล็กๆ พอดีเราเห็นชื่อทีสันก็เลยดึงออกมาเพื่อลองยล แล้วเจ้าของร้านก็ทักว่าอยากได้เปล่า ถ้าอยากได้พี่ลดให้เป็นพิเศษ หนังสือมันดูไม่ค่อยรู้เรื่องขายยาก ผมพยักหน้าแล้วยิ้มให้พี่คนขาย ^_^ ผมได้หนังสือเล่มนี้มาในราคาที่ถูกมากๆ ไว้อ่านแล้วรุ้สึกยังไงกับมันถ้ามีเวลาและรุ้สึกอยากเล่าจะมาเล่าให้ฟังใน Blog อีกที (เล่มนี้ก็ซื้อที่ร้านพี่นุ้ย--55 Bookstall)
เว็บของกลุ่ม Tomato http://www.tomato.co.uk
4. C Programming เขียนโปรแกรมภาษาซี (ฉบับสมบูรณ์) เขียนโดย นิรุธ อำนวยศิลป์ อย่างที่เคยเล่าว่าช่วงนี้สนใจเรื่องการเขียนโปรแกรม อยากมีทักษะในเรื่องพวกนี้บ้าง ลองดูซักตั้งว่ะ :P (ซื้อที่บูธหนังสือคอมพิวเตอร์ภายในฮอลล์ใหญ่อ่ะจำชื่อบูธไม่ได้ :P)
5. เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ (The God of Small Things) ของ อรุณธตี รอย แปลโดย สดใส รู้จักหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรก เมื่อสองปีที่แล้ว ตอนไปสัมนาเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยที่เชียงใหม่ แล้วได้เพื่อนร่วมห้องเป็นนักศึกษาปริญญาโท ชาวญี่ปุ่นชื่อโคจิ ซื่งอยู่ในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว แบบตะลอนๆ ไปเรื่อยๆ วันที่เจอผมเขาก็ตะลอน ออกจากญี่ปุ่นเป็นเวลากว่าหกเดือนแล้ว The God of Small Things คือหนังสือที่โคจิ พกติดตัวเอาไว้อ่านในขณะเดินทาง เขาบอกกับผมว่า หนังสือดีมากๆ ลองหามาลองอ่าน ผมซื้อมาอ่านทันทีเมื่อถึงกรุงเทพฯ แต่อ่านไม่จบอ่ะ :P (ทิ้งเอาไว้แล้วก็ลืมไปเฉยๆเลยว่าอ่านไม่จบ) เออเคยเห็นเรื่องนี้บนโต๊ะของคุณลุงคนนึงที่ออฟฟิศด้วย ลุงแกบอกว่าแกชอบเรื่องนี้มากๆ ตอนชวนแกคุยเรื่องหนังสือ มาเดินที่งานหนังสือเห็นว่าเป็นหนังสือดี และมีคนอุตสาห์แปลเป็นภาษาไทยก็เลยตัดสินใจซื้อเก็บไว้--ต้องอุดหนุนๆ คนแปลหนังสือดีๆ จะได้มีกำลังใจทำงาน ^_^ ที่ปกหลัง ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เขียนแนะนำเอาไว้ว่า "The God of Small Things นวนิยายเล่มแรกในชีวิตของ อรุณธตี รอย ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการวรรณกรรมอินเดีย และสร้างความฮือฮาในหมู่นักอ่านและนักวิจารณ์ชาวตะวันตก ถึงขนาดจอห์น อัพไดค์ เปรียบงานของเธอว่า 'เป็นการแจ้งเกิดแบบไทเกอร์ วูดส์ เธอมีความสามารถในการหวดลูกระยะไกลที่ครอบคลุมเรื่องสังคม-จักรวาลได้ดี ขณะเดียวกันก็สามารถเล่นลูกระยะสั้นได้อย่างงดงาม'(ซื้อที่บูธมูลนิธิเด็ก)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
:: หนังสือของหัวค่ำวันอังคาร::
1.สยามพิมพการ : ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย จัดทำโดย สำนักพิมพ์มติชน สำหรับเราหนังสือแบบนี้ไม่ใช่หนังสือที่จะทำได้ง่ายๆ (เรื่องเล็กๆ ในยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านมาเป็นสังคมแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย) และเมืองไทยของเรายังขาดคนเขียนหนังสือหรือทำหนังสือแบบนี้อีกเยอะนะ--ก็อย่างที่บอกแหละว่าช่วงนี้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ยุคโมเดิร์นในไทย ^_^ (บูธสำนักพิมพ์มติชน)
2. ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข เขียนโดยพอล ฮอฟมานน์ และ รามานุจัน อัจฉริยะไม่รู้จบ ทั้งสองเล่ม แปลโดย นรา สุภัคโรจน์ เป็นหนังสือว่าด้วยชีวประวัติของอัฉริยะทางคณิตศาสตร์สองคน--ช่วงนี้กำลังสนใจคณิตศาสตร์ ^_^ (บูธสำนักพิมพ์มติชน)
3. กำเนิดควอนตัม (Introducing Quantum Theory) เขียนโดย Joseph P. McEvoy แปลโดย สุจินต์ วังสุยะ ตอนซื้อไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่า "เอาวุ้ยลองดูสักตั้งว่ะ" (ซื้อที่บูธมูลนิธิเด็ก)
4. ที่อื่น เขียนโดย กิตติพล สรัคคานนท์ เป็นรวมเรื่องสั้นที่พี่ต้น-อนุสรณ์ ติปยานนท์ แนะนำให้ลองอ่าน แล้วก็รู้สึกคุ้นๆชื่อ เหมือนว่าเขาเคยเขียนบทความในนิตยสาร Scale ซึ่งตอนนี้เลิกทำไปแล้วด้วยอ่ะ (ซื้อที่ไหนจำไม่ได้ :P)
5. นิยายเรื่อง ฉลาม เขียนโดย ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์ พี่แป๊ด--บรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ บอกว่าน่าลองอ่าน อารมณ์ของหนังสือ คล้ายๆ เรื่อง เซียงไฮ้ เบบี้ (บูธบลูสเกล)
6. ฮ่องกง คู่มือท่องเที่ยวฮ่องกงด้วยตัวเอง เขียนโดย ธเนศ จิระเสวกดิลก และสุพัตรา สุขสวัสดิ์ พอดีรุ่นพี่ที่รุ้จักเป็นคนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็เลยอุดหนุนเสียหน่อย ^_^
Friday, March 30, 2007
ความตั้งใจ
ที่เกิดในงานสัปดาห์หนังสือ
2007-03-30
วันนี้เป็นวันแรกของงานสัปดาห์หนังสือ
ตั้งใจว่าจะไปซื้อการ์ตูน 20th Century Boys เล่ม 22 กับ pluto เล่ม 4--ปรากฎว่าพอไปถึงบูธเนชั่นหนังสือมันก็หมดซะแล้ว :P
ดีที่วันนี้เอาความตั้งใจไปหลายความฯ เฮอๆ
เมื่อตั้งใจแรกไม่สมหวังเสียแล้ว เราก็ไม่รีรอ เดินเครื่องความตั้งใจที่สอง
ความตั้งใจที่ 2--ตั้งใจไว้ว่าจะไปเดินเล่นๆ อันนี้ทำได้ไม่ยาก เพราะความตั้งใจนี้ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่น ก็แค่เดินชิลๆ ดูโน้นดูนี้แบบไม่คิดอะไรก็เท่านั้น ^_^
แต่เรื่องที่เราคิดว่ามันเท่านั้นบางครั้งบางทีมันก็ไม่ยอมเป็นแค่ความ-เท่านั้น-เหมือนกับที่เราคิด-ผมเจอรุ่นพี่ที่รู้จัก(พี่อ๋อง)โดยความบังเอิญ
ความบังเอิญ ไม่เท่ากับความตั้งใจ
นักคณิตศาสตร์ บอกว่า มันเป็นนิเสธของความตั้งใจ
นักวิทยาศาสตร์บอกว่ามันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของโลก
คนเจ้าบทเจ้ากลอนบอกว่ามันทำให้โลกนี้คล้ายบทกวี
แต่ผม--นายวิชิต ขอบอกว่า การพบเจอใครโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
บางครั้งมันก็ทำให้เราดีใจได้-ไม่มากก็น้อย ^_^
พี่อ๋องมาช่วยพี่แป๊ดขายหนังสืออยู่ที่บูธ Blue scale หนังสือที่ขายในบูธนี้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือของสำนักไต้ฝุ่นของพี่คุ่น กับสำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัดของพี่แป๊ดเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนังสือหนังหาที่ดีและมีคุณภาพทั้งนั้น (พื้นที่โฆษณา ^_^)
พี่แป๊ดให้หนังสือที่เพื่อนของผมคนนึงเขียน-แต่ผมไม่เคยรู้ว่าเธอเขียน เพราะเธอใช้นามปากกา
พิมปาย เป็นนามปากกาของเธอ ส่วนหนังสือของเธอ มีชื่อว่า คิดถึงทุกวัน
พี่แป๊ดบอกว่าเขียนได้น่ารักดี เอาไปลองอ่านดู (ขอบคุณพี่แป๊ดมากๆ ครับสำหรับหนังสือเล่มนี้ ^_^)
กลับมาที่เรื่องความตั้งใจกันต่อนะ
ความตั้งใจที่ 3--ตั้งใจว่าจะไปดูหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ (พอดีช่วงนี้เริ่มสนใจเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ อยู่ๆ ก็อยากจะพัฒนาทักษะของตัวเองในด้านนี้ขึ้นมาเฉยๆ-เคยเป็นไหมเวลาที่เราสนใจเรื่องอะไรแล้วเรื่องเหล่านั้นพาเราไปสู่ความสนใจเรื่องอื่นๆ อีก ^_^ ) แล้วก็พวกเรื่องประวัติศาสตร์ ประมาณว่าประวัติศาสตร์ช่วงยุคโมเดิร์นของไทย (เราเพิ่งซื้อหนังสือเศรษฐกิจ การเมืองไทย สมัยกรุงเทพฯมา แต่ยังไม่ได้อ่านเลยอ่ะ)
ความตั้งใจที่ 4--ตั้งใจเอาไว้ว่างานหนังสือคราวนี้จะไม่ซื้อหนังสือ ที่หาซื้อได้ง่ายๆ ตามร้านหนังสือที่เราชอบไปเดินเป็นประจำๆ-คิโนคุนิยะ บีทูเอส อะไรประมาณนั้นหรือไม่ก็พวกหนังสือออกใหม่ ที่เราสามารถหาซื้อได้ไม่ยาก ด้วยความตั้งใจนี้เองที่ทำให้วันนี้เราเดินวนเวียนอยู่แต่ในโซน C
(ซึ่งเป็นไปได้ว่าโซนซีในที่นี้เขาอาจจะย่อมาจากคำว่า โซนซีเรียสนั่นเอง เฮอๆ ^_^)
ถ้าถามเราว่าชอบอะไรในงานหนังสือ เราก็จะตอบว่า เราชอบบรรยากาศในโซนซีที่สุด เพราะมันยังเหลือกลิ่นอายสมัยที่งานหนังสือฯ ยังจัดอยู่ที่ข้างๆ คุรุสภาอ่ะ (สมัยที่ตอนเด็กๆ เราเคยไปเดินอ่ะ) คนขายหนังสือโซนนี้จะอัธยาศัยดีเป็นพิเศษ หนังสือในโซนนี้บ้างก็เป็นหนังสือ สำหรับคุณครูพวกอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรือไม่ก็พวกสื่อการสอน ส่วนใหญ่เป็นสำนักพิมพ์ที่ชื่อก็ไม่คุ้นเลย บ้างก็เป็นพวกร้านหนังสือเก่า ประเภทที่คุณสามารถค้นหาหนังสือที่อยากได้ด้วยตนเอง เพราะบางครั้งเจ้าของร้านเขาก็จนปัญญาที่จะค้นหาหนังสือที่คุณอยากได้ให้ เออในโซนนี้วันนี้เจออยู่บูธนึง เป็นบูธของนิตยสารสำหรับผู้ที่สนใจประดิษฐู์หุ่นยนต์ เราแทบจะไม่เคยเห็นนิตยสารแบบนีี้วางขายอยู่ตามแผงหนังสือทั่วๆ ไปเลย ลองไปพลิกลองอ่านผ่านๆ เนื้อหาข้างในก็น่าสนุกดีนะ
ตอนเดินเล่นอยู่ที่โซน C ไปเจอบูธของราชบัณฑิตยสถาน เข้าโดยบังเอิญ ถึงแม้ว่าราชบัณฑิตยสถาน จะบัญญัติคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เอาไว้ให้เรารู้สึกจักจี้อยู่หลายคำ หลังจากได้แวะเยี่ยมชมแล้วทำให้เรารู้สึกดีกับองค์กรนี้ขึ้นอีกเยอะ เพราะเขาพิมพ์หนังสือดีๆ เอาไว้เยอะมาก แถมราคายังไม่แพง วันนี้เราได้หนังสือจากบูธนี้มา 3 เล่มอ่ะ ^_^
หนังสือทั้งสามเล่มที่ว่า มีดังนี้
1. ฮิปปีอัสใหญ่ : บทสนทนาของเพลโตว่าด้วยความงาม--กีรติ บุญเจือ(เคยได้อ่านเป็นบางส่วนสมัยที่เรียนวิชาสุทรียศาสตร์ คราวนี้เป็นโอกาสเหมาะที่เราจะได้อ่านแบบเต็มๆ เฮอๆ)
2. เซนกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น--จำนงค์ ทองประเสริฐ (เล่มนี้แปลมาจากหนังสือ Zen and Japanese Culture ของ Daisetz T. Suzuki เล่มนี้ผมเคยยืมจากสมาคมญี่ปุ่นมาอ่านหลายครั้ง ฉบับที่ผมเคยอ่านเก่ามากๆ กระดาษเหลืองอ๋อยเลย พอได้มาเจอคราวนี้ก็เลยตัดสินใจซื้อเก็บไว้)
3. มาตฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย--ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (รู้สึกทึ่งที่ได้เห็น ไม่คิดว่าเรื่องแบบนี้จะมีคนกำหนดมาตฐานแบบเป็นเรื่องเป็นราว หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณรู้สัดส่วนที่ถูกต้อง-หรือควรจะเป็น ของตัวอักษรไทยอย่างละเอียด :P )
เราเล็งหนังสือในบูธนี้ไว้อีกหลายเล่มเลย แต่ไม่อยากซื้อไปหมดที่เดียว เกรงว่าไหล่จะหลุดซะก่อนเพราะแต่ละเล่มที่เราเล็งไว้น่ะหนาๆ ทั้งนั้น
สำหรับหนังสือคณิตศาสตร์ที่อยากได้-ผมก็เดินมาเจอกับมันจนได้ที่บูธของศูนย์หนังสือจุฬา
หนังสือที่ซื้อจากบูธนี้มีดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม--โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. (ที่ซื้อเล่มนี้เพราะเคยอ่านหนังสือของ หนังสือที่เขียนโดยวิศวกรคนนึงที่มีชื่อว่า Cecil Balmond (เป็นกำลังสำคัญคนนึงของ บริษัทวิศวกรรมชื่อดังของโลก ที่มีชื่อว่า Ove Arup) ซึ่งเขาพูดถึงเรื่องอับกอริทึมบ่อยมากๆ ในหนังสือ เราเลยอยากมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องอัลกอริทึม เออหนังสือเล่มที่ว่านีี้ มีชื่อว่า Informal-มันเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่เราชอบมากๆ-วิศวกรคนนี้เขียนหนังสือดีกว่าสถาปนิกเจ้าทฤษฎีบางคนอีกนะในความคิดของเรา ^_^)
2. คณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์--โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. (อยากมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็เลยคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะปูพื้นฐานอะไรบางอย่าง ให้เราได้บ้าง :P )
ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่น่าสนใจ แต่เราจะยังไม่พูดถึงมันในตอนนี้
ยังมีเวลาอีกเยอะแยะ
ก็งานหนังสือมันยังมีอีกหลายวันไม่ใช่หรอ ^_^
เออ
ลืมบอกไป เราว่าจะหาเวลาช่วงหลังเลิกงานวันจันทร์ถึงศุกร์มาเดินเล่นในงานนี้อีกหลายๆ ครั้ง
(วันเสาร์อาทิตย์อาจจะไม่ไปเพราะคิดว่าคนน่าจะเยอะ-เป็นคนไม่ชอบไปที่ไหนที่คนเยอะมากๆ อ่ะ)
ซึ่งประโยคข้างบนก็คือ-ความตั้งใจ-สุดท้ายของวัน ^_^
2007-03-30
วันนี้เป็นวันแรกของงานสัปดาห์หนังสือ
ตั้งใจว่าจะไปซื้อการ์ตูน 20th Century Boys เล่ม 22 กับ pluto เล่ม 4--ปรากฎว่าพอไปถึงบูธเนชั่นหนังสือมันก็หมดซะแล้ว :P
ดีที่วันนี้เอาความตั้งใจไปหลายความฯ เฮอๆ
เมื่อตั้งใจแรกไม่สมหวังเสียแล้ว เราก็ไม่รีรอ เดินเครื่องความตั้งใจที่สอง
ความตั้งใจที่ 2--ตั้งใจไว้ว่าจะไปเดินเล่นๆ อันนี้ทำได้ไม่ยาก เพราะความตั้งใจนี้ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่น ก็แค่เดินชิลๆ ดูโน้นดูนี้แบบไม่คิดอะไรก็เท่านั้น ^_^
แต่เรื่องที่เราคิดว่ามันเท่านั้นบางครั้งบางทีมันก็ไม่ยอมเป็นแค่ความ-เท่านั้น-เหมือนกับที่เราคิด-ผมเจอรุ่นพี่ที่รู้จัก(พี่อ๋อง)โดยความบังเอิญ
ความบังเอิญ ไม่เท่ากับความตั้งใจ
นักคณิตศาสตร์ บอกว่า มันเป็นนิเสธของความตั้งใจ
นักวิทยาศาสตร์บอกว่ามันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของโลก
คนเจ้าบทเจ้ากลอนบอกว่ามันทำให้โลกนี้คล้ายบทกวี
แต่ผม--นายวิชิต ขอบอกว่า การพบเจอใครโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
บางครั้งมันก็ทำให้เราดีใจได้-ไม่มากก็น้อย ^_^
พี่อ๋องมาช่วยพี่แป๊ดขายหนังสืออยู่ที่บูธ Blue scale หนังสือที่ขายในบูธนี้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือของสำนักไต้ฝุ่นของพี่คุ่น กับสำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัดของพี่แป๊ดเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนังสือหนังหาที่ดีและมีคุณภาพทั้งนั้น (พื้นที่โฆษณา ^_^)
พี่แป๊ดให้หนังสือที่เพื่อนของผมคนนึงเขียน-แต่ผมไม่เคยรู้ว่าเธอเขียน เพราะเธอใช้นามปากกา
พิมปาย เป็นนามปากกาของเธอ ส่วนหนังสือของเธอ มีชื่อว่า คิดถึงทุกวัน
พี่แป๊ดบอกว่าเขียนได้น่ารักดี เอาไปลองอ่านดู (ขอบคุณพี่แป๊ดมากๆ ครับสำหรับหนังสือเล่มนี้ ^_^)
กลับมาที่เรื่องความตั้งใจกันต่อนะ
ความตั้งใจที่ 3--ตั้งใจว่าจะไปดูหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ (พอดีช่วงนี้เริ่มสนใจเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ อยู่ๆ ก็อยากจะพัฒนาทักษะของตัวเองในด้านนี้ขึ้นมาเฉยๆ-เคยเป็นไหมเวลาที่เราสนใจเรื่องอะไรแล้วเรื่องเหล่านั้นพาเราไปสู่ความสนใจเรื่องอื่นๆ อีก ^_^ ) แล้วก็พวกเรื่องประวัติศาสตร์ ประมาณว่าประวัติศาสตร์ช่วงยุคโมเดิร์นของไทย (เราเพิ่งซื้อหนังสือเศรษฐกิจ การเมืองไทย สมัยกรุงเทพฯมา แต่ยังไม่ได้อ่านเลยอ่ะ)
ความตั้งใจที่ 4--ตั้งใจเอาไว้ว่างานหนังสือคราวนี้จะไม่ซื้อหนังสือ ที่หาซื้อได้ง่ายๆ ตามร้านหนังสือที่เราชอบไปเดินเป็นประจำๆ-คิโนคุนิยะ บีทูเอส อะไรประมาณนั้นหรือไม่ก็พวกหนังสือออกใหม่ ที่เราสามารถหาซื้อได้ไม่ยาก ด้วยความตั้งใจนี้เองที่ทำให้วันนี้เราเดินวนเวียนอยู่แต่ในโซน C
(ซึ่งเป็นไปได้ว่าโซนซีในที่นี้เขาอาจจะย่อมาจากคำว่า โซนซีเรียสนั่นเอง เฮอๆ ^_^)
ถ้าถามเราว่าชอบอะไรในงานหนังสือ เราก็จะตอบว่า เราชอบบรรยากาศในโซนซีที่สุด เพราะมันยังเหลือกลิ่นอายสมัยที่งานหนังสือฯ ยังจัดอยู่ที่ข้างๆ คุรุสภาอ่ะ (สมัยที่ตอนเด็กๆ เราเคยไปเดินอ่ะ) คนขายหนังสือโซนนี้จะอัธยาศัยดีเป็นพิเศษ หนังสือในโซนนี้บ้างก็เป็นหนังสือ สำหรับคุณครูพวกอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรือไม่ก็พวกสื่อการสอน ส่วนใหญ่เป็นสำนักพิมพ์ที่ชื่อก็ไม่คุ้นเลย บ้างก็เป็นพวกร้านหนังสือเก่า ประเภทที่คุณสามารถค้นหาหนังสือที่อยากได้ด้วยตนเอง เพราะบางครั้งเจ้าของร้านเขาก็จนปัญญาที่จะค้นหาหนังสือที่คุณอยากได้ให้ เออในโซนนี้วันนี้เจออยู่บูธนึง เป็นบูธของนิตยสารสำหรับผู้ที่สนใจประดิษฐู์หุ่นยนต์ เราแทบจะไม่เคยเห็นนิตยสารแบบนีี้วางขายอยู่ตามแผงหนังสือทั่วๆ ไปเลย ลองไปพลิกลองอ่านผ่านๆ เนื้อหาข้างในก็น่าสนุกดีนะ
ตอนเดินเล่นอยู่ที่โซน C ไปเจอบูธของราชบัณฑิตยสถาน เข้าโดยบังเอิญ ถึงแม้ว่าราชบัณฑิตยสถาน จะบัญญัติคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เอาไว้ให้เรารู้สึกจักจี้อยู่หลายคำ หลังจากได้แวะเยี่ยมชมแล้วทำให้เรารู้สึกดีกับองค์กรนี้ขึ้นอีกเยอะ เพราะเขาพิมพ์หนังสือดีๆ เอาไว้เยอะมาก แถมราคายังไม่แพง วันนี้เราได้หนังสือจากบูธนี้มา 3 เล่มอ่ะ ^_^
หนังสือทั้งสามเล่มที่ว่า มีดังนี้
1. ฮิปปีอัสใหญ่ : บทสนทนาของเพลโตว่าด้วยความงาม--กีรติ บุญเจือ(เคยได้อ่านเป็นบางส่วนสมัยที่เรียนวิชาสุทรียศาสตร์ คราวนี้เป็นโอกาสเหมาะที่เราจะได้อ่านแบบเต็มๆ เฮอๆ)
2. เซนกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น--จำนงค์ ทองประเสริฐ (เล่มนี้แปลมาจากหนังสือ Zen and Japanese Culture ของ Daisetz T. Suzuki เล่มนี้ผมเคยยืมจากสมาคมญี่ปุ่นมาอ่านหลายครั้ง ฉบับที่ผมเคยอ่านเก่ามากๆ กระดาษเหลืองอ๋อยเลย พอได้มาเจอคราวนี้ก็เลยตัดสินใจซื้อเก็บไว้)
3. มาตฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย--ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (รู้สึกทึ่งที่ได้เห็น ไม่คิดว่าเรื่องแบบนี้จะมีคนกำหนดมาตฐานแบบเป็นเรื่องเป็นราว หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณรู้สัดส่วนที่ถูกต้อง-หรือควรจะเป็น ของตัวอักษรไทยอย่างละเอียด :P )
เราเล็งหนังสือในบูธนี้ไว้อีกหลายเล่มเลย แต่ไม่อยากซื้อไปหมดที่เดียว เกรงว่าไหล่จะหลุดซะก่อนเพราะแต่ละเล่มที่เราเล็งไว้น่ะหนาๆ ทั้งนั้น
สำหรับหนังสือคณิตศาสตร์ที่อยากได้-ผมก็เดินมาเจอกับมันจนได้ที่บูธของศูนย์หนังสือจุฬา
หนังสือที่ซื้อจากบูธนี้มีดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม--โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. (ที่ซื้อเล่มนี้เพราะเคยอ่านหนังสือของ หนังสือที่เขียนโดยวิศวกรคนนึงที่มีชื่อว่า Cecil Balmond (เป็นกำลังสำคัญคนนึงของ บริษัทวิศวกรรมชื่อดังของโลก ที่มีชื่อว่า Ove Arup) ซึ่งเขาพูดถึงเรื่องอับกอริทึมบ่อยมากๆ ในหนังสือ เราเลยอยากมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องอัลกอริทึม เออหนังสือเล่มที่ว่านีี้ มีชื่อว่า Informal-มันเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่เราชอบมากๆ-วิศวกรคนนี้เขียนหนังสือดีกว่าสถาปนิกเจ้าทฤษฎีบางคนอีกนะในความคิดของเรา ^_^)
2. คณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์--โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. (อยากมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็เลยคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะปูพื้นฐานอะไรบางอย่าง ให้เราได้บ้าง :P )
ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่น่าสนใจ แต่เราจะยังไม่พูดถึงมันในตอนนี้
ยังมีเวลาอีกเยอะแยะ
ก็งานหนังสือมันยังมีอีกหลายวันไม่ใช่หรอ ^_^
เออ
ลืมบอกไป เราว่าจะหาเวลาช่วงหลังเลิกงานวันจันทร์ถึงศุกร์มาเดินเล่นในงานนี้อีกหลายๆ ครั้ง
(วันเสาร์อาทิตย์อาจจะไม่ไปเพราะคิดว่าคนน่าจะเยอะ-เป็นคนไม่ชอบไปที่ไหนที่คนเยอะมากๆ อ่ะ)
ซึ่งประโยคข้างบนก็คือ-ความตั้งใจ-สุดท้ายของวัน ^_^
Sunday, March 25, 2007
เรียนแบบธรรมชาติ
2007-03-25
Art is primarily a question of form, not of content.
Paul Rand
ทุกๆ ปีสมาคมสถาปนิกฯ จะจัดงานแสดงสินค้า(พวกวัสดุก่อสร้าง)และนิทรรศการของบริษัทสถาปนิกต่างๆ ซึ่งบริษัทที่เราทำงานอยู่ต้องออกแบบบูธนิทรรศการไปจัดแสดงด้วย(เหมือนทุกๆปี)
ปีนี้มีชื่อธีมในการจัดงานว่า ต้นกล้าสถาปัตย์-Leap to the Future
เมื่ออาทิตย์เราได้รับมอบหมายจากพี่ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้อยู่ ให้ลองออกแบบบูธของบริษัทในปีนี้ดูหน่อย (ซึ่งเราไม่ค่อยอยากทำเท่าไหร่หรอกนะ เพราะปีที่แล้วเราก็เป็นคนออกแบบแต่ถูกเปลี่ยนแบบจนไม่เหลือเค้าแนวความคิดเดิมของเราเลย :P จากนิทรรศการที่เน้นเรื่อง System ของการทำงานของส่วนต่างๆ ภายในบริษัท ว่าแต่ละคน(หน่วยย่อยๆ) สัมพันธ์กับคนอื่นๆยังไง(แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกันในแต่ละตำแหน่ง) เป็นนิทรรศการที่แสดงให้เห็นโครงข่ายในการทำงาน-กลายเป็นนิทรรศการคล้ายเกมส์โชว์เปิดแผ่นป้ายเฉยๆอ่ะ ซึ่งเราไม่ค่อยชอบมันเท่าไหร่ :P)
แต่ด้วยตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบอยู่ในโปรเจคนี้--Head Creater :P ทำให้เราปฏิเสธที่จะรับงานนี้ไม่ได้(ทำก็ทำว่ะ-คิดในใจนะ ^_^) แต่เราก็จะทำเต็มที่ตามแบบที่เราคิดอ่ะนะ (พอออกแบบเสร็จเราต้องนำแบบของเราไปเสนอ design committee ของบริษัทอีกที--ตรงนี้แหละที่เป็นตัวชี้ขาด ว่าจะไปในทิศทางไหน)
เงื่อนไขในการออกแบบที่เราได้จากผู้จัดงานก็คือ
1.ขนาดของพื้นที่นิทรรศการในปีนี้เท่ากับ 3x3 เมตร (เล็กกว่าปีที่แล้วเท่าตัว)
2.สีที่ใช้ในนิทรรศการต้องเป็นสี CMYK เท่านั้น
ภาพโมเดลจำลองของบูธที่ผมออกแบบ
รายละเอียดแสดงแนวความคิดคร่าวๆ ในการทำงาน (ส่วนภาษาญี่ปุ่นน่ะ ใส่ลงไปเพราะความกระแดะส่วนตัว ^_^)
ภาพถ่ายจากโมเดลแสดงบรรยากาศภายในเทียบกับสัดส่วนคนดู
แบบที่เราคิดไอเดียก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ด้วยชื่องานในปีนี้ที่คล้ายกับ "การเจริญเติบโต"--Leap to the Future เราก็เลยนึกถึงคณิตศาสตร์แบบ Fractal ที่เชื่อว่าเป็นระบบการเติบโตที่มีอยู่ในธรรมชาติ เอามาเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานออกแบบ กราฟฟิกที่ได้จึงเป็นกราฟฟิกที่เจริญงอกงามเลียนแบบการเจริญงอกงามที่มีอยู่ในธรรมชาติ
แม้รูปร่างหน้าตาของมันจะไม่ดูเป็นธรรมชาติเลยก็ตาม เฮอๆ ^_^
พอทำเสร็จมีรุ่นพี่คนนึงมายืนดู แล้วถามเราเรื่องไอเดียหรือที่มาที่ไปในการออกแบบ
เราก็เล่าให้เขาฟังไปตามเรื่องตามราว บลาๆๆๆ (ดังที่ได้เขียนเอาไว้ด้านบน ^_^)
พี่คนนั้นเงียบไป ไม่ยอมพูดอะไรแล้วก็เดินกลับไปทำงานต่อที่โต๊ะ
สักพักพี่เขาก็เดินเข้ามาคุยด้วยใหม่
“จี้ไอเดียดีมากว่ะที่เอ็งคิด แต่พี่ว่ามันยังดูไม่เป็นไทย พี่ว่าถ้าใส่อะไรที่ดูเป็นไทยๆ เข้าไปจะเจ๋งเลย”
เมื่อได้ยินแบบนั้นผมแทบจะพูดอะไรไม่ออก :P
เหมือนพี่เขาเข้าใจไปคนละเรื่องเลย
ก็ในเมื่อกราฟฟิกมันเลียนแบบระบบในการเจริญเติบโตมาจากธรรมชาติแล้วล่ะก็
มันคงไม่มีไทยมีฝรั่งหรอก
เพราะธรรมชาติมันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับความเป็นชาติ(นิยม) ไม่ว่าชาติไหนก็ตาม :P
ไม่เชื่อลองไปถามต้นไม้ ภูเขา หรือ ทะเลดูก็ได้ ว่า เฮ้ยเอ็งถือสัญชาติอะไรอยู่ว่ะ
รับรองได้ว่ามันไม่ตอบเราหรอก-มันจะเงียบๆ ไม่ยอมพูดอะไรเลยซักแอะ
เพราะคำถามแบบนี้
มีแต่มนุษย์เท่านั้นแหละที่คิดจะถามกัน ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป--ซาเมียร์ โอคาชา แปลโดย จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง
-ไปนอก(ฉบับสมบูรณ์)--สอ เสถบุตร
-เศรษฐกิจ การเมืองไทย สมัยกรุงเทพฯ--ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์
-Volume 10 : Agitation--2006#4
Books read:
-In the Bubble : Designing in a complex world--John Thackara
-ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป--ซาเมียร์ โอคาชา แปลโดย จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง
-ไปนอก(ฉบับสมบูรณ์)--สอ เสถบุตร
-Volume 10 : Agitation--2006#4
Art is primarily a question of form, not of content.
Paul Rand
ทุกๆ ปีสมาคมสถาปนิกฯ จะจัดงานแสดงสินค้า(พวกวัสดุก่อสร้าง)และนิทรรศการของบริษัทสถาปนิกต่างๆ ซึ่งบริษัทที่เราทำงานอยู่ต้องออกแบบบูธนิทรรศการไปจัดแสดงด้วย(เหมือนทุกๆปี)
ปีนี้มีชื่อธีมในการจัดงานว่า ต้นกล้าสถาปัตย์-Leap to the Future
เมื่ออาทิตย์เราได้รับมอบหมายจากพี่ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้อยู่ ให้ลองออกแบบบูธของบริษัทในปีนี้ดูหน่อย (ซึ่งเราไม่ค่อยอยากทำเท่าไหร่หรอกนะ เพราะปีที่แล้วเราก็เป็นคนออกแบบแต่ถูกเปลี่ยนแบบจนไม่เหลือเค้าแนวความคิดเดิมของเราเลย :P จากนิทรรศการที่เน้นเรื่อง System ของการทำงานของส่วนต่างๆ ภายในบริษัท ว่าแต่ละคน(หน่วยย่อยๆ) สัมพันธ์กับคนอื่นๆยังไง(แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกันในแต่ละตำแหน่ง) เป็นนิทรรศการที่แสดงให้เห็นโครงข่ายในการทำงาน-กลายเป็นนิทรรศการคล้ายเกมส์โชว์เปิดแผ่นป้ายเฉยๆอ่ะ ซึ่งเราไม่ค่อยชอบมันเท่าไหร่ :P)
แต่ด้วยตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบอยู่ในโปรเจคนี้--Head Creater :P ทำให้เราปฏิเสธที่จะรับงานนี้ไม่ได้(ทำก็ทำว่ะ-คิดในใจนะ ^_^) แต่เราก็จะทำเต็มที่ตามแบบที่เราคิดอ่ะนะ (พอออกแบบเสร็จเราต้องนำแบบของเราไปเสนอ design committee ของบริษัทอีกที--ตรงนี้แหละที่เป็นตัวชี้ขาด ว่าจะไปในทิศทางไหน)
เงื่อนไขในการออกแบบที่เราได้จากผู้จัดงานก็คือ
1.ขนาดของพื้นที่นิทรรศการในปีนี้เท่ากับ 3x3 เมตร (เล็กกว่าปีที่แล้วเท่าตัว)
2.สีที่ใช้ในนิทรรศการต้องเป็นสี CMYK เท่านั้น
ภาพโมเดลจำลองของบูธที่ผมออกแบบ
รายละเอียดแสดงแนวความคิดคร่าวๆ ในการทำงาน (ส่วนภาษาญี่ปุ่นน่ะ ใส่ลงไปเพราะความกระแดะส่วนตัว ^_^)
ภาพถ่ายจากโมเดลแสดงบรรยากาศภายในเทียบกับสัดส่วนคนดู
แบบที่เราคิดไอเดียก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ด้วยชื่องานในปีนี้ที่คล้ายกับ "การเจริญเติบโต"--Leap to the Future เราก็เลยนึกถึงคณิตศาสตร์แบบ Fractal ที่เชื่อว่าเป็นระบบการเติบโตที่มีอยู่ในธรรมชาติ เอามาเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานออกแบบ กราฟฟิกที่ได้จึงเป็นกราฟฟิกที่เจริญงอกงามเลียนแบบการเจริญงอกงามที่มีอยู่ในธรรมชาติ
แม้รูปร่างหน้าตาของมันจะไม่ดูเป็นธรรมชาติเลยก็ตาม เฮอๆ ^_^
พอทำเสร็จมีรุ่นพี่คนนึงมายืนดู แล้วถามเราเรื่องไอเดียหรือที่มาที่ไปในการออกแบบ
เราก็เล่าให้เขาฟังไปตามเรื่องตามราว บลาๆๆๆ (ดังที่ได้เขียนเอาไว้ด้านบน ^_^)
พี่คนนั้นเงียบไป ไม่ยอมพูดอะไรแล้วก็เดินกลับไปทำงานต่อที่โต๊ะ
สักพักพี่เขาก็เดินเข้ามาคุยด้วยใหม่
“จี้ไอเดียดีมากว่ะที่เอ็งคิด แต่พี่ว่ามันยังดูไม่เป็นไทย พี่ว่าถ้าใส่อะไรที่ดูเป็นไทยๆ เข้าไปจะเจ๋งเลย”
เมื่อได้ยินแบบนั้นผมแทบจะพูดอะไรไม่ออก :P
เหมือนพี่เขาเข้าใจไปคนละเรื่องเลย
ก็ในเมื่อกราฟฟิกมันเลียนแบบระบบในการเจริญเติบโตมาจากธรรมชาติแล้วล่ะก็
มันคงไม่มีไทยมีฝรั่งหรอก
เพราะธรรมชาติมันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับความเป็นชาติ(นิยม) ไม่ว่าชาติไหนก็ตาม :P
ไม่เชื่อลองไปถามต้นไม้ ภูเขา หรือ ทะเลดูก็ได้ ว่า เฮ้ยเอ็งถือสัญชาติอะไรอยู่ว่ะ
รับรองได้ว่ามันไม่ตอบเราหรอก-มันจะเงียบๆ ไม่ยอมพูดอะไรเลยซักแอะ
เพราะคำถามแบบนี้
มีแต่มนุษย์เท่านั้นแหละที่คิดจะถามกัน ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป--ซาเมียร์ โอคาชา แปลโดย จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง
-ไปนอก(ฉบับสมบูรณ์)--สอ เสถบุตร
-เศรษฐกิจ การเมืองไทย สมัยกรุงเทพฯ--ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์
-Volume 10 : Agitation--2006#4
Books read:
-In the Bubble : Designing in a complex world--John Thackara
-ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป--ซาเมียร์ โอคาชา แปลโดย จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง
-ไปนอก(ฉบับสมบูรณ์)--สอ เสถบุตร
-Volume 10 : Agitation--2006#4
Tuesday, March 20, 2007
Visuwords™
Online Graphical Dictionary
2007-03-20
http://www.visuwords.com/
Visuwords™-Online Graphical Dictionary is a visual thesaurus that looks up words to find their meanings and associations with other words and concepts. It produces an interactive graph where one can easily perceive the different word associations, as well as click the nodes and continuously expand the graph.
Visuwords uses Princeton University's WordNet, an opensource database built by University students and language researchers. Combined with a visualization tool and user interface built from a combination of modern web technologies, Visuwords is available as a free resource to all patrons of the web.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-In the Bubble : Designing in a complex world--John Thackara
2007-03-20
http://www.visuwords.com/
Visuwords™-Online Graphical Dictionary is a visual thesaurus that looks up words to find their meanings and associations with other words and concepts. It produces an interactive graph where one can easily perceive the different word associations, as well as click the nodes and continuously expand the graph.
Visuwords uses Princeton University's WordNet, an opensource database built by University students and language researchers. Combined with a visualization tool and user interface built from a combination of modern web technologies, Visuwords is available as a free resource to all patrons of the web.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-In the Bubble : Designing in a complex world--John Thackara
Monday, March 19, 2007
Data Spaces
2007-03-19
"We are born as new hard drives, and culture formats us"
Douglas Coupland, Microserfs
เทด รอลล์ แห่ง slate.com เคยเขียนเอาไว้ว่า Jimmy Corrigan ของ คริส แวร์ คือ Ulysses(นิยายที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์) ในโลกกราฟิกโนเวล(ข้อมูลนี้ก็มาจากหนังสือ Jimmy Corrigan นั่นแหละ)
เรา(ในที่นี้หมายถึงผม+คนอื่นๆ ที่ตอนนี้กำลังพยักหน้าเห็นด้วยอยู่ ^_^)ก็อาจจะพูดได้เหมือนกันว่ามิวสิควิดีโอเพลง Remind Me ของ Royksopp(ที่อยู่ด้านบนน่ะ) คือ Ulysses ในยุคข้อมูลข่าวสารนั่นเอง (หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Information Age-ยุคที่มนุษย์มีข้อมูลมากมาย(ท่วมหัว)แต่ก็อาจจะเอาตัวไม่รอด-เหมือนเช่นยุคอื่นๆ เฮอๆ :P)
ต้องขอสารภาพว่าตอนนี้กำลังชอบมิวสิคเพลงนี้--แบบให้หมดใจเลย 55 ^_^
เออจะว่าไปมิวสิคนี้ก็ทำให้เรานึกถึงกราฟฟิก โนเวล ของ คริส แวร์ด้วยเหมือนกัน
ปล.-อันนี้สำหรับคนที่อยากตามไปลองฟังเพลงอื่นๆของ Royksopp
http://www.royksopp.com/
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
อันนี้เป็นตัวอย่างกราฟฟิก โนเวล เรื่อง Jimmy Corrigan : The smartest kid on earth ของ chris Ware
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Q: ในมิวสิควิดีโอเพลงนี้มี Diagram และแผมภูมิต่างๆ ทั้งหมดกี่ชิ้น?
A : (ไม่มีคำเฉลยหรอกนะ เพราะขี้เกียจนับ แต่ดูแบบผ่านๆก็รู้ว่าเยอะโคตรๆ เฮอๆ :P)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Beware Wet Paint--Alan Fletcher
-Designing For A Digital World--Edited by Neil Leach
Book read:
-From Lascaux to Blooklyn--Paul Rand
"We are born as new hard drives, and culture formats us"
Douglas Coupland, Microserfs
เทด รอลล์ แห่ง slate.com เคยเขียนเอาไว้ว่า Jimmy Corrigan ของ คริส แวร์ คือ Ulysses(นิยายที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์) ในโลกกราฟิกโนเวล(ข้อมูลนี้ก็มาจากหนังสือ Jimmy Corrigan นั่นแหละ)
เรา(ในที่นี้หมายถึงผม+คนอื่นๆ ที่ตอนนี้กำลังพยักหน้าเห็นด้วยอยู่ ^_^)ก็อาจจะพูดได้เหมือนกันว่ามิวสิควิดีโอเพลง Remind Me ของ Royksopp(ที่อยู่ด้านบนน่ะ) คือ Ulysses ในยุคข้อมูลข่าวสารนั่นเอง (หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Information Age-ยุคที่มนุษย์มีข้อมูลมากมาย(ท่วมหัว)แต่ก็อาจจะเอาตัวไม่รอด-เหมือนเช่นยุคอื่นๆ เฮอๆ :P)
ต้องขอสารภาพว่าตอนนี้กำลังชอบมิวสิคเพลงนี้--แบบให้หมดใจเลย 55 ^_^
เออจะว่าไปมิวสิคนี้ก็ทำให้เรานึกถึงกราฟฟิก โนเวล ของ คริส แวร์ด้วยเหมือนกัน
ปล.-อันนี้สำหรับคนที่อยากตามไปลองฟังเพลงอื่นๆของ Royksopp
http://www.royksopp.com/
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
อันนี้เป็นตัวอย่างกราฟฟิก โนเวล เรื่อง Jimmy Corrigan : The smartest kid on earth ของ chris Ware
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Q: ในมิวสิควิดีโอเพลงนี้มี Diagram และแผมภูมิต่างๆ ทั้งหมดกี่ชิ้น?
A : (ไม่มีคำเฉลยหรอกนะ เพราะขี้เกียจนับ แต่ดูแบบผ่านๆก็รู้ว่าเยอะโคตรๆ เฮอๆ :P)
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-Beware Wet Paint--Alan Fletcher
-Designing For A Digital World--Edited by Neil Leach
Book read:
-From Lascaux to Blooklyn--Paul Rand
Tuesday, March 13, 2007
ลังไม้ ก็คือ ลังไม้
The Crate
2007-03-13
The Crate ลังไม้ที่ออกแบบโดย Jasper Morrison ที่ด้านข้างลัง พิมพ์ลายเซ็นของเขาไว้อย่างชัดเจน
"the Crate" ก็คือ ลังไม้
แต่ลังไม้ที่ผมกำลังจะพูดถึงนั้น
มันไม่ใช่ลังไม้ธรรมดา ก็เพราะว่า มันเป็นลังไม้ของ Jasper Morrison
เมื่อ Jasper Morrison ถูกทาบทามให้ออกแบบโต๊ะหัวเตียง
เขากลับไปดูหัวเตียงที่บ้านปรากฎว่าที่บ้านของเขาใช้ลังไม้เนี่ยแหละ
ในการเก็บของต่างๆ-อาทิเช่น หนังสือ หรือข้าวของจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ
ผลงานออกแบบของเขาก็คือลังไม้แบบที่เขาใช้-เหมือนที่บ้าน!
เขาปรับปรุงคุณภาพไม้ที่นำมาใช้ทำเป็นลังนิดหน่อย
แต่โครงสร้างของลังและวิธีการต่อยังเป็นเหมือนเดิมเปี๊ยบ ^_^
เสร็จแล้วผลงานที่เขาออกแบบก็ส่งไปแสดงตามงานแฟร์เก๋ๆ--ที่หนังสืออินเทรนด์ทั้งหลายต้องตามไปถ่ายรูป แสดงวิสัยทัศน์ในความล้ำสมัยของตัวเอง
แน่นอน ลังไม้ ของ Jasper Morrison วินาทีนี้ไม่ใช่ลังไม้อีกต่อไป
งานออกแบบของ Jasper Morrison กลายเป็นจุดที่ผู้คนให้ความสนใจมากที่สุดในงานภายในทันที
นิตยสารหลายเล่มต่างอยากสัมภาษณ์เขาถึงแรงบันดาลใจ
แรงบันดาลใจเขาไม่ได้เลิศหรู-หรือดูยุ่งยาก
เหมือนเวลา เฉลิมชัย (ศิลปินชาวไทย) พูดถึงรูปที่ตัวเองวาด :P
เขาไม่มีฟอร์มแถมสารภาพอย่างหมดเปลือก
ที่ผมออกแบบแบบนี้ก็เพราะที่บ้านผมใช้แบบนี้
แล้วก็คิดว่าลังแบบนี้มันก็ใส่ของได้ดี
เรื่องมันคงจะจบแบบเรียบๆ ถ้า Jasper Morrison ไม่ใช่นักออกแบบที่มีชื่อเสียง
และลังไม้ของเขาขายเพียงใบละไม่กี่สตางค์-ห้าหกร้อยบาท
แต่เรื่องมันเริ่มสนุกเพราะลังที่ออกแบบโดย Jasper Morrison ใบนี้
ขายใบละเกือบ แปดพันบาท!-คิดเป็นเงินไทยให้แล้ว แต่ถ้าอิมพอร์ทแล้วเอามาขายที่ PlayGround ที่ซอยทองหล่อคิดว่าลังใบนี้ราคาไม่น่าจะต่ำกว่าหลักหมื่นนะเชื่อได้เลย :P
หลายคนคิด-มอร์ริสันกำลังต้มหมู โอ้งานออกแบบแบบนี้ก็หลอกได้เฉพาะแต่คนบ้าแบรนด์ แล้วก็พวกเห่อดีไซน์เนอร์ล่ะวะ
อีกหลายคนเช่นกันที่คิดว่า-โอ้นี่มันช่างเป็นงานดีไซน์ที่ Anti-Design ที่แสนลุ่มลึก-เป็น Critical ในวงการออกแบบที่แสนคมคาย
สำหรับผม ถ้าใช้ภาษาแบบวงการกีฬาก็จะบอกว่า มอร์ริสัน เสริฟ ลังไม้ใบนี้ของเขาตกลงไปที่จุดเกรงใจพอดี เหมือนกำลังดูดีไซน์เนอร์ในวงการออกแบบกำลังเดินสวนสนาม แล้วมอร์ริสัน ก็ดันแกล้ง ก้าวเท้าผิดจังหวะ ทำให้เราเห็นร่องรอยและโครงสร้างโดยรวมทั้งหมดของวงการออกแบบ
ไม่ว่าคุณจะรังเกียจหรือชื่นชม ลังไม้ใบนี้แค่ไหน
มันก็ไม่ได้มีผลอะไรกับคุณเท่าไหร่
ตราบใดก็ตามที่คุณยังไม่ได้ตัดสินใจควักเงินในกระเป๋าสตางค์เพื่อซื้อมัน
ถ้าคุณซื้อมัน
คุณจะตัดสินใจซื้อลังใบนี้ที่แพงหูฉี่ด้วยวิธีคิดแบบไหน :P
คุ้มราคา-เพราะนี่มันเป็นลังของดีไซน์เนอร์เชียวนะ (เป็นเรื่องปรกติ ภาษาทางการตลาดเขาเรียกว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยการออกแบบ เฮอๆ :P)
หรืออาจจะคิดว่า
ขอโทษนะผมไม่ได้ซื้อลัง ที่ผมเสียเงินให้นะ ผมเสียเงินให้กับวิธีคิดที่สวยงาม ผมกำลังเสพคอนเซ็บว่าด้วยการ Anti-Design ของมอร์ริสันอยู่ อู้ย แค่นี้ก็คุ้มแล้ว (อ้าวลังไม้กลายเป็นงานศิลปะ ไปเสียแล้วทีนี้)
สำหรับผมแล้ว ถ้าลังไม้(ของดีไซน์เนอร์ชื่อดัง)ใบนี้มันแพงนักหนา
จนเรา(ผู้บริโภคทั้งหลาย)ตระหนักและย้อนนึกกลับไปได้ว่าไอ้ลังธรรมดาๆ แบบนี้เราก็ทำใช้เอง หรือหาซื้อที่ไหนก็ได้
ทำไมเราไม่กลับไปบ้านแล้วหาซื้อไม้มาทำลังใช้เอง หรือไปเดินหาซื้อตามท้องตลาดให้มันรู้แล้วรู้รอดซะเลย
(มอร์ริสันอาจจะอยากให้เราคิดอะไรแบบนี้อยู่ก็ได้นะ ^_^)
เอาน่าไม่มีอะไรหรอก
เรื่องทั้งหมดที่เล่ามาก็แค่เรื่องที่เกี่ยวกับลังไม้ใบหนึ่ง
นอกเหนืออื่นใดแล้ว
สำหรับผม
ลังไม้ก็คือลังไม้--มันไม่มีทางเป็นอย่างอื่น :P
และหน้าที่ของนักออกแบบก็คือ
ถ้าต้องทำลังไม้ก็ต้องทำลังไม้ที่ดี
นักออกแบบอาจจะมีหน้าที่แค่นั้นจริงๆ ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-hesheit เล่ม 9--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
-hesheit เล่ม 10--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
Books read:
-hesheit เล่ม 9--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
-hesheit เล่ม 10--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
2007-03-13
The Crate ลังไม้ที่ออกแบบโดย Jasper Morrison ที่ด้านข้างลัง พิมพ์ลายเซ็นของเขาไว้อย่างชัดเจน
"the Crate" ก็คือ ลังไม้
แต่ลังไม้ที่ผมกำลังจะพูดถึงนั้น
มันไม่ใช่ลังไม้ธรรมดา ก็เพราะว่า มันเป็นลังไม้ของ Jasper Morrison
เมื่อ Jasper Morrison ถูกทาบทามให้ออกแบบโต๊ะหัวเตียง
เขากลับไปดูหัวเตียงที่บ้านปรากฎว่าที่บ้านของเขาใช้ลังไม้เนี่ยแหละ
ในการเก็บของต่างๆ-อาทิเช่น หนังสือ หรือข้าวของจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ
ผลงานออกแบบของเขาก็คือลังไม้แบบที่เขาใช้-เหมือนที่บ้าน!
เขาปรับปรุงคุณภาพไม้ที่นำมาใช้ทำเป็นลังนิดหน่อย
แต่โครงสร้างของลังและวิธีการต่อยังเป็นเหมือนเดิมเปี๊ยบ ^_^
เสร็จแล้วผลงานที่เขาออกแบบก็ส่งไปแสดงตามงานแฟร์เก๋ๆ--ที่หนังสืออินเทรนด์ทั้งหลายต้องตามไปถ่ายรูป แสดงวิสัยทัศน์ในความล้ำสมัยของตัวเอง
แน่นอน ลังไม้ ของ Jasper Morrison วินาทีนี้ไม่ใช่ลังไม้อีกต่อไป
งานออกแบบของ Jasper Morrison กลายเป็นจุดที่ผู้คนให้ความสนใจมากที่สุดในงานภายในทันที
นิตยสารหลายเล่มต่างอยากสัมภาษณ์เขาถึงแรงบันดาลใจ
แรงบันดาลใจเขาไม่ได้เลิศหรู-หรือดูยุ่งยาก
เหมือนเวลา เฉลิมชัย (ศิลปินชาวไทย) พูดถึงรูปที่ตัวเองวาด :P
เขาไม่มีฟอร์มแถมสารภาพอย่างหมดเปลือก
ที่ผมออกแบบแบบนี้ก็เพราะที่บ้านผมใช้แบบนี้
แล้วก็คิดว่าลังแบบนี้มันก็ใส่ของได้ดี
เรื่องมันคงจะจบแบบเรียบๆ ถ้า Jasper Morrison ไม่ใช่นักออกแบบที่มีชื่อเสียง
และลังไม้ของเขาขายเพียงใบละไม่กี่สตางค์-ห้าหกร้อยบาท
แต่เรื่องมันเริ่มสนุกเพราะลังที่ออกแบบโดย Jasper Morrison ใบนี้
ขายใบละเกือบ แปดพันบาท!-คิดเป็นเงินไทยให้แล้ว แต่ถ้าอิมพอร์ทแล้วเอามาขายที่ PlayGround ที่ซอยทองหล่อคิดว่าลังใบนี้ราคาไม่น่าจะต่ำกว่าหลักหมื่นนะเชื่อได้เลย :P
หลายคนคิด-มอร์ริสันกำลังต้มหมู โอ้งานออกแบบแบบนี้ก็หลอกได้เฉพาะแต่คนบ้าแบรนด์ แล้วก็พวกเห่อดีไซน์เนอร์ล่ะวะ
อีกหลายคนเช่นกันที่คิดว่า-โอ้นี่มันช่างเป็นงานดีไซน์ที่ Anti-Design ที่แสนลุ่มลึก-เป็น Critical ในวงการออกแบบที่แสนคมคาย
สำหรับผม ถ้าใช้ภาษาแบบวงการกีฬาก็จะบอกว่า มอร์ริสัน เสริฟ ลังไม้ใบนี้ของเขาตกลงไปที่จุดเกรงใจพอดี เหมือนกำลังดูดีไซน์เนอร์ในวงการออกแบบกำลังเดินสวนสนาม แล้วมอร์ริสัน ก็ดันแกล้ง ก้าวเท้าผิดจังหวะ ทำให้เราเห็นร่องรอยและโครงสร้างโดยรวมทั้งหมดของวงการออกแบบ
ไม่ว่าคุณจะรังเกียจหรือชื่นชม ลังไม้ใบนี้แค่ไหน
มันก็ไม่ได้มีผลอะไรกับคุณเท่าไหร่
ตราบใดก็ตามที่คุณยังไม่ได้ตัดสินใจควักเงินในกระเป๋าสตางค์เพื่อซื้อมัน
ถ้าคุณซื้อมัน
คุณจะตัดสินใจซื้อลังใบนี้ที่แพงหูฉี่ด้วยวิธีคิดแบบไหน :P
คุ้มราคา-เพราะนี่มันเป็นลังของดีไซน์เนอร์เชียวนะ (เป็นเรื่องปรกติ ภาษาทางการตลาดเขาเรียกว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยการออกแบบ เฮอๆ :P)
หรืออาจจะคิดว่า
ขอโทษนะผมไม่ได้ซื้อลัง ที่ผมเสียเงินให้นะ ผมเสียเงินให้กับวิธีคิดที่สวยงาม ผมกำลังเสพคอนเซ็บว่าด้วยการ Anti-Design ของมอร์ริสันอยู่ อู้ย แค่นี้ก็คุ้มแล้ว (อ้าวลังไม้กลายเป็นงานศิลปะ ไปเสียแล้วทีนี้)
สำหรับผมแล้ว ถ้าลังไม้(ของดีไซน์เนอร์ชื่อดัง)ใบนี้มันแพงนักหนา
จนเรา(ผู้บริโภคทั้งหลาย)ตระหนักและย้อนนึกกลับไปได้ว่าไอ้ลังธรรมดาๆ แบบนี้เราก็ทำใช้เอง หรือหาซื้อที่ไหนก็ได้
ทำไมเราไม่กลับไปบ้านแล้วหาซื้อไม้มาทำลังใช้เอง หรือไปเดินหาซื้อตามท้องตลาดให้มันรู้แล้วรู้รอดซะเลย
(มอร์ริสันอาจจะอยากให้เราคิดอะไรแบบนี้อยู่ก็ได้นะ ^_^)
เอาน่าไม่มีอะไรหรอก
เรื่องทั้งหมดที่เล่ามาก็แค่เรื่องที่เกี่ยวกับลังไม้ใบหนึ่ง
นอกเหนืออื่นใดแล้ว
สำหรับผม
ลังไม้ก็คือลังไม้--มันไม่มีทางเป็นอย่างอื่น :P
และหน้าที่ของนักออกแบบก็คือ
ถ้าต้องทำลังไม้ก็ต้องทำลังไม้ที่ดี
นักออกแบบอาจจะมีหน้าที่แค่นั้นจริงๆ ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-hesheit เล่ม 9--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
-hesheit เล่ม 10--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
Books read:
-hesheit เล่ม 9--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
-hesheit เล่ม 10--วิศุุทธิ์ พรนิมิตร
Saturday, March 10, 2007
1ทีม+1ทีม=1ทีม
2007-03-10
บริษัทที่ผมทำงานอยู่ เป็นกลุ่มบริษัทที่มีบริษัทในเครืออยู่ 5 บริษัท
สามบริษัทเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม และบริหารงานก่อสร้าง-ซึ่งไม่มีทีมฟุตบอล (ซีเรียสๆ)
ส่วนสองบริษัท เป็นบริษัท ออกแบบสถาปัตยกรรม(ผมทำงานอยู่บริษัทนี้) และบริษัทรับออกแบบตกแต่งภายใน-มีทีมฟุตบอลเป็นของตัวเอง (ซึ่งก็ไม่ได้เก่งกาจอะไรเน้นสนุกกับความตลกโปกฮา เน้นนันทนาการ) ^_^
ทีมของบริษัทผมกับทีมของอินทีเรียแข่งฟุตบอลกันบ่อยๆ ตามโอกาส(ไม่ถึงกับเรียกได้ว่าเป็นประเพณี--แข่งกันเอาตามสะดวกและความสนุก ตามโอกาสว่างที่พอจะหาได้)
ผมเองก็มีโอกาสได้ไปเล่นฟุตบอลกระชับมิตรกับเขาสักครั้งสองครั้งได้มั้ง-ไม่บ่อย :P
เมื่อต้นอาทิตย์รุ่นน้องคนนึง ซึ่งเป็นคนประสานงานเกี่ยวกับกิจกรรมฟุตบอลของบริษัท
เข้ามาบอกผมว่า อยากได้โลโก้ทีมฟุตบอลใหม่ ซึ่งเป็นโลโก้ใหม่ที่รวมทีมฟุตบอลทั้งสองทีม(สถาปัตย์ กับ อินทีเรีย)ไว้ด้วยกัน
เอาไว้ใช้แข่งในแมทช์ใหญ่ที่ไปในนามของบริษัท (โอ้ว-เป็นเรื่องเป็นราวเลยนะ เรื่องแบบนี้แหละที่เราจริงจังและถนัด เรื่องไร้สาระน่ะ ^_^)
ผมรีบรับปากเพราะเป็นคนมีวิสัยทัศน์ดีในเรื่องแบบนี้ เพราะเห็นว่าเรื่องนี้มีศักยภาพทีจะพัฒนามันให้กลายเป็นเรื่องสนุกสนาน และบันเทิงเริงรมย์ได้
ขณะที่ผมออกแบบโลโก้ใหม่ อีกฝ่ายหนึ่งก็คัดเลือกแบบเสื้อและสีที่ต้องการ จากนั้นก็ให้ทุกคนในออฟฟิศโหวด ทั้งชายและหญิง(แบบเสื้อต้องถูกใจผู้หญิงด้วย เพราะถึงแม้จะไม่ได้แข่ง แต่เธอก็จะได้เสื้อเอาไว้ใส่เล่นๆ)
จนในที่สุดก็ได้แบบเสื้อมาแบบหนึ่งเป็นเสื้อคอวีสีขาว ตัวเสื้อเป็นเสื้อเรียบๆ ไม่มีลายสีกรมท่า--สวยดี
เรื่องเสื้อเป็นอันจบ-ที่เหลือคือโลโก้ ซึ่งเป็นหน้าที่ผม :P
ไอเดียแรกเลยที่คิดได้ก็คือ
1. น่ามีตัวเลข 103 อยู่ในโลโก้ด้วย
2. น่าจะเป็นรูปสัตว์อะไรสักอย่าง (เห็นพวกทีมฟุตบอลชอบใช้สัตว์เป็นเป็นโลโก้
จากไอเดียนี้ก็ได้แบบอย่างที่เห็น
ทางเลือกที่หนึ่ง
ความคิดเห็นของผม : ผมชอบแบบนี้นะ เพราะมันดูคลุมเคลือดี เหมือนสัตว์หลายๆ อย่าง อารมณ์ที่ออกมาทางสีหน้าก็มีความขัดแย้งในตัวเองสูง ดูหวาดระแวง เนิร์ดๆ นิดๆ ขี้เล่น และดูเหมือนเป็นสัตว์ที่นอนไม่หลับ แล้วก็สอดคล้องกับไอเดียแรกที่คิดได้ เพราะมีตัวเลข 103 แล้วก็มี คำว่า D+IA ซึ่งเป็นชื่อย่อของทั้งสองบริษัท ที่ผมชอบที่สุดก็คือมันดูน่ารัก และไม่จริงจังดี ^_^
ควาคิดเห็นของคนอื่น : มันไม่น่าเกรงขาม ไม่เท่ รุ่นพี่คนนึงยกตัวอย่าง ดูตัวอย่างทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียง หงษ์แดง ปีศาจแดง อินทรีหล็ก หรือแม้ก็ทั้งทีมในเอเชียทีมชาติญี่ปุ่นก็เป็นรูปเหยี่ยว ดิเห็นปะแต่ละทีมมันดูเท่ทั้งนั้น โลโก้นี้มันดูน่ารักและประหลาดจนเกินไป อยากได้แบบเท่ๆ แล้วก็ดูแบดบอยหน่อยๆ-หลายคนออกความเห็นแบบนี้ แต่ไม่ใช่จะไม่ชอบกันทุกคน รุ่นน้องบางคนที่เป็นผู้หญิงก็บอกว่า-ชอบๆ น่ารักๆ ดี
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยเกิดแนวทางที่สองขึ้นมา
ทางเลือกที่สอง
ความคิดเห็นของผม : ผมพยายามปรับมันให้ดูแบดบอยขึ้น ให้มันดูแล้วชั่วๆ นิดๆ โดยยังคงไอเดียเรื่องตัวเลข 103 เอาไว้อยู่ จากไม่รู้ว่าเป็นสัตว์อะไร ก็ตอนนี้เริ่มชัดเจนแล้ว-เพราะมันกลายเป็นลิงเผือก(อย่าถามว่าทำไมต้องเป็นลิงเผือกมีความหมายอะไร-เพราะรุ่นพี่ที่ออฟฟิศพยายามถามแล้วคำตอบที่ได้ก็คือ ไม่รู้ ^_^ เฮอๆ) สำหรับตัวผมเองทำเสร็จแล้วก็ไม่ชอบอันนี้เท่าไหร่นัก ชอบแบบแรกมากกว่า :P
ควาคิดเห็นของคนอื่น : อันนี้ไม่ค่อยมีคนโอกับมันเท่าไหร่ มีคนชอบประมาณสองคน-บอกว่าเท่ดี อยากได้อะไที่แบดๆ แบบนี้แหละ แต่ก็มีหลายเสียงเหมือนกันที่บอกว่าแย่กว่าอันแรก ส่วนผู้หญิงไม่มีใครรับอันนี้ได้เลย
ถึงตรงนี้ผมก็เลยลองเปลี่ยนทิศทางในการออกแบบนิดหน่อย
จากเรื่องสัตว์ก็เปลี่ยนเป็นโลโก้ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์เป็นรูปนามธรรม-ก็ได้นิหว่า น่าลองๆ
แต่ก็ยังคงเก็บไอเดียเรื่องต้องมีตัวเลข 103 อยู่บนโลโก้
ทางเลือกที่สาม
ความคิดเห็นของผม : อันนี้ผมใช้รูปทรงที่เป็นเลขาคณิตมาลองจัดองค์ประกอบ รูปนี้เกิดจากตัวเลข 103 ที่สามารถอ่านได้ทุกทิศทาง พอทำเสร็จแล้วอันนี้ผมก็ชอบนะ ไม่เลวๆ (ผมคิด)
ควาคิดเห็นของคนอื่น : เสียงส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าดีกว่าสองอันแรก มันควรจะมาในทิศทางนี่แหละ แต่อยากให้พัฒนาต่อให้อยู่ในแนวทางนี้
เป็นอันจบกระบวนการในการทำงานออกแบบโลโก้ของเรา-ที่เหลือก็ต้องดูกันต่อไปว่าทีมบริษัทอินทิเรียเขาจะโอหรือเปล่า ^_^
ปล--อันนี้เป็นโลโก้ทีมฟุตบอลของบริษัทเรา ที่เราเคยทำให้ เพื่อนและพี่หลายคนแซวว่า
ตั้งแต่ใช้โลโก้นี้มาแข่งยังไม่เคยชนะใครเลยว่ะ :P เพราะโลโก้มันคิขุไป เหมือนโลโก้ทีมบอลของโรงเรียนอนุบาลที่ไหนสักแห่ง แล้วก็หัวเราะกัน (เราว่าไม่เกี่ยวกับโลโก้มั้ง ^_^)
http://wichiter.blogspot.com/2006/11/football-club.html
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ปล2--ลองเอาโลโก้ที่ทำไว้มาพัฒนาต่อเป็นลายผ้าดูก็โอเคนะ ทำเป็นผ้าปูโตีะ หรือผ้าม่านคิดว่าน่าจะดูสวยดี เหมือนกัน ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-In the Bubble : Designing in a complex world--John Thackara
-The Atlas of Experience--Louise Van Swaaij and Jean Klare
Book read:
-นิตยสารสารคดี-เล่มที่ 264--กุมภาพันธ์ 2550
บริษัทที่ผมทำงานอยู่ เป็นกลุ่มบริษัทที่มีบริษัทในเครืออยู่ 5 บริษัท
สามบริษัทเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม และบริหารงานก่อสร้าง-ซึ่งไม่มีทีมฟุตบอล (ซีเรียสๆ)
ส่วนสองบริษัท เป็นบริษัท ออกแบบสถาปัตยกรรม(ผมทำงานอยู่บริษัทนี้) และบริษัทรับออกแบบตกแต่งภายใน-มีทีมฟุตบอลเป็นของตัวเอง (ซึ่งก็ไม่ได้เก่งกาจอะไรเน้นสนุกกับความตลกโปกฮา เน้นนันทนาการ) ^_^
ทีมของบริษัทผมกับทีมของอินทีเรียแข่งฟุตบอลกันบ่อยๆ ตามโอกาส(ไม่ถึงกับเรียกได้ว่าเป็นประเพณี--แข่งกันเอาตามสะดวกและความสนุก ตามโอกาสว่างที่พอจะหาได้)
ผมเองก็มีโอกาสได้ไปเล่นฟุตบอลกระชับมิตรกับเขาสักครั้งสองครั้งได้มั้ง-ไม่บ่อย :P
เมื่อต้นอาทิตย์รุ่นน้องคนนึง ซึ่งเป็นคนประสานงานเกี่ยวกับกิจกรรมฟุตบอลของบริษัท
เข้ามาบอกผมว่า อยากได้โลโก้ทีมฟุตบอลใหม่ ซึ่งเป็นโลโก้ใหม่ที่รวมทีมฟุตบอลทั้งสองทีม(สถาปัตย์ กับ อินทีเรีย)ไว้ด้วยกัน
เอาไว้ใช้แข่งในแมทช์ใหญ่ที่ไปในนามของบริษัท (โอ้ว-เป็นเรื่องเป็นราวเลยนะ เรื่องแบบนี้แหละที่เราจริงจังและถนัด เรื่องไร้สาระน่ะ ^_^)
ผมรีบรับปากเพราะเป็นคนมีวิสัยทัศน์ดีในเรื่องแบบนี้ เพราะเห็นว่าเรื่องนี้มีศักยภาพทีจะพัฒนามันให้กลายเป็นเรื่องสนุกสนาน และบันเทิงเริงรมย์ได้
ขณะที่ผมออกแบบโลโก้ใหม่ อีกฝ่ายหนึ่งก็คัดเลือกแบบเสื้อและสีที่ต้องการ จากนั้นก็ให้ทุกคนในออฟฟิศโหวด ทั้งชายและหญิง(แบบเสื้อต้องถูกใจผู้หญิงด้วย เพราะถึงแม้จะไม่ได้แข่ง แต่เธอก็จะได้เสื้อเอาไว้ใส่เล่นๆ)
จนในที่สุดก็ได้แบบเสื้อมาแบบหนึ่งเป็นเสื้อคอวีสีขาว ตัวเสื้อเป็นเสื้อเรียบๆ ไม่มีลายสีกรมท่า--สวยดี
เรื่องเสื้อเป็นอันจบ-ที่เหลือคือโลโก้ ซึ่งเป็นหน้าที่ผม :P
ไอเดียแรกเลยที่คิดได้ก็คือ
1. น่ามีตัวเลข 103 อยู่ในโลโก้ด้วย
2. น่าจะเป็นรูปสัตว์อะไรสักอย่าง (เห็นพวกทีมฟุตบอลชอบใช้สัตว์เป็นเป็นโลโก้
จากไอเดียนี้ก็ได้แบบอย่างที่เห็น
ทางเลือกที่หนึ่ง
ความคิดเห็นของผม : ผมชอบแบบนี้นะ เพราะมันดูคลุมเคลือดี เหมือนสัตว์หลายๆ อย่าง อารมณ์ที่ออกมาทางสีหน้าก็มีความขัดแย้งในตัวเองสูง ดูหวาดระแวง เนิร์ดๆ นิดๆ ขี้เล่น และดูเหมือนเป็นสัตว์ที่นอนไม่หลับ แล้วก็สอดคล้องกับไอเดียแรกที่คิดได้ เพราะมีตัวเลข 103 แล้วก็มี คำว่า D+IA ซึ่งเป็นชื่อย่อของทั้งสองบริษัท ที่ผมชอบที่สุดก็คือมันดูน่ารัก และไม่จริงจังดี ^_^
ควาคิดเห็นของคนอื่น : มันไม่น่าเกรงขาม ไม่เท่ รุ่นพี่คนนึงยกตัวอย่าง ดูตัวอย่างทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียง หงษ์แดง ปีศาจแดง อินทรีหล็ก หรือแม้ก็ทั้งทีมในเอเชียทีมชาติญี่ปุ่นก็เป็นรูปเหยี่ยว ดิเห็นปะแต่ละทีมมันดูเท่ทั้งนั้น โลโก้นี้มันดูน่ารักและประหลาดจนเกินไป อยากได้แบบเท่ๆ แล้วก็ดูแบดบอยหน่อยๆ-หลายคนออกความเห็นแบบนี้ แต่ไม่ใช่จะไม่ชอบกันทุกคน รุ่นน้องบางคนที่เป็นผู้หญิงก็บอกว่า-ชอบๆ น่ารักๆ ดี
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยเกิดแนวทางที่สองขึ้นมา
ทางเลือกที่สอง
ความคิดเห็นของผม : ผมพยายามปรับมันให้ดูแบดบอยขึ้น ให้มันดูแล้วชั่วๆ นิดๆ โดยยังคงไอเดียเรื่องตัวเลข 103 เอาไว้อยู่ จากไม่รู้ว่าเป็นสัตว์อะไร ก็ตอนนี้เริ่มชัดเจนแล้ว-เพราะมันกลายเป็นลิงเผือก(อย่าถามว่าทำไมต้องเป็นลิงเผือกมีความหมายอะไร-เพราะรุ่นพี่ที่ออฟฟิศพยายามถามแล้วคำตอบที่ได้ก็คือ ไม่รู้ ^_^ เฮอๆ) สำหรับตัวผมเองทำเสร็จแล้วก็ไม่ชอบอันนี้เท่าไหร่นัก ชอบแบบแรกมากกว่า :P
ควาคิดเห็นของคนอื่น : อันนี้ไม่ค่อยมีคนโอกับมันเท่าไหร่ มีคนชอบประมาณสองคน-บอกว่าเท่ดี อยากได้อะไที่แบดๆ แบบนี้แหละ แต่ก็มีหลายเสียงเหมือนกันที่บอกว่าแย่กว่าอันแรก ส่วนผู้หญิงไม่มีใครรับอันนี้ได้เลย
ถึงตรงนี้ผมก็เลยลองเปลี่ยนทิศทางในการออกแบบนิดหน่อย
จากเรื่องสัตว์ก็เปลี่ยนเป็นโลโก้ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์เป็นรูปนามธรรม-ก็ได้นิหว่า น่าลองๆ
แต่ก็ยังคงเก็บไอเดียเรื่องต้องมีตัวเลข 103 อยู่บนโลโก้
ทางเลือกที่สาม
ความคิดเห็นของผม : อันนี้ผมใช้รูปทรงที่เป็นเลขาคณิตมาลองจัดองค์ประกอบ รูปนี้เกิดจากตัวเลข 103 ที่สามารถอ่านได้ทุกทิศทาง พอทำเสร็จแล้วอันนี้ผมก็ชอบนะ ไม่เลวๆ (ผมคิด)
ควาคิดเห็นของคนอื่น : เสียงส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าดีกว่าสองอันแรก มันควรจะมาในทิศทางนี่แหละ แต่อยากให้พัฒนาต่อให้อยู่ในแนวทางนี้
เป็นอันจบกระบวนการในการทำงานออกแบบโลโก้ของเรา-ที่เหลือก็ต้องดูกันต่อไปว่าทีมบริษัทอินทิเรียเขาจะโอหรือเปล่า ^_^
ปล--อันนี้เป็นโลโก้ทีมฟุตบอลของบริษัทเรา ที่เราเคยทำให้ เพื่อนและพี่หลายคนแซวว่า
ตั้งแต่ใช้โลโก้นี้มาแข่งยังไม่เคยชนะใครเลยว่ะ :P เพราะโลโก้มันคิขุไป เหมือนโลโก้ทีมบอลของโรงเรียนอนุบาลที่ไหนสักแห่ง แล้วก็หัวเราะกัน (เราว่าไม่เกี่ยวกับโลโก้มั้ง ^_^)
http://wichiter.blogspot.com/2006/11/football-club.html
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ปล2--ลองเอาโลโก้ที่ทำไว้มาพัฒนาต่อเป็นลายผ้าดูก็โอเคนะ ทำเป็นผ้าปูโตีะ หรือผ้าม่านคิดว่าน่าจะดูสวยดี เหมือนกัน ^_^
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-In the Bubble : Designing in a complex world--John Thackara
-The Atlas of Experience--Louise Van Swaaij and Jean Klare
Book read:
-นิตยสารสารคดี-เล่มที่ 264--กุมภาพันธ์ 2550
Subscribe to:
Posts (Atom)