2006-12-11
ขณะที่ผมกำลังยืนถ่ายรูปร้าน Pai Away อยู่ที่ฝั่งตรงข้ามพี่เจ้าของร้านก็ตะโกนข้ามฝั่งถนนมา
"น้องๆ ที่ถ่ายรูปอยู่พี่ขอคุยด้วยหน่อยสิ"
"ฉิบหายแล้ว!" ผมคิดในใจเขาห้ามถ่ายรูปหรอว่ะ
ถ้ามองผิวเผินคุณอาจจะคิดว่า นี่คงเป็นร้านในสวนจตุจักร หรือร้านแถวถนนนิมมานเหมินท์ ที่เชียงใหม่--แต่ร้านนี้อยู่ที่เมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
"ไม่มีอะไรหรอกครับ เห็นน้องใช้กล้องโบราณอยู่ก็เลยอยากคุยด้วย" พี่เจ้าของร้านพูดถึงกล้อง Olympus Pen-EES 2 ที่ผมถืออยู่
"อ๋อพอดี มาเที่ยวแล้วกล้องดิจิตอลเสียน่ะครับ กะเอาไว้ว่าจะเอาตัวนี้มา สแนป อะไรเล่นๆ ก็เลยต้องเปลี่ยนใจ"
"อืม พี่ก็มีอยู่ตัวนึง พี่ว่าประหยัดดี ฟิลม์ม้วนนึงถ่ายภาพได้เยอะดีนะ" พี่ร้านถ่ายรูปพูดถึงคุณสมบัติแบบ Half Frame ของมันคือ ฟิลม์ปรกติถึงภาพสามารถถ่ายภาพด้วยกล้องนี้ 2 ภาพ
"รูปสวยดีนะครับ แล้วภาพไหนที่พี่ใช้ Pen-EES ถ่ายครับ" ผมชวนพี่เขาคุยถึงภาพถ่ายของพี่ที่วางโชว์อยู่ในร้าน
"อยู่ตรงโน้นแน่ะ รูปทุ่งนาในปาย พี่ถ่ายเอาไว้นานแล้ว"
"สวยดีพี่ แล้วปรกติพี่ใช้กล้องตัวไหนถ่ายภาพ"
"อ๋อภาพส่วนใหญ่ พี่ใช้กล้อง Leica ถ่ายน่ะ" พี่เขาชี้ที่กล้องตัวนึงที่วางโชว์อยู่ในตู้หน้าร้าน โอ้วไฮโซๆ ผมคิดในใจ
"พี่ผมขอถ่ายรูป บรรยากาศภายในร้านเก็บเอาไว้สักสองสามรูปได้ไหมครับ"
"ตามสบายเลยน้อง พี่ดีใจนะที่ยังมีคนใช้กล้องโบราณอยู่ ยังไม่ยอมปล่อยให้มันพ้นสมัยไป"
ด้านล่างเป็นภาพที่ผมถ่าย
ภาพบรรยากาศภายในร้าน
ผมนึกถึงหนังเรื่อง Coffee and Cigarettes ของ Jim Jarmusch ที่ด้านหลังกล่องดีวีดีเรื่องนี้เขียนเอาไว้ว่า "นี่อาจจะเป็นหนังขาวดำเรื่องสุดท้ายในโลกที่ถ่ายด้วยฟิลม์ เพราะบริษัทโกดัก กำลังจะเลิกผลิตฟิล์มเนกาทีฟขาวดำ (ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นยังไงผมยังไม่ทราบ)
"พี่ชอบถ่ายรูปน่ะน้อง โดยเฉพาะภาพขาวดำพี่รักมันมาก" ประโยคนี้ของพี่--ทำให้ผมตัดสินใจ ไม่ปริปากพูดในสิ่งที่ผมคิดอยู่ในใจ
ทำยังไงได้
เรื่องน่าใจหายแบบนี้
มีหรือที่ผมจะกล้าบอกพี่เขา
ก็คงต้องปล่อยให้
Anyting มัน goes ไปตามทาง--ของมัน
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-
Monday, December 11, 2006
ร้านหนังสือในปาย (1)
2006-12-11
ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่ตอนเช้าแล้ว ว่าบ่ายนี้จะลองปั่นจักรยานเล่นรอบเมืองปาย หลังเสร็จสิ้นจากการกินขาหมูยูนาน--เจ้าดังของเมืองปายเป็นมื้อเที่ยง(อร่อยดี ^_^) ผมกับเพื่อนก็แยกย้ายกันเที่ยวตามอัธยาศัย
ราคาค่าเช่าจักรยานที่ปายไม่แพง
ป้าร้านขายส้มที่อยู่ตรงข้ามร้านเช่ามอเตอร์ไซด์ aya คิดผมวันละ 30 บาท ไม่ต้องวางมัดจำ ไม่ต้องดูบัตรประชาชน แค่เขียนชื่อ นามสกุล แล้วก็ชื่อที่พัก เดินเข้าไปเลือกจักรยานที่จอดอยู่ข้างร้าน แล้วออกมากรอกในสมุดบันทึกนิดหน่อยว่าเอาจักรยานหมายเลขอะไรไป เท่านั้นเป็นอันเสร็จขั้นตอน
ผมปั่นจักรยานหมายเลข A-5 มุ่งหน้าไป ร้าน Siam Used Books ร้านขายหนังสือที่ผมบังเอิญเห็นในแผนที่เมืองปายที่ผมหยิบติดมือมาจากที่พัก อยากลองเยี่ยมเยียนร้านหนังสือที่ปายดู--ตามภาษาคนที่นิยมชมชอบหนังสือ ^_^
ปั่นไปปั่นมาอยู่ที่ถนนรังสิยานนท์หลายรอบจน ลุงที่ขายขนมอยู่หน้าร้านถ่ายรูปร้านหนึ่งทนดูความเก้ๆกังๆไม่ได้ ตะโกนถาม "หาอะไรอยู่หรอพ่อหนุ่ม เห็นปั่นไปปั่นมาหลายรอบแล้ว"
"ร้านหนังสือชื่อ Siam Used Books ครับ" ผมตอบลุงไปพร้อมชี้แผนที่ให้ลุงดู
"อ๋อ เมื่อเช้าลุงฟังวิทยุเห็นเขาโฆษณาว่าย้ายไปแถวถนนชัยสงคราม แถวท่ารถน่ะ ลองไปดูแถวนั้นสิ"
ผมพับแผนที่เก็บที่ตระกร้าหน้ารถ ขอบคุณลุงก่อนที่จะปั่นจักรยานต่อไปยังที่หมาย
Siam Used Books เป็นบ้านตึกครึ่งไม้ อยู่ไม่ไกลจากท่ารถ(อย่างที่ลุงบอกจริงๆ) มีหนังสือเยอะพอสมควรโดยมากเป็นหนังสือต่างประเทศ มีหนังสือภาษาไทยอยู่นิดหน่อย--ตามรสนิยมการอ่านของเจ้าของร้าน (พี่เปิ้ลที่เป็นเจ้าของร้านบอกว่าเป็นหนังสือที่เขาอ่านแล้วทั้งหมด)
ผมเดินกวาดสายตาไปตามชั้นหนังสือต่างๆ จนคิดว่าชั้นหนังสือเหล่านั้นน่าจะสะอาดสะอ้านพอสมควรแล้ว (ถ้าเช็ดตามด้วยผ้าขยี้น้ำหมาดๆ คิดว่าน่าจะสะอาดกว่านี้ ) ^_^-เกือบสองชั่วโมงที่อยู่ที่นี่ ผมเลือกหนังสือทีีคิดว่าจะเอาไปกวาดสายตาเล่นต่อที่บ้านได้จำนวนหนึ่ง มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. JPod ฉบับปกแข็ง นิยายเล่มใหม่ของ Douglas Coupland--พี่เปิ้ล-เจ้าของร้านคุยว่าใหม่มากขนาดที่ตอนนี้ยังไม่มีฉบับ paperback จำหน่ายเลยด้วยซ้ำ (ท่าจะจริงอย่างที่แกพูดเพราะที่ร้านคิโนคุนิยะที่กรุงเทพฯ ก็ยังไม่มีขายเหมือนกัน)
2. The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin เขียนโดย Robert Nicholson--พอเห็นเล่มนี้เจ้าของร้านเตือนด้วยความหวังดีว่า "เล่มนี้ไม่ใช่ Ulysses นะ" พร้อมกับโอดครวญให้ฟังถึงความยากเย็นในการอ่านนิยายเรื่อง Ulysses ผมยิ้มแล้วบอกพี่เปิ้ลว่า Ulysses น่ะผมเองก็ไม่เคยแตะเหมือนกัน สำหรับผมความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการพาเที่ยวเมืองดับลินผ่านนิยายของ Joyce (เอ๊ะหรือว่าคู่มือการอ่านนิยายของ Joyce ผ่านเมืองดับลิน--แค่คิดก็สนุกแล้ว)
3. How to Build a Time Machine เขียนโดย Paul Davies--ที่ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ก็เพราะว่า มีความคิดว่าจะสร้าง Time Machine เอาไว้ใช้ส่วนตัวอยู่เหมือนกัน อยากกลับไปแก้ไขอดิีตที่เคยทำอะไรไม่ดีเอาไว้ ^_^
และเล่มสุดท้าย
The Book against God เขียนโดย James Wood--สำหรับผมแค่ชื่อหนังสือก็น่าสนใจแล้ว
ด้านล่างเป็นภาพบรรยากาศร้าน
หน้าร้าน Siam Used Books ด้านขวามือคือจักรยานหมายเลข A-5
บรรยากาศภายในร้าน
ตอนคิดเงินพี่เปิ้ลลดราคาค่าหนังสือให้ผมเยอะมาก(ทั้งที่ผมไม่ได้เป็นสมาชิกแล้วก็ไม่ได้มีบัตรลดอะไรพิเศษ) ^_^
ก่อนออกจากร้านผมถามพี่เปิ้ลว่านอกจากร้านพี่แล้วในปายมีร้านหนังสือร้านอื่นอีกหรือเปล่า?
พี่เปิ้ลตอบว่ามีอีกสองร้าน พร้อมกับชี้ตำแหน่งร้านในแผนที่ให้ผมดู
มีหรือที่ผมจะพลาด
หลังจากนั้น
ผมรีบปั่นจักรยานไปตามตำแหน่งที่พี่เปิ้ลบอก
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-How to Build a Time Machine--Paul Davies
-JPod--Douglas Coupland
-The Book Against God--James Wood
-The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin--Robert Nicholson
Book read:
-
ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่ตอนเช้าแล้ว ว่าบ่ายนี้จะลองปั่นจักรยานเล่นรอบเมืองปาย หลังเสร็จสิ้นจากการกินขาหมูยูนาน--เจ้าดังของเมืองปายเป็นมื้อเที่ยง(อร่อยดี ^_^) ผมกับเพื่อนก็แยกย้ายกันเที่ยวตามอัธยาศัย
ราคาค่าเช่าจักรยานที่ปายไม่แพง
ป้าร้านขายส้มที่อยู่ตรงข้ามร้านเช่ามอเตอร์ไซด์ aya คิดผมวันละ 30 บาท ไม่ต้องวางมัดจำ ไม่ต้องดูบัตรประชาชน แค่เขียนชื่อ นามสกุล แล้วก็ชื่อที่พัก เดินเข้าไปเลือกจักรยานที่จอดอยู่ข้างร้าน แล้วออกมากรอกในสมุดบันทึกนิดหน่อยว่าเอาจักรยานหมายเลขอะไรไป เท่านั้นเป็นอันเสร็จขั้นตอน
ผมปั่นจักรยานหมายเลข A-5 มุ่งหน้าไป ร้าน Siam Used Books ร้านขายหนังสือที่ผมบังเอิญเห็นในแผนที่เมืองปายที่ผมหยิบติดมือมาจากที่พัก อยากลองเยี่ยมเยียนร้านหนังสือที่ปายดู--ตามภาษาคนที่นิยมชมชอบหนังสือ ^_^
ปั่นไปปั่นมาอยู่ที่ถนนรังสิยานนท์หลายรอบจน ลุงที่ขายขนมอยู่หน้าร้านถ่ายรูปร้านหนึ่งทนดูความเก้ๆกังๆไม่ได้ ตะโกนถาม "หาอะไรอยู่หรอพ่อหนุ่ม เห็นปั่นไปปั่นมาหลายรอบแล้ว"
"ร้านหนังสือชื่อ Siam Used Books ครับ" ผมตอบลุงไปพร้อมชี้แผนที่ให้ลุงดู
"อ๋อ เมื่อเช้าลุงฟังวิทยุเห็นเขาโฆษณาว่าย้ายไปแถวถนนชัยสงคราม แถวท่ารถน่ะ ลองไปดูแถวนั้นสิ"
ผมพับแผนที่เก็บที่ตระกร้าหน้ารถ ขอบคุณลุงก่อนที่จะปั่นจักรยานต่อไปยังที่หมาย
Siam Used Books เป็นบ้านตึกครึ่งไม้ อยู่ไม่ไกลจากท่ารถ(อย่างที่ลุงบอกจริงๆ) มีหนังสือเยอะพอสมควรโดยมากเป็นหนังสือต่างประเทศ มีหนังสือภาษาไทยอยู่นิดหน่อย--ตามรสนิยมการอ่านของเจ้าของร้าน (พี่เปิ้ลที่เป็นเจ้าของร้านบอกว่าเป็นหนังสือที่เขาอ่านแล้วทั้งหมด)
ผมเดินกวาดสายตาไปตามชั้นหนังสือต่างๆ จนคิดว่าชั้นหนังสือเหล่านั้นน่าจะสะอาดสะอ้านพอสมควรแล้ว (ถ้าเช็ดตามด้วยผ้าขยี้น้ำหมาดๆ คิดว่าน่าจะสะอาดกว่านี้ ) ^_^-เกือบสองชั่วโมงที่อยู่ที่นี่ ผมเลือกหนังสือทีีคิดว่าจะเอาไปกวาดสายตาเล่นต่อที่บ้านได้จำนวนหนึ่ง มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. JPod ฉบับปกแข็ง นิยายเล่มใหม่ของ Douglas Coupland--พี่เปิ้ล-เจ้าของร้านคุยว่าใหม่มากขนาดที่ตอนนี้ยังไม่มีฉบับ paperback จำหน่ายเลยด้วยซ้ำ (ท่าจะจริงอย่างที่แกพูดเพราะที่ร้านคิโนคุนิยะที่กรุงเทพฯ ก็ยังไม่มีขายเหมือนกัน)
2. The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin เขียนโดย Robert Nicholson--พอเห็นเล่มนี้เจ้าของร้านเตือนด้วยความหวังดีว่า "เล่มนี้ไม่ใช่ Ulysses นะ" พร้อมกับโอดครวญให้ฟังถึงความยากเย็นในการอ่านนิยายเรื่อง Ulysses ผมยิ้มแล้วบอกพี่เปิ้ลว่า Ulysses น่ะผมเองก็ไม่เคยแตะเหมือนกัน สำหรับผมความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการพาเที่ยวเมืองดับลินผ่านนิยายของ Joyce (เอ๊ะหรือว่าคู่มือการอ่านนิยายของ Joyce ผ่านเมืองดับลิน--แค่คิดก็สนุกแล้ว)
3. How to Build a Time Machine เขียนโดย Paul Davies--ที่ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ก็เพราะว่า มีความคิดว่าจะสร้าง Time Machine เอาไว้ใช้ส่วนตัวอยู่เหมือนกัน อยากกลับไปแก้ไขอดิีตที่เคยทำอะไรไม่ดีเอาไว้ ^_^
และเล่มสุดท้าย
The Book against God เขียนโดย James Wood--สำหรับผมแค่ชื่อหนังสือก็น่าสนใจแล้ว
ด้านล่างเป็นภาพบรรยากาศร้าน
หน้าร้าน Siam Used Books ด้านขวามือคือจักรยานหมายเลข A-5
บรรยากาศภายในร้าน
ตอนคิดเงินพี่เปิ้ลลดราคาค่าหนังสือให้ผมเยอะมาก(ทั้งที่ผมไม่ได้เป็นสมาชิกแล้วก็ไม่ได้มีบัตรลดอะไรพิเศษ) ^_^
ก่อนออกจากร้านผมถามพี่เปิ้ลว่านอกจากร้านพี่แล้วในปายมีร้านหนังสือร้านอื่นอีกหรือเปล่า?
พี่เปิ้ลตอบว่ามีอีกสองร้าน พร้อมกับชี้ตำแหน่งร้านในแผนที่ให้ผมดู
มีหรือที่ผมจะพลาด
หลังจากนั้น
ผมรีบปั่นจักรยานไปตามตำแหน่งที่พี่เปิ้ลบอก
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Books bought:
-How to Build a Time Machine--Paul Davies
-JPod--Douglas Coupland
-The Book Against God--James Wood
-The Ulysses Guide : Tours Through Joyce's Dublin--Robert Nicholson
Book read:
-
Thursday, December 07, 2006
Vacation
Wednesday, December 06, 2006
สิ่งที่อยากกิน; กระผมก็ควรได้กิน
Frim Fram Sauce
2006-12-06
Now a persons really got to eat
And a person should eat right.
Five will get you ten
I'm gonna feed myself right tonight.
Frim Fram Sauce เป็นเพลงในปี พ.ศ. 2488--ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปีที่เศรษฐกิจตกต่ำ และประเทศต่างๆทั่วโลกล้วน อยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง(อเมริกาถึงแม้จะชนะสงครามก็ตาม ก็ไม่แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ)
Frim Fram Sauce เป็นชื่อของอาหารที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เพลงนี้พูดถึงชายคนหนึ่งที่เดินเข้าไปในร้านอาหารแล้ว บอกเด็กเสริฟว่า "กระผมไม่ต้องการรับประทานรายชื่ออาหารต่างๆ ดังนี้--French fried potatoes, Red ripe tomatoes, Pork chops, Bacon,Fish cakes and Rye Bread เพราะมันพื้นๆ และไม่ถูกปากกระผมเลยสักนิด(แต่สามารถสั่งกินได้เพราะมันมีอยู่จริงในโลก) สิ่งที่กระผมอยากกินก็คือ-- the frim fram sauce with the Ausen fay With chafafa on the side( ซึ่งเป็นชื่ออาหารประหลาดๆ ที่ไม่มีอยู่จริง) คุณน่าจะเข้าใจ? สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน ผมจะจ่ายคุณอย่างงาม ก็แค่คืนนี้ผมอยากตามใจปากตัวเอง"
Frim Fram Sauce เป็นเพลงแจ๊สที่ถูกนิยามว่าเป็น "Silly Jazz Song" ด้วยเนื้อหาที่ตลกชวนหัวของมัน ร้องโดย Nat King Cole (หลังจากนั้นมีคนนำมาร้องใหม่อีกหลายเวอร์ชั่น) และแต่งโดย Redd Evans(นักแต่งเพลงของ Nat King Cole)
ฟังเพลงนี้แล้ว ทำให้เรานึกถึงวงเฉลียงของไทย ในภาพยนต์ประกอบเพลงนี้ถ้าเปลี่ยน Nat King Cole เป็นดี้-นิติพงษ์ ห่อนาค (กำลังร้องเพลงนายไข่เจียว) หรือเจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม(กำลังร้องเพลงรู้สึกสบายดี) แล้วละก็นี่มันวงเฉลียงยังไงอย่างงั้นเลย ^_^
แม้ท่วงทำนองของเพลงนี้จะดูน่ารัก และตลกขบขัน แต่สำหรับเรามันเป็นเพลงที่เศร้าอย่างร้ายกาจ
"สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน" อาจจะฟังดูน่าหมั่นไส้ ถ้ามันออกมาจากปากของมหาเศรษฐีที่มีเงินสักคนหนึ่ง
แต่มันจะเศร้าขนาดไหนถ้าประโยคนี้เปล่งออกมาจากปากของคนที่ไม่มีเงินสักแดง ที่จะสั่งอาหารประทังความหิว แล้วแสร้งทำเป็นสั่งอาหารประหลาดที่ไม่มีอยู่จริงบนโลก
ในท่อนสุดท้ายของเพลงนี้
Nat King Cole ร้องว่า
"If you don't have it, just bring me a check for the water!"
สุดท้ายแล้ว--เขาก็ทำได้แค่สั่งน้ำเปล่าลูบท้อง
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Frim Fram Sauce(1945)--Nat King Cole
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
2006-12-06
Now a persons really got to eat
And a person should eat right.
Five will get you ten
I'm gonna feed myself right tonight.
Frim Fram Sauce เป็นเพลงในปี พ.ศ. 2488--ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปีที่เศรษฐกิจตกต่ำ และประเทศต่างๆทั่วโลกล้วน อยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง(อเมริกาถึงแม้จะชนะสงครามก็ตาม ก็ไม่แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ)
Frim Fram Sauce เป็นชื่อของอาหารที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เพลงนี้พูดถึงชายคนหนึ่งที่เดินเข้าไปในร้านอาหารแล้ว บอกเด็กเสริฟว่า "กระผมไม่ต้องการรับประทานรายชื่ออาหารต่างๆ ดังนี้--French fried potatoes, Red ripe tomatoes, Pork chops, Bacon,Fish cakes and Rye Bread เพราะมันพื้นๆ และไม่ถูกปากกระผมเลยสักนิด(แต่สามารถสั่งกินได้เพราะมันมีอยู่จริงในโลก) สิ่งที่กระผมอยากกินก็คือ-- the frim fram sauce with the Ausen fay With chafafa on the side( ซึ่งเป็นชื่ออาหารประหลาดๆ ที่ไม่มีอยู่จริง) คุณน่าจะเข้าใจ? สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน ผมจะจ่ายคุณอย่างงาม ก็แค่คืนนี้ผมอยากตามใจปากตัวเอง"
Frim Fram Sauce เป็นเพลงแจ๊สที่ถูกนิยามว่าเป็น "Silly Jazz Song" ด้วยเนื้อหาที่ตลกชวนหัวของมัน ร้องโดย Nat King Cole (หลังจากนั้นมีคนนำมาร้องใหม่อีกหลายเวอร์ชั่น) และแต่งโดย Redd Evans(นักแต่งเพลงของ Nat King Cole)
ฟังเพลงนี้แล้ว ทำให้เรานึกถึงวงเฉลียงของไทย ในภาพยนต์ประกอบเพลงนี้ถ้าเปลี่ยน Nat King Cole เป็นดี้-นิติพงษ์ ห่อนาค (กำลังร้องเพลงนายไข่เจียว) หรือเจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม(กำลังร้องเพลงรู้สึกสบายดี) แล้วละก็นี่มันวงเฉลียงยังไงอย่างงั้นเลย ^_^
แม้ท่วงทำนองของเพลงนี้จะดูน่ารัก และตลกขบขัน แต่สำหรับเรามันเป็นเพลงที่เศร้าอย่างร้ายกาจ
"สิ่งที่อยากกิน กระผมก็ควรได้กิน" อาจจะฟังดูน่าหมั่นไส้ ถ้ามันออกมาจากปากของมหาเศรษฐีที่มีเงินสักคนหนึ่ง
แต่มันจะเศร้าขนาดไหนถ้าประโยคนี้เปล่งออกมาจากปากของคนที่ไม่มีเงินสักแดง ที่จะสั่งอาหารประทังความหิว แล้วแสร้งทำเป็นสั่งอาหารประหลาดที่ไม่มีอยู่จริงบนโลก
ในท่อนสุดท้ายของเพลงนี้
Nat King Cole ร้องว่า
"If you don't have it, just bring me a check for the water!"
สุดท้ายแล้ว--เขาก็ทำได้แค่สั่งน้ำเปล่าลูบท้อง
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Frim Fram Sauce(1945)--Nat King Cole
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Tuesday, December 05, 2006
2006-12-05
Two Regimes of Madness: Texts and Interviews 1975-1995
Gilles Deleuze
ISBN: 1584350326
Covering the last twenty years of Gilles Deleuze's life (1975-1995), the texts and interviews gathered in this volume complete those collected in Desert Islands and Other Texts (1953-1974) . This period saw the publication of his major works: A Thousand Plateaus (1980), Cinema I: Image-Movement (1983), Cinema II: Image-Time (1985), all leading through language, concept and art to What is Philosophy? (1991). Two Regimes of Madness also documents Deleuze's increasing involvement with politics (with Toni Negri, for example, the Italian philosopher and professor accused of associating with the Red Brigades). Both volumes were conceived by the author himself and will be his last. Michel Foucault famously wrote: "One day, perhaps, this century will be Deleuzian." This book provides a prodigious entry into the work of the most important philosopher of our time. Unlike Foucault, Deleuze never stopped digging further into the same furrow. Concepts for him came from life. He was a vitalist and remained one to the last.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Two Regimes of Madness: Texts and Interviews 1975-1995--Gilles Deleuze
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Monday, December 04, 2006
男はつらいよ
โทร่าซัง
2006-12-04
"โทร่าซังฉันกำลังจะมีทุกข์ ฉันกังวลถึงมันมากฉันอยากมีคนช่วยปรึกษา"
โทร่าซังหันมามองแล้วยิ้มให้ "ข้าเองก็เรียนหนังสือมาน้อยจะเอาปัญญาที่ไหนมาตอบเรื่องยากๆ ของเองว่ะ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ข้าอยากจะบอกกับเอ็งว่า ไม่มีใครที่ไหนเขาเช็ดตูดก่อนขี้หรอกโว้ย มีแต่ขี้แล้วถึงจะเช็ดตูดกันทั้งนั้นแหละ"
ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2539 ในขณะนั้นผมเป็นนักศึกษา และอาจะกำลังนั่งเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน ผู้ชายชื่อ โคโยชิ อะสุมิ (車寅次郎) ได้ลาจากโลกนี้ไป การจากไปของเขาไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลยกับชีวิตของผม โคโยชิก็ส่วนโคโยชิ วิชิตก็ส่วนวิชิต เราไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกัน
แต่สำหรับคนในกองถ่ายหนังเรื่อง 男はつらいよ (อ่านว่า โอโตโกะวะสุไรโยะ) "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" การจากไปของโคโยชิ ทำให้หนังที่มีภาคต่อมากที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก (48 ภาคตั้งแต่ปี1969-1996 รวมทั้งสิ้น 27 ปี) ต้องจบเรื่องราวที่แสนยาวนานของมันลง
สำหรับคนญี่ปุ่นการจากไปของ โคโยชิ อาจจะทำให้ใครหลายคนเศร้า เพื่อนญี่ปุ่นของผมเคยบอกกับผมว่า "ใครๆ ก็รักโทร่าซัง" เพราะโทร่าซัง อาจจะเป็นเหมือนความทรงจำที่ดีที่มีต่อชีวิตในช่วงวัยเยาว์ เพราะคนญี่ปุ่นจะได้ดูโทร่าซังกันปีละสองครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่ฉายก็จะอยู่ในช่วงที่เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของญุี่ปุ่น ที่พ่อแม่จะพาสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดไปนั่งดูหนังเรื่องนี้ร่วมกัน แล้วก็มานั่งลุ้นว่าปีนี้ โทร่าซังจะพาเราไปเที่ยวจังหวัดไหนหนอ--การดูหนังเรื่องนี้ก็เหมือนการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่นด้วยไปในตัว
ถ้าเรามองโทร่าซังในแง่ของการสร้างสรรค์ในเชิงภาพยนต์ ดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะไม่มีอะไรหวือหวา(ช่างเหมือนชีวิตจริงๆ ของมนุษย์บนโลก ^_^ เสียนี่กระไร) ทุกๆภาค ก็จะเริ่มที่โทร่าซังเดินทางไปเร่ขายของในจังหวัดหนึ่ง(โทร่าซังหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นคนขายของเร่) แล้วก็เกิดตกหลุมรักผู้หญิงสวยคนหนึ่ง (ที่มักจะเป็นดาราสาวที่กำลังฮอทอยู่ในช่วงเวลานั้น) จากนั้นโทร่าซังก็แห้วในเรื่องความรัก กลับบ้านทะเลากับคนในครอบครัว(ฉากทะเลาะกันในหนังน่ารักมาก ดูแล้วก็จะรู้ว่าเวลาที่คนกำลังทะเลาะกันด้วยความรักและความห่วงใยมันเป็นยังไง) แล้วก็ออกเดินทางต่อ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป
ถ้าเรามองในแง่ที่มันเป็นงานศิลปะที่สะท้อนภาพชีวิตเล็กๆ ของคนในครอบครัวหนึ่ง(โยจิ ยามาดะ เป็นเพื่อนสนิทของ โอสุ ซึ่งมีความเชื่อคล้ายๆ กันคือชอบหนังพล๊อทเล็กๆ เกี่ยวกับชีวิตคนในครอบครัว) ผมว่าโยจิ ยามาดะ--ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ ทำมันได้อย่างละเอียดอ่อน แสนที่จะเรียบง่ายและช่างมีชีวิตชีวา จนเราเชื่อจริงๆ ว่าดาราในเรื่องเขาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ในระยะเวลา 27 ปีพวกเขา ทั้งเติบโตแล้วแก่ชราไปพร้อมๆ กัน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นปีที่ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง 男はつらいよ ที่แปลเป็นไทยว่า "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ในเทศกาลหนังโทร่าซังที่จัดโดยมูลนิธิญี่ปุ่น ที่ตึกเสริมมิตรเป็นครั้งแรก(และอีกหลายครั้งนับจากนั้น ถ้าเย็นวันศุกร์ไหนที่เขานำหนังเรื่องโทร่าซังออกมาฉาย โดยมากผมมักไม่พลาด) นับแต่นั้นมาสำหรับผม ชีวิตของโคโยชิก็ไม่ส่วนของโคโยชิ และวิชิตก็ไม่ส่วนของวิชิตอีกต่อไป
สำหรับผม โคโยชิ อะสุมิ ก็คือ โทร่าซัง การจากไปของเขาทำให้ผู้รู้สึกเสียใจย้อนหลัง(ผมเสียใจช้าไปถึง 5 ปี) เพราะโทร่าซัง เป็นผู้ชายที่ผมรู้สึกดีด้วย(ประโยคนี้เขียนได้ล่อแหลมจริงๆ ^_^) เพราะรู้สึกชื่นชมน้ำจิตน้ำใจที่เขามีต่อคนรอบข้าง และชื่นชมวิธีที่เขามองโลกมองชีวิต
เสียดายเหมือนกันที่ตอนนี้เลยวัยที่จะมี Idol ไปแล้ว-ถ้ารู้จักโทร่าซัง เร็วกว่านี้หน่อยผมก็อาจจะบอกว่า โทร่าซังเป็น Idol ของผม
"มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ยิ่งผู้ชายแบบโทร่าซังด้วยแล้วเนี่ย
ความยากนั้นยิ่งเป็นเท่าทวีคูณ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ในตอนต้นเรื่องของทุกตอน หนังจะเริ่มต้นด้วยเพลงนี้-แทรกด้วยมุขตลกนิดหน่อย
เพลงนี้มีเนื้อร้องที่แปลเป็นไทยว่า
(ท่อนพูด)
ข้าเกิดและเติบโต ใน คัตสุชิกะ
ข้านามสุกลว่า "คุรุม่า"
ส่วนชื่อจริงนั้นคือ "โทราจิโร่"
แต่ ใครๆ ก็เรียกข้าว่า "โทร่าคนพเนจร"
(ท่อนร้อง)
พี่รู้ดีว่าไม่สามารถร่วมชีวิตกับเจ้าได้
พี่เป็นได้ก็เพียงพี่ชายที่แสนดี
แต่พี่จะพยายามทำให้ดีที่สุดแม้ว่าจะต้องร้องไห้
ตะวันกำลังลาลับและวาสนากำลังลาจากพี่ไป
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
2006-12-04
"โทร่าซังฉันกำลังจะมีทุกข์ ฉันกังวลถึงมันมากฉันอยากมีคนช่วยปรึกษา"
โทร่าซังหันมามองแล้วยิ้มให้ "ข้าเองก็เรียนหนังสือมาน้อยจะเอาปัญญาที่ไหนมาตอบเรื่องยากๆ ของเองว่ะ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ข้าอยากจะบอกกับเอ็งว่า ไม่มีใครที่ไหนเขาเช็ดตูดก่อนขี้หรอกโว้ย มีแต่ขี้แล้วถึงจะเช็ดตูดกันทั้งนั้นแหละ"
ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2539 ในขณะนั้นผมเป็นนักศึกษา และอาจะกำลังนั่งเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน ผู้ชายชื่อ โคโยชิ อะสุมิ (車寅次郎) ได้ลาจากโลกนี้ไป การจากไปของเขาไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลยกับชีวิตของผม โคโยชิก็ส่วนโคโยชิ วิชิตก็ส่วนวิชิต เราไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกัน
แต่สำหรับคนในกองถ่ายหนังเรื่อง 男はつらいよ (อ่านว่า โอโตโกะวะสุไรโยะ) "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" การจากไปของโคโยชิ ทำให้หนังที่มีภาคต่อมากที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก (48 ภาคตั้งแต่ปี1969-1996 รวมทั้งสิ้น 27 ปี) ต้องจบเรื่องราวที่แสนยาวนานของมันลง
สำหรับคนญี่ปุ่นการจากไปของ โคโยชิ อาจจะทำให้ใครหลายคนเศร้า เพื่อนญี่ปุ่นของผมเคยบอกกับผมว่า "ใครๆ ก็รักโทร่าซัง" เพราะโทร่าซัง อาจจะเป็นเหมือนความทรงจำที่ดีที่มีต่อชีวิตในช่วงวัยเยาว์ เพราะคนญี่ปุ่นจะได้ดูโทร่าซังกันปีละสองครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่ฉายก็จะอยู่ในช่วงที่เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของญุี่ปุ่น ที่พ่อแม่จะพาสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดไปนั่งดูหนังเรื่องนี้ร่วมกัน แล้วก็มานั่งลุ้นว่าปีนี้ โทร่าซังจะพาเราไปเที่ยวจังหวัดไหนหนอ--การดูหนังเรื่องนี้ก็เหมือนการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่นด้วยไปในตัว
ถ้าเรามองโทร่าซังในแง่ของการสร้างสรรค์ในเชิงภาพยนต์ ดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะไม่มีอะไรหวือหวา(ช่างเหมือนชีวิตจริงๆ ของมนุษย์บนโลก ^_^ เสียนี่กระไร) ทุกๆภาค ก็จะเริ่มที่โทร่าซังเดินทางไปเร่ขายของในจังหวัดหนึ่ง(โทร่าซังหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นคนขายของเร่) แล้วก็เกิดตกหลุมรักผู้หญิงสวยคนหนึ่ง (ที่มักจะเป็นดาราสาวที่กำลังฮอทอยู่ในช่วงเวลานั้น) จากนั้นโทร่าซังก็แห้วในเรื่องความรัก กลับบ้านทะเลากับคนในครอบครัว(ฉากทะเลาะกันในหนังน่ารักมาก ดูแล้วก็จะรู้ว่าเวลาที่คนกำลังทะเลาะกันด้วยความรักและความห่วงใยมันเป็นยังไง) แล้วก็ออกเดินทางต่อ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป
ถ้าเรามองในแง่ที่มันเป็นงานศิลปะที่สะท้อนภาพชีวิตเล็กๆ ของคนในครอบครัวหนึ่ง(โยจิ ยามาดะ เป็นเพื่อนสนิทของ โอสุ ซึ่งมีความเชื่อคล้ายๆ กันคือชอบหนังพล๊อทเล็กๆ เกี่ยวกับชีวิตคนในครอบครัว) ผมว่าโยจิ ยามาดะ--ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ ทำมันได้อย่างละเอียดอ่อน แสนที่จะเรียบง่ายและช่างมีชีวิตชีวา จนเราเชื่อจริงๆ ว่าดาราในเรื่องเขาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ในระยะเวลา 27 ปีพวกเขา ทั้งเติบโตแล้วแก่ชราไปพร้อมๆ กัน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นปีที่ผมได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง 男はつらいよ ที่แปลเป็นไทยว่า "มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ในเทศกาลหนังโทร่าซังที่จัดโดยมูลนิธิญี่ปุ่น ที่ตึกเสริมมิตรเป็นครั้งแรก(และอีกหลายครั้งนับจากนั้น ถ้าเย็นวันศุกร์ไหนที่เขานำหนังเรื่องโทร่าซังออกมาฉาย โดยมากผมมักไม่พลาด) นับแต่นั้นมาสำหรับผม ชีวิตของโคโยชิก็ไม่ส่วนของโคโยชิ และวิชิตก็ไม่ส่วนของวิชิตอีกต่อไป
สำหรับผม โคโยชิ อะสุมิ ก็คือ โทร่าซัง การจากไปของเขาทำให้ผู้รู้สึกเสียใจย้อนหลัง(ผมเสียใจช้าไปถึง 5 ปี) เพราะโทร่าซัง เป็นผู้ชายที่ผมรู้สึกดีด้วย(ประโยคนี้เขียนได้ล่อแหลมจริงๆ ^_^) เพราะรู้สึกชื่นชมน้ำจิตน้ำใจที่เขามีต่อคนรอบข้าง และชื่นชมวิธีที่เขามองโลกมองชีวิต
เสียดายเหมือนกันที่ตอนนี้เลยวัยที่จะมี Idol ไปแล้ว-ถ้ารู้จักโทร่าซัง เร็วกว่านี้หน่อยผมก็อาจจะบอกว่า โทร่าซังเป็น Idol ของผม
"มันยากนะที่จะเป็นผู้ชาย" ยิ่งผู้ชายแบบโทร่าซังด้วยแล้วเนี่ย
ความยากนั้นยิ่งเป็นเท่าทวีคูณ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
ในตอนต้นเรื่องของทุกตอน หนังจะเริ่มต้นด้วยเพลงนี้-แทรกด้วยมุขตลกนิดหน่อย
เพลงนี้มีเนื้อร้องที่แปลเป็นไทยว่า
(ท่อนพูด)
ข้าเกิดและเติบโต ใน คัตสุชิกะ
ข้านามสุกลว่า "คุรุม่า"
ส่วนชื่อจริงนั้นคือ "โทราจิโร่"
แต่ ใครๆ ก็เรียกข้าว่า "โทร่าคนพเนจร"
(ท่อนร้อง)
พี่รู้ดีว่าไม่สามารถร่วมชีวิตกับเจ้าได้
พี่เป็นได้ก็เพียงพี่ชายที่แสนดี
แต่พี่จะพยายามทำให้ดีที่สุดแม้ว่าจะต้องร้องไห้
ตะวันกำลังลาลับและวาสนากำลังลาจากพี่ไป
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Sunday, December 03, 2006
The State of Architectural Education
2006-12-03
Architecture is still being taught: in technical schools, academies, faculties of architecture, and in postgraduate institutes for advanced talent. These courses take place in buildings with a name and an address. There are student bodies and teaching staff and they communicate with one another on the basis of curricula and course requirements, attainment targets and exams. There would seem to be nothing amiss. Architecture is a profession and to master it you go to school.
Time was when such schools could confidently assume that the knowledge they were passing on was absolute. There was a canon, there were rules and there was a sense of vocation so that you knew what you were doing it for: for God, your country or another, better world. As an architect you were an initiate of a profession, a school or an ideology – all categories of exclusion, in that anyone who was not an initiate could not, in effect, be a real architect. This exclusion was reinforced by a strong professionalization, culminating in the protection of the title of architect.
And behold, no sooner was the title protected than people started wondering what in fact distinguished an architect from anyone else involved in the creation of space or the processes of construction. Alongside the familiar 'design' architects, there were now architects who specialized in the management and production aspects of building; there were architects who provided concepts, aesthetic monitoring or fantastical constructions and architects who concentrated on draughting, detailing and site supervision. Or perhaps these were not true architects?
Nobody knew for sure. What was certain, was that architecture was losing its grip on its core competencies: the conception, design and elaboration of buildings and the supervision of their realization. The boundaries of the profession were blurring. Everybody was getting in on the architectural act, while for their part architects were dabbling in a host of other disciplines. In such a free-for-all, exclusion – at least on the grounds of pure learning and expertise – is not easy. Architecture had ceased to be a rigorously defined academic discipline.
And something else happened to deprive architectural education of a clear sense of what it was all about. In the past, architecture had always possessed a clear cultural significance. There were styles, which said something about an ideology, a region or the personal views of the client. There were building types, with a corresponding form by which that type could be identified. There were different levels of scale, appropriate to the size of a particular programme. These were all things that could be learned and remembered for a lifetime. But now such remembering seems to be more of a handicap than a benefit. There is much more demand for the ability to think up strategies, to play with form, to design thematically harmonious worlds. Style, form, type, programme – you are better off inventing them from scratch. Preferably in an all-encompassing hybrid.
So this is the dilemma facing architectural education. On the one hand it must retain enough basic knowledge to justify a curriculum and thus schools; on the other hand it must foster a climate in which creativeness flourishes and the evocative power can develop. There will be no lack of talent, for these are precisely the conditions that talent covets. The question is, can the schools do justice to this talent?
author: Ole Bouman
From: http://www.volumeproject.org/plain/object.php?object=974&year=&num=
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Architecture is still being taught: in technical schools, academies, faculties of architecture, and in postgraduate institutes for advanced talent. These courses take place in buildings with a name and an address. There are student bodies and teaching staff and they communicate with one another on the basis of curricula and course requirements, attainment targets and exams. There would seem to be nothing amiss. Architecture is a profession and to master it you go to school.
Time was when such schools could confidently assume that the knowledge they were passing on was absolute. There was a canon, there were rules and there was a sense of vocation so that you knew what you were doing it for: for God, your country or another, better world. As an architect you were an initiate of a profession, a school or an ideology – all categories of exclusion, in that anyone who was not an initiate could not, in effect, be a real architect. This exclusion was reinforced by a strong professionalization, culminating in the protection of the title of architect.
And behold, no sooner was the title protected than people started wondering what in fact distinguished an architect from anyone else involved in the creation of space or the processes of construction. Alongside the familiar 'design' architects, there were now architects who specialized in the management and production aspects of building; there were architects who provided concepts, aesthetic monitoring or fantastical constructions and architects who concentrated on draughting, detailing and site supervision. Or perhaps these were not true architects?
Nobody knew for sure. What was certain, was that architecture was losing its grip on its core competencies: the conception, design and elaboration of buildings and the supervision of their realization. The boundaries of the profession were blurring. Everybody was getting in on the architectural act, while for their part architects were dabbling in a host of other disciplines. In such a free-for-all, exclusion – at least on the grounds of pure learning and expertise – is not easy. Architecture had ceased to be a rigorously defined academic discipline.
And something else happened to deprive architectural education of a clear sense of what it was all about. In the past, architecture had always possessed a clear cultural significance. There were styles, which said something about an ideology, a region or the personal views of the client. There were building types, with a corresponding form by which that type could be identified. There were different levels of scale, appropriate to the size of a particular programme. These were all things that could be learned and remembered for a lifetime. But now such remembering seems to be more of a handicap than a benefit. There is much more demand for the ability to think up strategies, to play with form, to design thematically harmonious worlds. Style, form, type, programme – you are better off inventing them from scratch. Preferably in an all-encompassing hybrid.
So this is the dilemma facing architectural education. On the one hand it must retain enough basic knowledge to justify a curriculum and thus schools; on the other hand it must foster a climate in which creativeness flourishes and the evocative power can develop. There will be no lack of talent, for these are precisely the conditions that talent covets. The question is, can the schools do justice to this talent?
author: Ole Bouman
From: http://www.volumeproject.org/plain/object.php?object=974&year=&num=
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Saturday, December 02, 2006
จดหมายถึงคุณ
2006-12-02
ในฤดูหนาวช่วงปี พ.ศ. 2536 เพลง My Girl เคยกระจายเสียงผ่านลำโพงนี้-ทุกเช้า
ถึงคุณ ที่คิดถึง
ตอนสายวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เวลา 10 นาฬิกา 25 นาที ที่นอกหน้าต่าง ต้นไม้ที่อยู่ข้างบ้านไม่ไหวติง แสงอาทิตย์กำลังฉาบแสงอยู่ที่พื้นห้องข้างๆ หน้าต่าง--ทิศทางของแสงแบบนี้แสดงว่า วงโคจรของมันอยู่ในตำแหน่งที่(อาจจะ)พูดได้ว่าย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว แต่สายนี้ไม่มีลมเหนือพัดผ่านมาเลย--ไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว
ล่วงเลยมาจนป่านนี้ คุณน่าจะเดินทางมาถึงแล้ว ตอนนี้คุณอยู่ที่ไหนหนอ?
เสียงเพลง My Girl ในห้องผมกำลังดังคลอรอคุณอยู่ รู้ไหมสำหรับผมแล้วเพลงนี้เป็นของคุณ มันเป็นเพลงของฤดูหนาว-แม้ว่าคนอื่นอาจจะไม่คิดเช่นนั้น ไม่เป็นไรสิ่งนั้นไม่สำคัญอะไร
เหมือนความอุ่นของตะวันในวันที่มีเมฆหมอก
เหมือนด้านนอกทีี่หนาวเหน็บ
แต่ฉันกลับรู้สึกถึงความอบอุ่นในเดือนพฤษภา
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อสมัยที่ผมยังเด็ก การมาเยือนของคุณทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นเสมอ คุณทำให้การอาบน้ำตอนเช้าตรู่เป็นเรื่องยากลำบาก แต่มันก็ท้าทายความสามารถของเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คุณทำให้ผมใส่แจ็คเก๊ต และผ้าพันคอ เหมือนไอ้มดแดงหรือยอดมนุษย์ไฟฟ้า ไปโรงเรียนเล่นกับเพื่อนได้--โดยมีเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ คุณทำให้หมอกปกคลุมกรุงเทพฯในยามเช้าของวันใหม่--หมอกที่ทำให้ทุกอย่างรอบๆ ตัวดูขมุกขมัวเหมือนอยู่ในความฝัน
กรุงเทพฯ เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงหน้าหนาวอยู่ที่ประมาณ 14 องศาเซลเซียส ผมยังจำได้ดีตอนนั้นผมเรียนหนังสืออยู่ชั้น ป.3 ความหนาวเป็นเรื่องของความสนุก เพราะเราสามารถวิ่งเล่นในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย-วัยเด็กของผมนั้นรู้สึกดีๆ และประทับใจในตัวคุณอยู่ไม่น้อย
ผมว่าเด็กผู้ชายทุกคนต้องเคยเป็นแบบผมคือ จะมีช่วงนึงที่คิดอยากลองดีกับคุณ คุณเป็นเงื่อนไขในการทดสอบความเข้มแข็งของชายชาตรี การใส่เสื้อกันหนาวไปโรงเรียนเป็นจึงเรื่องน่าอาย--อย่างมากที่สุดพวกผมกับเพื่อนก็แค่ใส่เสื้อยืดคอกลมไว้ข้างในเสื้อนักเรียน แล้วก็แสร้งทำเป็นพูดว่าไม่หนาวเลยซักนิด ^_^ พอมาถึงวันนี้นั่งคิดถึงมันแล้ว ผมก็ยังรู้สึกขำอยู่เลย
เหมือนได้รับความหอมหวานที่แม้แต่ผึ้งเองก็ยังอิจฉา
เหมือนบทเพลงที่แสนไพเราะกว่าเสียงของนกที่อยู่บนต้นไม้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
ผมมานั่งนึกดูว่าอะไรที่ทำให้ เพลง My Girl นั้นสัมพันธ์แนบแน่นกับคุณ อาจจะเป็นได้ว่าตอนสมัยที่ผมเรียนอยู่ชั้นมอปลาย ในหน้าหนาวของปีหนึ่ง(ไม่มอห้าก็มอหก) ผมต้องไปจัดรายการวิทยุเสียงตามสายของโรงเรียนแทนเพื่อนสนิท เพลง My Girl คือเพลงที่ผมใช้เปิดทุกเช้าในช่วงนั้น(โดยหวังว่าผู้หญิงที่ผมชอบจะได้ยินมัน) มันเป็นเพลงแรกของวันใหม่ เพราะฉะนั้นในความทรงจำของผม My Girl จึงเป็นเพลงของฤดูหนาว ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นเพลงของคุณด้วย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อเช้าวานนี้กรุงเทพฯ มีฝนตกลงมา รุ่นพี่ที่ออฟฟิศมองออกข้างนอกหน้าต่าง แล้วหันมาโวยวายว่า "เป็นไปได้ยังไงว่ะ December rain เนี่ยนะ เคยได้ยินแต่ November rain ตอนนี้มันควรจะหนาวแล้วโว้ยไม่ใช่ฝนตก" แล้วก็หัวเราะร่วน จากนั้นพวกเพื่อนๆ ผมก็จับกลุ่มคุยกัน เพื่อนผมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อเช้าฟังข่าวเขาบอกว่า นับแต่นี้ไปกรุงเทพฯจะไม่มีฤดูหนาว--นั่นหมายความว่าคุณจะไม่กลับมาเยี่ยมเยียนกรุงเทพฯอีกแล้ว ไม่อีกตลอดไปนับจากนี้ ผมไม่แน่ใจว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร ข่าวนี้ทำให้ผมรู้สึกใจหายอยู่ไม่น้อย
ด้วยเหตุนี้ เช้านี้ผมจึงตัดสินใจเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงคุณ ผมรู้ว่าพวกเราทำผิดกับคุณไว้ไม่ใช่น้อย ไม่แปลกใจเลยที่คุณจะไม่มาเยี่ยมเยียนพวกเราอีก นับแต่วันนี้ผมก็หวังแต่ว่าพวกเราจะทำให้มันดีขึ้น และเมื่อทุกอย่างดีขึ้น ถ้าวันนั้นมีจริง ผมคงได้พบกับคุณอีก และเมื่อวันนั้นมาถึงผมจะเปิดเพลง My Girl ให้คุณฟังเหมือนเช่นเคย--เพราะสำหรับผมมันเป็นเพลงของคุณ ถึงแม้ว่าคนอื่นจะไม่คิดเช่นนั้นเลย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
คุณนั่นไง--ฤดูหนาว
หวังว่าคงจะได้พบคุณอีกในไม่ช้า
จาก
ผม--คนที่กำลังรอคอยคุณอยู่ที่นี่
ที่กรุงเทพฯ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
My Girl (1965)--The Temptations
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
ในฤดูหนาวช่วงปี พ.ศ. 2536 เพลง My Girl เคยกระจายเสียงผ่านลำโพงนี้-ทุกเช้า
ถึงคุณ ที่คิดถึง
ตอนสายวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เวลา 10 นาฬิกา 25 นาที ที่นอกหน้าต่าง ต้นไม้ที่อยู่ข้างบ้านไม่ไหวติง แสงอาทิตย์กำลังฉาบแสงอยู่ที่พื้นห้องข้างๆ หน้าต่าง--ทิศทางของแสงแบบนี้แสดงว่า วงโคจรของมันอยู่ในตำแหน่งที่(อาจจะ)พูดได้ว่าย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว แต่สายนี้ไม่มีลมเหนือพัดผ่านมาเลย--ไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว
ล่วงเลยมาจนป่านนี้ คุณน่าจะเดินทางมาถึงแล้ว ตอนนี้คุณอยู่ที่ไหนหนอ?
เสียงเพลง My Girl ในห้องผมกำลังดังคลอรอคุณอยู่ รู้ไหมสำหรับผมแล้วเพลงนี้เป็นของคุณ มันเป็นเพลงของฤดูหนาว-แม้ว่าคนอื่นอาจจะไม่คิดเช่นนั้น ไม่เป็นไรสิ่งนั้นไม่สำคัญอะไร
เหมือนความอุ่นของตะวันในวันที่มีเมฆหมอก
เหมือนด้านนอกทีี่หนาวเหน็บ
แต่ฉันกลับรู้สึกถึงความอบอุ่นในเดือนพฤษภา
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อสมัยที่ผมยังเด็ก การมาเยือนของคุณทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นเสมอ คุณทำให้การอาบน้ำตอนเช้าตรู่เป็นเรื่องยากลำบาก แต่มันก็ท้าทายความสามารถของเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คุณทำให้ผมใส่แจ็คเก๊ต และผ้าพันคอ เหมือนไอ้มดแดงหรือยอดมนุษย์ไฟฟ้า ไปโรงเรียนเล่นกับเพื่อนได้--โดยมีเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ คุณทำให้หมอกปกคลุมกรุงเทพฯในยามเช้าของวันใหม่--หมอกที่ทำให้ทุกอย่างรอบๆ ตัวดูขมุกขมัวเหมือนอยู่ในความฝัน
กรุงเทพฯ เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงหน้าหนาวอยู่ที่ประมาณ 14 องศาเซลเซียส ผมยังจำได้ดีตอนนั้นผมเรียนหนังสืออยู่ชั้น ป.3 ความหนาวเป็นเรื่องของความสนุก เพราะเราสามารถวิ่งเล่นในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย-วัยเด็กของผมนั้นรู้สึกดีๆ และประทับใจในตัวคุณอยู่ไม่น้อย
ผมว่าเด็กผู้ชายทุกคนต้องเคยเป็นแบบผมคือ จะมีช่วงนึงที่คิดอยากลองดีกับคุณ คุณเป็นเงื่อนไขในการทดสอบความเข้มแข็งของชายชาตรี การใส่เสื้อกันหนาวไปโรงเรียนเป็นจึงเรื่องน่าอาย--อย่างมากที่สุดพวกผมกับเพื่อนก็แค่ใส่เสื้อยืดคอกลมไว้ข้างในเสื้อนักเรียน แล้วก็แสร้งทำเป็นพูดว่าไม่หนาวเลยซักนิด ^_^ พอมาถึงวันนี้นั่งคิดถึงมันแล้ว ผมก็ยังรู้สึกขำอยู่เลย
เหมือนได้รับความหอมหวานที่แม้แต่ผึ้งเองก็ยังอิจฉา
เหมือนบทเพลงที่แสนไพเราะกว่าเสียงของนกที่อยู่บนต้นไม้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
ผมมานั่งนึกดูว่าอะไรที่ทำให้ เพลง My Girl นั้นสัมพันธ์แนบแน่นกับคุณ อาจจะเป็นได้ว่าตอนสมัยที่ผมเรียนอยู่ชั้นมอปลาย ในหน้าหนาวของปีหนึ่ง(ไม่มอห้าก็มอหก) ผมต้องไปจัดรายการวิทยุเสียงตามสายของโรงเรียนแทนเพื่อนสนิท เพลง My Girl คือเพลงที่ผมใช้เปิดทุกเช้าในช่วงนั้น(โดยหวังว่าผู้หญิงที่ผมชอบจะได้ยินมัน) มันเป็นเพลงแรกของวันใหม่ เพราะฉะนั้นในความทรงจำของผม My Girl จึงเป็นเพลงของฤดูหนาว ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นเพลงของคุณด้วย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
เมื่อเช้าวานนี้กรุงเทพฯ มีฝนตกลงมา รุ่นพี่ที่ออฟฟิศมองออกข้างนอกหน้าต่าง แล้วหันมาโวยวายว่า "เป็นไปได้ยังไงว่ะ December rain เนี่ยนะ เคยได้ยินแต่ November rain ตอนนี้มันควรจะหนาวแล้วโว้ยไม่ใช่ฝนตก" แล้วก็หัวเราะร่วน จากนั้นพวกเพื่อนๆ ผมก็จับกลุ่มคุยกัน เพื่อนผมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อเช้าฟังข่าวเขาบอกว่า นับแต่นี้ไปกรุงเทพฯจะไม่มีฤดูหนาว--นั่นหมายความว่าคุณจะไม่กลับมาเยี่ยมเยียนกรุงเทพฯอีกแล้ว ไม่อีกตลอดไปนับจากนี้ ผมไม่แน่ใจว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร ข่าวนี้ทำให้ผมรู้สึกใจหายอยู่ไม่น้อย
ด้วยเหตุนี้ เช้านี้ผมจึงตัดสินใจเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงคุณ ผมรู้ว่าพวกเราทำผิดกับคุณไว้ไม่ใช่น้อย ไม่แปลกใจเลยที่คุณจะไม่มาเยี่ยมเยียนพวกเราอีก นับแต่วันนี้ผมก็หวังแต่ว่าพวกเราจะทำให้มันดีขึ้น และเมื่อทุกอย่างดีขึ้น ถ้าวันนั้นมีจริง ผมคงได้พบกับคุณอีก และเมื่อวันนั้นมาถึงผมจะเปิดเพลง My Girl ให้คุณฟังเหมือนเช่นเคย--เพราะสำหรับผมมันเป็นเพลงของคุณ ถึงแม้ว่าคนอื่นจะไม่คิดเช่นนั้นเลย
ฉันไม่ต้องการทั้งเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือแม้กระทั้งชื่อเสียง
เพราะตอนนี้ฉันรู้สึกมั่งคั่ง เท่าที่คนๆ หนึ่งจะรู้สึกถึงมันได้
ฉันเดาว่าคุณต้องพูด
"อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกได้ถึงเช่นนั้น"
ที่รัก นั่นฉันกำลังพูดถึงคุณอยู่
คุณนั่นไง--ฤดูหนาว
หวังว่าคงจะได้พบคุณอีกในไม่ช้า
จาก
ผม--คนที่กำลังรอคอยคุณอยู่ที่นี่
ที่กรุงเทพฯ
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
My Girl (1965)--The Temptations
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Friday, December 01, 2006
2006-12-01
Creative Evolution
Henri Bergson
ISBN : 0486400360
The fullest expression of the distinguished French philosopher’s ideas about the meaning of life appear in this extended essay, his most famous and influential work. In propounding his distinctive theory of evolution, Bergson considers nature and intelligence, examines mechanisms of thought and illusion, and presents a criticism of philosophical systems from those of the ancients to those of his 19th-century contemporaries.
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-Creative Evolution--Henri Bergson
Books read:
-Philosophical Events: Essays of the '80--John Rajchman
-Bergsonism--Gilles Deleuze
Subscribe to:
Posts (Atom)