2007-08-28
"Real information can only be gaind on foot."
-ทำไมคุณถึงตัดสินใจไปสอนที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว
ผมเดาว่าคุณจะต้องบอกว่าผมคงเหนื่อยหน่ายกับการที่เอาสถาปัตยกรรมเป็นศูนย์กลางของชีวิต ความจริงแล้วอยากจะบอกว่า ผมปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนี้จากด้านนอกมากกว่า อย่างไรก็ตาม ในของโลกวิศวกรรมโยธา ดูเหมือนว่ามันเป็นความรู้สึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเคลือบแคลงในการก้าวไปข้างหน้าของสถาปนิก และขณะที่สอนอยู่ที่นี่ ผมปฏิบัติราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่น่าพินิจพิเคราะห์
-อะไรคือความรู้สึกที่คุณมีต่อสถาปนิกรุ่นหนุ่มสาวและนักศึกษาสถาปัตย์ในวันนี้
พวกเขาขี้ขลาด และน้อยกว่านั้นชอบสัญญาด้วยความกล้าหาญ แต่มันก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น สถาปัตยกรรม เมือง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกกังวลใจ ซึ่งสิ่งที่ควรจะเป็นก็คือพวกเขาควรตระหนักถึงชีวิตข้างหน้าที่คนแก่ๆ มีเวลาไม่มากนักที่จะก้าวข้ามมันไป ในช่วงเวลาที่สับสนอลหม่านเช่นนี้ คนหนุ่มสาวควรแสดงความคิดเห็นที่เปี่ยมไปด้วยพลัง ผมคิดว่าเราควรจะต้องไปให้ไกลกว่าสิ่งที่เราพูด ด้วยเวลาของชีวิตที่ยังมีอยู่มากมาย พวกเขาควรกระตุ้นความรู้สึกสนใจและตระหนักในเรื่องของเมืองและบ้านเกิดของพวกเขาบ้าง
-มีความแตกต่างกันไหมระหว่างนักศึกษาสถาปัตย์กับนักศึกษาวิศวกรรมโยธา
พูดตรงๆ เลยก็คือ นักศึกษาวิศวะฯ นั้นดูเอาจริงเอาจัง ส่วน นักศึกษาสถาปัตย์นั้นก็มีความมั่นใจสูง โดยรากฐานแล้ววิศวกรรมโยธานั้นเป็นศาสตร์ว่าด้วยการขบคิดและค้นหาผลลัพท์ของบุคคลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง นั่นคือแนวโน้มของการทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยปราศจากการป่าวประกาศ ในสถาปัตยกรรมถึงแม้ว่าข้อจำกัดจะอยู่ที่มุมมองในเรื่องของการออกแบบ มาตรฐานของมันอยู่ที่การค้นหาผลลัพท์ของแต่ละบุคคลเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จที่ได้วางเอาไว้
-อะไรคือสิ่งที่คุณคิดว่าควรทำในความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธา
สถาปัตยกรรมนั้นสูญเสียแนวความคิดในเรื่องของตัวตนในขณะที่วิศวกรรมโยธานั้นสูญเสียความรู้สึกในเรื่องของการสื่อความหมายกับสาธารณะ ผมชอบที่เปิดเผยและถ่ายเทลักษณะของทั้งสองศาสตร์นี้ในการทำงาน โดยการนำสิ่งดีของอีกศาสตร์หนึ่งมาใช้กับอีกศาสตร์หนึ่ง แม้ว่าการถ่ายเทที่ว่านี้จะเป็นองค์ประกอบที่เลวด้วยเหตุที่มันยากต่อการทำนาย แต่ผมก็มีความตั้งใจที่จะทำเรื่องนี้ต่อไปโดยการนำส่วนที่ดีในสถาปัตยกรรมไปสู่งานวิศวกรรมโยธา และนำส่วนที่ดีของวิศวกรรมโยธามาสู่งานสถาปัตยกรรม
-นานมาแล้วมีคนเคยบอกว่าการเดินทางท่องเที่ยวมีความสำคัญมากสำหรับการเป็นสถาปนิก สำหรับคุณไนโตะแล้วในยุคสมัยสังคมข้อมูลข่าวสาร(Information society) เหมือนเช่นในตอนนี้ การเดินทางท่องเที่ยวยังคงความสำคัญเหมือนเดิมไหม?
โดยธรรมชาติแล้ว ข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสารนั้นมีข้อจำกัดมันเป็นแค่เพียงชนิดอีกชนิดหนึ่งของข้อมูลทั้งหมด สำหรับผมแล้ว ข้อมูลจริง(Real Information) นั้นสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินด้วยเท้าของเราเท่านั้น ไม่เหมือนข้อมูลที่ได้มาทางโครงข่ายที่ใครๆก็สามารถเข้าถึงมันได้ สำหรับผมข้อมูลคือสิ่งที่เราได้จากการเดินด้วยเท้าและมันมาพร้อมกับความรู้สึกสะทบสะท้านทางจิตใจที่เรามีต่อรูปทรงซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของอัตลักษณ์ของสิ่งนั้นๆ วิธีที่ดีที่สุดในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ก็คือถ้ามีบางสิ่งบางอย่างกระทบกระเทือนความรู้สึกคุณที่พบในหน้านิตยสาร ให้ไปที่สถานที่แห่งนั้นแล้วดูมัน ถ้าคุณได้ยินว่ามีใครบางคนซึ่งน่าสนใจให้เดินทางไปพบเขาหรือถ้ามีบางสิ่งที่คุณไม่เข้าใจให้เอ่ยปากถาม อย่าให้ความสงสัยของคุณถูกเติมเต็มด้วยความรู้สึกพอใจที่คุณได้จากกระแสของข้อมูล(flood of information) ที่คุณได้รับเพียงอย่างเดียว ถ้าเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน กระทบกระเทือนความรู้สึกคุณให้ไปที่นั่นแล้วดูมัน (อ่านตรงนี้จบนี่แทบอยากจะเดินออกจากบ้านไปซื้อตั๋วเครื่องบินไปโตเกียวแล้วไปคุยกับคุณไนโตะเลย ^_^ ถ้าทำตามคำแนะนำของไนโตะชีวิตนี้เราคงมีข้อมูลในตัวไม่มากหรอก แต่ข้อมูลทั้งหมดนั้นน่าเป็นข้อมูลที่เรารู้สึกรู้สากับมันจริงๆ-ผู้แปล)
ที่ไหนคือฉากแรกเริ่ม(primal Scene)ที่มันยังคงอยู่ในความทรงจำของคุณ
น่าจะเป็นบ้านที่ผมเคยอยู่ตอนที่อายุห้าขวบ ที่เป็นแมนชั่นที่อยู่บนที่ดินประมาณ 5,600 ตารางเมตร แถวๆ โฮโดกายา ในจังหวัดโยโกฮามา มันมีทางเดินที่มืดและยาวที่ทำให้ผมนั้นขวัญผวา ที่นั่นยังมีแสงระยิบระยับที่สะท้อนจากสระน้ำบนฝ้าเพดานในห้องกินข้าวนั่นคือทั้งหมดที่ผมจำได้
(ยังไม่จบนะ ^_^ ดูรูปผลงานของไนโตะไปพลางๆก่อน)
Azumino Chihiro Art Museum ที่เมืองอะโซมิโนะ จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุ่น
ออกแบบโดยไนโตะ ที่ดูเรียบง่าย บ้านๆ และมีความงดงามในเชิงช่าง ^_^
http://www.chihiro.jp/english/azumino/top.htm
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Books read:
-Network Practices:New strategies in Architecture and Design--Anthony Burke and Therese Tierney, editors
-ความเงียบ(The Spirit of Silence)--John Lane แปลโดย สดใส ขันติวรพงศ์
Tuesday, August 28, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
6 comments:
ชอบเก้าอี้รูปสุดท้ายมากที่สุด ^^
ภาษาแปลคราวนี้ยังดูรุงรังและมีกลิ่นนมเนยอยู่อ่ะจี้
เข้าใจว่าภาษาอังกฤษคงมีคำยากๆ
แล้วจะมาอ่านตอนต่อไปจ้า
ขอบคุณพี่แป๊ดมากๆ เลยครับ
สำหรับคำชี้แนะ ^_^
เดี๋ยวตอนแปลต่อจะลองพยายามเกลาภาษาดู
อ่านแล้วสงสัยว่า ทำไมคนฝั่งแพรคทิคอล ต้อง มาว่า ฝั่ง ไอเดียลิสต์ ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน ฝั่ง ไอเดียลิสต์ก็ต้องว่าฝั่งแพรคทิคอล ตลอดเวลา อิอิ
แวะเข้ามาทักทายเพื่อนใหม่ครับ ^_^
อยากให้คุณ spiderpig ช่วยขยายความนิดหนึ่งครับว่า คนฝั่งแพรคทิคอล หมายถึงอะไร และคนฝั่งไอเดียลิสต์ หมายถึงอะไร
เราจะได้แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่คุณกำลังคิดอยู่ได้ ^_^
จี้สบายดีนะ
ไม่ได้เจอกันนานแล้ว
หวังว่าจะเผอิญเจอกันอีกเร็วๆนี้
อ้อ เดือนหน้าแวะมาที่ออฟฟิศใหม่ไต้ฝุ่นสิครับ
เล็กมากนะต้องเตือนไว้
เอาเก้าอี้มาเองด้วยจะดีมาก
เจอกันครับ
สวัสดีพี่จี้ เราแวะมาทัก
Post a Comment