Thursday, February 15, 2007

A Certain Feel

2007-02-15


Michelangelo Antonioni (1912-2007)



"คุณเงียบขรึมยังงี้ตลอดเลยเหรอ? เพราะอะไร?"
"ฉันไม่มีอะไรจะพูด"
"ทั้งๆ ที่มีสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเยอะแยะ?"

(เธอไม่มองเขาเลย ไม่ต้องการหลักประกันใดๆ จากเขา ความมั่นคงไม่ใช่สิ่งที่เธอต้องการ ความเย็นชาที่คล้อยไปทางเมินเฉย ราวกับจะแผ่ซ่านในตัวเธอ เป็นความสงบซึ่งแผ่ซ่านอยู่ในอากาศรอบตัวเธอและท้องถนน)

"ผมเคยอ่านเจอประโยคนี้ในหนังสือ "หากแม้นต้นเชอรี่กัดกินผลของตัวเองได้" คุณคือต้นเชอรี่ที่กัดกินผลของตัวเอง"
"ฉันว่าการจะเป็นสุข เราควรขจัดความคิดส่วนตน"

(ผมไม่ชอบการบำเพ็ญทุกรกิริยา ผมสนใจแต่ความไม่สมเหตุสมผล ผมเชื่อว่าเหตุผลตัวเดียวย่อมอธิบายความเป็นจริงไม่ได้)

"ฉันจะหนีไป"
"หนีไปไหน?"
"หนีจากร่างของตัวเอง"

(เขาต่างหากที่ทำให้เธอละจากทุกสิ่ง เธอได้รับรู้ถึงความสุข มิใช่สิ นั่นเป็นความรู้สึกส่วนตัวของเธอมากกว่า เพราะความสุขมันไม่จีรังยั่งยืน ส่วนความรู้สึกเช่นนี้จะยืนยงตลอดไป ผมชอบเมืองนี้มาก มันชื้นแฉะ ผมชอบสีสัน กับซุ่มเสียงไพเราะ ที่อ้อยอิ่งอยู่ในหู เมืองที่เอ่ยอะไรที่ใครคงไม่เข้าใจในทีแรก คำเหล่านี้แทนความลึกลับ อีกทั้งซุ่มเสียงจากผืนดิน ยังเกื้อหนุนอีกต่างหาก น้ำพุก็เอ่ยอะไรที่เราไม่เข้าใจเช่นกัน มันใกล้เคียงกับบทสนทนาระหว่างคนสองคนนี้มาก แล้วพอเรารู้เรื่องที่น่าตกใจในท้ายที่สุด สิ่งที่หญิงสาวตั้งใจจะทำ ในวินาทีนั้นเราย่อมจะเข้าใจท่วงทำนองจากน้ำพุและความหมายของมันเช่นกัน)

"เหมือนดอกไม้"
"จริงด้วย"
"สวยดี"
"ผมไม่ชอบดอกไม้"
"ชอบน่ะชอบ แต่มันทำให้ผมเศร้า มันสวยก็จริง แต่สวยอยู่สองวัน เหี่ยวเฉาแล้วก็ถูกทิ้ง คนญี่ปุ่นไม่ชอบปลูกไม้ดอก เพราะจะได้ไม่ต้องทนเห็นมันเหี่ยวเฉาในบ้านของตัวเอง คุณยิ้มทำไม?"
"คุณกลัวตายหรือเปล่า?"
"จะว่ากลัวก็ไม่เชิง"
"ฉันกลัวชีวิต"
"อายุแค่นี้กลัวชีวิต? ไร้สาระ"
"ชีวิตที่ผู้คนดำเนินไป"
"คุณประเมินค่ามันต่ำไป คุณอยากได้อะไรจากชีวิตนัก?"
"ไม่"
"ว่ายังไงนะ? ไม่?"
"ชีวิตเรามีแค่นี้ แค่นี้แหละ"
"เป็นสิ่งเดียวที่เรารู้ว่ามันดำรงอยู่"



(ซุ่มเสียงเป็นเพียงแค่ซุ่มเสียง หาใช่ถ้อยคำ แต่เป็นเสียง มันส่งผลต่อผู้ฟัง มิใช่เพราะสิ่งที่พูด แต่เพราะสิ่งที่มันเป็น หลายปีผ่านไปเราคิดได้แต่เพียงว่า เราครอบครองโลกใบนี้ของเราทั้งใบ แต่เวลานั้นย่อมมาถึงเสมอ เมื่อเราสำนึกได้ว่า เราหาได้ทำอะไรไม่นอกจากจับจ้องมองมัน--โลก ด้วยทัศนะเดิมมาโดยตลอด)

"พรุ่งนี้ผมจะเจอคุณอีกไหม?"


ความทรงจำแด่
Michelangelo Antonioni
(1912-1995)


+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-มิยูกิ เล่ม 1--อาดาจิ มิซึรุ
-คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม เล่ม 15--Eiji Nonaka
Book read:
-มิยูกิ เล่ม 1--อาดาจิ มิซึรุ

5 comments:

Anonymous said...

อยากอ่านมิยูกิ

Anonymous said...

อยากอ่านคุโรมาตี้
เล่ม 15 นี่มีแต่คนชอบพี่หมีพูห์อ่ะ
พรุ่งนี้ว่าจะไปสอย

จี้ได้อ่านพลูโตไหม สุดยอดเจงๆ
การ์ตูนบ้าไรวะ อ่านแล้วจะร้องไห้

the aesthetics of loneliness said...

บล็อกนี้อ่านแล้วไม่เก็ตอย่างแรง เก็ตแต่มิยูกิ พี่อ่านตั้งแต่อยู่ชั้นประถม สำหรับเด็กประถมในยุคนั้น เราถือกันว่า มิยูกิเป็นการ์ตูนโป๊นะ เชื่อไม๊?

wichiter said...

ครับพี่แป๊ด
ผมก็ชอบพี่พูห์
เพราะเห็นพี่พูห์แล้วโลกน่าอยู่ขึ้นมานิดนึง
เห็นพี่พูห์แล้วรู้สึกรักโลก รักเด็ก รักความยุติธรรมขึ้นมาเฉยๆ (ตอบตามตัวละครในเรื่อง ^_^)

ผมชอบการ์ตูนเรื่องคุโรมาตี้ เพราะมันตลกมากครับ
ลายเส้นก็ไม่สวย ตัวหนังสือก็เยอะ-แต่ก็ยังชอบอ่าน :P
สำหรับผมลึกๆ แล้วเนี่ยมันเป็นการ์ตูนปรัชญานะครับ
ใครที่ logic ดีๆ แล้วคิดอะไรเป็นเชิงเส้นตรง (linear) อ่านแล้ว
จะไม่เก็ด ไม่ชอบทันที(ผมเคยให้เพื่อนที่เป็นวิศวกรอ่าน เพื่อนก็ไม่ชอบเรื่องนี้เหมือนกัน) บอกว่ามันไร้สาระ(ที่จริงมันก็ไร้สาระจริงๆแแหละ 555) ผมว่าการ์ตูนเรื่องนี้มันชอบล้อเล่นกัน "ความจริง" เวลาตัวละครคุยกันมันชอบจะเซ๊ทสิ่งที่ไม่ต้องพิสูจน์ชึ้นมา (axiom) จากนั้นประโยคถัดไปของตัวละครตัวเดิมก็จะพูดอะไรหักล้าง axiom ที่ตัวเองพูดไปแท้ๆ
การ์ตูนเรื่องนี้มันสะท้อนให้เราเห็นธรรมชาติของ "ความจริง" อ่ะครับ ที่มันไหลเลื่อนอยู่ตลอดเวลา เป็น fluidity of truth --ถ้าคิดว่าการ์ตูนเรื่องนี้ไร้สาระ การคิดว่าความจริงมีหนึ่งเดียวก็ไร้สาระพอๆกัน(มาไกลถึงตรงนี้ได้ยังไงเนี่ย 555)

ส่วนเรื่องพลูโตเนี่ยผมก็ชอบมากเหมือนกันครับ
ความจริงชอบทุกเรื่องที่ นาโอกิ อูราซาวะ เขียนครับ
โดยเฉพาะเรื่อง 20th Century Boys ^_^
เพื่อนผมส่วนใหญ่ที่อ่านพลูโตเนี่ย ส่วนใหญ่เสียน้ำตาไป
ตั้งแต่เล่มแรกแล้ว ตั้งแต่ นอร์ท no.2 ตายอ่ะครับ

พี่อ๋อง-บล๊อกนี้คงมีผมเก็ทอยู่คนเดียวอ่ะ ^_^ 555 จริงหรอพี่ มิยูกิ เนี่ยนะเป็นการ์ตูนโป๊ :P

Anonymous said...

^-^