2007-01-19
"My design sensibility has been formed by exposure to an eclectic array of 20th-century artists and art movements. I am a modernist but without dogma, a typographic traditionalist who seeks out the freedom of the accidental, a pragmatist who balances the rational and the lateral simultaneously. I design opportunistically, approaching each design commission as an exploration. I apply no design formula or prescription." Garry Emery
ภาพถ่ายของลุง
วห: สวัสดีครับลุงผมชื่อวิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ ขอรบกวนเวลาลุงนิดนึงนะครับ อยากขอสัมภาษณ์ลุงนิดหน่อย เออคือผมมีชื่อเล่นว่าจี้นะครับ ระหว่างคุยกันลุงเรียกผมว่าจี้ก็ได้
กอ: ยังไงก็ได้ ฉันไม่ได้ใส่ใจอะไรกับมันมากมาย มันก็แค่ชื่อ
วห: เราเคยเจอกันครั้งนึงแล้ว เมื่อสามปีที่แล้วลุงจำได้ไหม
กอ: ใช่เมื่อสามปีที่แล้วมีคนเชิญฉันไปพูดที่กรุงเทพฯ รู้สึกว่าจะเป็นที่โบสถ์แถวถ์ย่านสีลม
วห: ใช่ครับโบสถ์ในซอยคอนแวนท์แถวสีลม...โบสถ์ชื่ออะไรหว่า ช่างมันเถอะครับผมนึกชื่อไม่ออก ไม่เป็นไรเรามาคุยกันต่อดีกว่า เออก่อนอื่นผมต้องเกริ่นแนะนำตัวคุณลุงก่อนนะครับ เพราะส่วนใหญ่บทสัมภาษณ์ที่ผมเคยอ่านเนี่ย ช่วงย่อหน้าแรกๆ จะต้องมีการเกริ่นนำก่อน คือยังงี้ครับผมจะเกริ่นนำว่า ลุงคนที่ผมกำลังคุยด้วยเนี่ย แกชื่อ แกร์รี่ อีเมอรี่ แกเป็นกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่ผมชอบมากๆ
กอ: รู้สึกว่าครั้งนี้จะเป็นการเกริ่นนำที่แปลกที่สุดที่ฉันเคยได้ยินมา (ลุงแกยิ้ม) เพราะส่วนใหญ่เวลาคนที่สัมภาษณ์ฉันแล้วเอาไปเขียนลงหนังสือส่วนใหญ่เขาก็จะเกริ่นแต่อะไรที่ดูดีๆ เช่นเป็นกราฟิกดีไซน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนนึงในประเทศออสเตเรีย มีงานมากมายทั่วโลกอะไรอย่างเนี่ย หรือถ้าดูร้ายๆหน่อย ก็อย่างเช่นเป็นพวกนิยมโมเดิร์นนิสท์ เป็นไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายของวงการกราฟฟิก
วห: คือผมไม่อยากเกริ่นอะไรที่ดูกว้างๆ และเลื่อนลอยแบบนั้นน่ะครับลุงแล้วอีกอย่างเนี่ย คนที่อ่าน Blog เนี่ยก็มีแต่เพื่อนๆผมทั้งนั้น ผมจึงไม่จำเป็นต้องพูดอะไรที่ดูเป็นทางการแบบนั้น ผมว่าให้คนอ่านเขาอ่านไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเขาก็รู้จักลุงเองแหละ เรื่องแบบนี้ผมว่าน่าจะปล่อยไปตามธรรมชาติ ผมว่าแค่เกริ่นว่าเป็นกราฟิกดีไซน์เนอร์ที่ผมชอบเนี่ยก็น่าจะโอแล้ว--ดูซับเจคทีฟดีครับ
กอ: ก็แล้วแต่นะ สำหรับผมยังไงก็ได้(ลุงแกยิ้ม)
วห: เมื่อสามปีที่แล้วตอนที่ผมนั่งฟังลุงพูดเนี่ย ผมนั่งอยู่ฝั่งซ้ายมือ เออถ้ามองจากสายตาลุงเนี่ย ก็เป็นฝั่งขวามือของลุง ผมนั่งๆ อยู่แถวหน้าหน้าหน่อย เป็นตั้งแต่สมัยเรียนแล้วผมเป็นคนไม่กลัวการนั่งหน้าชั้นเรียนเลย ตอนเรียนมหาลัยเวลาฟังเลคเชอร์ก็นั่งหน้าสุด วันนั้นเราสบตากันก็หลายครั้ง ถึงวันนี้ลุงคิดว่าลุงจำหน้าผมได้ไหมครับ รู้สึกคุ้นๆหน้าหรือเปล่า
กอ: ให้ตายเถอะฉันไม่คิดว่าเธอจะเริ่มต้นคำถามแรกด้วยคำถามนี้ เอาเป็นว่าฉันจำหน้าเธอไม่ได้ก็แล้วกัน
วห: ครับผมก็คิดว่าอย่างนั้นแหละ เราเปลี่ยนเรื่องคุยกันดีกว่า ตอนนี้ผมอยากจะให้ลุงเล่าประวัติชีวิตย่อๆ ของลุงให้ฟังหน่อยว่าลุงเข้ามาในแวดวงออกแบบกราฟฟิกได้ยังไง
กอ: ฉันจำได้ว่าเมื่อสามปีที่แล้วฉันเคยพูดเรื่องนี้ไปแล้วนะ เธอจำไม่ได้หรอ
วห: อันนี้เป็นคำถามนำครับ ต้องแกล้งทำเป็นไม่รู้นิดนึง เพื่อลุงจะได้ตอบ อย่างน้อยก็น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของผมที่กำลังอ่าน Blog นี้อยู่
กอ: งั้นผมเล่าอีกครั้งก็ได้(ลุงแกยิ้ม) คือผมเกิดในประเทศออสเตเรียฝั่งตะวันตก แล้วก็ไม่ได้ศึกษาร่ำเรียนมาในด้านกราฟฟิกดีไซน์เหมือนกับดีไซน์เนอร์คนอื่นๆ เขาหรอก ตอนอายุ 14 ปีผมก็ต้องออกจากโรงเรียนมาหางานทำแล้ว แรกเริ่มเลยผมเข้าไปทำงานที่สตูดิโอที่ทำงานเกี่ยวกับงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์แห่งหนึ่ง จากนั้นผมก็ย้ายจากเมืองเพิร์ทซึ่งเป็นบ้านเกิดไปอยู่ที่เมืองเมล์เบิร์น ทำงานเป็นพนักงานคัดอักษรด้วยมือ บนกล่องเครื่องสำอางและกล่องยา ด้วยงานเหล่านี้นี่เองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมลุ่มหลงในศาสตร์ของการคัดตัวหนังสือด้วยมือ(calligraphy)แล้วก็การออกแบบตัวอักษร(typography) จากประสบการณ์เหล่านี้เองที่ทำให้ผมได้ตระหนักว่า ถ้อยคำที่ปรากฎเป็นตัวหนังสือเป็นมากกว่าข้อมูลแต่มันเป็นการสื่อสารแสดงถึงทัศนะคติและช่วยปลุกเร้าจินตนาการของเรา
วห : แหมคุณลุงพูดได้เหมือนเมื่อตอนสามปีที่แล้วเปี๊ยบเลยนะครับ
กอ : (ลุงแกยิ้ม)
วห : คำถามต่อไปเลยดีกว่า แล้วอะไรที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานกราฟฟิกดีไซน์ของลุงครับ
กอ : ก็มีหลายอย่างนะอย่างเช่น ศิลปะ สถาปัตยกรรม แล้วก็พวกวัฒนธรรมป๊อบ
วห : คำถามต่อไปเป็นคำถามที่ค่อนข้างเชยแล้วก็ค่อนข้างจะจริงจังซักหน่อยนะครับ แต่มันจำเป็นต้องถาม ผมเห็นเวลาเขาสัมภาษณ์นักออกแบบเขาก็มักจะชอบถามคำถามนี้กัน
กอ : ถ้าคุณคิดว่าถ้ามันจำเป็นต้องถาม ผมก็คงจำเป็นต้องตอบ ถ้ามันเป็นคำถามที่ผมตอบได้(ยิ้ม)
วห : อะไรคือปรัชญาในการทำงานออกแบบของลุงครับ?
กอ : ปรัชญาในออกแบบคือสิ่งที่สามารถทำได้จริง(practical) มันจะเติบโตขึ้นมาจากวิถีทางที่คุณใช้ทำงาน มาจากประสบการณ์ที่เกิดจากการลงมือทำ จากความล้มเหลว จากความสำเร็จ จากการเรียนรู้ การออกแบบไม่สามารถลดทอนให้กลายเป็นสูตร ปรัชญาในการออกแบบของผมเกิดจาการฝึกฝนและการปฎิบัติในการสร้างรูปแบบตัวอักษรด้วยทักษะในเชิงช่าง หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นปรัชญาของการรวบรวมความคิดต่างๆ ที่หลากหลายโดยเปิดรับทุกๆ ความคิดที่ผ่านเข้ามาในหัวแล้ว ใช้การทดลองและการปรับเปลี่ยนเพื่อเลือกใช้ความคิดเหล่านั้น สำหรับผมแล้วสาระสำคัญในการเป็นนักออกแบบก็คือ การสื่อสาร การอธิบาย การสอน และที่สำคัญที่สุดก็คือ "การเปิดเผย" สาระของการเปิดเผยที่ว่านี้ก็คือ แนวความคิดที่ทั้งผู้อ่านและผู้ดูสามารถค้นพบและพัฒนาความหมายที่เกี่ยวกับตัวงานด้วยตัวของเขาเอง ในขบวนการนี้พวกเขาเอง(ในที่นี้หมายถึงผู้ดู)ก็จะกลายเป็นนักออกแบบด้วยในชั่วขณะนั้น มันเป็นเรื่องของการดึงดูดผู้อ่าน(ผู้ดูู)และการสร้างระบบในการตีความ ซึ่งจะว่าไปแล้วปรัชญาก็คือระบบของความเชื่อระบบหนึ่งซึ่งความเชื่อเหล่านั้นสามารถนำไปปฏิบัติได้ สำหรับผมนี่คือสิ่งที่นักออกแบบพยายามที่จะทำ คือการพยายามหาวิธีการที่จะกระตุ้นให้ตัวเองค้นพบวิธีในการแก้ปัญหาในเงื่อนไขต่างต่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการออกแบบด้วยตัวเอง (heuristic) สำหรับผมขบวนการที่เกิดขึ้นเหล่านี้นั้นล้วนแล้วแต่อยู่บนพื้นฐานของ surrealism, modernism, abstraction, minimalism รูปแบบโครงร่างของการเขียนอักษร และเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันเราก็คำนึงถึงวัฒนธรรมแบบสากล(Grobal Culture) และพื้นที่ต่างๆ ในส่วนย่อยของโลกรวมถึงวัฒนธรรมในพื้นที่เหล่านั้นด้วย นี่คือวิธีที่นักออกแบบพยายามอธิบายให้ผู้คนสามารถเข้าใจด้วยพื้นฐานความเข้าใจที่เกิดจากตัวเขาเอง(ผู้ดู) ด้วยการเปิดเผย มโนภาพและความคิด ที่สะท้อนอยู่ในระดับที่ลึกที่สุดของการรับรู้และความหมาย
วห : โหลุง ตอบยาวเลยนะครับ(ผมยิ้ม) แต่ก็ชัดเจนดี คำถามต่อไปเลยดีกว่าช่วงนี้ ที่ประเทศของผมความรู้สึกและสำนึกแบบชาตินิยมกำลังจะกลับมาอีกครั้ง--ด้วยสาเหตุซึ่งเกิดจากหลายเงิื่อนไข ซึ่งผมเองก็จะไม่พูดถึงในที่นี้(ขี้เกียจสาธยายให้ชาวต่างชาติฟัง) ซึ่งความคิดเหล่านี้ได้รุกลามเข้ามาในวงการออกแบบด้วย สำหรับลุงแล้ว ลุงคิดว่างานออกแบบของลุงนั้นได้สะท้อนภาพความเป็นออสเตรเรียออกมาหรือเปล่าใน visual language ที่ลุงได้ออกแบบ
กอ : ผมค่อนข้างที่จะมีปัญหากับสมมติฐานของความคิด ที่ว่าอะไรคือ visual language ของคนออสเตรเลีย บางทีสิ่งนี้อาจจะทำได้ง่ายกว่าในการที่จะบอกว่าอะไรคือลักษณะสำคัญของความเป็นออสเตรเลียโดยใช้มุมมองจากคนนอกที่ไม่ใช่คนออสเตรเลีย แต่ผมสามารถพูดได้ว่ากิจกรรมทางวัฒนธรรมของคนออสเตรเรียส่วนใหญ่ก็จะสะท้อนความหลากหลายและเงื่อนไขที่มีมากกว่าหนึ่งที่ผสมผสานกันอยู่ สิ่งเหล่านี้อาจจะรวมตัวแล้วสามารถสะท้อนความคิดในการทำงานออกแบบในภูมิภาคแบบที่เราเป็น หรือไม่บางทีมันก็ไม่สามารถสะท้อนอะไรได้เลย
เมื่อกี้นี้คุณเกริ่นว่าผมเป็นกราฟฟิกดีไซน์ที่คุณชอบบางทีถึงตอนนี้คุณจำเป็นต้องอธิบายว่าทำไมคุณถึงชื่นชอบงานผม
วห : งานลุงเรียบง่ายดูสบายตาและให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่ปรากฎในงาน ซึ่งก็คือพวก spacing และพวก grid ที่เรามองไม่เห็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราจะเห็นในงานของงานออกแบบที่เป็นพวกโมเดิร์นนิสท์ สำหรับผมแล้วลุงเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยังมีความคิดแบบนั้น ซึ่งสมัยนี้ใครๆ ก็พูดว่าความคิดแบบนี้มันช่างโบราณ และเรียบง่ายเกินไป แล้วอีกอย่างผมชอบระบบความคิดในการทำงานของลุงด้วย ตอนที่ลุงออกแบบหนังสือรวบรวมผลงานทางสถาปัตยกรรมของ Glenn Murcutt ที่มีชื่อว่า Glenn Murcutt : A Singular Architectural Practice ผมชอบวิธีที่ลุงวางโครงสร้างหนังสือ รวมถึงรูปเล่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบหน้าปกที่แสนเรียบง่ายในขณะเดียวกันก็สะท้อนแนวความคิดและคุณสมบัติพิเศษที่ปรากฎในงานของ Glenn Murcutt ได้เป็นอย่างดี กราฟิกของลุงไม่เคยโดดเด่นเกินเนื้อหา ไม่เหมือนกับกราฟิกดีไซน์รุ่นใหม่ๆ ที่ทำงานสะท้อนตัวตนมากกว่า นอกจากงานกราฟฟิกที่ดีแล้ว Glenn Murcutt ยังเป็นสถาปนิกที่ผมชื่นชอบมากๆด้วย อย่างหลังนี่ดูจะเป็นเรื่องส่วนตัวไปหน่อย แต่ยังไงก็ตามผมก็อยากที่จะบอกลุง
หน้าปกหนังสือ Glenn Murcutt : A Singular Architectural Practice ที่ออกแบบโดยลุง
กอ : Glenn Murcutt เป็นสถาปนิกที่ดีและเป็นเพื่อนสนิทของผม งานชิ้นนั้นผมแค่เพียงเป็นคนวางแนวคิดหลักในการออกแบบ ถ้ามันจะมีความดีอยู่บ้างผมขอยกความดีเหล่านั้นให้บรรณาธิการ ช่างภาพ และนักเขียนทั้งสองท่าน Haig Beck กับ Jackie Cooper และตัวของ Glenn Murcutt เองที่ทำงานสถาปัตยกรรมที่ดีงาม
วห : แล้วใครเป็นผู้ชี้นำ(Mentor) คนสำคัญที่สุดในชีวิตลุงครับ
กอ : กราฟิกดีไซน์เนอร์ชาวแคริฟอร์เนียที่มีชื่อว่า Les Mason ตอนนี้เขาอาศัยอยู่ที่ ออสเตรเลีย
วห : ถ้าลุงสามารถเชิญแขก 5 คนมารับประทานอาหารเย็นร่วมกันเพื่อพูดคุยสนทนาปราศัย แขกเหล่านั้นของลุงจะเป็นใครบ้าง
กอ : Richard Serra(ศิลปินแนวมินิมอลลิสท์) , Tadao Ando(สถาปนิกชาวญี่ปุ่น), Issey Miyake(ดีไซน์เนอร์-ช่างตัดเสื้อชาวญี่ปุ่น) , Philip Glass(นักแต่งเพลง), Keith Jarrett(นักดนตรีแจ๊ส) และสุดท้าย Nelson Mandela(ไม่ต้องวงเล็บทุกคนก็น่าจะรู้จัก) เพราะเรามีที่นั่งเกินกว่า 5 ที่(ลุงแกยิ้ม)
วห : ผมเคยฟังเพลงของ Keith Jarrett ชุดที่เขาเล่นสดที่เยอรมัน รู้สึกว่าจะชื่อชุด The Koln Concert เขาเล่นดนตรีเหมือนกับกำลังปลูกต้นไม้ ตัวโน้ตของ Jarrett นั้นแตกกิ่งก้านสาขาได้ ผมชอบอัลบั้มนี้ของเขามากๆ เลยครับลุง
กอ : อืม
วห : ลุุงมีงานอดิเรกไหมครับ ตอนนี้เวลาที่ลุงว่างนั้นลุงทำอะไร
กอ : ตอนนี้ผมกำลังหัดเล่น malibu surf board
วห : โหลุงนี่ซ่าไม่เบาเลยนะครับ ต่อไปเป็นคำถามสุดท้ายแล้วครับตอนนี้ลุงก็อายุ หกสิบต้นๆ แล้วถ้าพรุ่งนี้ลุงคิดที่จะรีไทล์ตัวเอง และมีเวลาเหลือเฟือ ลุงจะทำอะไร
กอ : ผมคงจะไปศึกษาต่อทางด้านสถาปัตยกรรม แต่ผมก็คงยังทำงานออกแบบกราฟฟิกอยู่และยังไม่มีความคิดที่จะรีไทล์ในตอนนี้
วห : ลุงสนใจทางด้านสถาปัตยกรรมมากเลยหรอครับ
กอ : ครับผมสนใจมันมาก
วห : มิน่าล่ะ เห็นลุงออกแบบรูปเล่มให้หนังสือสถาปัตยกรรมอยู่หลายเล่ม
กอ : (ลุงแกยิ้ม)
วห : สุดท้ายแล้ว มีอะไรจะฝากคนหนุ่มสาวที่กำลังอ่าน Blog นี้อยู่หรือเปล่าครับลุง
กอ : การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ การศึกษาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การศึกษาในระบบโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัย ตัวผมเองก็เป็นกราฟฟิกดีไซน์ที่ไม่ผ่านการศึกษาในระบบเลยด้วยซ้ำ แต่ศึกษาเรียนรู้เอาเองจากการอ่าน การทดลองปฎิบัติด้วยตัวเอง และการฝึกสังเกตโลกรอบตัว เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความหมายจริงๆ ของการศึกษา
วห : ลุงพูดเหมือนวันที่ลุงมาพูดที่กรุงเทพฯเมื่อสามปีที่แล้วเลยนะครับ(ผมยิ้ม)
กอ : (ลุงแกยิ้มตอบ)
ลองเข้าไปดูงานของลุงได้ที่
http://www.emerystudio.com
ปล.(เกี่ยวกับคำย่อ)
วห ย่อมาจาก วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์
กอ ย่อมาจาก แกร์รี อีเมอรี
+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+:+
Book bought:
-
Book read:
-
Friday, January 19, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
3 comments:
น่าสนใจมาก เป็นบทสัมภาษณ์ที่อบอุ่นลงตัวตกผลึกเข้าใจชีวิตจิตวิวัฒน์สุดๆ เท่าที่เคยอ่านมา
สำหรับเดือนหน้า อยากให้ไปสัมภาษณ์สถาปนิกไทยๆ เราบ้าง อย่างคนที่อยู่ในระดับตำนานของวงการสถาปนิกไทย มีผลงานยิ่งใหญ่และได้รับการยอมรับในระดับโลก ไม่รู้ว่าจี้รู้จักเขาหรือเปล่า ชื่อ วิชัด หอยิ่งสะหวิด ถ้าไม่มีเบอร์ เดี๋ยวพี่นัดให้
โห คุณลุงเปรี้ยวมาก ยังเล่น surf board อยู่เลย
fake interview คราวหน้า สัมภาษณ์ กิลล์ เดอลูซ นะ เห็น จขบ.อ่านหนังสือของเขาหลายเล่ม
Keith Jarrett ฝีมือเหลือร้ายจริงๆ
ป.ล.แต่บางทีแอบคิดว่าคนที่เราชอบงานเขานี่ เราอาจกินอาหารเย็นกับเขาไม่สนุกก็ได้นะ
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล
Post a Comment